#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ดร.ธรณ์ชี้ภาพ "ไข่ประหลาดบนชายหาด" ที่แห่แชร์ คือไข่หอยฝาเดียว ไม่มีในไทย ดร.ธรณ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลฯ ไขปริศนาไวรัลภาพไข่ประหลาดจำนวนมากบนชายหาด เผยเป็นไข่หอยฝาเดียวขนาดใหญ่ ไม่พบในเมืองไทย สังเกตดีๆ จะเห็นหอยตัวน้อยๆ อยู่ข้างใน วันนี้ (30 พ.ค.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความจากกรณีที่โลกออนไลน์แชร์ภาพไข่ประหลาดจำนวนหลายพันฟองบนชายหาด โดยระบุข้อความว่า "มีเพื่อนธรณ์ถามมาเรื่องไข่ประหลาดบนชายหาดที่ตอนนี้มีการแชร์กันเยอะ คำตอบคือไข่หอยครับ หอยดังกล่าวเป็นหอยฝาเดียวขนาดใหญ่ Adelomelon brasilianum หอยชนิดนี้ไม่พบในเมืองไทย อ่านชื่อวิทยาศาสตร์ก็คงพอทราบว่าเป็นหอยในอเมริกาใต้ (บราซิล อาร์เจนตินา ฯลฯ) หอยพวกนี้จะวางไข่ช่วงเดือนตุลาคม-พฤษภาคม ลักษณะเหมือนไข่ใสๆ ข้างในมีน้ำหล่อเลี้ยงลูกหอย ไม่ใช่น้ำทะเลเปล่าๆ แต่เป็นน้ำที่มีโปรตีนและเอนไซน์ช่วยเป็นอาหารทำให้หอยเติบโต หอยน้อยจะอยู่ข้างใน ใช้เวลาร่วม 2 เดือน จากนั้นแคปซูลไข่ก็จะแตก หอยน้อยคลานออกมาหลายตัวต่อ 1 ใบ ไข่พวกนี้วางไว้บนพื้น ไม่ยึดติดกับอะไร เมื่อเกิดพายุหรือคลื่นลมแรงจัด จะถูกพัดเข้ามาฝั่งเยอะแยะ คำถามคือลูกหอยตายไหม? คำตอบคือโอกาสตายมีสูง เพราะเป็นหอยที่อยู่ในพื้นทะเลตลอด ไม่ขึ้นมาคลานบนชายหาด ยกเว้นบางตัวที่พัฒนาจนโตแล้ว อาจมีโอกาสโดนพัดลงทะเลแต่คงรอดน้อยมาก แต่ปรากฏการณ์คลื่นลมแรงเกิดไม่บ่อย น้องหอยจึงไม่ค่อยตายหมู่ ยกเว้นบางจังหวะเท่านั้น สังเกตในภาพ จะเห็นหอยตัวน้อยๆ อยู่ข้างใน ทะเลคือโลกแห่งความลึกลับ มีเรื่องอีกมากมายให้ค้นหาครับ ขออนุญาตใช้ภาพเพจ สำรวจโลก แต่ไม่ได้แชร์ เพราะต้องอธิบายยาวและใส่ภาพเพิ่มเติมครับ" https://mgronline.com/onlinesection/.../9660000049878
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
ยูเอ็นกังวลประเด็นร้อน ปัญหาน้ำแข็งละลายทั่วโลก หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติประกาศว่ากำลังผลักดันประเด็นการเปลี่ยนแปลงของหิมะภาคให้มีความสำคัญสูงสุดในระยะต่อไป โดยกล่าวว่าการละลายของทะเลน้ำแข็ง, ธารน้ำแข็ง และเพอร์มาฟรอสต์ ถือเป็นภัยคุกคามระดับโลก ธารน้ำแข็งละลายในรัฐอลาสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา (Photo by JOE RAEDLE / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / Getty Images via AFP) เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2566 กล่าวว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของน้ำแข็งละลายต่อระดับน้ำทะเล, ภัยธรรมชาติ รวมทั้งระบบนิเวศและเศรษฐกิจ หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติกล่าวที่ประชุมสมาชิกว่า "ปัญหาการละลายของพื้นที่โลกที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งหรือหิมะเป็นประเด็นที่น่ากังวล ไม่เพียงแต่สำหรับอาร์กติกและแอนตาร์กติกเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระดับโลกด้วย" การประชุมในเจนีวาเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเพิ่มเงินทุนสำหรับการสังเกตการณ์และการคาดการณ์ที่ประสานกันมากขึ้น รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล, การวิจัย และการบริการที่ดีขึ้น ประเทศที่อยู่ห่างไกลจากบริเวณขั้วโลก เช่น ในทะเลแคริบเบียนและแอฟริกา แสดงความกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงของหิมะภาคหรือ ไครโอสเฟียร์ (Cryosphere) จะส่งผลกระทบต่อโลกทั้งใบ "ปัญหาที่เกิดขึ้นในบริเวณขั้วโลกและบริเวณภูเขาสูง ล้วนมีที่มาจากสิ่งอื่นที่อยู่ภายนอกพื้นที่เหล่านั้น ผู้คนกว่าพันล้านคนต้องพึ่งพาน้ำจากหิมะและธารน้ำแข็งที่ละลายซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสายสำคัญของโลก เมื่อธารน้ำแข็งเหล่านั้นถอยร่น คุณต้องคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับความมั่นคงทางน้ำของผู้คนเหล่านั้น" แคลร์ นูลลิส โฆษกหญิงขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติกล่าว นอกเหนือจากการดำเนินการตามข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศปารีสปี 2558 และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติยังกล่าวอีกว่า ทุกพื้นที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบที่ดีขึ้นเพื่อติดตามขนาดและความเร็วของการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการจัดการทรัพยากรน้ำ การละลายของธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาคิดเป็นประมาณ 50% ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเร่งตัวขึ้น และสิ่งนี้จะส่งผลกระทบมากขึ้นต่อประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะเล็กๆ และพื้นที่ชายฝั่งที่มีประชากรหนาแน่น ทั้งนี้ น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกาลดลงเหลือ 1.92 ล้านตารางกิโลเมตรในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2534-2563 เกือบ 1 ล้านตารางกิโลเมตร ในขณะเดียวกัน ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือเพอร์มาฟรอสต์ (permafrost) ในอาร์กติกถือเป็น "ยักษ์ผู้หลับใหล" ของปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากมันกักเก็บคาร์บอนได้มากเป็นสองเท่าของบรรยากาศในทุกวันนี้ ตามรายงายของหน่วยงานฯ การประชุมขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นวาระประชุมทุก 4 ปีของรัฐสมาชิก เพื่อกำหนดทิศทางและลำดับความสำคัญของหน่วยงานสหประชาชาติในอีก 4 ปีข้างหน้า ที่ประชุมได้อนุมัติโครงการริเริ่มการเฝ้าระวังก๊าซเรือนกระจกโลกระยะใหม่ เพื่อเติมเต็มช่องว่างข้อมูลที่สำคัญและจัดทำกรอบการทำงานแบบบูรณาการสำหรับการสังเกตการณ์ตามอวกาศและพื้นผิวโลก "ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งอันที่จริงแล้วสูงกว่าครั้งใดๆ ในช่วง 800,000 ปีที่ผ่านมา" หน่วยงานฯ ระบุ ประเทศสมาชิกกำลังหารือเกี่ยวกับแผนการเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศจะได้รับการคุ้มครองโดยระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับภัยพิบัติทางอุตุนิยมวิทยาภายใน 5 ปี. https://www.thaipost.net/abroad-news/387987/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
พบสาเหตุแล้ว! น้ำใน'คลองแกรนด์คาแนล'ของเวนิส กลายเป็นสีเขียวเรืองแสง 30 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จากกรณีที่พบว่าแกรนด์คาแนล คลองขนาดใหญ่ใจกลางนครแห่งสายน้ำเวนิส น้ำกลายเป็นสีเขียวเรืองแสงนั้น ความคืบหน้าล่าสุดเจ้าหน้าที่รายงานว่า "คลองแกรนด์คาแนล" เปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเรืองแสงนั้นเกิดจากสารฟลูออเรสซีน (Fluorescein) ซึ่งพบว่าเป็นสารที่ไม่มีพิษ จากการวิเคราะห์พบว่า ฟลูออเรสเซนในตัวอย่างที่นำมาไม่ได้พบว่ามีองค์ประกอบที่เป็นพิษในตัวอย่างที่วิเคราะห์ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ยังไม่มีการเปิดเผยว่า แหล่งที่มาของสารฟลูออเรสเซนมาจากไหน และเป็นฝีมือของใคร แต่ทางด้านกลุ่มอุลติมา เจเนราซีโอเน ซึ่งก่อนหน้านี้เพิ่งก่อเหตุเทถ่านลงในน้ำพุเทรวีในกรุงโรมเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา บอกว่าไม่ใช่พวกเราและยืนยันว่าพวกเขาไม่ได้อยู่เบื้องหลังเหตุน้ำสีเขียวในคลองเวนิสครั้งนี้ แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสืบสวนว่า สีเขียวเรืองแสงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงโดยนักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศหรือไม่ https://www.naewna.com/inter/734180
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|