#1
|
|||
|
|||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 - 22 มิ.ย. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 18 - 19 มิ.ย. 66 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 มิ.ย. 66 จะมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 ? 19 และ 23 ? 24 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง |
#2
|
|||
|
|||
ขอบคุณขา่วจาก กรุงเทพธุรกิจ
แผ่นดินไหว 6.0 นอกชายฝั่งทางตอนใต้เมียนมา รู้สึกสั่นไหวถึง กทม. กรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง แผ่นดินไหวที่นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.40 น. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่ บริเวณ นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา ที่ละติจูด ๑๕.๒๖๖ องศาเหนือ ลองจิจูด ๙๖.๒๔๘ องศาตะวันออก ขนาด ๖.๐ ความลึก 10 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.พบพระ จ.ตาก ประมาณ 289 กิโลเมตร ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร หากมีรายละเอียด เพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบโดยด่วนต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา 08.55 น. (ลงชื่อ) ชมภารี ชมภูรัตน์ (นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์) อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา |
#3
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
วางทุ่นชะลอความเร็วเรือ 'บ้านเกาะมุก' จ.ตรัง อนุรักษ์ ปกป้องพะยูน วันที่ 18 มิถุนายน 2566 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เดินทางไปเป็นประธานในกิจกรรมวางแนวทุ่นชะลอความเร็วเรือ เพื่ออนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ร่วมกับนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายเพิ่มศักดิ์ คงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 มูลนิธิอันดามัน สมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง ผู้นำชุมชน และ ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริเวณบ้านเกาะมุก หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม นายอรรถพลฯ กล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อตระหนักถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวบริเวณเกาะมุกที่ส่งผลกระทบต่อพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล จากเรือนำเที่ยวของผู้ประกอบการ เรือประมง เรือของชาวบ้านในพื้นที่เกาะมุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ ปกป้องพะยูนและแหล่งหากินของพะยูน โดยการควบคุมการเข้าออกและจัดระเบียบของเรือ บริเวณบ้านเกาะมุก เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของพะยูนในธรรมชาติ โดยการวางแนวทุ่นชะลอความเร็วเรือ จำนวน 18 ทุ่น ความยาวตลอดแนวทุ่น 4.8 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หญ้าทะเล 1,787 ไร่ สำหรับ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ทางฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบด้วยป่าชายเลน หญ้าทะเล เกาะแก่ง มีหาดทรายขาวนวลเรียงรายไปตามผืนดินกว่า 20 กิโลเมตร และสนทะเลตามธรรมชาติอันสวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น เกาะกระดาน โดยในวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จะใช้เป็นสถานที่จดทะเบียนสมรสใต้น้ำ สร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ฯลฯ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ถือเป็นแหล่งพะยูน สัตว์ป่าสงวนที่สำคัญ ของประเทศไทยซึ่งต้องร่วมกันอนุรักษ์ไว้ |
|
|