เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 21-06-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.



คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 20 - 23 มิ.ย. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 24 ? 26 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 25 ? 26 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	daily-21-jun-2023-0500.jpg
Views:	0
Size:	205.3 KB
ID:	22594   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	topchart_20_june_2023_18.jpg
Views:	0
Size:	107.8 KB
ID:	22595   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	forecast7days_19-06-66.jpg
Views:	0
Size:	77.4 KB
ID:	22596  
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 21-06-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ

ขยะกับการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบ: ต้องแก้ไขอย่างไร?



หลังการระบาดของโควิด-19 ได้คลี่คลายลง ภาครัฐก็ได้ออกมากระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยการผ่อนปรนมาตรการควบคุมต่างๆ รวมทั้งออกนโยบายกระตุ้นให้คนไทยออกมาท่องเที่ยว

ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่เป็นเป้าหมายของคนไทยกลับมามีชีวิตชีวา และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวก็มีโอกาสลืมตาอ้าปากอีกครั้ง

แต่เมื่อภาคท่องเที่ยวเริ่มกลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สิ่งที่ตามการท่องเที่ยวมา นอกจากเรื่องรายได้แล้ว ยังมีเรื่องขยะที่เป็นเสมือนเงาที่ตามนักท่องเที่ยวมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใกล้หรือไกล จะสูงแค่ไหน ถ้านักท่องเที่ยวไปถึงได้ ขยะก็ไปถึงได้เช่นเดียวกัน

สำหรับประเทศไทยเอง กระแสการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบก็ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ต่างฝันให้การท่องเที่ยวของไทยไปสู่การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ แต่ในบริบทของไทยในปัจจุบัน เราจะมีความพร้อมแค่ไหน จะสามารถไปถึงจุดนั้นได้หรือไม่



ผู้เขียนและทีมวิจัยได้รับการสนับสนุนภายใต้แผนงานคนไทย 4.0 และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ศึกษาโครงการผลของการจัดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อธุรกิจ ชุมชน และผู้เยี่ยมเยือน สำหรับพื้นที่กรณีศึกษาได้เลือก อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นหนึ่งในพื้นที่ศึกษา

เพราะเชียงคานเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางที่คนไทยนิยมเดินทางไปเที่ยว สะท้อนได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยในปี 2563 แม้จะมีการระบาดของโรคโควิด-19 ก็ตาม แต่ตัวเลขการมาเยือนเชียงคานของคนไทยยังสูงถึง 1.9 ล้านคน

และเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว (หรือ green season) ส่วนปี 2565 ก็มีคนไทยมาเยือนกว่า 5.4 แสนคน ขณะที่สองเดือนแรกของปี 2566 มีคนไทยไปเยือนเชียงคานแล้วกว่าเกือบ 8.0 แสนคน

จากผลการศึกษาในประเด็นนักท่องเที่ยวกับขยะของเชียงคาน พบว่า ในปี 2562 เชียงคานมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 1.12 ล้านคน (มีรายรับจากการท่องเที่ยวประมาณ 2.76 พันล้านบาท)

ขยะที่เกิดจากนักท่องเที่ยวต่อคนอยู่ที่ประมาณ 0.6 กิโลกรัม หรือนักท่องเที่ยวได้สร้างขยะประมาณ 663 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28 ของปริมาณขยะที่เทศบาลจัดเก็บได้

ทำให้เทศบาลตำบลเชียงคาน ต้องแบกรับภาระทางด้านงบประมาณสำหรับใช้ในการจัดการขยะปีละกว่าครึ่งล้านบาท ซึ่งอาจดูเหมือนน้อย แต่อย่าลืมว่าขยะนั้นไม่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้น ขยะที่ทิ้งก็จะกลายเป็นขยะที่ทับถมสะสมไปเรื่อยๆ นับวันจะยิ่งพอกพูนขึ้น จากเนินน้อยก็จะกลายเป็นภูเขาขยะได้



ที่จริง เราล้วนทราบกันดีอยู่แล้วว่า ขยะจะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และลดต้นทุนการจัดการได้โดยการคัดแยก แต่ถึงอย่างนั้น ในบรรดาขยะที่ทิ้งก็ยังคงปะปนกันไปนั้น ต้นทางอาจแยก แต่ก็อยู่ในถุงขยะสีเดียวกัน ขั้นตอนการจัดเก็บก็จะเป็นรถขยะคันเดียวกัน เวลาจัดเก็บเดียวกัน ขยะก็เลยปนๆ กันไปอย่างที่เห็น

ถึงแม้เทศบาลตำบลเชียงคาน จะได้เคยพยายามแก้ไขปัญหาขยะ ด้วยการลงทุนซื้อเครื่องจักรกำจัดขยะราคาแพงมาใช้ โดยขอความร่วมมือกับประชาชนให้คัดแยกขยะ เมื่อประชาชนคัดแยก แต่การจัดเก็บขยะของเทศบาลยังเป็นการจัดเก็บแบบรวมๆ กันไป

ประชาชนก็ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องเสียเวลาคัดแยก เมื่อเทศบาลเจอเข้ากับขยะที่ไม่ได้คัดแยก ก็ต้องเสียใช้จ่ายไปกับการแยกขยะเพิ่มเติม แต่ก็ยังคงมีขยะต่างประเภทปนกันมา และในที่สุดขณะนี้เครื่องจักรที่ลงทุนไปก็เสียหายจนไม่สามารถดำเนินการต่อได้

นอกจากนี้ เทศบาลได้ลองพยายามแก้ไขปัญหาขยะโดยเลือกถนนคนเดินเชียงคานเป็นสถานที่ดำเนินการ ภายใต้หลักการที่ว่า เมื่อนักท่องเที่ยวก่อขยะก็ต้องรับผิดชอบนำขยะกลับไปด้วย จึงนำถังขยะออกจากบริเวณถนนคนเดินทั้งหมด หวังว่าหากไม่มีถังขยะนักท่องเที่ยวก็จะนำขยะออกไป แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

ถึงแม้จะมีแม่ค้า พ่อค้า บางร้านได้ช่วยกันป่าวประกาศรับทิ้งขยะ แต่ด้วยความเกรงใจของนักท่องเที่ยว รวมถึงการไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างทั่วถึง จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวนำขยะไปฝากทิ้งไว้ที่ร้านน้อยกว่าการนำไปวางทิ้งไว้ในพื้นที่สาธารณะในบริเวณถนนคนเดิน

เห็นได้ชัดว่า การจัดการขยะจำเป็นต้องร่วมกันเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ ไม่ใช่การเฟ้นหาเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบโดยตรงเพียงรายใดรายหนึ่ง ฝ่ายประชาชนคนพื้นที่ก็ต้องหันกลับมาช่วยกันแยกขยะเหมือนเดิม พร้อมทั้งช่วยกันให้ข้อมูลกับผู้มาเยือนถึงจุดทิ้งขยะหรือการรับฝากขยะ

ขณะเดียวกัน เทศบาลก็กำหนดวันในการจัดเก็บขยะแต่ละประเภท โดยไม่มีการเก็บรวม หรืออาจมีการใช้สีถุงที่แตกต่างกันในการคัดแยกขยะทิ้ง และนำไปจัดการตามกระบวนการที่ถูกต้อง (ภายใต้ร่วมกันแยก และเก็บตามแยกไปกำจัดอย่างถูกต้อง)

ขณะที่นักท่องเที่ยวที่เป็นผู้มาเยือนก็ยินดีรับผิดชอบและปฏิบัติตามแนวทางของชุมชนท้องถิ่น (แจ้งที่ทิ้งและรณรงค์ให้ทิ้งตามที่แจ้ง) หากเชียงคานทำได้ก็จะกลายเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับท้องถิ่นอื่นๆ ต่อไป

ปัญหาขยะล้นเมือง แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วต่างก็เคยประสบมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ หรือแม้แต่ไต้หวัน ซึ่งเคยได้รับฉายาว่าเป็นเกาะขยะมาก่อน แต่ด้วยความร่วมมือ และเอาจริงเอาจังจากทุกภาคส่วน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถแก้ไขปัญหา และก้าวข้ามวังวนเดิมๆ มาได้ และในปัจจุบัน กลายเป็นเมืองสะอาดน่าเที่ยว

แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ ประเทศเหล่านี้ก็ต้องอาศัยระยะเวลาหลายสิบปีกว่าจะประสบความสำเร็จได้ เช่นนั้น ประเทศไทยเองก็ต้องเร่ง และร่วมกันสร้างจิตสำนึกภายใต้การท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น

เพื่อเดินทางสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และยังสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของรัฐบาลที่กำลังกระจายลงสู่ทุกพื้นที่และภาคส่วนของไทยให้ได้เช่นกัน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 21-06-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews

ป่าลุ่มโขง กับความท้าทายสู่ยุคจัดการป่ายั่งยืน


ยุคเปลี่ยนผ่านพื้นที่ป่าไม้ในลุ่มแม่น้ำโขง : จากอาชญากรรมป่าไม้สู่การจัดการที่ยั่งยืน

ปัจจุบันภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านจากพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการลักลอบตัดไม้และการค้าไม้ผิดกฎหมายสู่ยุคของการค้าไม้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นก้าวสำคัญในการอนุรักษ์ระบบนิเวศของป่าไม้ การป้องกันสัตว์ป่าจากการรุกราน และการบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

ในอดีตการค้าผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ไปยังประเทศจีนมีบทบาทสำคัญต่อการลักลอบตัดไม้ในภูมิภาคนี้อย่างมาก แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ไปยังประเทศจีนลดลงต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดประกอบกับจำนวนป่าไม้ที่ลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 จากที่เคยมีอยู่ ขณะที่ประเทศไทยและเวียดนามได้กลายเป็นศูนย์กลางของการค้าผลิตภัณฑ์ป่าไม้อย่างถูกกฎหมายระดับโลกอย่างรวดเร็ว

พุฒิชัยพัฒน์ สารสมัคร GreenNews รายงาน



FAO เผยพื้นที่ป่าไม้ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีแนวโน้มคงที่และเพิ่มขึ้น

อะกิโกะ อิโนะกูจิ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กล่าวว่า สถานการณ์พื้นที่ป่าไม้ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีแนวโน้มคงที่และเพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ป่าไม้ในประเทศกัมพูชาและลาวยังคงมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากยังมีการตัดไม้ทำลายป่าในสองประเทศนี้ รวมทั้งประเทศไทยและเวียดนามแต่ปริมาณไม่มากนัก ซึ่งการเกษตรเป็นสาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศเหล่านี้ อย่างไรก็ตามยังคงพบการลักลอบการค้าไม้เถื่อนอยู่ แต่ก็มีแนวโน้มลดลง





อะกิโกะ บอกว่า สาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่าในแต่ละประเทศพบว่าในประเทศกัมพูชามีสาเหตุมาจากการพัฒนาธุรกิจด้านการเกษตร รวมทั้งการสัมปทานก๊าซธรรมชาติ การสัมปทานที่ดิน และการสำรวจเหมืองแร่

ในส่วนของประเทศลาว การตัดไม้ทำลายป่าส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการทำการเกษตรแบบถาวร การเปลี่ยนแปลงการปลูกและการค้าไม้ที่ควบคุมไม่ได้ รวมทั้งการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

สำหรับประเทศไทย สาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่ามาจากพื้นที่การเกษตร การขยายพื้นที่การเกษตร การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเกษตรและการลักลอบค้าไม้

ขณะที่ประเทศเวียดนามก็มีการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไปสู่พื้นที่เกษตรกรรมและวัตถุประสงค์อย่างอื่น อย่างเช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การทำไม้ที่ไม่ยั่งยืนและไฟไหม้ป่า



ไทย ? เวียดนามกลายเป็นศูนย์การค้าสินค้าไม้ของโลก

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตั้งแต่ปี 2015 ? 2017 พบว่า จำนวนไม้ที่ไม่ได้แปรรูปจากพื้นที่ป่าธรรมชาติในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงลดลง? โดยประเทศที่ส่งออกไม้เหล่านี้จำนวนมากได้แก่ประเทศลาวและเวียดนาม ส่วนใหญ่ส่งออกไปที่ประเทศจีน ขณะที่ประเทศเวียดนามและประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าผลิตภัณฑ์ไม้ของโลก โดยประเทศเวียดนามส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ ส่วนประเทศไทยส่งออกไม้แปรรูป

เน้นบังคับใช้กฎหมายเข้มงวดป้องกันค้าไม้เถื่อน

อะกิโกะ อธิบายเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มพื้นที่ป่าไม้ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนั้นมาจากการบังคับใช้มาตราการที่เข้มงวดมากขึ้นใน 4 ประเทศนี้ อย่างเช่น การห้ามการส่งออกไม้จากพื้นที่ป่าธรรมชาติหรือการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าภายในประเทศ รวมทั้งแผนปฏิบัติการการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้าของสหภาพยุโรปและกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า

อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้บังคับใช้มาตรการต่างๆ อย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า แต่ไม้ที่มีมูลค่าสูงอย่างเช่น ไม้พยุงก็ลดจำนวนลง เนื่องจากยังมีความต้องการในประเทศจีนซึ่งส่งผลให้มีการตัดและค้าไม้พยุงมากเกินไป ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในรูปแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในปี 2014 ซึ่งมีปริมาณค้าไม้พยุงจำนวนมาก แต่ขณะนี้กำลังลดลง

ปัจจุบันทาง องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติกำลังช่วยประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการเปลี่ยนผ่านการจัดการพื้นที่ป่าไม้จากสภาพพื้นที่ที่ไม่มีการจัดการหรือมีการจัดการที่ไม่ค่อยดีไปสู่การจัดการพื้นที่ที่ยั่งยืน รวมทั้งการตรวจสอบย้อนกลับสำหรับการนำเข้าจากลาวและกันพูชา

นอกจากนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติยังได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรรายย่อยและผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง วิสาหกิจรายย่อยขนาดกลางและขนาดย่อมในการลดการใช้ไม้เถื่อนผิดกฎหมายในห่วงโซ่การผลิตเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้น

ผลสำรวจชี้ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการค้าไม้ผิดกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าภูมิภาคแม่น้ำโขงกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการที่ยั่งยืนมากขึ้น แต่การรับรู้ของประชาชนดูเหมือนยังไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของอาชญากรรมป่าไม้ รวมทั้งความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญในการจัดการพื้นที่ป่าในภูมิภาคนี้

แคทรีนา บอร์โรมิโอ เจ้าหน้าที่โครงการและการสื่อสาร โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่า ทางโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 2,500 คนใน 6 ประเทศได้แก่ เมียนมา เวียดนาม ไทย ลาวและกัมพูชา รวมทั้งจีน

ผลการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ใน 2 บอกว่าพวกเขาไม่สนใจเกี่ยวกับอาชญากรรมป่าไม้ นอกจากนี้มากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าพวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากอาชญากรรมป่าไม้ การทำไม้ผิดกฎหมาย และความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการบริโภคหรือทัศนคติของพวกเขา

ผลสำรวจยังพบอีกว่า ผู้ตอบแบบสอบถามก็ไม่ได้สนใจถึงความต้องการไม้เนื้อแข็งที่เพิ่มขึ้น อย่างเช่น ปีที่ผ่านมาในประเทศจีนมีความต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็งและไม้พยุงมากถึง 76 เปอร์เซนต์และจะเพิ่มขึ้นถึง 90 เปอร์เซนต์เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนบอกว่าพวกเขามีแผนที่จะซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้เหล่านี้ในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีอายุระหว่าง 30-39 ปี

แคทรีนา บอกว่า ผลสำรวจนี้ทำให้เห็นถึงทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติจึงได้เริ่มการรณรงค์ที่เรียกว่า Forest For Life ในประเทศจีนมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่ผ่านมาโดยสามารถเข้าถึงสื่อของประเทศจีนและชาวจีนมากกว่า 230 ล้านคน โดยจากการณรงค์ทำให้เห็นว่า ชาวจีนเริ่มมีทัศนคติที่เปลี่ยนไปในการซื้อผลิตภัณฑ์ไม้พยุง

ไทยใช้นวัตกรรมป้องกันลักลอบตัดไม้-ค้าไม้ผิดกฎหมาย

ในส่วนการป้องกันการลักลอบตัดไม้เถื่อนในประเทศไทยนั้น อ้อมจิตร เสนา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ กล่าวว่า ทางกรมป่าไม้ได้ใช้เครื่องมือและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อต่อสู้กับการลักลอบตัดไม้และการค้าไม้ที่ผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น :

Pitak Prai แอปพลิเคชันที่ส่งการแจ้งเตือนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบุกรุกในพื้นที่ที่ต้องสงสัยว่าอาจจะเกิดการกระทำผิดกฎหมาย รวมถึงการแจ้งเตือนและติดตามสถานการณ์ไฟป่า
e-TREE แพลตฟอร์มดิจิทัล เป็นโซลูชันที่ยกระดับการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการป่าไม้
NCAPS เป็นเครื่องมือควบคุมระยะไกลที่ใช้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในการลาดตระเวนและตรวจจับพฤติกรรม

นอกจากนี้ยังมีระบบลาดตระเวนที่มีประสิทธิภาพเพื่อเฝ้าระวังการลักลอบการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ

ที่สำคัญมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในการนำเข้าและส่งออกไปไม้ไปยังต่างประเทศ โดยจะต้องมีใบรับรองแหล่งที่มาของไม้อย่างชัดเจนสำหรับการนำเข้า และเร็วๆ นี้จะมีการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้จากลาวและกัมพูชา

นอกจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อป้องกันการค้าไม้เถื่อนแล้ว กรมป่าไม้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกป่าในพื้นที่ของตนเองอีกด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่า
กัมพูชาส่งเสริมเอกชนลงทุนปลูกป่าพื้นที่ขนาดใหญ่

ขณะที่รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งเสริมการลงทุนในการปลูกป่าขนาดใหญ่ผ่านความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ไทย ลาว และเวียดนาม เพื่อลดการค้าไม้ที่ผิดกฎหมาย

ดานี่ เชียง รองผู้อำนวยการ สำนักงานป่าไม้กัมพูชา กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างไทยและกัมพูชาได้พิสูจน์ว่า มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมการค้าไม้ผิดกฎหมาย รวมถึงการตรวจสอบสถานการณ์ป่าไม้แบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไม้ที่มีมูลค่าสูงเช่นไม้พะยูง
แนะจัดสรรงบประมาณเพื่ออนุรักษ์ป่า

แม้หลายประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีความพยายามในการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการค้าไม้เถื่อน โครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนาระบุว่าการจัดสรรงบประมาณในการลงทุนเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และการส่งเสริมการค้าไม้อย่างยั่งยืนก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน

กลุ่มประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างกำลังศึกษาการใช้ประโยชน์จากการจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการผ่านการทำข้อตกลงพหุภาคีและตลาดค้าคาร์บอนเครดิต ธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการนี้ โดยการสนับสนุนทางการเงินตามเป้าหมายที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน (SDGs)

การอนุรักษ์ป่าไม้และการส่งเสริมการค้าไม้อย่างยั่งยืนต้องการแนวทางที่ชัดเจนและครอบคลุม ในการดูแลตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การบริหารจัดการป่าไม้ การขนส่ง การออกใบอนุญาตรับรอง การตลาด ตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างเป็นด่านหน้าในการประยุกต์การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว เพื่อปูทางสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าป่าไม้อย่างยั่งยืนในอนาคต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:26


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger