#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 16 - 18 ก.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดกาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และ อ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเคลื่อนผ่านตอนบนของประเทศฟิลิปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 18 ? 19 ก.ค. 66 นี้ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 15 - 18 ก.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 15 ? 18 ก.ค. นี้ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ปล่อยน้ำปนเปื้อนอันตรายแค่ไหน? เวลา 14.46 น. ของวันที่ 11 มีนาคม 2011 หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ จนกระทั่งทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 15 เมตร ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะคร่าชีวิตผู้คนไปมากมายเกือบ 20,000 ศพ แล้ว ยังเป็นผลให้ ?โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ? (Fukushima Daiichi) และระบบด้านความปลอดภัยต่างๆ รวมถึงระบบผลิตไฟฟ้าสำรอง ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจนไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบหล่อเย็น เพื่อระบายความร้อนให้กับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้ ส่งผลให้เกิดการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในในโรงไฟฟ้าย่อย 3 โรง และการรั่วไหลของก๊าซไฮโดรเจนซึ่งเป็นสาเหตุของการระเบิดที่เกิดขึ้นตามมา โดยอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ในครั้งนี้ถูกจัดอันดับความรุนแรงตามลักษณะของการแพร่กระจายรังสี ผลกระทบทางรังสีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน เอาไว้ที่ ระดับ 7 ตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์และรังสี (International Nuclear and Radiological Event Scale, INES) เนื่องจากมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีออกจากโรงไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายในปริมาณสูงมาก มีการอพยพของประชากร เกิดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในระยะยาวในสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ดี แม้ว่าหลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลญี่ปุ่นจะสามารถควบคุมเหตุการณ์ จนกระทั่งทำให้สถานการณ์ทุกอย่างเริ่มคลี่คลายลงได้ในที่สุด รวมถึงไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือเจ็บป่วยจาก "สารกัมมันตรังสี" หากแต่...ในช่วง12 ปีที่ผ่านมา ในแต่ละวันจะมีน้ำใต้ดินปริมาตรหลายร้อยลูกบาศก์เมตรไหลเข้าสู่ "โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ" และจากความเสียหายที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีน้ำฝนซึมเข้าไปภายในโรงไฟฟ้า โดยน้ำใต้ดินและน้ำฝนดังกล่าวได้สัมผัสกับเศษแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ จนกลายเป็น "น้ำที่ปนเปื้อนรังสี" ที่ถูกนำไปเก็บรวมกับน้ำปนเปื้อนรังสีที่ใช้ในการหล่อเย็นแท่งเชื้อเพลิง และในที่สุด...มันก็เดินทางมาถึง จุดที่ไม่สามารถรองรับ "น้ำปนเปื้อนรังสี" เหล่านี้ได้อีกต่อไป และจำเป็นต้องมีการระบายน้ำปนเปื้อนเหล่านั้นลงสู่ท้องทะเล "ท่ามกลางความกังขาของชาวโลกที่ว่า....ปริมาณน้ำปนเปื้อนเหล่านั้น จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงมนุษย์ด้วยหรือไม่?" อะไรคือ "ความจำเป็น" ของรัฐบาลญี่ปุ่น และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ วันนี้ "เรา" ลองไปรับฟัง "ข้อมูลที่รอบด้าน" จาก "ดร.ยุทธนา ตุ้มน้อย" ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานปรมาณู และรองโฆษกสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ผ่านการสนทนากับ "ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์" ความจำเป็นที่ต้องปล่อยน้ำปนเปื้อนลงสู่ทะเล : ทางญี่ปุ่นให้เหตุผลในเบื้องต้นว่า ข้อแรก แทงก์เก็บน้ำปนเปื้อนสารรังสีที่ปัจจุบัน จุน้ำเอาไว้มากถึง 1.4 ล้านตัน หรือเท่ากับปริมาณความจุน้ำเท่ากับสระว่ายน้ำมาตรฐานสำหรับการจัดการแข่งขันโอลิมปิกถึง 500 สระรวมกันนั้นใกล้ที่จะเต็มความจุแล้ว ส่วนเหตุผล ข้อที่สอง คือ ไม่สามารถสร้างแทงก์น้ำเพิ่มได้อีกแล้ว เนื่องจากจะเป็นการกีดขวางการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ารื้อถอนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อ 12 ปีก่อน รวมถึงจะไม่สามารถสร้างสถานที่เก็บกาก หรือ แท่งเชื้อเพลิงหลอมละลายที่อยู่ในเตาปฏิกรณ์ได้ และ ข้อที่สาม คือ ลดความเสี่ยงในการเกิดการรั่วไหลของน้ำปนเปื้อนรังสีในแทงก์ในกรณีของการเกิดแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายให้กับแทงก์เก็บน้ำเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง ?หาทางในการจัดการน้ำปนเปื้อนเหล่านี้? วิธีการกำจัดและเจือจางน้ำปนเปื้อนสารรังสีก่อนปล่อยลงสู่ทะเล : สำหรับวิธีการจัดการน้ำที่ปนเปื้อนรังสีในระดับสูงและมีหลายสารรังสีปนเปื้อนอยู่ในน้ำซึ่งอยู่ในแทงก์น้ำขนาดมหึมาเหล่านั้น ในเบื้องต้นจะอาศัยกระบวนการบำบัดและการเจือจางสารปนเปื้อนซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเสียก่อน 1. การกำจัด : คือ ลดความเข้มข้นหรือแยกนิวไคลด์กัมมันตรังสีออกจากน้ำ ยกเว้น "ทริเทียม" (Tritium, 3H) ที่ไม่สามารถนำออกจากน้ำได้ 2. การเจือจาง : คือ ลดความเข้มข้นของ "Tritium" รวมถึงนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่หลงเหลืออยู่ในน้ำด้วยน้ำทะเลสะอาดจนอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ปริมาณกัมมันตภาพรังสีของ Tritium ในน้ำที่อนุญาตให้ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม : สำหรับค่ามาตรฐานสำหรับการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อมในประเทศญี่ปุ่น จะอยู่ที่ 60,000 Becquerel ต่อ ลิตร (Bq/L) สำหรับ Tritium อย่างไรก็ดีในเบื้องต้นทางรัฐบาลญี่ปุ่นแจ้งว่า จะมีการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารรังสี (Tritium) จากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะในระดับเพียง 1,500 Becquerel ต่อ ลิตร (Bq/L) เท่านั้น โดยในแต่ละปี จะมีการทยอยระบายน้ำปนเปื้อนสารรังสีในระดับ 22 TBecquerel (TBq) ต่อปี และคาดว่าน่าจะใช้เวลาถึงประมาณ 30 ปี น้ำที่ปนเปื้อนเหล่านั้นจึงจะปล่อยลงสู่ทะเลได้ทั้งหมด สารรังสีที่ยังพบในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ : สำหรับสารรังสีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพบในน้ำที่เก็บกักไว้ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ประกอบด้วย... 1.ซีเซียม-134 มีค่าครึ่งชีวิต 2 ปี (หมายถึงระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของกัมมันตภาพรังสีตั้งต้น) 2. ซีเซียม-137 มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี 3.สตรอนเทียม-90 มีค่าครึ่งชีวิต 28 ปี 4.ทริเทียม มีค่าครึ่งชีวิต 12.3 ปี 5.ไอโอดีน-129 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 15.6 ล้านปี น้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดและการเจือจางสารปนเปื้อนปลอดภัยแค่ไหน : ผลการทดสอบความปลอดภัยจากญี่ปุ่น : ทางรัฐบาลญี่ปุ่น รายงานว่า เมื่อนำโมเดลทางคณิตศาสตร์ มาทำการประเมินระดับรังสีและผลกระทบทางรังสีในตัวแทนของสิ่งมีชีวิตทางทะเล 3 ชนิด ได้แก่ ปลาตาเดียว, ปู, และสาหร่ายสีน้ำตาล ซึ่งมีการแพร่กระจายอยู่ในทะเลรอบโรงไฟฟ้า และมีโอกาสได้รับสารกัมมันตรังสีจากการปล่อยน้ำลงสู่ทะเล พบว่า ระดับรังสีที่สิ่งมีชีวิตทางทะเลทั้ง 3 ชนิดนี้ได้รับ อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปลอดภัยทางรังสีที่ในระดับนานาชาติให้การยอมรับ "เท่าที่ส่วนตัวได้เคยอ่านงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายคลึงกับการปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีในครั้งนี้ โดยเฉพาะการระบายน้ำของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในการดำเนินงานปกติ ยังไม่พบว่า มีงานวิจัยใดที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อมีการปล่อยน้ำดังกล่าวลงสู่ทะเลแล้วจะมีผลกระทบทางรังสีต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล หรือ ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ รวมไปจนกระทั่งถึงทำให้สิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นลดลง เนื่องจากการระบายน้ำปนเปื้อนรังสีดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์ปลอดภัย ที่อนุญาตให้ระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อควรรู้ คือ หากถามว่ามีการสะสมของสารกัมมันตรังสีในสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ คำตอบคือมีแน่นอนแต่จะมีลักษณะและระยะเวลาในการสะสมที่แตกต่างกันไปตามชนิดของสิ่งมีชีวิตและชนิดของสารกัมมันตรังสี เพียงแต่สิ่งมีชีวิตจะมีกลไกในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายอยู่แล้วเป็นปกติ เพราะฉะนั้น สารกัมมันตรังสีซึ่งถือเป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตสามารถรับเข้าไปแล้วก็สามารถขับถ่ายออกจากร่างกายได้เช่นกัน นอกจากนี้ เบื้องต้นทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยืนยันแล้วว่า น้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดและการเจือจางสารปนเปื้อนที่พร้อมจะปล่อยลงสู่ทะเล จะไม่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนที่เกินกว่าเกณฑ์การระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ หากถามผมว่ากังวลไหม? ในส่วนตัวผม เท่าที่ได้ติดตามแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลญี่ปุ่นในกรณีนี้ ติดตามบทความวิชาการที่เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบของน้ำปนเปื้อนรังสีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน และที่ได้ลองประเมินผลกระทบดังกล่าวด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่าไม่น่าจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ความกังวลน่าจะไปเกิดในเรื่องของเศรษฐกิจ อันเกิดจากความเชื่อมั่นที่ลดลงต่ออาหารทะเล หรือ อุตสาหกรรมส่งออกอาหารทะเลของญี่ปุ่นมากกว่า" ผลกระทบต่อประเทศไทย : "ที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่น อยู่ห่างจากประเทศไทยค่อนข้างมาก ฉะนั้นผลกระทบทางรังสีที่จะมาถึงประเทศไทยจากการปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีในครั้งนี้มีโอกาสน้อยมากจริงๆ อย่างไรก็แล้วแต่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสีของประเทศไทย ได้มีการเฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภายในประเทศและนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยืนยันว่าระบบนิเวศทางทะเลและอาหารทะเลของประทศไทยปราศจากการปนเปื้อนทางรังสีจากการดำเนินงานในครั้งนี้ ส่วนประเด็นเรื่อง เราจะสามารถบริโภคอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่นได้หรือไม่นั้น จริงๆประเด็นนี้ทาง ปส. ร่วมกับกรมประมง ได้เคยสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นในตอนที่เกิดอุบัติเหตุใหม่ๆ เมื่อ 12 ปีก่อน และในช่วงที่มีข่าวว่าประเทศไทย เป็นประเทศแรกๆ ที่นำเข้าอาหารทะเลจากพื้นที่ของฟุกุชิมะ โดยมีการสุ่มตัวอย่างอาหารทะเลนำเข้าที่หน้าด่านและในท้องตลาดมาทำการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีที่ห้องปฏิบัติการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีของ ปส. และมาตรการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งสำหรับการเก็บข้อมูลกัมมันตภาพรังสีในอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นก่อนการระบายน้ำปนเปื้อนรังสี และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในระหว่างและภายหลังการปล่อยน้ำออกจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ฉะนั้นประชาชนจึงไม่ต้องเป็นกังวลแต่อย่างใด" ดร.ยุทธนา ตุ้มน้อย รองโฆษกสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวปิดท้ายการสนทนา https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2708749
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
รุดช่วย "โลมาลายแถบ" เกยตื้นอ่าวแหลมไทร หายใจไม่ปกติ อ่อนแรง พบ "โลมาลายแถบ" เกยตื้นมีชีวิต บริเวณอ่าวแหลมไทร ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา พบมีอาการหายใจไม่ปกติ อ่อนแรง วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 มีรายงานว่า วานนี้ (11 กรกฎาคม) เวลา 14.45 น. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ได้รับแจ้งจาก หน.อช.ธารโบกขรณี ประสานงานกรณีเครือข่ายประมงพื้นบ้าน พบโลมาเกยตื้น 1 ตัว บริเวณหาดแหลมไทร หมู่ 5 เกาะยาวน้อย จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อพ.3 (เกาะโบยใหญ่) เข้าตรวจสอบช่วยเหลือโลมาตัวดังกล่าว เบื้องต้นพบว่าโลมาตัวดังกล่าวมีอาการหายใจไม่ปกติ อ่อนแรง จึงประสานงานและนำขึ้นเรือยางตรวจการณ์ 1904 ไปยังท่าเรืออ่าวปอ ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ดำเนินการต่อไป. https://www.thairath.co.th/news/local/2708878
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|