#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ภาคใต้ และอ่าวไทยตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในช่วงวันที่ 26 ? 29 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ภาคใต้ และอ่าวไทยตอนบน มีกำลังค่อนข้างแรงตลอดช่วง ทำให้บริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อน "ทกซูรี" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนผ่านตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 25 ? 26 ก.ค. 2566 หลังจากนั้นจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 27 - 28 ก.ค. 2566 ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 24 ? 25 และ 29 ก.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองสำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
อุรุกวัยผงะพบซาก "เพนกวินมาเจลลัน" 2,000 ตัวตายเกลื่อนหาด-เร่งหาสาเหตุ อุรุกวัยผงะพบซาก ? เอเอฟพี รายงานวันที่ 22 ก.ค. ว่า กระทรวงสิ่งแวดล้อมอุรุกวัย แถลงว่าในช่วง 10 วันที่ผ่านมามีซาก ?เพนกวินมาเจลลัน? ราว 2,000 ตัวเกยบริเวณตื้นชายฝั่งภาคตะวันออกของ ประเทศอุรุกวัย จากการตรวจสอบพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพนกวินที่ยังไม่โตเต็มวัย และไม่ปรากฏว่าติดเชื้อไข้หวัดนก นางคาร์เมน ไลซาโกเยน ผู้อำนวยการแผนกสัตว์ท้องถิ่น กระทรวงสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าเพนกวินเหล่านี้ตายในน้ำ และร้อยละ 90 เป็นเพนกวินอายุน้อยที่ร่างกายไม่มีไขมันสำรอง รวมถึงไม่มีอาหารในกระเพาะ พร้อมย้ำว่าตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บจากซากเพนกวินเพื่อนำมาตรวจหาเชื้อไข้หวัดนกมีผลเป็นลบ ทั้งนี้ เพนกวินมาเจลลันมีถิ่นที่อยู่อาศัยทางตอนใต้ของอาร์เจนตินา แต่จะอพยพขึ้นทางเหนือช่วงฤดูหนาวของซีกโลกใต้เพื่อหาอาหาร รวมถึงใช้ชีวิตในพื้นที่ซึ่งอุณหภูมิน้ำอบอุ่นกว่า และบางครั้งเพนกวินมาเจลลันจะอพยพไปไหลถึงชายฝั่งของรัฐเอชปีรีตูซังตู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบราซิล "เป็นเรื่องปกติที่จะมีการตาย แต่ไม่ใช่ตัวเลขมากขนาดนี้" นางไลซาโกเยนกล่าว และว่าเคยมีเหตุการตายของเพนกวินนมาเจลลันจำนวนมากโดยไม่ทราบสาเหตุในบราซิลเมื่อปี 2565 นายเฮกเตอร์ เคย์มาริส ผู้อำนวยการพื้นที่คุ้มครองลากูนา เด โรชา กล่าวว่านับเพนกวินที่ตายได้มากกว่า 500 ตัวตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นระยะทางราว 10 กิโลเมตร ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมระบุว่าการตายของเพนกวินมาเจลลันที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการจับปลามากเกินไปและการทำประมงที่ผิดกฎหมาย "ตั้งแต่ทศวรรษ 1990-2000 เราเริ่มเห็นสัตว์ขาดแคลนอาหารและทรัพยากรถูกใช้ประโยชน์มากเกินไป" นายริชาร์ด เทซอร์ จากองค์กรเอ็นจีโอ เอสโอเอส มารีนไวด์ไลฟ์ เรสคิว กล่าว และว่าพายุไซโคลนในมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งพัดถล่มพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลเมื่อกลางเดือนก.ค. อาจทำให้สัตว์ที่อ่อนแอล้มตายจากสภาพอากาศเลวร้าย นอกจากนี้ยังพบซากนกนางแอ่น นกอัลบาทรอส นกนางนวล เต่าทะเล และสิงโตทะเลบนชายหาดในเขตมัลโดนาโด ทางตะวันออกของกรุงมอนเตวิเดโอ เมืองหลวงของอุรุกวัย https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_7778607
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
เอลนีโญปี 2566 คาดสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรไทยรวมราว 48,000 ล้านบาท ................. โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรากฏการณ์เอลนีโญที่สร้างความร้อนและแห้งแล้งกว่าปกติได้เริ่มขึ้นแล้วในปี 2566 หลังจากที่ในช่วงราว 3 ปีก่อนหน้า ไทยเผชิญปรากฏการณ์ลานีญาที่มีสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี ล่าสุดในเดือนก.ค.2566 องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) พยากรณ์ว่า ขณะนี้โอกาสเกิดเอลนีโญมีเพิ่มขึ้นและยกระดับการเตือนภัยเป็น El Ni?o Advisory แล้ว โดยมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญทะลุร้อยละ 90 ส่งผลกระทบลากยาวถึงอย่างน้อยในเดือนมี.ค.2567 ซึ่งจะมีสัญญาณความร้อนและแห้งแล้งชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่ในเดือนต.ค.2566 ส่งผลต่อปริมาณน้ำในเขื่อนและน้ำฝนที่อาจลดลง ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศที่ร้อยละ 50 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย พื้นที่ที่น่าห่วงที่สุดคือ ภาคกลาง ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำเพียงร้อยละ 19 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต รวมไปถึงพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย คือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ของปริมาณน้ำฝน พบว่า ในช่วงวันที่ 1 ม.ค.-16 ก.ค.2566 ปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยทั้งประเทศลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี สถานการณ์ภาพรวมน้ำในเขื่อนและปริมาณน้ำฝนในปี 2566 ยังคงสูงกว่าปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรง ผลกระทบของเอลนีโญในปี 2566 ที่มีต่อภาคเกษตรไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เอลนีโญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 อาจสร้างความเสียหายต่อพืชเกษตรสำคัญของไทย ที่จะมีผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดจำนวนมากในช่วงนี้ ประกอบด้วย ข้าวนาปี มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ รวมคิดเป็นมูลค่าความเสียหายในปี 2566 ราว 48,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นความเสียหายในข้าวเป็นหลักที่ 37,631 ล้านบาท หรือเกือบร้อยละ 80 ของความเสียหายภาคเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้ หากพิจารณาเทียบความเสียหายจากภัยแล้งที่มีต่อข้าวในอดีต พบว่า ภาพรวมความเสียหายของข้าวในปี 2566 น้อยกว่าในปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรง ทั้งในเชิงมูลค่าและปริมาณผลผลิตข้าวที่เสียหาย แต่มากกว่าปี 2563 ที่เกิดภัยแล้งล่าสุด นอกจากนี้ ตัวเลขความเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นการประเมินความเสียหายในด้านพืชเท่านั้น ขณะที่ด้านปศุสัตว์และประมง แม้จะเป็นช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากเช่นกันในช่วงครึ่งปีหลังที่อาจได้รับผลกระทบจากความร้อนแล้ง แต่ภาพรวมผลผลิตปศุสัตว์และประมงทั้งปีนี้คงไม่ลดลงจากปีก่อนที่เผชิญโรคระบาดในสุกรอย่างโรค ASF มองไปในปี 2567 ตามที่ NOAA คาดว่า เอลนีโญจะทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าปี 2566 และอาจลากยาวไปถึงเดือนมี.ค.2567 เป็นอย่างน้อย ทำให้ไทยคงต้องเผชิญสถานการณ์น้ำที่ยากลำบากมากขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนที่สะสมมาจากปี 2566 ที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่น่าจะลดลง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผลกระทบของเอลนีโญที่มีต่อภาคเกษตรไทยในปี 2567 คงมีความรุนแรงขึ้น สร้างความเสี่ยงต่อผลผลิตสินค้าเกษตรให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะพืชฤดูแล้ง ทั้งด้านปริมาณและจำนวนชนิดพืชที่เสียหาย ดันราคาให้อยู่ในระดับสูง โดยอาจมีตัวเลขความเสียหายมากขึ้นกว่าปี 2566 คือมากกว่า 48,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นความเสียหายที่มีต่อข้าวนาปรังเป็นหลัก เพราะเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวนาปรังจะทยอยออกสู่ตลาดจำนวนมากในไตรมาสที่ 1 ซึ่งต้องพึ่งพาน้ำในเขื่อนเป็นหลักและปลูกมากในภาคกลางที่เผชิญระดับน้ำในเขื่อนอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต ผนวกกับผลผลิตต่อไร่ที่สูง ทำให้ความเสียหายคงมีมาก รวมไปถึงพืชฤดูแล้งอื่นอย่างมันสำปะหลัง และอ้อย ที่อาจได้รับความเสียหายชัดเจน นอกจากนี้ ด้วยสภาพอากาศโดยรวมที่ร้อนแล้งในปี 2567 อาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงการปลูกข้าวนาปีในไตรมาสที่ 2 ด้วย ที่อาจปลูกไม่ได้หรือมีผลผลิตต่อไร่ที่ลดลง กดดันผลผลิตข้าวนาปี ทำให้ภาพรวมในปี 2567 ความเสียหายของข้าวคงมีสูง เพราะมาจากทั้งข้าวนาปรังและนาปี ซึ่งอาจมีตัวเลขความเสียหายใกล้เคียงหรือมากกว่าปี 2558 อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามระดับความรุนแรงของเอลนีโญในระยะข้างหน้า รวมถึงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่จะส่งผลต่อประเภทพืชที่ได้รับความเสียหายด้วย ปรากฏการณ์เอลนีโญไม่ได้ส่งผลกระทบต่อไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกด้วย เช่น เวียดนาม เมียนมา สปป.ลาว อินเดีย เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญในโลกเช่นกัน เช่น ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการกลางน้ำ-ปลายน้ำที่ใช้วัตถุดิบต้นน้ำจากแหล่งผลิตในแถบเอเชียคงต้องเผชิญราคาสินค้าเกษตรในระดับสูง ขณะที่ในอีกซีกโลกหนึ่งอย่างประเทศในแถบอเมริกาใต้จะแตกต่างกัน โดยจะมีปริมาณฝนที่มากกว่าปกติในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งแม้จะช่วยหนุนผลผลิตธัญพืชสำคัญให้เพิ่มขึ้น เช่น ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด เป็นต้น แต่เนื่องจากล่าสุด รัสเซียได้ประกาศยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชของยูเครนผ่านทะเลดำตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.2566 จึงอาจส่งผลต่อภาพรวมราคาธัญพืชโลกที่น่าจะยืนในระดับสูง กระทบต่อผู้ประกอบการกลางน้ำ-ปลายน้ำที่ต้องเผชิญราคานำเข้าธัญพืชต้นน้ำจากแหล่งผลิตในประเทศแถบอเมริกาใต้ที่มีราคาสูงเช่นกัน ท้ายสุด ในระยะข้างหน้า ภาพรวมราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรโลกน่าจะยังคงยืนสูง จากปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศแปรปรวน และประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์เป็นสำคัญ จะกระทบต่อธุรกิจกลางน้ำ-ปลายน้ำที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบให้ต้องเผชิญราคาวัตถุดิบต้นน้ำที่อยู่ในระดับสูง และยังอาจเสี่ยงขาดแคลนวัตถุดิบได้ในบางจังหวะ ซึ่งไทยเองก็คงได้รับผลกระทบไปในทิศทางที่สอดคล้องกับตลาดโลกเช่นกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการกลางน้ำ-ปลายน้ำของไทย คงได้รับผลกระทบดังกล่าวในระดับที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางธุรกิจและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของผู้ประกอบการแต่ละราย ดังนั้น การเร่งเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการกลางน้ำ-ปลายน้ำ เพื่อให้สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนด้านราคาและอุปทานสินค้าเกษตรต้นน้ำ นับว่ามีความจำเป็น. https://www.bangkokbiznews.com/busin...onomic/1080023
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
"แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" ลดความเสี่ยงเพิ่มโอกาส ........... โดย พลเดช ปิ่นประทีป แนวคิดโครงการสะพานเศรษฐกิจ หรือ"แลนด์บริดจ์ ช่วงชุมพร-ระนอง" เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความสามารถในการแข่งขันโดยเชื่อมต่อกับEEC ติดตามได้ในเจาะประเด็น โดยพลเดช ปิ่นประทีป พลเดช ปิ่นประทีป ในเมื่อผลการศึกษาจากหลายสถาบันชี้ออกมาในแนวเดียวกันว่า แนวคิดและข้อเสนอแผนการขุดคลองไทยมีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและภูมิภาค กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้ผุดแนวคิดโครงการสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ ช่วงชุมพร-ระนอง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เชื่อมสองฝั่งมหาสมุทรและระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความสามารถในการแข่งขันโดยเชื่อมต่อกับEEC จะใช้รูปแบบการหาเอกชนมาร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บูรณาการการขนส่งทางท่อ(น้ำมัน) ทางบก(มอเตอร์เวย์) และทางราง(รถไฟทางคู่) ให้เชื่อมต่อกับ 2 ท่าเรือ 2 สนามบิน อย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งทำแผนโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงฐานการผลิตกับประตูส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป ทางเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้า จากการศึกษารูปแบบและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของโลก พบว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลมีสัดส่วนมากถึง 80% หรือคิดเป็นปริมาณสินค้าเท่ากับ 11.1 พันล้านตัน โดยมีการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกามากถึง 1 ใน 4 ของทั้งโลก ประเภทสินค้าที่มากที่สุดคือการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมัน (Tanker) อย่างไรก็ตามปริมาณการขนส่งสินค้าที่ผ่านช่องแคบมะละกาเพิ่มขึ้นทุกปี จนคาดว่าจะเต็มศักยภาพในไม่ช้า ดังนั้นจึงคาดการณ์เบื้องต้นว่าจะมีปริมาณสินค้าที่แบ่งส่วนเข้ามามากกว่า 20 ล้านทีอียู หรือเทียบเท่ากับท่าเรือฮ่องกง (อันดับที่ 8 ของโลก) การพัฒนาโครงการจึงต้องสามารถดึงดูดให้เรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ และเรือขนส่งสินค้าหันมาใช้เส้นทางแลนด์บริดจ์แทน ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือต้องหาตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือของฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่เหมาะสมที่สุด โดยการพิจารณาจากเกณฑ์ด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการลงทุน และด้านสังคม ที่สำคัญแนวเส้นทางเชื่อมต่อทั้ง 2 ท่าเรือต้องมีระยะทางที่สั้นและตรงที่สุด เพราะนอกจากจะประหยัดเวลาในการเดินทางมากที่สุดแล้ว ยังจะส่งผลต่อการลงทุนและผลตอบแทนที่จะดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนา การก่อสร้างตามแนว MR 8 สำหรับตำแหน่งท่าเรือฝั่งอ่าวไทย จ.ชุมพร มีจุดเหมาะสม 2 ตำแหน่ง คือ บริเวณแหลมริ่ว และบริเวณแหลมคอเขา ส่วนท่าเรือฝั่งอันดามัน จ.ระนอง มีจุดเหมาะที่แหลมอ่าวอ่าง มีระบบขนถ่ายสินค้าแบบออโตเมชัน มีเส้นทางรถไฟและมีมอเตอร์เวย์และระบบท่ออยู่ด้านข้าง เชื่อมท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันกับอ่าวไทยเข้าด้วยกัน ตามแนวทาง MR 8 ระยะทาง 75-90 กิโลเมตร โดยใช้เวลาวิ่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง ในโครงข่ายจะมีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ ขนาด 6-8 ช่องจราจร ขนานกับทางรถไฟจำนวน 4 ทาง คือ ขนาด 1.435 เมตร (Standard gauge) 2 ทาง ขนาด 1 เมตร ( Meter gauge) 2 ทาง และมีถนนบริการขนาด 3 ช่องจราจรต่อทิศทาง เพื่อรองรับปริมาณรถทั้งจากทางหลวงสายหลักและถนนชนบทที่จะเข้าสู่ท่าเรือ ด้วยประสบการณ์และบทเรียนรู้จากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นำมาปรับปรุงให้มีปัญหาอุปสรรคน้อยที่สุด โดยโมเดลทางธุรกิจของ "แลนด์บริดจ์ " จะรวมการลงทุนระบบโลจิสติกส์ทั้งหมดเป็นโครงการเดียวกัน ทั้งท่าเรือ มอเตอร์เวย์รถไฟ ระบบขนส่งทางท่อ ซึ่งจะเกิดความคุ้มค่าในการลงทุนและจูงใจในการร่วมประมูลมากขึ้น เปรียบเทียบเม็ดเงินลงทุนรวมของโครงการแลนด์บริดจ์น้อยกว่าโครงการรถไฟไทย-จีน แต่ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ที่จะเกิดขึ้นกลับมากกว่า ในการประเมินต้นทุนค่าก่อสร้างในส่วนของท่าเรือฝั่งชุมพรและฝั่งระนอง และเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือ "รถไฟ/มอเตอร์เวย์/ท่อ" คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 2-4 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับจะเลือกแนวเส้นทางใด เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์จะเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทางตรงและทางอ้อมเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งจะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำ และสามารถเชื่อมต่อการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน เอเชีย และยุโรปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพราะไม่ต้องอ้อมไปยังช่องแคบมะละกา โดยท่าเรือชุมพร ฝั่งอ่าวไทย ทำหน้าที่รองรับสินค้าจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่วนฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ผ่านท่าเรือน้ำลึกระนอง ประตูการค้าฝั่งอันดามัน ส่งต่อไปยังประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กลุ่ม BIMSTEC เช่น เมียนมา อินเดีย เนปาล และบังกลาเทศ หรือประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาความเจริญต้องมาควบคู่กับรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยต้องพิจารณาผลกระทบด้านแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่อุทยาน อย่างรอบด้านและมีมาตรการเยียวยาหรือชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนและการเสียโอกาสทำกิน ส่วนท่าเรือทางฝั่งอันดามันต้องแก้ข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีพื้นที่ป่าสงวน ป่าชายเลน และอุทยานจำนวนมาก ตำแหน่งท่าเรือควรส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลของจังหวัดด้วย https://www.nationtv.tv/news/scoop/378924323
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
"กำหนดแล้ว เวทีรับฟังครั้งแรก เมกะโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" 18 ส.ค. จะเปิดรับฟังความเห็นประชาชนต่อโครงการฯ รวม 210 นาที ระหว่าง 08.30-12.00 น ที่หลังสวน ชุมพร เพื่อนำข้อมูลจัดทำรายงานผลกระทบโครงการ EHIA ตามขั้นตอนกฎหมายกำหนด สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เผย รับฟังตามกฎหมายกำหนด "โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างทะเลอ่าวไทยอันดามัน หรือโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) คือท่าเรือฝั่งอ่าวไทย ในจังหวัดชุมพร เเละท่าเรือฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงิน วิศวกรรม สังคม และการออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน โครงการพัฒนาโครงสร้างด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อให้การจัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงาน EHIA เป็นไปตามประกาศสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 น. ? 12.00 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมอวยชัยแกรนด์ อ.หลังสวน จ.ชุมพร" ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าล่าสุดของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) ที่จะเชื่อมท่าเรือ 2 แห่ง คือ ท่าเรือนํ้าลึกฝั่งอ่าวไทย ในจังหวัดชุมพร เเละท่าเรือนํ้าลึกฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ด้วยทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร ทางรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 2 ทาง โดยโครงการอยู่ภายใต้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor : SEC เชื่อ "จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 5 แสนล้าน" "ปัจจุบัน โครงการอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่าง ๆ เช่น นักลงทุนต่างชาติในสายการเดินเรือต่าง ๆ ผู้ประกอบการชาวไทยและชาวต่างชาติ และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งยังดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม เเละวิเคราะห์รูปเเบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน ควบคู่ไปกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะอย่างรอบด้าน โดยกระทรวงคมนาคมเล็งเห็นว่า หากโครงการ Landbridge แล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในพื้นที่ภาคใต้จาก 2% เป็น 10% เป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เกือบ 500,000 ล้านบาท รวมทั้งจะเกิดโอกาสการจ้างงาน เพิ่มอาชีพใหม่ ๆ ในชุมชน เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกพื้นที่" สนข. เปิดเผย ไทยโพสต์ รายงานวันนี้ (21 ก.ค. 2566) คำถามเบื้องต้น จากพื้นที่ 4 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา สภาประชาชนภาคใต้ และศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง ภาคประชาชนจะได้จะเสียอะไรภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตในเวทีว่าประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด จะได้รับประโยชน์จากตัวโครงการจริงหรือไม่ ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วน รอบด้าน ทั้งผลดีที่คาดว่าจะได้รับ และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วหรือยัง รวมถึงมีการนำเสนอบทเรียนการพัฒนาเศรษฐกิจของชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ที่มีผลกระทบเกิดขึ้นจริง และรุนแรง ทำให้มีการแสดงความกังวลว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในพื้นที่ชุมพร-ระนองหรือไม่ "โครงการแลนด์บริดจ์ เส้นแรกคือเซาเทิร์นซีบอร์ด ขนอม?กระบี่ ในยุครัฐบาลบรรหาร ศิลปะอาชา ที่ได้มีการสร้างถนนพาดผ่านระหว่างอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เชื่อมกับอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ แต่ก็ถูกยกเลิกไปเมื่อจะสร้างท่าเรือในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เพราะผู้ประกอบการท่องเที่ยวท่องเที่ยวห่วงว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อมามีการเลือกเส้นใหม่ที่เส้น 9A ที่จังหวัดสงขลา?สตูล จนมีการคัดค้านอย่างหนักจากประชาชนทั้งสองพื้นที่ และยกเลิกโครงการไปในที่สุด และปัจจุบันรัฐบาลโดยพรรคภูมิใจไทยที่คุมกระทรวงคมนาคม พยายามรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อสร้างนโยบายการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยเลือกเส้นทางชุมพร-ระนอง มีข้อสังเกตว่า ทำไมโครงการนี้จึงต้องการสร้างที่จังหวัดชุมพร ระนอง คนในพื้นที่คิดอย่างไร เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไร และมีการรับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ในขณะที่รัฐบาล หรือนักการเมืองที่ผลักดันโครงการนี้ มีการขับเคลื่อนเพื่อให้มีการสนับสนุนโครงการอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังมีการเลือกตั้งในอนาคตอันไม่ไกลนี้ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตที่ว่าด้วยความคุ้มค่าในการลงทุน เพราะในที่สุดแล้วโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณมหาศาล และต้องใช้พื้นที่และฐานทรัพยากรจำนวนมากที่จะต้องแลก คนที่ได้ประโยชน์จากโครงการนี้คือใคร ชาวบ้าน นักธุรกิจ หรือนักการเมืองที่จะได้ประโยชน์จากงบประมาณในการก่อสร้าง และเมื่อสร้างไปแล้วโครงการนี้จะมีการใช้ประโยชน์จากผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์จริงหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีผู้ประกอบการระดับนายกสมาคมธุรกิจด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศเคยให้ข้อสังเกตไว้หลายท่านแล้วว่า แนวคิดแลนด์บริดจ์ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของนักเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้จริง ด้วยเหตุผลที่เป็นรายละเอียดหลายประการ ที่จะต้องศึกษารายละเอียดให้ลึกซึ้งมากกว่านี้" สมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน กล่าวในเวทีฯ ดังกล่าว https://greennews.agency/?p=35023
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|