เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 08-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักมาก ในภาคเหนือกับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "ขนุน" (KHANUN) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนผ่านตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ลงสู่คาบสมุทรเกาหลีในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 08-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


นักวิจัยระบุมหาสมุทรลึกอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ไม่รู้จัก



พื้นที่กว้างใหญ่ด้านล่างของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งถูกจัดสรรไว้สำหรับการขุดแร่ใต้ทะเลลึก ที่ทอดยาว ระหว่างหมู่เกาะฮาวาย ของสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก โดยเรียกว่าพื้นที่สำหรับสำรวจแหล่งแร่ใต้ทะเล หรือ Clarion?Clipperton Zone (CCZ) เป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นที่อยู่ของสัตว์หลายพันชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จัก และจากการศึกษาใหม่หลายชิ้นก่อนหน้านี้ ระบุว่าสิ่งมีชีวิตที่เบื้องล่างของมหาสมุทรมีความซับซ้อนกว่าที่เข้าใจ

การสำรวจแหล่งแร่ใต้ทะเลดังกล่าวก็เพื่อหา "ตุ่มก้อน" มีลักษณะคล้ายหินที่กระจายอยู่ทั่วพื้นใต้ทะเล เชื่อกันว่าตุ่มก้อนพวกนี้จะมีแร่ธาตุ ที่ใช้ในเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด เช่น เอาไปทำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ทว่าการสำรวจก็ยังพบแต่สัตว์ทะเลหลายชนิด เช่น ปลิงทะเลยักษ์ กุ้งขายาวเป็นแผง ไปจนถึงหนอนทะเลตัวเล็กๆ สัตว์พวกครัสเตเชียนหรือพวกมีเปลือกหุ้มตัวลำตัวเป็นปล้อง รวมถึงหอยชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในโคลน เมื่อเร็วๆนี้มีกลุ่มนักชีววิทยาทางทะเลเผยแพร่งานวิจัยในวารสาร Nature Ecology and Evolution ถึงการทำแผนที่การกระจายพันธุ์ของสัตว์ในพื้นที่ CCZ ระบุว่าพบกลุ่มชุมชนสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนกว่าที่เคยคิดไว้ นักวิจัยศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติของอังกฤษก็ตอกย้ำว่าทุกครั้งที่ดำน้ำครั้งใหม่ ก็ได้เห็นสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา

นักวิจัยที่รณรงค์ในเรื่องนี้ระบุว่า ความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้เป็นสมบัติที่แท้จริงของใต้ทะเลลึก และเตือนว่าการทำเหมืองจะเป็นภัยคุกคามสำคัญ โดยเฉพาะจะรบกวนตะกอนจำนวนมากที่เคยอยู่อย่างสงบ ขณะที่ "ตุ่มก้อน" ที่เชื่อว่าเป็นแหล่งแร่นั้น น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนก็เป็นได้.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2715182


******************************************************************************************************


ไทยเดินหน้า "เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชายเลน" ใกล้สูญพันธุ์ สู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน



องค์การสหประชาชาติ ได้ออกเตือนการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศบนโลก ขณะที่อุณหภูมิมหาสมุทรสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้น้ำทะเล ร้อนขึ้นและกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล

ขณะที่ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือไอยูซีเอ็น (IUCN) ได้ประกาศพืชป่าชายเลนที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์หรือ IUCN Red List จำนวน 16 ชนิด คือ หงอนไก่ใบเล็ก พังกา-ถั่วขาว ใบพาย โปรงขาว ลำแพน หลุมพอทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะบูนขาว ตะบูนดำ ถั่วขาว ถั่วดำ โปรงแดง ฝาดดอกแดง พังกาหัวสุมดอกแดง และลำแพนหิน

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโน โลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จึงร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ดำเนินโครงการการศึกษาชีพลักษณ์และการเก็บอนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่า ชายเลนของไทยในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อมุ่งพัฒนาวิธีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่าชายเลนแบบระยะยาว เพื่อเป็นคลังความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนในประเทศ

โดยในเฟสแรก สวทช. และ ทช. ได้คัดเลือกพันธุ์พืชป่าชายเลนมาศึกษากระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ จำนวน 16 ชนิดที่มีความเสี่ยงตามประกาศของ IUCN Red List

"การสูญพันธุ์ของพืชในธรรมชาติมีค่อนข้างสูงจากสถานการณ์โลกร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่ยากแก่การวางแผนรับมือ ทีมวิจัยจึงใช้วิธีเพราะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลนด้วยการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชชายเลนด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทนการอนุรักษ์พันธุ์พืชป่าชายเลนด้วยการจัดทำศูนย์รวบรวมพันธุ์ทั้งแบบอนุรักษ์ในพื้นที่และแบบนอกพื้นที่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยากแก่การวางแผนรับมือล่วงหน้า ทำให้ส่งผลโดยตรงต่อการกระจายพันธุ์ของพืชบางชนิด ทำให้การเก็บรักษาต้นกล้าด้วยวิธีการดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จในระยะยาว ขณะที่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นวิธีการเพิ่มจำนวนต้นพืชแบบไม่อาศัยเพศในสภาพปลอดเชื้อ เหมาะแก่การผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรคที่มีคุณลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ สามารถเพิ่มปริมาณได้รวดเร็วในพื้นที่ขนาดจำกัด อีกทั้งยังเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับจัดเก็บเชื้อพันธุกรรมพืชที่มีเมล็ดแบบ Recalcitrant หรือเมล็ดชนิดที่ไม่สามารถลดความชื้นเพื่อการเก็บรักษาระยะยาวในสภาวะ เยือกแข็ง (อุณหภูมิ-20 องศาเซล เซียส) ได้ ซึ่งเมล็ดชนิดนี้พบมากในพืชพรรณที่เติบโตในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งร้อน" ดร.ปัญญาวุฒิ อัมพุชินทร์ นักวิจัยธนาคารพืช NBT ไบโอเทค สวทช.กล่าวถึงโครงการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชายเลน

ทั้งนี้ กระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อถือเป็นหนึ่งในแนว ทางการอนุรักษ์พืชป่าชายเลนที่มีประสิทธิภาพ แต่ปัญหาสำคัญคือพืชป่าชายเลนที่เก็บตัวอย่างจากธรรมชาติมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์สูง โดยเฉพาะเชื้อในกลุ่ม Endophytic microbial หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยในชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่สามารถทำให้ตายผ่านการฆ่าเชื้อที่พื้นผิวตามปกติ ทีมวิจัยจึงได้นำต้นกล้าที่จัดเก็บตัวอย่างจากป่าชายเลนมาปลูกในโรงเรือนที่มีความชื้นน้อยกว่าธรรมชาติเพื่อลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ ก่อนฆ่าเชื้อด้วยรูปแบบและวิธีการที่ปรับให้เหมาะสม จนทำให้ต้นพันธุ์ปลอดเชื้อได้สำเร็จเรียบร้อยแล้วและอยู่ในขั้นตอนการวิจัยสูตรอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพันธุ์ต่างๆต่อไป

"ความยากของการวิจัยคือต้องค้นหาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เหมาะสมแบบจำเพาะเนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการอาหารและสภาพ แวดล้อมในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน อีกทั้งพืชป่าชายเลนบางชนิดยังมีอัตราการเจริญเติบโตช้า ทำให้การวิจัยแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลานานหลักปี ซึ่งหากไม่ประสบความสำเร็จจะต้องเริ่มต้นกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนแรก แต่โชคดีที่ทีมวิจัยทำสำเร็จตัวชี้วัดความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อประกอบ ด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือการทำให้ชิ้นส่วนพืชปลอดเชื้อและเจริญเติบโตต่อบนอาหารสังเคราะห์ภายหลังการฟอกฆ่าเชื้อได้สำเร็จ ส่วนที่สองคือยอดใหม่ของพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ผ่านการสับเปลี่ยนอาหารแล้ว 2 ครั้ง หลังจากผ่านทั้งสองขั้นตอนที่สำคัญแล้ว จึงจะมั่นใจได้ว่ากระบวนการเตรียมตัวอย่างพืชและสูตรอาหารมีความเหมาะสมต่อการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมชนิดนั้นๆในระยะยาว" ดร.ปัญญาวุฒิ กล่าว

แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ทีมวิจัยยังได้วิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรที่พบบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์คู่ขนานกันไปด้วย ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงแล้ว 6 ชนิดพันธุ์ คือ ผักเบี้ยทะเล ผักหวานทะเล ขลู่ เทพี สำง้ำ และ สำมะงา

"NBT ยังมีการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พรรณพืชป่าชายเลนอีกหลายด้าน เช่น การศึกษาลักษณะเรณูหรือละอองเกสรเพื่อการระบุชนิดพันธุ์ของพืช เพราะปริมาณและความหลากหลายของเรณูที่ตรวจพบบ่งชี้ถึงความสามารถด้านการกระจายพันธุ์ของพืชในบริเวณนั้นได้ อีกตัวอย่างคือการศึกษา DNA barcode หรือรหัสพันธุกรรมตำแหน่งสำคัญที่บ่งชี้ถึงชนิดพันธุ์พืช เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญสำหรับการระบุชนิดพันธุ์ ซึ่งการตรวจสอบชนิดพันธุ์พืชผ่านรูปแบบ DNA barcode เป็นวิธีการที่มีความแม่นยำสูง ตรวจสอบง่าย และไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงนักอนุกรมวิธานในการวิเคราะห์ผล" ดร.ปัญญาวุฒิ กล่าวปิดท้าย

"ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม" มองว่าโครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชายเลนน่าจะเป็นตัวช่วยหลักในการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าชายเลน ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคนและสัตว์เพื่อเดินสู่เป้าหมายใหญ่คือฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนของประเทศและการรักษาความหลาก หลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน.


https://www.thairath.co.th/news/local/2715413

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 08-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


ตื่นเต้น พบ "เต่าทะเล" ขึ้นวางไข่เกือบ 100 ฟอง ที่หาดทรายทอง สุราษฎร์ฯ



ชาวบ้าน-นทท.ต่างชาติ ตื่นเต้น พบ "เต่าทะเล" ขึ้นมาวางไข่เกือบ 100 ฟอง ที่บริเวณชายหาดทรายทอง เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี ก่อนคลานกลับลงสู่ทะเล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลางดึกของค่ำคืนวันที่ 6 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา มีชาวบ้านเกาะเต่า ต.เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ได้พบ แม่เต่าทะเลตัวใหญ่ ขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดทรายทอง เป็นเวลาครู่ใหญ่และฝังทรายกลบไว้ จากนั้นได้คลานกลับลงสู่ท้องทะเล

ต่อมา เจ้าหน้าที่ได้ขุดรังไข่เต่า นับจำนวนได้ประมาณ 91 ฟอง เพื่อย้ายนำไปฝักไข่และป้องกันสุนัขหรือสัตว์อื่นมาขุดกิน โดยมีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนมากมาเฝ้าดูด้วยความตื่นเต้น เนื่องจากไม่ค่อยได้พบมาก่อน ทั้งนี้ ทางทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) จะเดินทางมาสำรวจอีกครั้งในวันที่ 10 ส.ค.นี้

สำหรับ หาดทรายทอง เป็นหนึ่งในสวรรค์ดำน้ำของเกาะเต่าที่เป็นหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งเกาะเต่า เป็นดินแดนที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่จำนวนมาก เนื่องจากมีบรรยายกาศที่เงียบสงบและมีสภาพความเป็นธรรมชาติมากจนได้ชื่อว่า เกาะเต่า

มีความเชื่อกันว่าลูกเต่าที่แม่เต่าวางไข่เกิดที่ใด จะกลับมาวางไข่ตามรอยแม่


https://www.nationtv.tv/gogreen/378926075

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:41


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger