#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "ขนุน" (KHANUN) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนผ่านตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ลงสู่คาบสมุทรเกาหลีในช่วงวันที่ 9-10 ส.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เต่าทะเลตายสังเวยคราบน้ำมันรั่ว 'ภูเก็ต' คุมพื้นที่ไม่อยู่ ห่วงปะการังพัง 4 พันไร่ ภูเก็ต เฝ้าระวังคราบน้ำมันที่มีการรั่วไหลลงทะเล คาดมาจากเรือขนส่ง โดยตอนนี้มีเต่าทะเลตายแล้ว 1 ตัว และต้องเฝ้าระวังแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบ 4 พันไร่ รวมถึงคราบน้ำมันพัดเกยตื้นบนหาดทรายอีกจำนวนมาก อาจกระทบต่อการท่องเที่ยว มีผลอันตรายต่อคนที่บริโภคอาหารทะเล ตอนนี้หน่วยงานรัฐ เร่งกำจัดคราบน้ำมัน ห่วงอ่าวพังงา ตอนใน พร้อมหาเรือต้นตอน้ำมันรั่ว ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ขณะลงพื้นที่ติดตามปัญหาคราบน้ำมันใน จ.ภูเก็ต ว่า สถานการณ์คราบน้ำมันเริ่มขึ้นฝั่งมาจาก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. ที่ผ่านมา คราบน้ำมันไหลไปตามกระแสน้ำทะเลถึงพื้นที่ภูเก็ต จนวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา คราบน้ำมันบางส่วนไหลถึง เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต กินพื้นที่กว่า 125 กิโลเมตร "ลักษณะคราบน้ำมันที่เกยหาด ส่วนใหญ่เป็นก้อนสีดำ ขนาดแตกต่างกัน มีลักษณะคล้ายยางมะตอย ขณะนี้คราบน้ำมันที่เกยชายหาด ทางจังหวัดได้มีทีมงานทุกภาคส่วนคอยตรวจเก็บออกจากหาด ถ้าเป็นในพื้นอุทยาน จะมีชุดตรวจคอยเก็บกวาด" คราบน้ำมันตอนนี้มีบางส่วนปนเปื้อนอยู่ในทะเล แต่ท้ายที่สุดแล้วคราบน้ำมันเกือบทั้งหมดจะถูกพัดเข้าสู่ชายฝั่ง แต่ตอนนี้ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่า ปริมาณคราบน้ำมันรั่วไหลในทะเลมีประมาณเท่าไร ทำให้ยากจะคำนวณว่า คราบน้ำมันที่เหลือจะพัดขึ้นสู่ฝังเมื่อใด เพราะตอนนี้มีบางหาดที่มีคราบน้ำมันขึ้นมาเก็บกวาดไปแล้ว 2-3 วัน จนถึงวันนี้ยังมีคราบน้ำมันเม็ดเล็กๆ ขึ้นมาอยู่ จากการประเมินคาดว่า ปริมาณคราบน้ำมันรั่วไหลในทะเล มีจำนวนมากมาจากเรือ เพราะฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต เป็นช่องทางเดินเรือ สำหรับคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลครั้งนี้ พบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีรายงานว่า เต่าทะเลถูกน้ำมันเคลือบบนตัว และมีเต่าที่กินคราบน้ำมัน เสียชีวิตแล้ว 1 ตัว ขณะที่แนวปะการังพื้นที่ จ.พังงา ที่มีกว่า 2 พันไร่ รวมถึงที่ภูเก็ตมีพื้นที่ 1.8 พันไร่ รวมพื้นที่ปะการังที่ต้องเฝ้าระวังผลกระทบประมาณ 4 พันไร่ ขณะนี้คลื่นลมทะเลมีกำลังแรง ทำให้ยังไม่สามารถดำน้ำลงไปดูผลกระทบปะการังได้ แต่หลังจากนี้ หากลมสงบ จะส่งทีมนักดำน้ำลงไปสำรวจผลกระทบปะการังทั้ง 4 พันไร่ รวมถึงมีการสำรวจผลกระทบระบบนิเวศบนหาดทราย และหาดหินต่อจากนี้ ผลกระทบจากคราบน้ำมันเห็นชัดที่สุดในรอบนี้คือ เต่าทะเล เนื่องจากวิถีชีวิตเต่า ต้องโผล่พ้นน้ำ ทำให้มีคราบน้ำมันติดตามตัวและใบหน้า ขณะเดียวกันเต่าไปเกาะขอนไม้หรือวัตถุต่างๆ ลอยน้ำในทะเล ทำให้มีคราบน้ำมันเกาะบริเวณนั้นจำนวนมาก "ต้องจับตาสัตว์ทะเล ที่มีการกินคราบน้ำมันหรือเคลือบบนลำตัว แล้วคนนำไปรับประทาน จะมีกลิ่นน้ำมัน มีผลต่อชาวบ้านที่ทำประมงริมชายฝั่ง เพราะขนาดไปเดินริมชายหาด ก็มีคราบน้ำมันซัดขึ้นมา มีกลิ่นน้ำมันเล็กน้อย สำหรับพื้นที่น่าเป็นห่วงที่กังวลคือ อ่าวพังงา ตอนใน มีทรัพยากรอยู่จำนวนมาก เช่น พื้นที่หญ้าทะเล แนวปะการัง ป่าชายเลน" การฟื้นฟูต่อจากนี้ ทางจังหวัดจะประสานการให้ความรู้กับชาวบ้านในพื้นที่ว่า คราบน้ำมันที่รั่วมาจากอะไร ควรมีการป้องกันตัวเองอย่างไร ขณะเดียวกันต้องมีการนำคราบน้ำมันที่รั่วไหลออกจากทะเลให้มากที่สุด ส่วนการฟื้นฟูระยะยาว มีการวางแผนร่วมกันอีกครั้ง สำหรับการสืบสวนเพื่อหาเรือที่ทำให้น้ำมันรั่วไหล ทางจังหวัดมีการเก็บข้อมูล หาเรือที่สัญจรในพื้นที่วันเวลาดังกล่าว เพื่อหาต้นตอเรือเกิดเหตุ และมีการลงโทษต่อไป. https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2715751 ****************************************************************************************************** ชาวประมงท่าใหม่ พากันตัดเศษแพอวน ขยะกลางทะเลที่เกยตื้นไปขาย ได้วันละหลายพัน ชาวประมงที่ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี โดนมรสุมออกเรือหาปลาไม่ได้ ต่างพากันมาตัดแพอวนขยะขนาดใหญ่ที่คลื่นซัดเกยหาด เพื่อนำไปขายเป็นขยะพลาสติก สร้างรายได้กว่าวันละพันบาท ด้านนักวิชาการห่วงขยะใต้น้ำทำลายชีวิตสัตว์ทะเล เมื่อวันที่ 8 ส.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการพบแพอวน เศษซากเครื่องมือทำประมงขนาดใหญ่ น้ำหนักกว่า 1 ตัน ถูกกระแสน้ำพัดเข้ามาจนกระทั่งมาเกยตื้นชายหาด บริเวณสะพานบ้านสุดขอบฟ้า ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี โดยที่มีชาวประมงเรือเล็กที่ไม่ได้ออกทะเลเพราะช่วงฤดูมรสุม ต่างพากันมาตัดอวนเหล่านี้ไปขายเป็นขยะพลาสติก สร้างรายได้เสริมกว่า 1 พันบาทต่อคน เพราะขยะอวนจากทะเลเหล่านี้สามารถนำไปขายเป็นขยะรีไซเคิลได้กิโลกรัมละ 6 บาท โดยของฟรีที่กองอยู่นี้จึงค่อยถูกทยอยกำจัดตามแรงของชาวบ้าน โดยลงทุนลงแรงเพียงมีด-ขวาน ที่ทยอยสางและตัดอวนเหล่านี้ ให้หลุดออกจากกัน นายสมเกียรติ เจนจัดทรัพย์ อายุ 55 ปี ชาวประมงเรือเล็กในพื้นที่ กล่าวว่า พอชาวบ้านเห็นว่ามีอวนมาเกยหาด ก็พากันออกมาตัดขาย แม้รายได้จะไม่มาก เพียงกิโลกรัมละ 6 บาท แต่นับว่าเป็นรายได้เสริม ช่วงที่เรือออกหาปลาไม่ได้ ช่วยเป็นค่ากับข้าวในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้ขยะพวกนี้หมดไปอีกทางหนึ่งด้วย โดยขยะอวนเหล่านี้จะถูกพัดเข้าฝั่งเป็นประจำในช่วงฤดูมรสุม แต่ปีนี้มีความแตกต่าง เพราะมีปริมาณมาก อีกทั้งลักษณะม้วน พันม้วนเป็นก้อนอัดแน่นจนกลายเป็นแพอวนขนาดมหึมา ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตัน โดยชาวประมงเชื่อว่าช่วงมรสุมเกิดกระแสน้ำจืดและน้ำเค็มปะทะกันทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำที่พัดเอาทุกสิ่งทุกอย่างในทะเลมารวมกัน ที่ชาวเลเรียกว่า ซังเล้า ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวประมงเข้าใจว่าคือขยะจากเครื่องมือประมงที่หลุดหายไปตามกระแสน้ำ ทั้งของประมงคนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ อาจารย์เพ็ญจันทร์ ละอองมณี อาจารย์คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มองว่าอวนขยะจำนวนมากเหล่านี้นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ สำหรับความเปลี่ยนเปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ปรากฏการณ์ที่ทำให้เห็นขยะจำนวนมาก แม้ว่าน่าตกใจ แต่นับเป็นความโชคดีที่คลื่นลมช่วยพัดเกยฝั่งให้เห็น เพราะหากแพขยะอวนเหล่านี้ยังลอยอยู่ในทะเลนานต่อไป อาจจะพบสัตว์ทะเลหลงเข้าไปติด กลายเป็นอวนที่ทำลายชีวิตสัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์จำพวกเต่าทะเล และโลมา สิ่งที่ภาครัฐสามารถทำได้คือการสื่อสารกับชุมชน ชาวประมงในพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการทิ้งขยะลงทะเล และการใช้เครื่องมือประมงอย่างมีคุณภาพ ส่วน นางสาวลลิตา ปัจฉิม นักวิชาการประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า เข้าที่สังเกตและตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากขยะอวนเหล่านี้ พบว่าแพอวนกองนี้สร้างความเสียหายให้กับสัตว์ทะเลจำพวกกัลปังหา ปลาเล็กปลาน้อย และสัตว์น้ำขนาดเล็ก แต่โชคดีว่าหลังจากการสำรวจไม่พบชิ้นส่วนของปะการังติดมากับอวน ทั้งที่เขตชายฝั่งทะเลเจ้าหลาวเป็นเขตแนวปะการังที่กว้างและยาว แต่จุดที่อวนเหล่านี้ลอยผ่านเป็นพื้นที่ปะการังที่ไม่มีชีวิต จึงไม่มีกิ่งก้านของปะการังได้รับความเสียหาย. https://www.thairath.co.th/news/loca...siness/2715765
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
จีนย้ำให้ฟิลิปปินส์นำ 'ซากเรือรบ' ออกจากสันดอนพิพาททะเลจีนใต้ หลัง 'ฉีดน้ำ' สกัดเรือส่งเสบียง กระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงย้ำข้อเรียกร้องในวันนี้ (8 ส.ค.) ให้รัฐบาลฟิลิปปินส์เร่งดำเนินการเคลื่อนย้ายซากเรือรบยุคสงครามโลกออกไปจากสันดอนซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้ หลังจากที่มะนิลายืนกรานจะไม่ถอนตัวออกจากพื้นที่ดังกล่าว ข้อพิพาทเรื่องสันดอน Second Thomas Shoal ในทะเลจีนใต้กลายเป็นประเด็นร้อนระอุขึ้นมา หลังจากที่รัฐบาลกรุงมะนิลากล่าวหายามฝั่งจีนว่า "แสดงท่าทีก้าวร้าวเกินกว่าเหตุ" ต่อเรือของฟิลิปปินส์ "จีนขอเรียกร้องอีกครั้งให้ฟิลิปปินส์เคลื่อนย้ายเรือรบดังกล่าวออกไปจากสันดอน Second Thomas Shoal และทำให้พื้นที่ดังกล่าวปราศจากการอยู่อาศัยดังเดิม" คำแถลงจากกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุ ทางกระทรวงฯ ย้ำว่าได้เคยประสานพูดคุยกับฟิลิปปินส์เรื่องสันดอนแห่งนี้มาแล้ว "หลายครั้ง" ผ่านช่องทางการทูต ทว่าไมตรีและความจริงใจของจีนกลับถูก "เพิกเฉย" สันดอน Second Thomas Shoal หรือ Ayungin ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดปาลาวันของฟิลิปปินส์เพียง 195 กิโลเมตร และกองทัพฟิลิปปินส์ได้ส่งกองกำลังเข้าไปประจำการชั่วคราวบนเรือรบลำหนึ่งซึ่งเกยตื้นในบริเวณดังกล่าว วันนี้ (8 ส.ค.) หน่วยยามฝั่งจีนได้เผยแพร่คลิปวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ขณะที่เรือของตนใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงขับไล่เรือของฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 5 ส.ค. โดยระบุว่าเป็นการ "เตือน" พร้อมย้ำว่าจีนพยายามใช้ "ความอดทนอดกลั้นด้วยเหตุและผล" มาโดยตลอด จากคลิปดังกล่าวจะเห็นว่า เรือจีนใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงเล็งเข้าไปใกล้ๆ เรือฟิลิปปินส์ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ทว่าไม่ได้ถูกลำตัวเรือโดยตรง โจนาธาน มาลายา ผู้ช่วยเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติฟิลิปปินส์ ออกมาย้ำสิ่งที่พูดไปเมื่อวันจันทร์ (7) ว่า ?ฟิลิปปินส์จะไม่มีวันทิ้งฐานของเราบนสันดอน Ayungin... เราขอร้องให้จีนอย่าทำให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตด้วยการเอาเครื่องฉีดน้ำหรือเลเซอร์เกรดทหารมาใช้ ซึ่งจะทำให้ชีวิตพลเมืองฟิลิปปินส์ตกอยู่ในความเสี่ยง แต่ขอให้เจรจากันอย่างจริงใจหรือใช้ช่องทางการทูตอื่นๆ? ข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างจีนและฟิลิปปินส์กลับมาทวีความตึงเครียดหลังจากที่ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดี เนื่องจาก มาร์กอส นั้นมีนโยบายกระชับมิตรกับสหรัฐฯ ซึ่งหนุนหลังมะนิลาเต็มที่ในประเด็นนี้ หน่วยยามฝั่งจีนแถลงวานนี้ (7) ว่า จีนเคยเตือนฟิลิปปินส์แล้วว่าอย่าส่งเรือไปที่สันดอนแห่งนี้ และห้ามไม่ให้มีการส่งอุปกรณ์ก่อสร้างเข้าไปซ่อมแซมซากเรือรบที่เกยตื้นอยู่ด้วย ที่มา : รอยเตอร์ https://mgronline.com/around/detail/9660000071182
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|