#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 21 ? 22 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 23 ? 26 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอด ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
น้ำทะเลเกาะล้านเปลี่ยนเป็นสีเขียวอีกครั้ง ขณะนักท่องเที่ยวไม่หวั่นเล่นน้ำตามปกติ ศูนย์ข่าวศรีราชา ? แพลงก์ตอนบลูม ทำน้ำทะเลเกาะล้านเปลี่ยนเป็นสีเขียวอีกครั้ง แต่ครั้งนี้นักท่องเที่ยวไม่หวั่นหลังมีความเข้าใจเป็นปรากฏการณ์ทำธรรมชาติอยู่เพียงช่วงสั้นๆ 2-3 วัน พากันลงเล่นน้ำบริเวณหาดตาแหวน และหาดตายาย ตามปกติ วันนี้ ( 20 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานน้ำทะเลบริเวณชายหาดเกาะล้าน เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ได้กลับมาเป็นสีเขียว จากปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมอีกครั้ง หลังในช่วงหยุดยาวเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาได้เคยเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลสีเขียนที่บริเวณหาดตาแหวน และหาดตายายไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในครั้งนี้พบว่านักท่องเที่ยวเริ่มมีความเข้าใจกับปรากฏการณ์ดังกล่าว และบางส่วนได้พากันลงเล่นน้ำตามปกติ ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ แพลงก์ตอนบลูม เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำทะเลเป็นสีเขียวเนื่องจากมีน้ำจืดไหลลงทะเลจำนวนมากและมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี https://mgronline.com/local/detail/9660000074997
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
น้ำเขียว-ทะเลเรืองแสง เกี่ยวข้องกันหรือไม่ 'ดร.ธรณ์' มีคำอธิบายชัดเจน 20 ส.ค.2566-ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat เรื่อง น้ำเขียว-ทะเลเรืองแสง เกี่ยวข้องกันไหม ? คำตอบคือใช่ครับ ระบุว่า ตอนนี้น้ำเขียวกลับมาที่ชายฝั่งชลบุรี เช่น เกาะสาก บางที่ เช่น ศรีราชา ถึงขั้นมีปลาตาย บางแห่ง เช่น บางแสน ตอนนี้มีปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสง เห็นเป็นสีฟ้า ทั้งหมดนั้นล้วนมาจากปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม ที่เล่าไปหลายหนแล้ว แพลงก์ตอนที่สะพรั่ง (บลูม) อยู่ตอนนี้คือพวกไดโนแฟลกเจลเลต สกุล Noctiluca เป็นแพลงก์ตอนพืชที่พบทั่วไป ไม่มีพิษ แต่บางครั้งจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว และเมื่อตายลงพร้อมกัน จะทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง โดยเฉพาะใกล้พื้นทะเล กรมทะเลเพิ่งสำรวจเมื่อวาน การตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้นมีค่าอุณหภูมิ 32.5-35.4 องศาเซลเซียส และออกซิเจนละลาย 0.70-5.51 มิลลิกรัมต่อลิตร สังเกตตัวเลขอุณหภูมิ หากไม่ผิดพลาดประการใด ถือว่าสูงผิดปรกติ เพราะอุณหภูมิน้ำช่วงนี้ของเดือนไม่ควรถึง 32 องศา หากไม่ผิดพลาดประการใด อาจบ่งบอกว่าเอลนีโญเริ่มแรงขึ้นแล้ว แต่คงต้องตามต่อไปอีกสักระยะ ออกซิเจนบางจุดแถวอ่าวอุดมต่ำกว่า 1 ถือว่าต่ำมากครับ ไม่น่าแปลกที่ปลาตาย (ปรกติน่าจะ 5-6) มาถึงเรื่องทะเลเรืองแสง มาจากแพลงก์ตอนบลูมเช่นกัน เป็นกระบวนการ Bioluminescence ที่เกิดกับแพลงก์ตอนกลุ่มนี้แหละ ในไต้หวัน มีบางหาดที่เป็นจุดท่องเที่ยว ไปดูทะเลเรืองแสง ก็เป็นแพลงก์ตอนกลุ่มเดียวกัน อาจมีบางจังหวะที่ทำให้ทะเลเรืองแสงเป็นสีฟ้า ที่บางแสงก็เคยเกิดหลายหนแล้ว แต่ทำนายเป๊ะๆ ไม่ได้ แม้ทะเลเรืองแสงจะสวยดี แต่อย่าลืมว่านั่นคือความผิดปรกติ ทำให้ปลาตาย น้ำเหม็นคาว ส่งผลต่อการประมง/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง การท่องเที่ยว ฯลฯ การเกิดน้ำเขียวแพลงก์ตอนบลูมอย่างต่อเนื่องในชาวฝั่งบางแสน/ศรีราชา/อ่าวอุดม/พัทยา/เกาะต่างๆ แถวนั้น เป็นเรื่องที่ผมเขียนมาต่อเนื่อง 2 เดือนแล้ว ดูจากความถี่แล้ว น่าจะมากกว่าปีก่อน อาจเป็นเอลนีโญ อาจเป็นโลกร้อน อาจมาจากผลกระทบจากมนุษย์โดยตรง ฯลฯ ผมเขียนแนวทางศึกษา หาทางเตือนภัย ปรับตัว ฯลฯ ไปหลายครั้ง ขอไม่เขียนซ้ำ แต่ที่คงต้องซ้ำๆๆ คือทะเลกำลังแปรปรวนอย่างหนัก เราคงต้องเร่งเรียนรู้ทำความเข้าใจทะเลยุคใหม่ เพื่อหาหนทางรับมือ/ปรับตัวให้ดีกว่านี้ ไม่งั้นชายหาดของเราก็คงมีแต่น้ำเขียวๆๆ ปลาตายๆๆ เหมือนที่เห็นในภาพครับ https://www.thaipost.net/general-news/434225/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|