#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 25 ? 26 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 ? 28 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 29 ? 30 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับในช่วง 27 ? 30 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 25 ? 26 ส.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ในช่วงวันที่ 27 ? 30 ส.ค. 66 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ทะเลน้ำแข็งแอนตาร์กติกาแตก ทำลูกเพนกวินจักรพรรดิตายนับหมื่นตัว นักวิทยาศาสตร์พบว่า ทะเลน้ำแข็งในขั้วโลกใต้ละลายและแตกตัวเร็วกว่าปกติ ส่งผลลูกเพนกวินที่ยังไม่โตพอจะรอดชีวิตในทะเล จมน้ำหรือหนาวตายในทะเลนับหมื่นตัว สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ภาพถ่ายจากดาวเทียมจับภาพเหตุการณ์น่าสลด เมื่อแผ่นทะเลน้ำแข็งขนาดใหญ่ในทวีปแอนตาร์กติกา ที่ขั้วโลกใต้ ละลายและแตกตัวออกจากกัน ทำให้ในขณะที่มีโคโลนีเพนกวินอยู่ด้านบน ส่งผลให้ลูกเพนกวินจักรพรรดิ ที่ขนกันน้ำสำหรับว่ายน้ำยังไม่ขึ้น จมน้ำหรือหนาวตายในทะเลจำนวนมาก คาดว่าอาจถึง 10,000 ตัว เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ทางตะวันตกของแอนตาร์กติกา บริเวณทะเลเลลิงเชาเซน โดย ดร.ปีเตอร์ เฟรตเวลล์ จากสำนักงานสำรวจแอนตาร์กติกแห่งอังกฤษ (BAS) กับเพื่อนร่วมงานรายงานเรื่องนี้ผ่านวารสาร Communications Earth & Environment พร้อมเตือนว่า ความสูญเสียครั้งนี้เป็นลางบอกเหตุของหายนะที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์เอาไว้ว่า โคโลนีของเพนกวินจักรพรรดิมากกว่า 90% จะสูญพันธุ์ในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้ เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้ทะเลน้ำแข็งตามฤดูกาลของทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ "เพนกวินจักรพรรดิพึ่งพาทะเลน้ำแข็งในวัฏจักรการสืบพันธุ์ เนื่องจากเป็นพื้นที่มั่นคงสำหรับใช้เลี้ยงดูลูกของพวกมัน แต่ถ้าน้ำแข็งดังกล่าวไม่กว้างขวางอย่างที่ควรจะเป็น หรือแตกตัวเร็วกว่าปกติ นกเหล่านี้จะลำบาก" ดร.เฟรตเวลล์บอกกับ บีบีซี "ยังมีความหวังอยู่ เราสามารถลดการปล่อยคาร์บอนที่เป็นสาเหตุของโลกร้อนได้" ดร.เฟรตเวลล์กล่าวเสริม "แต่หากเราไม่ทำ เราจะเป็นผู้ผลักให้นกที่งดงามเป็นเอกลักษณ์นี้ไปสู่ขอบเหวของการสูญพันธุ์" ทั้งนี้ ดร.เฟรตเวลล์กับเพื่อนร่วมงานใช้ดาวเทียม เซนติเนล-2 (Sentinel-2) ของสหภาพยุโรป ติดตามสังเกตการณ์โคโลนีเพนกวิน 5 กลุ่มในทะเลเบลลิงเชาเซน ประกอบด้วยโคโลนีบนเกาะ รอธส์ไชล์ด, เกาะเวอร์ดี, เกาะสไมลีย์, คาบสมุทรไบรอัน และแหลมฟรอกเนอร์ ตามปกติแล้ว เพนกวินวัยผู้ใหญ่จะขึ้นไปอยู่ทะเลน้ำแข็งในช่วงเดือนมีนาคม ในขณะที่ฤดูหนาวของซีกโลกใต้ใกล้เข้ามา พวกมันจะเกี้ยวพาราสี, ผสมพันธุ์, วางไข่ และเลียงดูลูกตลอดหลายเดือนหลังจากนั้น จนกระทั้งลูกของมันโตพอที่จะไปเผชิญโลกกว้าง ซึ่งมักจะเป็นช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม แต่เมื่อปีก่อน น้ำแข็งเริ่มแตกตัวในเดือนพฤศจิกายน ก่อนที่ลูกเพนกวินจะงอกขนกันน้ำสำหรับว่ายน้ำ ส่งผลให้การสืบพันธุ์ใน 4 โคโลนี ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง มีเพียงโคโลนีที่อยู่ทางเหนือสุดที่เกาะรอธส์ไชลด์ เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จบ้าง https://www.thairath.co.th/news/foreign/2719952 ****************************************************************************************************** จีน ฮ่องกง แบนอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทันที หลังปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี จีน ฮ่องกงลงดาบ ห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทันที หลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เริ่มปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัด ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกแล้ววันนี้ เมื่อ 24 ส.ค. 2566 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน รัฐบาลจีนประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมดแล้ว หลังจากญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ได้รับการบำบัดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่ก่อให้เกิดสึนามิเมื่อ 12 ปีก่อน ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกแล้วในวันนี้ (24 ส.ค.) สำนักงานศุลกากรของจีนออกแถลงการณ์ทันทีในวันนี้ว่า สำนักงานศุลกากรรู้สึกเป็นห่วงอย่างยิ่งเกี่ยวกับความเสี่ยงของกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารทะเล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่นำเข้าจากญี่ปุ่น หลังจากเริ่มปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด ในขณะที่รัฐบาลฮ่องกงภายใต้การนำของนายจอห์น ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกงได้ประกาศห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากพื้นที่ 10 จังหวัดของญี่ปุ่น อาทิโตเกียว, ฟุกุชิมะและ ชิบะ ทันทีในวันนี้ เนื่องจากหวั่นวิตกในเรื่องความปลอดภัย หลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเริ่มปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกแล้วในวันนี้ มีรายงาน ญี่ปุ่นส่งออกอาหารทะเลไปยังจีน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565 จนทำให้จีนถือเป็นตลาดรับซื้ออาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ในขณะที่ฮ่องกง ส่งออกอาหารทะเลไปยังประเทศจีนมากที่สุดรองลงมาเป็นอันดับสอง หรือประมาณ 42% ของอาหารทะเลที่ญี่ปุ่นส่งไปขายในประเทศจีน ในปี 2565 ทั้งนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ซึ่งดำเนินกิจการโดยบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ (Tepco, เทปโก) ได้เริ่มปล่อยน้ำรอบแรกที่ผ่านการบำบัดผ่านอุโมงค์ใต้น้ำสู่มหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว เมื่อเวลา 13.03 น. ของวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น หลังรัฐบาลญี่ปุ่นได้ลงนามอนุมัติเมื่อสองปีก่อน และระบุว่า ได้รับ 'ไฟเขียว' ผ่านการตรวจสอบจากทบวงการพลังงานปรมาณูสากลของสหประชาชาติ (IAEA) แล้ว ถึงแม้จะถูกต่อต้านคัดค้านอย่างหนักจากชาวประมงในญี่ปุ่นเอง ประชาชนที่เป็นห่วงทะเล และกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชาติเพื่อนบ้านทั้งเกาหลีใต้และจีน รัฐบาลจีนได้ยืนยันในจุดยืนที่คัดค้านต่อแผนการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ มาตลอด โดยระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ เหล่านี้มีความปลอดภัย ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นตอบโต้คำวิพากษ์วิจารณ์ของจีนว่า จีนได้เผยแพร่ข้อกล่าวหาที่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะรอบแรก อยู่ที่ 7,800 ลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่ากับสระว่ายน้ำตามมาตรฐานโอลิมปิก จำนวน 3 สระ และต้องใช้ระยะเวลาในการปล่อยน้ำลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเวลาประมาณ 17 วัน. ที่มา : Reuters, South China Morning Post https://www.thairath.co.th/news/foreign/2719887
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ทีมสำรวจใต้น้ำออสเตรเลียเจอปลา "เดินได้" พันธุ์หายากที่ก้นทะเลเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี กลุ่มนักสำรวจใต้ทะเลของออสเตรเลียเผยความตื่นเต้นในการพบปลาทะเลหายากที่ไม่เคยปรากฏตัวในน่านน้ำของประเทศมากว่า 2 ทศวรรษ เครดิตภาพ : Australian National Fish Collection, CSIRO. วานนี้ (23 ส.ค. 2566) องค์การวิจัย CSIRO (The Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation) ของรัฐบาลออสเตรเลีย เผยแพร่รายงานว่า แคนดิซ อันทีดต์ นักนิเวศวิทยาทางทะเล ซึ่งร่วมทีมสำรวจระบบนิเวศวิทยาใต้ทะเลทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย เป็นคนแรกที่สังเกตและชี้ให้เห็นสัตว์น้ำพันธุ์หายากซึ่งไม่เคยปรากฏให้เห็นในแบบที่ยังมีชีวิตอยู่ในท้องทะเลของออสเตรเลียมามากกว่า 2 ทศวรรษแล้ว ? ปลาประหลาดที่ปรากฏในภาพถ่ายมีสีอ่อนจนเกือบขาว ส่วนหัวมีลักษณะมน ส่วนหางยาวเรียวและมีส่วนที่งอกออกมาด้านล่างของลำตัวที่ดูคล้ายกับขาและเท้า? อันทีดต์ กล่าวว่า เธอมั่นใจว่าปลาดังกล่าวคือ Narrowbody handfish ซึ่งเป็นปลาตีนชนิดหนึ่ง ไม่มีใครเคยเห็นหรือถ่ายภาพปลาชนิดนี้ได้มานานแล้ว โดยครั้งสุดท้ายที่มีผู้พบเห็นคือปี 2539? ปลาตีนถือว่าเป็นปลาสายพันธุ์ที่มีข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจน้อยมาก มันอาศัยอยู่ก้นทะเล เคลื่อนไหวได้ด้วยการ "เดิน" โดยอาศัยครีบที่มีลักษณะเหมือนมือ/เท้า เท่าที่มีการสำรวจพบ ปลาตีนที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำทางใต้ของออสเตรเลียมีทั้งหมด 14 สายพันธุ์ด้วยกัน เมื่อเทียบกับภาพตัวอย่างของปลาตีนสายพันธุ์ที่น่าจะเป็นพันธุ์เดียวกันซึ่งมีการเก็บตัวอย่างไว้เมื่อ 27 ปีก่อน ก็พบว่าปลาในภาพถ่ายมีลายจุดตามลำตัวที่ใหญกว่ามาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถจับปลาตัวจริงที่เห็นในภาพขึ้นมาศึกษาได้ จึงไม่อาจยืนยันได้ว่ามันคือปลาตีนสายพันธุ์นี้จริงหรือไม่ ถึงอย่างนั้นการค้นพบครั้งนี้ก็สร้างความตื่นเต้นให้ทีมวิจัยอย่างมาก ตามปกติแล้ว จะพบเห็นปลาตีนซึ่งทุกวันนี้ได้กลายเป็นปลาหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปแล้ว ที่ความลึกใต้ทะเลประมาณ 1,000 ฟุต ในทะเลทางตอนใต้ของออสเตรเลีย เหนือเกาะแทสมาเนีย ที่มา : miamiherald.com https://www.dailynews.co.th/news/2654391/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
ประณาม! ต่างชาติคัดค้านหนัก หลังญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำจากโรงงานไฟฟ้า 'ฟุกุชิมะ' (REUTERS/Minwoo Park) สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า หลังจากที่ญี่ปุ่นได้เริ่มต้นการปล่อยน้ำผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกผ่านอุโมงค์ส่งน้ำใต้ทะเล ในเวลา 13.00 น. ของวันที่ 24 สิงหาคม ประชาชนและเหล่าประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น อย่างจีนและเกาหลีใต้ หรือแม้กระทั่งชุมชนประมงของญี่ปุ่นไม่พอใจอย่างมาก กลุ่มประมงของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากความกลัวต่อผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีมานานหลายปี ได้คัดค้านแผนดังกล่าวมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเกรงว่าจะนำไปสู่การสูญเสียตลาดที่สำคัญในการส่งออกอาหารทะเลของประเทศ ดังเช่นที่ประธานกลุ่มสหกรณ์ประมงญี่ปุ่นกล่าวว่า ชุมชนชาวประมงในญี่ปุ่นรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จีนซึ่งเป็นตลาดการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ได้ประกาศแบนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่น สอดคล้องกับที่กรมศุลกากรจีนระบุผ่านแถลงการณ์ว่า จีนมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับอาหารและสินค้าเกษตรของญี่ปุ่นที่ส่งออกไปยังประเทศจีนที่มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ส่วนเหล่าผู้ขายอาหารทะเลในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงปักกิ่งต่างรู้สึกโกรธและหวาดกลัวผลกระทบต่ออนาคตของธุรกิจตนเอง ท่ามกลางคลื่นความไม่พอใจในประเทศและสื่อสังคมออนไลน์ที่ประณามการกระทำดังกล่าวว่าเป็นเรื่องที่เห็นแก่ตัวและไร้ความรับผิดชอบ ด้านนายกรัฐมนตรีฮัน ดักซู ของเกาหลีใต้กล่าวว่า จะทำการห้ามนำเข้าสินค้าการประมงและอาหารจากจังหวัดฟุกุชิมะต่อไปจนกว่าความกังวลของสาธารณชนจะคลี่คลายลง ขณะที่ตำรวจเกาหลีใต้ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยอย่างน้อย 16 คนเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ด้วยข้อหาบุกรุก เนื่องจากพยายามเข้าไปในอาคารที่ตั้งของสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงโซล ระหว่างการประท้วงต่อต้านการที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำผ่านการบำบัดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงมหาสมุท-รแปซิฟิก https://www.matichon.co.th/foreign/news_4145462
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'ชั้นโอโซน' มีรูรั่วและขยายใหญ่ขึ้น ขั้วโลกร้อนจัดเร็วกว่าที่คิด โลกจะร้อนไปกันใหญ่แล้ว เมื่อ "ชั้นโอโซน" มีรูรั่วและขยายรัศมีใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งซ้ำเติมปัญหา "ภาวะโลกเดือด" ทำขั้วโลกเหนือ-ใต้ อุณหภูมิพุ่งสูงเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ Key Points: - ชั้นโอโซนถือเป็นเกราะกำบังไม่ให้รังสี UV จากดวงอาทิตย์ แผดเผาสิ่งมีชีวิตบนโลกได้โดยตรง เกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น - ปัจจุบันชั้นโอโซนบริเวณขั้วโลกใต้มีรูรั่วที่ขยายตัวใหญ่ขึ้นเร็วกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโลกในหลายปัจจัย - เมื่อชั้นโอโซนถูกทำลาย ปัญหาที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกมากที่สุดคือ สภาพอากาศแปรปรวน น้ำแข็งละลาย น้ำทะเลอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นต้น ปัญหา "สภาพอากาศแปรปรวน" และ "ภาวะโลกร้อน" ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีการค้นพบว่ารูรั่วของ "ชั้นโอโซน" บริเวณเหนือทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ขึ้นมากผิดปกติ และขยายเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจนำไปสู่ภาวะโลกร้อนบริเวณขั้วโลกใต้ที่รุนแรงมากขึ้น เบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า รูรั่วของชั้นโอโซนนี้ เป็นผลพวงจากไอน้ำที่อยู่บริเวณชั้นสตราโตสเฟียร์ของโลก หลังจากการระเบิดของภูเขาไฟ Hunga Tonga?Hunga Ha'apai (ฮังกา ตองกา-ฮังกา ฮาอาปาย) เมืองตองกา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการระเบิดตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดบนโลกในรอบกว่าศตวรรษ ชั้นโอโซนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? "โอโซน" หรือ Ozone ในชั้นบรรยากาศมีหน้าที่กรองรังสียูวี (UV) จากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก หลังจากกรองเสร็จแล้วจะแตกตัวกลายเป็นแก๊สออกซิเจนและอะตอมออกซิเจน แล้วกลับมาเป็นโอโซนได้อีกครั้ง เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบ ส่วนมากพบในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) นอกจากการกรอง UV แล้ว โอโซนยังทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน (การสูญเสียอิเล็กตรอนระหว่างปฏิกิริยาของโมเลกุล อะตอม หรือไอออน) กับสารรอบตัวได้เกือบทุกชนิด ซึ่งเกิดปฏิกิริยาได้รุนแรงและรวดเร็วกว่าคลอรีนมากถึง 3,000 เท่า โอโซนจึงมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ กำจัดกลิ่นและสารปนเปื้อนได้เป็นอย่างดี โดยโอโซนจะเข้ามาทำปฏิกิริยากับโมเลกุลเป้าหมาย และได้สารที่มีโครงสร้างเล็กลง ส่วนโอโซนที่ถูกเปลี่ยนเป็นออกซิเจนนั้นไม่เป็นอันตราย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงมีการนำโอโซนไปใช้ในอุตสาหกรรมฆ่าเชื้อโรค เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องกรองน้ำ เป็นต้น โดย "โอโซน" แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ - โอโซนตามธรรมชาติ เกิดจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงในอากาศ เช่น ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ หรือปฏิกิริยาของออกซิเจนในอากาศกับแสงอาทิตย์ - โอโซนที่มนุษย์สร้างขึ้น ใช้ UV หรือ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง ให้ออกซิเจนในอากาศเกิดปฏิกิริยากลายเป็นโอโซน แม้ว่าโอโซนจะมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม แต่กลับถูกทำลายไปอย่างมากด้วยฝีมือของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ โดยตัวการสำคัญก็คือสาร CFCs (Chlorofluorocarbons) ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นจาก อะตอมคาร์บอน คลอรีน และฟลูออรีน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ให้ความเย็นในชีวิตประจำวัน และสเปรย์ฉีดพ่นต่างๆ เมื่อคนเราใช้งานสินค้าเหล่านี้และปล่อยสาร CFCs สู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์รูโหว่ของ "ชั้นโอโซน" บริเวณขั้วโลกขยายกว้างขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าว รูโหว่โอโซนขยาย ส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางแห่งยุโรป ระบุว่า รูรั่วในชั้นโอโซนที่เริ่มก่อตัวขึ้นเหนือทวีปแอนตาร์กติกามีขนาดใหญ่กว่าปกติ อาจส่งผลให้น้ำในมหาสมุทรขั้วโลกใต้มีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้ระดับน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกาก็อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ด้าน ดร.มาร์ติน ยุคเกอร์ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ กล่าวว่า รูโหว่ดังกล่าวมักเริ่มก่อตัวในช่วงปลายเดือน ก.ย. และขยายใหญ่ถึงจุดสูงสุดในเดือน ต.ค. ก่อนที่จะรูจะหุบปิดลงในเดือน พ.ย. หรือ ธ.ค. แต่จากข้อมูลของ Copernicus Climate Change Service แสดงให้เห็นว่าหลุมหรือรูโหว่ในชั้นโอโซนมีการเติบโตขยายตัวเร็วมาก และคาดว่าจะขยายตัวเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยชั้น "ชั้นโอโซน" ดังกล่าว เป็นพื้นที่ของชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า สตราโตสเฟียร์ อยู่เหนือพื้นผิวโลกระหว่าง 15-30 กิโลเมตร มีความเข้มข้นของโอโซนสูงกว่าส่วนอื่นของชั้นบรรยากาศ มีหน้าที่สำคัญในการเป็นเกราะป้องกันที่มองไม่เห็นสำหรับโลก ด้วยการดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ ที่เป็นอันตรายออกไปได้มาก ป้องกันไม่ให้สิ่งมีชีวิตบนโลกถูกแผดเผาจนตาย ก่อนหน้านี้ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 นักวิทยาศาสตร์เคยค้นพบรูในชั้นโอโซนเหนือขั้วโลกใต้ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในช่วงไม่กี่ครั้งที่ผ่านมา ก่อนจะพบว่าโอโซนในชั้นดังกล่าวถูกทำลายโดยสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเฉพาะสารก่อความเย็นและตัวทำละลาย ซึ่งลอยขึ้นไปสู่ชั้นสตราโตสเฟียร์ เบื้องต้นคาดว่าอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้รูโหว่ในชั้นโอโซนขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วก็คือ การระเบิดของภูเขาไฟฮังกา ตองกา-ฮังกา ฮาอาปาย เมื่อปี 2022 ที่แม้ว่าจะเป็นการระเบิดตามธรรมชาติ แต่ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะทำให้เกิดการปะทุใต้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ปล่อยพลังงานใกล้เคียงกับ TNT 20 เมกะตันในการระเบิด 5 ครั้ง โดยครั้งใหญ่ที่สุดคือ 15 เมกะตัน ทำให้มีขี้เถ้าและก๊าซพิษหลงเหลืออยู่ในอากาศเป็นจำนวนมาก จากการระเบิดของภูเขาไฟและปัญหาการปล่อยมลพิษจากฝีมือมนุษย์ ส่งผลให้รูโหว่ของชั้นโอโซนบริเวณขั้วโลกใต้ขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วในลักษณะผิดปกติ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อนบริเวณขั้วโลกใต้มากขึ้น รวมถึงทำให้ให้น้ำทะเลบริเวณนั้นเกิดการระเหยเป็นไอน้ำปริมาณมาก (ไอน้ำส่วนเกิน) ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้ "ชั้นโอโซน" เสื่อมโทรมลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และตอนนี้ดูเหมือนว่าชั้นโอโซนถูกทำลายไปมากแล้ว การเกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ผิดของชั้นโอโซนบริเวณแอนตาร์กติกานั้น ถือว่าเป็นข่าวร้ายของสิ่งแวดล้อมโลกเลยก็ว่าได้ เพราะโลกต้องเผชิญความเครียดจากอุณหภูมิที่เพิ่มมากขึ้นเรื่องๆ เนื่องจากสูญเสียเกราะปกป้องผิวโลกจากรังสี UV ไปเรื่อยๆ และยังส่งผลกระทบไปยังทวีปอื่นๆ และทะเลโดยรอบได้รับความร้อนเพิ่มมากขึ้นตามมาอีกด้วย "เมื่อรังสี UV ที่ไปถึงแอนตาร์กติกาและมหาสมุทรแถบขั้วโลกใต้มากขึ้น หมายความว่า จะมีพลังงานในการละลายน้ำแข็งขั้วโลกมากขึ้น ซึ่งตอนนี้โลกเราเหลือน้ำแข็งที่ขั้วโลกน้อยมาก และมีน้ำในมหาสมุทรมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่มหาสมุทรทางขั้วโลกใต้จะร้อนขึ้นอีก และส่งผลให้น้ำแข็งละลายมากขึ้น" ดร.มาร์ติน ระบุ ท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่ารูรั่วของชั้นโอโซนจะเริ่มขยายตัวมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ แต่ก็ยังไม่สายที่ทุกคนจะหันกลับมาช่วยกันดูแลและร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นโอโซนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ บนโลกถูกทำลายไปมากกว่านี้ ก่อนที่จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก และมนุษย์อาจพ่ายแพ้ให้กับ "ภาวะโลกเดือด" ในที่สุด อ้างอิงข้อมูล : Copernicus Climate Change Service, IFL science, The Guardian และ สสวท. https://www.bangkokbiznews.com/environment/1085040
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
ฮือฮา! "วาฬหลังค่อม" โผล่อวดโฉมทะเลภูเก็ต เป็นครั้งที่สองของไทย ฮือฮา! พบ "วาฬหลังค่อม" สัตว์ทะเลน้ำลึกสุดหายาก โผล่อวดโฉมในน่านน้ำทะเลภูเก็ต เป็นครั้งที่สองของไทย สร้างความตื่นเต้น นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก 24 สิงหาคม 2566 เป็นเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น และส่งผลดี ต่อการท่องเที่ยวทางทะเลของประเทศไทย ที่ติดอันดับโลก เมื่อมีรายงานว่า วันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต ได้รับแจ้งจาก นายเจริญ ชนะพล ว่า พบวาฬขนาดใหญ่ ระหว่างเดินทางด้วยเรือท่องเที่ยว ขณะเดินทางออกจาก จ.ภูเก็ต มุ่งหน้าสู่เกาะพีพี จ.กระบี่ และได้รับการยืนยันจาก สัตวแพทย์หญิงราชาวดี จันทรา นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ยืนยัน ว่า เป็นชนิด "วาฬหลังค่อม" (Humpback whale; Megaptera novaeangliae) และตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม จากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ทราบว่า เป็น "วาฬหลังค่อม" จริง สันนิษฐานว่า มีการว่ายน้ำตามสัตว์ขนาดเล็ก ที่เป็นอาหาร มายังบริเวณดังกล่าว แต่จะอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่นาน เพราะวาฬชนิดนี้ จะอยู่อาศัยในทะเลลึก นายสุเทพ เจือละออง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน กล่าวว่า จากการสอบถามไปยัง นายเจริญ ชนะพล ผู้พบเห็นวาฬดังกล่าว และเป็นเจ้าของคลิป แจ้งว่า หลังออกเรือจากภูเก็ต เพื่อไปยังเกาะพีพี (ตะวันออกใต้) จ.กระบี่ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา ช่วงเวลาดังกล่าว ผิวน้ำเรียบมาก แต่มีวาฬว่ายสวนเข้ามา ตัดกับทิศทางเรือ หันหัวไปทางตะวันตก ดูจากหัวและหางวาฬ มุ่งหน้าเข้า เกาะเฮ ไม้ท่อน แหลมพันวา เห็นประมาณ 10 นาที ก่อนดำน้ำหายไป หลังรับรายงาน เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ลงตรวจสอบ เมื่อช่วงสายวันนี้ ( 24 ส.ค.) พบเพียงร่องรอย แต่ไม่เจอตัว โดยวาฬชนิดนี้ จะอาศัยอยู่ในทะเล เหตุที่เข้ามานั้น เนื่องจากว่ายตามฝูงปลา ที่เป็นอาหารเข้ามา แต่จะอยู่ไม่นาน ก่อนจะกลับลงไปในทะเลลึกเหมือนเดิม ทั้งนี้ หากท่านใดพบเห็น ขอความอนุเคราะห์ เดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลดความเร็วเรือ ให้ต่ำกว่า 7 น็อต ในรัศมี 400 เมตร จากตัววาฬ และใช้ความเร็วเรือไม่เกิน 4 น็อต ในรัศมี 100 - 300 เมตร จากวาฬ ไม่ควรเข้าใกล้เกิน 100 เมตร หากวาฬว่ายเข้าใกล้เรือ ให้หยุดเรือ ไม่เปลี่ยนทิศทาง หรือความเร็วเรืออย่างกะทันหัน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อวาฬ ไม่แนะนำให้ว่ายน้ำ หรือลงเล่นน้ำกับวาฬ เพราะอาจทำให้บาดเจ็บ หรือถึงขึ้นเสียชีวิต รวมทั้งอาจจะติดเชื้อโรค จากสัตว์สู่คน และคนสู่สัตว์ และไม่ควรให้อาหารแก่วาฬในธรรมชาติ หรือแจ้งการพบเห็นได้ที่ สายด่วนกรมทะเลและชายฝั่ง 1362 หรือทาง เพจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำหรับ วาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae) เป็นวาฬซี่กรองขนาดกลาง ลำตัวสีดำ ปลายครีบข้างและท้องมีสีขาว ตัวโตเต็มที่มีความยาว 11 - 17 เมตร น้ำหนักประมาณ 40 ตัน ลูกแรกเกิดยาว ประมาณ 4 เมตร หนัก 680 กิโลกรัม ร่องใต้คางจำนวน 12 - 36 ร่อง ซี่กรองมีสีดำหรือสีเขียวมะกอก จำนวน 270 ? 400 ซี่ ลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ มีปุ่มกลมที่ส่วนหัว มีครีบข้างยาวถึง 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว มีสันหยักเป็นลอนคล้ายฟันเลื่อย จากครีบหลังไปถึงโคนหาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางหาง ฐานครีบข้างกว้างเป็นโหนก ครีบหลังสั้นหนาแต่ละตัว มีลักษณะแตกต่างกัน อาหารของ วาฬหลังค่อม คือ ฝูงปลาขนาดเล็ก เคย ปู หมึก และโคพิพอด โดย วาฬหลังค่อม ถูกพบเห็นในน่านน้ำไทยครั้งแรก เมื่อปี 52 ที่อ่าวปอ จ.ภูเก็ต มีภาพถ่ายยืนยันจากนักท่องเที่ยว เพียงภาพเดียวเท่านั้น และครั้งการพบเห็นครั้งนี้ เป็นรายงานการพบเห็นครั้งที่สอง ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา เพจของบริษัทนำเที่ยวเกาะเฮ อ.เมืองภูเก็ต ได้โพสต์ภาพ และข้อความระบุว่า สด ๆ ร้อน "วาฬบลูด้า" พนักงานใหม่ของเรามาตอกบัตร ต้อนรับลูกค้า บริเวณหลัง เกาะเฮกาฮังบีช แล้ว https://www.nationtv.tv/lifestyle/travel/378927998
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|