#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 26 กันยายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น อนึ่ง พายุดีเปรสชันได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้ว บริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. 66 ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 ? 29 ก.ย. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุม ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. ? 1 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางงาย ประเทศเวียดนามในคืนนี้ (25 ก.ย. 66) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป และจะเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 26-29 ก.ย. 66 ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วง 26 ? 29 ก.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. 66
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
"ขยะกำพร้า" ทิ้งที่ไหนดี แนะช่องทางเปลี่ยนภาระเป็นพลังงานทดแทน - รู้จัก "ขยะกำพร้า" คำนิยามขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ หรือนำไปรีไซเคิลแล้วไม่คุ้มค่า หากปล่อยไว้จะกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม - ขยะกำพร้า สู่พลังงานทางเลือกทดแทนถ่านหินในโรงไฟฟ้าและโรงปูนซีเมนต์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขยะพลังงาน RDF - "ขยะกำพร้า" มีอะไรบ้าง พร้อมแนะช่องทางทิ้งอย่างถูกต้อง เราถูกปลูกฝังให้แยกขยะก่อนทิ้ง เมื่อแยกแล้วก็หย่อนลงถังขยะให้ถูกสีเพื่อง่ายต่อการนำขยะแต่ละประเภทไปกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งส่วนหนึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยขยะนั้นสามารถแยกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ขยะเปียก, ขยะอันตราย, ขยะทั่วไป และ ขยะรีไซเคิล ซึ่งบางคนอาจแยกขยะเพื่อนำไปขายให้กับซาเล้งที่มารับซื้อตามบ้าน และขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ขยะกำพร้า คืออะไร ดังนั้น หากใครที่แยกขยะเป็นประจำจะรู้ว่า มีขยะบางจำพวกที่ไม่มีใครรับซื้อ เพราะไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ หรือไม่คุ้มค่ากับการรีไซเคิล ซึ่งเราเรียกขยะเหล่านี้ว่า "ขยะกำพร้า" เมื่อรีไซเคิลไม่ได้ จึงทำให้ที่ผ่านมาขยะเหล่านี้ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง ซึ่งปลายทางของขยะเหล่านี้จะลงสู่บ่อฝังกลบ ที่ต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย และหากเมื่อมีปริมาณมากขึ้นก็ต้องใช้พื้นที่ในการฝังกลบไปเรื่อยๆ หากปล่อยไว้ก็จะกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะชื่อ "ขยะกำพร้า" ไม่มีใครอยากได้ แต่หากส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องก็สามารถนำเป็นไปพลังงานทางเลือกทดแทนถ่านหินในโรงไฟฟ้าและโรงปูนซีเมนต์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขยะพลังงาน RDF (Refuse Derived Fuel) ซึ่งจะมีตัวกลางนำขยะเหล่านี้ไปกำจัดอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ เปลี่ยน "ขยะกำพร้า" เป็นพลังงานทดแทน เมื่อขยะเหล่านี้เดินทางมาถึงโรงงาน จะมีเครื่องคีบขยะเหล่านี้เข้าสู่เครื่องตัดย่อยให้มีขนาดเล็กลงแล้วส่งไปตามสายพาน หลังจากนั้นก็จะเข้าเครื่องแม่เหล็กเพื่อแยกโลหะออก โดยจะมีการแยกขนาดออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาด 10 เซนติเมตร จะถูกส่งไปทำเชื้อเพลิงที่โรงงานไฟฟ้า ส่วนขนาด 5 เซนติเมตรจะถูกส่งไปทำเชื้อเพลิงที่โรงงานปูนซีเมนต์ ขยะกำพร้า ที่สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานเชื้อเพลิง RDF ได้แก่ ซองขนม ถุงน้ำยาในครัวเรือน กระดาษเคลือบมัน กระดาษติดสก๊อตเทป กล่องอาหาร กระดาษทิชชูเฉพาะที่ไม่ผ่านการเช็ดเลือดหรือปฏิกูล ฟอยล์ ขวดน้ำยา หลอดยาสีฟัน หลอดกาแฟ ขวดบรรจุครีม เศษผ้าเก่า ชุดชั้นใน กล่องโฟม ปากกา แผ่นซีดี บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม เศษหมากฝรั่ง ลูกบอลเก่า พวงมาลัยแห้ง ตุ๊กตาเจ้าที่ แผงยา ซองกันชื้น ชุดตรวจ ATK ของผู้ไม่ป่วย หน้ากากอนามัยของผู้ไม่ป่วย เจลลดไข้ พลาสเตอร์ยา ส่วนขยะที่ไม่รับ ได้แก่ ท่อพีวีซี ท่อปะปา หนังเทียม ขวดแก้ว สายไฟ เศษเหล็ก ลวด ขยะติดเชื้อ เช่น ชุดตรวจ ATK ของผู้ป่วย หน้ากากอนามัยของผู้ป่วย ผ้าอนามัย สายยาง กระเบื้อง สังกะสี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับวิธีจัดเก็บขยะกำพร้าเพื่อส่งไปเป็นพลังงานเชื้อเพลิง แนะนำว่าควรล้างพอสะอาด จากนั้นนำมาผึ่งให้แห้ง แล้วเก็บรวบรวมส่งไปยังหน่วยงานที่รับขยะเหล่านี้ไปจัดการ และแม้ว่าปัจจุบันจะมีการนำขยะกำพร้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน RDF แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้ ข้อดี - มีค่าความร้อนสูง เทียบเท่ากับชีวมวล และมีค่าความชื้นต่ำ - เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตได้ทั้งพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้า ข้อเสีย - จำเป็นต้องคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนนำเข้าสู่ระบบ จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการคัดแยก และการขนส่ง - เป็นระบบเชื้อเพลิง ที่ต้องมีระบบอื่นที่สามารถรองรับเพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงขยะเป็นพลังงานอื่นอีกต่อหนึ่ง ขยะกำพร้า ทิ้งที่ไหนดี บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดพื้นที่ปั๊มบางจากเป็นจุดรับขยะกำพร้า ได้แก่ สถานีบริการที่เป็นจุดรับขยะกำพร้า 4 สถานี ได้แก่ 1. สาขาถนนบางนา กม. 16 2. สาขาพหลโยธิน ซอย 73 3. สาขาราชพฤกษ์ 2 4. สาขารามอินทรา-คู้บอน N15 Technology สามารถส่งไปที่ N15 Technology 700/754 ม.1 ต.พานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160 (คุณสมบูรณ์ กิตติอนงค์) หรือติดตามตาราง กิจกรรมขยะกำพร้าสัญจรล่าสุดได้ที่ Facebook N15 Technology https://www.thairath.co.th/news/sustainable/2724409 ****************************************************************************************************** นักธรณีวิทยาเผยน้ำแข็งละลายอาจกระตุ้นภูมิอากาศเปลี่ยน พลังงานความร้อนเป็นตัวขับเคลื่อนสภาพภูมิอากาศของโลก และการหยุดชะงักของกระแสน้ำในมหา สมุทรได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงทั่วโลก มีการวิจัยพบว่าอุณหภูมิในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและยุโรปลดลงระหว่าง 1.5-5 องศาเซลเซียส โดยคงอยู่ราวๆ 200 ปี ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆก็ประสบปัญหาภาวะโลกร้อนสูงกว่าค่าเฉลี่ย ระดับฝนยังเพิ่มขึ้นในยุโรป ทว่าบางส่วนของแอฟริกากลับเผชิญกับสภาพอากาศที่แห้งกว่าและเกิดภัยแล้งเป็นเวลานาน เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนำโดยนักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยลีดส์ ในอังกฤษ เผยว่า จากการใช้ตัวอย่างทางธรณีวิทยาจากปากแม่น้ำ Ythan ในสกอตแลนด์ ก็ทำให้ระบุถึงพืดน้ำแข็งที่กำลังละลาย ว่าเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่เมื่อ 8,000 กว่าปีก่อน ในช่วงเวลานั้นมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและยุโรปเหนือประสบกับความหนาวเย็นกว่านี้มาก เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบกระแสน้ำในมหาสมุทรที่สำคัญ ซึ่งเรียกว่า Atlantic Meridional Overturning Circulation หรือ AMOC ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของ AMOC ยังส่งผลต่อรูปแบบปริมาณน้ำฝนทั่วโลก เชื่อกันว่าการไหลเข้าของน้ำจืดจำนวนมหาศาลลงสู่ทะเลน้ำเค็มของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือทำให้ AMOC พังทลายลง ซึ่งการวิเคราะห์หลักฐานเพิ่มเติมพบว่า มีแหล่งน้ำจืดหลักอย่างน้อย 2 แหล่งไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ AMOC และไม่ใช่แหล่งน้ำจืดแห่งเดียวอย่างที่คิดไว้ก่อนหน้านี้. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2727722
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|