#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 ? 29 ก.ย. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุมออกไปทางประเทศเมียนมา ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. ? 3 ต.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศไทยตอนบนในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ย. 66 ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ฉบับที่ 13 (260/2566) หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือ ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 28?29 กันยายน 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 28 กันยายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น และนครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และพังงา วันที่ 29 กันยายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู และชัยภูมิ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดจันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดระนอง ในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
อู่ข้าวกำลังจมน้ำ UN เตือนน้ำทะเลรุก เสี่ยงทำคนนับพันล้านขาดอาหาร ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ UN เตือนน้ำทะเลรุก ไม่เพียงประเทศเกาะเล็กเกาะน้อยกลางมหาสมุทร ที่อาจจมหายหากน้ำทะเลขึ้นสูง พื้นที่ผลิตอาหารริมฝั่ง-สามเหลี่ยมปากแม่น้ำทั่วโลกอาจจมด้วย เสี่ยงทำคนนับพันล้านขาดอาหาร คนรักษ์โลกไม่ควรพลาดประเด็นร้อนๆ เช่นนี้ ผลพวงจากสภาวะโลกร้อน กำลังทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และนั่นกำลังทำให้หลายประเทศหมู่เกาะ รวมไปถึงพื้นที่เพาะปลูกอาหารบนที่ราบอุดมสมบูรณ์ริมชายฝั่งและปากแม่น้ำทั่วโลก อาจต้องจมสมุทรภายในสิ้นศตวรรษนี้ ในการปราศรัยในการประชุมสุดยอดพิเศษ เดนนิส ฟรานซิส นักการทูตจากตรินิแดดและโตเบโก ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในวาระปัจจุบัน ชี้ว่า ปัญหาระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาระดับโลก โดยเขาได้กล่าวย้ำถึงความจำเป็น ที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนในการรับมือกับปัญหาใหญ่ที่อาจทำให้กว่า 900 ล้านคนทั่วโลกต้องย้ายถิ่นฐาน และคนอีกจำนวนมากกว่าต้องอดอยาก เพราะพื้นที่เพาะปลูกหลักริมชายฝั่งต้องจมอยู่ใต้ทะเล "สำหรับหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะเล็กๆ ภัยจากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงเป็นถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย นี่ไม่ใช่การคาดเดาหรือพูดเกินจริง มันเป็นเรื่องจริง" ฟรานซิส อธิบาย ตรินิแดดและโตเบโก ถือเป็นอีกประเทศหมู่เกาะอีกประเทศหนึ่งในแถบทะเลแคริบเบรยน ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากภัยน้ำทะเลขึ้นสูงเช่นกัน จากข้อมูลวิเคราะห์ภัยโลกร้อนโดย คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้ประมาณการว่าภายใต้สภาวะปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นระหว่าง 8 ถึง 29 เซนติเมตรภายในปี 2573 โดยบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะได้รับผลกระทบมากที่สุด การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมีผลมาจากความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของชั้นบรรยากาศและมหาสมุทร ซึ่งทำให้ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาทั่วโลก และพืดน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็งขั้วโลกจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นกว่า 70 เซนติเมตรในอีกประมาณ 50 ปีข้างหน้า นั่นจะทำให้ภัยน้ำท่วมชายฝั่งรุนแรงที่จะมีวงรอบเกิดซ้ำทุกๆ ศตวรรษอาจกลายเป็นปรากฏการณ์ประจำปีภายในสิ้นศตวรรษนี้ "ผู้คนกว่า 900 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบต่ำชายฝั่งทะเลมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะสูญเสียบ้านและที่ดินทำกินเนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่นๆ ไม่เพียงเท่านั้น พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ เช่น แม่น้ำมิสซิสซิปปี้ แม่น้ำโขง และแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำของโลก กำลังจมลง จะไม่มีใครรอดพ้นจากหายนะที่อาจเกิดขึ้น" ฟรานซิส กล่าว นอกเหนือจากผลกระทบที่รุนแรงต่อการดำรงชีวิตและชุมชนแล้ว ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลกระทบ ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมาย การเมือง เทคนิค เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน อีกด้วย ดังนั้น เขาจึงเรียกร้องต่อประชาคมโลกให้ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยกระดับวาระการแก้ปัญหาดังกล่าวในการประชุม COP28 ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ https://www.nationtv.tv/gogreen/378931578
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|