เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 29-09-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 28 ? 29 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. ? 4 ต.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศไทยตอนบนในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ย. 66









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 29-09-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


อันตรายบนท้องฟ้า! นักวิทย์ญี่ปุ่นพบ "ไมโครพลาสติก" ในก้อนเมฆ

นักวิจัยในญี่ปุ่น ยืนยันการพบไมโครพลาสติกในก้อนเมฆ ซึ่งมันอาจส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ ในรูปแบบที่ยังไม่เข้าใจดีพอ



สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ว่า การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Chemistry Letters ระบุว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นปีนภูเขาไฟฟูจิ และภูเขาโอยามะ เพื่อเก็บน้ำจากหมอกที่ปกคลุมยอดเขา จากนั้นจึงใช้เทคนิคถ่ายภาพขั้นสูงเก็บตัวอย่างข้างต้น เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี

จากการตรวจสอบ ทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า มีพอลิเมอร์ที่แตกต่างกัน 9 ชนิด และยาง 1 ชนิด ในไมโครพลาสติกที่อยู่ในอากาศ ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 7.1-94.6 ไมโครเมตร อีกทั้งน้ำในก้อนเมฆมีเศษพลาสติก 6.7-13.9 ชิ้นต่อลิตรด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังพบพอลิเมอร์ชนิดชอบน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งบ่งชี้ว่า อนุภาคมีบทบาทสำคัญ กับการก่อตัวอย่างรวดเร็วของเมฆ และส่งผลต่อระบบสภาพอากาศเช่นกัน

"หากปัญหา 'มลพิษทางอากาศจากพลาสติก' ไม่ได้รับการแก้ไขเชิงรุก การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และความเสี่ยงทางนิเวศวิทยาต่าง ๆ อาจกลายเป็นจริง จนทำให้เกิดความเสียหายที่ร้ายแรง และแก้ไขไม่ได้ในอนาคต" นายฮิโรชิ โอโคจิ จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ กล่าวเตือนในแถลงการณ์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา

โอโคจิ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อไมโครพลาสติกขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นบน และสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ ยูวี จากแสงอาทิตย์ พวกมันจะสลายตัว และก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

ทั้งนี้ ไมโครพลาสติก คืออนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มม. ซึ่งมาจากของเสียทางอุตสาหกรรม, สิ่งทอ, ยางรถยนต์สังเคราะห์, ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายส่วนบุคคล และอื่น ๆ อีกมากมาย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดถึงกลไกที่ทำให้ไมโครพลาสติกขึ้นสู่อากาศ และการศึกษาดังกล่าว ถือเป็นรายงานฉบับแรก ซึ่งมีการพบไมโครพลาสติกในน้ำของก้อนเมฆ

นอกเหนือจากอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง หลักฐานใหม่ยังชี้ให้เห็นว่า ไมโครพลาสติกส่งผลกระทบหลายประการต่อสุขภาพของหัวใจและปอด ตลอดจนเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง


https://www.dailynews.co.th/news/2760046/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:00


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger