#1
|
|||
|
|||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประเทศลาวตอนล่าง และประเทศกัมพูชา ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 3 ? 5 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนบน และภาคกลางตอนล่าง ตามแนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 8 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนเพิ่มขึ้น อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น ?โคอินุ? บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ต.ค. 66 คาดว่า ในช่วงวันที่ 6 ? 7 ต.ค. 66 จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง |
#2
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
?น้ำทะเลเปลี่ยนสี?สัญญานอันตราย ภัยคุกคามระบบนิเวศทะเลไทย ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในปี 2566 นี้ เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งและมีความถี่และความรุนแรงขึ้น ทำให้มีสัตว์ทะเลหลายชนิดตายเกลื่อนหาดบางแสน ซึ่งน้ำทะเลที่กลายเป็นสีเขียวและส่งกลิ่นเหม็นนี้เป็นสัญญานอันตราย เป็นจุดเริ่มต้นของการคุกคามระบบนิเวศทะเลไทยซึ่งสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ศ.ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในงานเสวนา ?ทะเลสีเขียว...มหันตภัยร้ายกว่าที่คิด? จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม ร่วมกับ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติส่งผลต่อ ?แพลงก์ตอนบลูม? จนทำให้น้ำทะเลมีสีเขียวที่ ชายหาด?บางแสน?ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี ส่งกลิ่นเหม็นโชยไปทั่วทั้งหาด ทำให้สัตว์ทะเลตายและเกยตื้นตลอดแนวชายฝั่ง 3-4 กิโลเมตร ส่งผลต่อแหล่งทำมาหากินของประชาชนในภาคประมงอย่างมาก และส่งผลต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่มีนักท่องเที่ยวคนไหนกล้าลงเล่นน้ำเนื่องจากน้ำทะเลมีกลิ่นเหม็น การเพิ่มของ แพลงก์ตอนบลูมนั้นเป็นปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีซึ่งในประเทศไทยจะเกิดในช่วงฤดูฝนเป็นประจำแต่จะมีการเปลี่ยนพื้นที่ไปเรื่อยๆตามฤดูกาล ยกตัวอย่าง ในฤดูหนาวจะเกิดในพื้นที่แถวจังหวัดเพชรบุรี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุปัน ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในทะเลที่พร้อมจะโจมตีชายฝั่งทุกฤดูกาล อย่างพื้นที่ อ่าวไทย ตัว ก มีกระแสน้ำกั้นอยู่ โดยสารอาหารจากน้ำที่ลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมาจากการระบายน้ำจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร มีจำนวนสูงขึ้นมากแต่แม้จะไม่มีพิษโดยตรงแต่ในปัจจุบันที่มีการขนส่งทางทะเลมากขึ้นจึงเป็นปัจจัยที่นำพาเพลงก์ตอนมาเจอในกระแสน้ำ จึงทำให้สารอาหารต่างๆลงมาอยู่ในน้ำแบบรวมกันนับเป็นเหตุผลว่าทำไมแพลงก์ตอนบลูมจึงมีจำนวนมากขึ้น ?ตอนกลางวันนั้นเพลงก์ตอนจะสร้างการออกซิเจนเป็นจำนวนมากเหมือนจะเป็นผลดีต่อสัตว์ทะเล แต่ตกกลางคืนเพลงก์ตอนก็ต้องใช้ออกซิเจนมากเช่นกัน ทำให้เกิดการแย่งออกซิเจนที่อยู่ในน้ำทำให้สัตว์ทะเลหลายๆชนิดที่อยู่ใต้น้ำขาดอากาศหายใจและตายในที่สุด ซึ่งสีของทะเลที่เปลี่ยนไปคือสีของแพลงก์ตอนที่รวมตัวกันอยู่จำนวนมากนั่นเอง? ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ผลกระทบจากทะเลสีเขียวนั้น ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและกิจกรรมของมนุษย์ การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากต้นทาง เช่น การจัดการขยะเพราะคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินและน้ำทะเล ขึ้นอยู่กับการระบายธาตุอาหารที่ถูกชะล้างจากแผ่นดินในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีสารอินทรีย์ จากน้ำทิ้งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม เกษตรกรรม ลงสู่แหล่งน้ำ เมื่อมารวมตัวกับสภาวะและปัจจัยที่เหมาะสมจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่งหรือ ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) "น้ำเสียจากชุมชน ทั้งหมด 11 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ซึ่งมีน้ำเสียอยู่ 20% ที่ยังไม่ได้รับการบำบัด แม้ว่าจะมีระบบบำบัดน้ำเสียรวมที่เดินระบบ 98 แห่ง (จากทั้งหมด 118 แห่ง) สามารถรองรับน้ำเสียได้ 2,978 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน (ในปี 2565 มีน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวม 1.67 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน) ?แหล่งกำเนิดน้ำเสียถูกกำหนดให้ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ สำหรับอาคารบางประเภทและบางขนาด ได้กำหนดให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่ต้องถูกควบคุมการระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วย? |
|
|