เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3 ? 5 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 8 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 6 ? 8 พ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 5 พ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


คนรักทะเลสะเทือนใจ! ดร.ธรณ์เผยภาพ "ปะการังเขากวาง" จำนวนมากที่หมู่เกาะช้างกำลังตาย

ผศ.ดร.ธรณ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลฯ เผยภาพสะเทือนใจปะการังเขากวาง จำนวนมากที่หมู่เกาะช้างกำลังตาย คาดสาเหตุมาจาก "โรคสูญเสียเนื้อเยื่อจากหินปะการัง" หรือ SCTLD



วันนี้ (2 พ.ย.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า

"ภาพที่เพื่อนธรณ์เห็นอยู่นี้ คือภาพปะการังเขากวางจำนวนมากกำลังตายที่หมู่เกาะช้าง เป็นภาพของเพื่อนธรณ์ท่านหนึ่งกรุณาส่งมาให้ผม เพราะเขาเพิ่งไปดำน้ำแถวนั้น และพบสภาพดังกล่าว

เขาเข้าใจว่าเป็นปะการังฟอกขาว แต่ผมลองดูภาพแล้วคิดว่าไม่ใช่ ช่วงนี้น้ำทะเลไม่ได้ร้อนจัดขนาดนั้น อีกทั้งการตายของปะการังมีลักษณะเหมือนเป็นโรค SCTLD (Stony coral tissue loss disease)

โรคนี้ทำให้เนื้อเยื่อปะการังตาย ลามออกไปเรื่อยๆ ในภาพจะเห็นว่าบางส่วนยังมีสีมีชีวิต แต่มีสีขาวที่ลามขึ้นมา ส่วนนั้นคือตายแล้ว

แตกต่างจากปะการังฟอกขาวที่ต้องขาวพร้อมกัน ตายพร้อมกันทั้งหมด SCTLD มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ระยะหลังรุนแรงมากขึ้น ตัวอย่างง่ายสุดคือปีที่แล้ว (2565) เกิดโรคนี้ที่ปะการังแถวแสมสาร ในช่วงรอยต่อเดือนตุลาคม/พฤศจิกายนนี่แหละ ครั้งนั้นกรมทะเลลงไปตรวจสอบ พยายามหาทางแก้ไข แต่มันยากมาก เคราะห์ดีที่ระบาดอยู่ช่วงสั้นๆ พอเข้าปี 66 ก็เบาลง

ล่าสุดคณะประมงเพิ่งไปเช็กที่แสมสาร พบว่าเบากว่าปีก่อนมาก แต่ปะการังที่ตายไปแล้วก็ตายไป ยังไม่ฟื้นง่ายๆ ปานนั้น ผมก็วางใจคิดว่าคงเป็นปรากฏการณ์เฉพาะปี แต่มาเห็นภาพนี้ ผมตกใจมาก สถานที่คือเกาะยักษ์ใหญ่ เป็นเกาะเล็กๆ ใกล้เกาะรัง อยู่ในเขตอุทยานหมู่เกาะช้าง เกาะแห่งนี้เป็นจุดท่องเที่ยวดำน้ำโด่งดัง เพราะในแถบนี้ไม่ค่อยมีปะการังสวยๆ นักท่องเที่ยวจากเกาะช้าง เกาะหมาก หรือแม้กระทั่งเกาะกูดบางทีก็มาดำน้ำเที่ยวกันที่นี่

โดยเฉพาะดงปะการังเขากวางหนาแน่นที่ปัจจุบันหาดูยากเหลือเกิน อุทยานวางทุ่นไข่ปลาไว้รอบเกาะ บริหารจัดการอย่างดี นั่นคือครั้งหลังสุดที่ผมไปเห็นเมื่อ 2-3 ปีก่อน ปัญหาคือโลกที่เปลี่ยนไป ภัยคุกคามไม่ได้มีเพียงสมอเรือ นักท่องเที่ยวเตะโดนปะการัง ภัยยุคนี้รุนแรงกว่านั้น ป้องกันแก้ไขยากกว่านั้น เช่น โรคปะการัง ปะการังฟอกขาว ฯลฯ

ผมยังบอกไม่ได้ว่าโรคปะการังที่เกิดบ่อยขึ้นโดยเฉพาะในภาคตะวันออก เกี่ยวข้องกับโลกร้อนหรือสภาพความแปรปรวนของท้องทะเลหรือไม่? แต่บอกได้ว่าเป็นกังวลมากกับสภาพแนวปะการังในภาคตะวันออก ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หน้าร้อนปะการังฟอกขาว เข้าหน้าหนาวปะการังเป็นโรค ย้ายที่ไปเรื่อยๆ แล้วเราจะทำยังไงดี? ผลกระทบไม่ใช่แค่ระบบนิเวศ แค่ส่งผลต่อถึงการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจุดดำน้ำสำคัญเช่นที่นี่

ทั้งหมดนั้นคือภาพที่ได้รับจากเพื่อนธรณ์ แน่นอนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องลงไปสำรวจสภาพที่เกิดขึ้น ตรวจสอบขนาดพื้นที่ วิเคราะห์ว่าเป็นโรคจริงไหม ฯลฯ

แม้เป็นพื้นที่ของกรมอุทยานฯ แต่ผมคิดว่าคงต้องทำงานร่วมกันกับกรมทะเล เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปะการังที่สามารถวิเคราะห์ในรายละเอียดมากกว่า

ขณะเดียวกันคงต้องฝากเพื่อนๆ ที่เป็นนักดำน้ำช่วยกันตรวจสอบพื้นที่รอบๆ อีกที หากพบปะการังตายในลักษณะนี้ให้รีบแจ้งมา เพราะเรายังมีข้อมูลน้อยมาก

ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และน่าจะรุนแรงขึ้นในอนาคต ผมคิดว่าเราต้องประเมินความเสี่ยงของระบบนิเวศ ก่อนมุ่งเน้นงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อให้เรามีความรู้พอรับมือและจัดการได้

มันผิดจากยุคก่อนที่แค่ควบคุมการประมง วางทุ่นป้องกันทิ้งสมอ ดูแลการท่องเที่ยว รณรงค์จิตสำนึก จัดกิจกรรมฟื้นฟู ฯลฯ ทำทั้งหมดแล้ว ปะการังก็ยังตายเป็นดง เราคงต้องหาทางรับมือกับภัยพิบัติใหม่ ความรู้สำคัญ งานวิจัยสำคัญ วิทยาศาสตร์ทางทะเลยิ่งสำคัญ เพราะนั่นอาจเป็นหัวใจของการอนุรักษ์แนวปะการังตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปครับ

หมายเหตุ - ผมแจ้งกรมทะเลเรียบร้อยแล้ว อีกไม่นานคงมีการสำรวจพื้นที่ครับ เพื่อนธรณ์ผู้แจ้งมา เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ"


https://mgronline.com/onlinesection/.../9660000098556

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 03-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'ฟองน้ำแก้วไวน์' ตัวชี้วัดคุณภาพทะเล ที่เคยสูญพันธุ์ในช่วงปี 1908-1990 ?

"ฟองน้ำแก้วไวน์" เป็นสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่นักวิชาการเคยคิดว่า "สูญพันธุ์" ไปหลังช่วงปี ค.ศ.1908 แต่ล่าสุด.. นักดำน้ำไทยพบมันที่ "ทะเลพัทยา" เมื่อย้อนไปในอดีตพบว่า มนุษย์นิยมจับพวกมันมาใช้เป็น "อ่างอาบน้ำเด็ก"



Key Points:

- เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา มีรายงานว่าค้นพบ ?ฟองน้ำแก้วไวน์? สิ่งมีชีวิตโบราณที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วบริเวณทะเลพัทยาของประเทศไทย

- การค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบนิเวศทางทะเลของไทยมีความสมบูรณ์ และหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากพวกมันจะมีชีวิตอยู่ได้ในทะเลที่มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น

- หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้พวกมันเคยสูญพันธุ์ไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากในอดีตมนุษย์นิยมจับพวกมันมาเพื่อเป็นของสะสม และนำมาใช้เป็น "อ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก" เพราะบางคนไม่รู้ว่ามันคือสิ่งมีชีวิต

สร้างความฮือฮาในวงการนักดำน้ำ และนักอนุรักษ์ทะเลไทยเป็นอย่างมาก หลังมีการค้นพบ "ฟองน้ำแก้วไวน์" หรือ แก้วไวน์ของเทพเนปจูน (Neptune?s cup sponge) สิ่งมีชีวิตโบราณขนาดใหญ่ที่หลายคนคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ล่าสุด คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานว่าพบเห็นพวกมันบริเวณทะเลพัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 31 ต.ค.66 ที่ผ่านมา

การปรากฏตัวของ "ฟองน้ำแก้วไวน์" ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ทะเลบริเวณดังกล่าวมีความสะอาดมากขึ้น ระบบนิเวศทางทะเลมีความสมบูรณ์ และหลากหลายมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ ทะเลไทยเคยมีการทำประมงผิดกฎหมาย และปัญหาขยะ ทำให้ฟองน้ำแก้วไวน์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ล้มหายตายจาก หรือลดจำนวนลง จนพบเห็นได้ยากขึ้น


"ฟองน้ำแก้วไวน์" สิ่งมีชีวิตโบราณ ตัวชี้วัดความสมบูรณ์ทางทะเล

ฟองน้ำแก้วไวน์ คือ สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่เชื่อว่ามีชีวิตมาอย่างยาวนานตั้งแต่ 890 ล้านปีที่แล้ว มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกของจีนตอนใต้ และทะเลหมู่เกาะตะวันออกแถบประเทศเนเธอร์แลนด์ พวกมันรอดพ้นการสูญพันธุ์มาแล้วหลายครั้ง แต่ปัจจุบันต้องเผชิญกับภัยคุกคามอย่างหนักจาก "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" หรือ Climate Change และการทำประมงผิดกฎหมาย

ทำให้ในหลายสิบปี ที่ผ่านมา "ฟองน้ำแก้วไวน์" กลายเป็นสิ่งมีชีวิตหายาก ที่แทบไม่มีใครพบเห็น จึงมีการสันนิษฐานว่าพวกมันอาจจะสูญพันธุ์ภายในช่วงศตวรรษที่ 19-20

แม้ว่าจะหายไปจากท้องทะเลนานหลายปี แต่ในช่วงปี 2011 มีการค้นพบ "ฟองน้ำแก้วไวน์" ที่ยังมีชีวิตบริเวณชายฝั่งสิงคโปร์ 2 ตัว ทำให้หลายคนมีความหวังว่าอาจจะมีพวกมันอาจจะยังมีชีวิตหลงเหลืออยู่ จนล่าสุดในปี 2023 มีการค้นพบบริเวณทะเลพัทยา

โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง ม.เกษตรฯ อธิบายผ่านว่าเฟซบุ๊กส่วนตัว (Thon Thamrongnawasawat) ว่า บริเวณที่จะพบเห็น "ฟองน้ำแก้วไวน์" ในทะเลไทยก็คือ พื้นทะเลที่เป็นทราย มีความลึก 10 เมตรลงไป โดยจะกระจายอยู่เป็นจุดๆ ไม่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เพราะจะขึ้นในพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมเท่านั้น เช่น ไม่ได้รับผลกระทบจากการทำประมง หรือไม่ได้รับการรบกวนจากมนุษย์ ทำให้ตอนนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถทำการสำรวจอย่างจริงจังได้เพราะกลัวว่าจะไปรบกวนพวกมันมากเกินไป

สิ่งสำคัญที่ได้จากการค้นพบฟองน้ำแก้วไวน์ในครั้งนี้คือ เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าทะเลไทยมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น โดยเฉพาะความหลากหลายทางระบบนิเวศ แสดงให้เห็นว่าไทยมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและการทำประมงที่ดีขึ้น (ในอดีตพวกมันอาจถูกทำลายจากอวนลาก)

นอกจากนี้ ฟองน้ำแก้วไวน์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมาก หากถูกสัมผัสเพียงเล็กน้อยก็อาจเสียหายได้ หรือมีฝุ่นฟุ้งกระจายใกล้เคียงกับที่พวกมันอยู่ ก็ส่งผลกระทบต่อการกรองน้ำของพวกมันเช่นกัน เนื่องจากพวกมันหากินด้วยการกรองน้ำ เพื่อรีไซเคิลสารอาหารที่จำเป็นมาเลี้ยงชีพ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และไม่ถูกรบกวนก็จะมีอายุได้มากกว่า 10 ปี และมีขนาดกว้างกว่า 1 เมตร

ด้วยความที่มีขนาดใหญ่ และเรียกได้ว่าเป็นของหายาก ทำให้ในยุคอดีต "ฟองน้ำแก้วไวน์" กลายเป็นของสะสมไปจนถึงอ่างอาบน้ำสำหรับเด็กในหมู่คนมีเงิน


เมื่อสิ่งมีชีวิตกลายเป็นของสะสมและอ่างอาบน้ำ

ด้วยความที่ "ฟองน้ำแก้วไวน์" มีลักษณะคล้ายแก้วไวน์ขนาดใหญ่ ทำให้พวกมันถูกเก็บมาเป็นของสะสม ด้วยความที่มีรูปร่างแปลกตา และเป็นของหายาก รวมถึงได้รับความนิยมนำมาเป็นอ่างอาบน้ำสำหรับเด็กที่ถือว่าเป็นความแปลกใหม่ในสมัยก่อน (ประมาณปี 1822) โดยเคยมีบันทึกไว้ว่าพวกมันมีความกว้างถึง 1.5 เมตร และส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกมันถูกจับมาทำเป็นของใช้ก็เพราะผู้คนในอดีตไม่เคยรู้มาก่อนว่าฟองน้ำเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิต ส่วนใหญ่จึงพบเห็นพวกมันได้ตามพิพิธภัณฑ์ของสะสม-ของเก่า หรืออาจพบได้ตามคอลเลกชันของสะสมในหมู่คนมีเงินที่ชื่นชอบของแปลก

สำหรับสาเหตุที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าพวกมันอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากในปี 1908 มีการค้นพบฟองน้ำแก้วไวน์ในน่านน้ำอินโดนีเซีย แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นมันอีกเลย ก่อนจะมาพบฟองน้ำแก้วไวน์ที่ตายแล้วบริเวณทางตอนเหนือของออสเตรเลียในช่วงทศวรรษ 1990 ทำให้เกิดความหวังว่าพวกมันอาจจะยังไม่หายไปไหน จนในที่สุดในปี 2011 และปี 2023 นี้ "ฟองน้ำแก้วไวน์" ก็กลับมาปรากฏตัวให้เห็นอีกครั้ง

แม้ว่าปัจจุบันระบบนิเวศทางทะเลของไทยอาจจะดีขึ้นจนสามารถพบเห็นฟองน้ำแก้วไวน์ได้อีกครั้ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราควรให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมน้อยลง เพราะหากทะเลไทย และทะเลทั่วโลกยังคงถูกทำลายทั้งจากภัยธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ต่อไป "ฟองน้ำแก้วไวน์" อาจจะกลายเป็นสิ่งที่หายสาบสูญไปตลอดกาล

อ้างอิงข้อมูล : Naturalis, Museum of Zoology และ Mongabay


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1096908

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 03-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


ปะการังเขากวาง "เกาะยักษ์ใหญ่" ป่วยโรค SCTLD ทช.เก็บเนื้อเยื่อ

"อาจารย์ธรณ์" โพสต์เป็นห่วงพบปะการังเขากวาง เกาะยักษ์ใหญ่ในหมู่เกาะช้าง จ.ตราด เป็นโรค SCTLD ส่งผลเนื้อเยื่อปะการังลามและตาย หนักกว่าปะการังฟอกขาว ทช.ส่งทีมติดตามการลุกลามของโรคเก็บเนื้อเยื่อตรวจ



วันนี้ (2 พ.ย.2566) ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ (มก.) โพสต์เฟชบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่าได้รับภาพจากกลุ่มนักดำน้ำที่หมู่เกาะช้าง และพบว่ามีปะการังเขากวางจำนวนมากกำลังตาย ซึ่งเดิมเข้าใจว่าเป็นปะการังฟอกขาว แต่ลองดูภาพแล้วคิดว่าไม่ใช่ ช่วงนี้น้ำทะเลไม่ได้ร้อนจัดขนาดนั้น อีกทั้งการตายของปะการังมีลักษณะเหมือนเป็นโรค SCTLD

"โรคนี้ทำให้เนื้อเยื่อปะการังตาย ลามออกไปเรื่อยๆ ในภาพจะเห็นว่าบางส่วนยังมีสีมีชีวิต แต่มีสีขาวที่ลามขึ้นมา ส่วนนั้นคือตายแล้ว แตกต่างจากปะการังฟอกขาวที่ต้องขาวพร้อมกัน ตายพร้อมกันทั้งหมด"

ดร.ธรณ์ กล่าวว่า สำหรับ SCTLD มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ระยะหลังรุนแรงมากขึ้น โดยปี 2565 เกิดโรคนี้ที่ปะการังแถวแสมสาร ในช่วงรอยต่อเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ ครั้งนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ลงไปตรวจสอบพยา ยามหาทางแก้ไข แต่มันยากมากเคราะห์ดีที่ระบาดอยู่ช่วงสั้นๆ พอปี 2566 ก็เบาลง

ล่าสุดคณะประมง เพิ่งไปเช็กที่เกาะแสมสาร พบว่าเบากว่าปีก่อนมาก แต่ปะการังที่ตายไปแล้วก็ตายไป ยังไม่ฟื้นง่ายๆ ทั้งนี้ เดิมวางใจคิดว่าคงเป็นปรากฏการณ์เฉพาะปีมาเห็นภาพนี้ ตกใจมากสถานที่คือเกาะยักษ์ใหญ่ เป็นเกาะเล็กๆ ใกล้เกาะรังอยู่ในเขตอุทยานหมู่เกาะช้าง


นักวิชาการห่วงกระทบนิเวศ-ท่องเที่ยวชื่อดัง

เกาะแห่งนี้เป็นจุดท่องเที่ยวดำน้ำโด่งดัง เพราะในแถบนี้ไม่ค่อยมีปะการังสวยๆ นักท่องเที่ยวจากเกาะช้าง เกาะหมาก หรือแม้กระทั่งเกาะกูดบางทีก็มาดำน้ำเที่ยวกันที่นี่ โดยเฉพาะดงปะการังเขากวางหนาแน่นที่ปัจจุบันหาดูยากเหลือเกิน

อุทยานวางทุ่นไข่ปลาไว้รอบเกาะ บริหารจัดการอย่างดี นั่นคือครั้งหลังสุดที่ผมไปเห็นเมื่อ 2-3 ปีก่อนปัญหาคือโลกที่เปลี่ยนไป ภัยคุกคามไม่ได้มีเพียงสมอเรือ นักท่องเที่ยวเตะโดนปะการัง ภัยยุคนี้รุนแรงกว่านั้น ป้องกันแก้ไขยากกว่านั้น เช่น โรคปะการัง ปะการังฟอกขาว

นักวิชาการ ระบุว่า ยังบอกไม่ได้ว่าโรคปะการังที่เกิดบ่อยขึ้นโดยเฉพาะในภาคตะวันออก เกี่ยวข้องกับโลกร้อน หรือสภาพความแปรปรวนของท้องทะเลหรือไม่ แต่บอกได้ว่าเป็นกังวลมากกับสภาพแนวปะการังในภาคตะวันออก

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หน้าร้อนปะการังฟอกขาว เข้าหน้าหนาวปะการังเป็นโรค ย้ายที่ไปเรื่อยๆ แล้วจะทำอย่างไร ผลกระทบไม่ใช่แค่ระบบนิเวศ แค่ส่งผลต่อถึงการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจุดดำน้ำสำคัญ


ทช.เล็งติดตามโรคปะการังที่เกาะยักษ์ใหญ่

แม้เป็นพื้นที่ของกรมอุทยาน แต่คิดว่าคงต้องทำงานร่วมกันกับ ทช. เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปะการังที่สามารถวิเคราะห์ในรายละเอียดมากกว่า และฝากเพื่อนนักดำน้ำช่วยกันตรวจสอบพื้นที่รอบๆ อีกที หากพบปะการังตายในลักษณะนี้ให้รีบแจ้งมา เพราะยังมีข้อมูลน้อยมาก

ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และน่าจะรุนแรงขึ้นในอนาคต คิดว่าเราต้องประเมินความเสี่ยงของระบบนิเวศ ก่อนมุ่งเน้นงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อให้เรามีความรู้พอรับมือและจัดการได้

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทช.ระบุว่า เบื้องต้นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าไม่สามารถระบุโรคปะการังจากการแผลสีขาวภายนอกได้ จำเป็นต้องติดตามอัตราการลุกลามของโรค และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื้อเพื่อวิเคราะห์เชื้อก่อโรคต่อไป รวมทั้งไม่สามารถรักษาโรคประเภทประเภทแผลสีขาว


https://www.thaipbs.or.th/news/content/333464

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:14


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger