เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 25-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงให้ระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศแห้งไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 25?27 พ.ย. 66 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 25 ? 30 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1 ? 2 องศาเซลเซียส ประกอบกับจะในช่วงวัน 24 - 27 พ.ย 66 มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนผ่านอ่าวไทย เข้าสู่ภาคใต้ตอนล่าง ลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ตลอดช่วง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกฝั่ง ในช่วงวัน 25 - 27 พ.ย. 66



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 24 ? 27 พฤศจิกายน 2566) ฉบับที่ 4 (301/2566)


ในช่วงวันที่ 25-27 พ.ย. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่าง ลงสู่ทะเลอันดามัน ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566

ภาคใต้: จังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล


วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

ภาคใต้: จังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล


สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 25-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


งานเข้า หนุ่มอ้างไม่รู้โดนคุก-ปรับอ่วมเฉียดล้าน หลังจับหอยสังข์ราชินีมาย่างกิน

งานเข้าแรง หนุ่มนักชิมอ้างไม่รู้ ส่อโดนคุกแถมถูกปรับอีกเฉียดล้าน หลังนำหอยสังข์ราชินีมาย่างกิน



เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานว่า เจ้าหน้าที่จับกุมนายเบอร์ลีย์ เดวิด สมิธ ชายวัย 67 ปีจากเกาะคีย์เวสต์ รัฐฟลอริดา สหรัฐ ในข้อหาจับหอยสังข์ราชินีมาปรุงอาหาร เนื่องจากเป็นสัตว์ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายประจำรัฐ โดยอาจต้องได้รับโทษจำคุก 2-5 ปี

ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น เผยว่า ก่อนหน้าการจับกุม มีผู้รายงานว่า พบคนจับหอยสังข์ราชินีไปกินที่เกาะวิสทีเรีย ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่บริเวณชายขอบของเมืองคีย์เวสต์ และเป็นสถานที่ที่คนจรจัดมักเข้าไปพักอาศัย หลังได้รับเรื่องทางด้านหน่วยงานอนุรักษ์พันธุ์ปลาและสัตว์ป่า จึงส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ

ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจสอบบริเวณตั้งแคมป์ของเขา ก็พบเปลือกหอยสังข์ราชินี 2 ชิ้น อยู่ใกล้กับหม้อและกองไฟ อีกทั้งก็มีพยานรายหนึ่งแจ้งว่า นายสมิธ เป็นคนจับหอยดังกล่าว และนำมาปรุงเป็นอาหารที่จุดตั้งแคมป์ของเขา

เมื่อทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน กลุ่มเจ้าหน้าที่พยายามเจรจากับ นายสมิธ แต่เขากลับถกเถียง มีท่าทีขัดขืน และไม่ให้ความร่วมมือ แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ได้ทำการจับกุมเขาไว้ได้

อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินคดีทางอาญากับนายสมิธ เนื่องจากเขาจับหอยสังข์ราชินี 2 ตัว มาปรุงเป็นอาหารกิน ซึ่งในรัฐฟลอริดา หอยสังข์ราชินีถือว่าเป็นสัตว์ทะเลที่ได้รับการคุ้มครองและกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้บรรจุชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามกฎหมาย

ทั้งนี้ ในกรณีนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ตั้งข้อหานายสมิธในคดีอาญาที่มีความผิดระดับอุกฉกรรจ์ เนื่องจากหอยสังข์ราชินี เป็นสัตว์ในความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐ อีกทั้งยังโดนข้อหาพยายามใช้ความรุนแรงเพื่อขัดขืนการจับกุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องรับโทษจำคุกระหว่าง 2-5 โดยมีวงเงินประกันตัวอยู่ที่ 21,500 ดอลลาร์สหรัฐหรือราว 800,000 บาท


https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_7979529

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 25-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'ลอยกระทง' ทุกแบบคือการทำลายสิ่งแวดล้อม ปลายทางเป็นขยะ ทำปลาตาย-ระบบนิเวศเสียหาย ................. โดย พิราภรณ์ วิทูรัตน์


เมื่อการลอยกระทง เท่ากับการลอยขยะ! นักวิชาการ ชี้ กระแสน้ำไหลเร็ว-จัดเก็บกระทงยาก ปลายทางถูกพัดติดชายฝั่งทะเล สร้างมลพิษต่อปลาทะเล-ระบบนิเวศเสียหายหนัก แม้เป็น "กระทงขนมปัง" ก็ทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ต่างกัน เพราะไม่ใช่ปลาทุกชนิดจะชอบกินขนมปัง!




Key Points:

- เทศกาลลอยกระทงมาพร้อมกับการตั้งคำถามถึงความเหมาะสมทุกปี โดยเฉพาะเมื่อความนิยมเรื่องรักษ์โลก-รักสิ่งแวดล้อมถูกพูดถึงในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ

- ปัญหาหลักของการลอยกระทงไม่ใช่วัสดุแต่เป็นการจัดเก็บกระทง โดยข้อมูลจาก กทม. ระบุว่า ปี 2565 มีการจัดเก็บกระทงได้มากถึง 572,602 ใบ ส่วนใหญ่เป็นกระทงที่ทำจากวัสดุทางธรรมชาติ

- นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลระบุว่า "กระทงขนมปัง" เป็นปัญหาต่อการจัดเก็บมากที่สุด เพราะเปื่อยยุ่ยง่ายและปลาไม่ได้กินได้ทั้งหมด เมื่อขนมปังจมลงสู่แม่น้ำทำให้ระดับออกซิเจนต่ำลง สร้างความเสียหายต่อสัตว์น้ำและระบบนิเวศ


เทศกาลลอยกระทงประจำปี 2566 ใกล้มาถึงแล้ว ประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันทุกปี คือผลกระทบที่ตามมาจากประเพณีที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของวัสดุในการทำกระทง และการจัดเก็บกระทงหลังลอยเสร็จ แม้ระยะหลังจะมีการปรับเปลี่ยนด้วยการลดใช้กระทงจากโฟม หันไปใช้กระทงจากขนมปังหรือวัสดุจากธรรมชาติแทน แต่ปัญหาที่ตามมาไม่ได้มีต้นตอจาก "วัสดุ" ทั้งหมด หากแต่เป็นเรื่อง "งูกินหาง" ตั้งแต่พื้นที่ในการลอย การจัดเก็บกระทงหลังลอยเสร็จ ทางน้ำไหลที่จะไปบรรจบกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวมถึงความเข้าใจเรื่องวัสดุที่หลายคนมองว่า "กระทงขนมปัง" ไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อมเท่ากับวัสดุย่อยสลายยาก ทว่า แท้จริงแล้ว "กระทงขนมปัง" กลับเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำไม่น้อยไปกว่ากระทงในรูปแบบอื่นๆ เลย


กางสถิติจัดเก็บกระทงย้อนหลัง กระทงเพิ่มขึ้นทุกปี วัสดุจาก ?โฟม? มากกว่าปีก่อน

ข้อมูลสถิติการจัดเก็บกระทงจากสำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ปี 2565 สามารถจัดเก็บกระทงได้ทั้งหมด 572,602 ใบ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่สามารถจัดเก็บได้ 403,203 ใบ เมื่อเทียบเคียงกันแล้วพบว่า กระทงที่จัดเก็บได้ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ราว 42%

สำหรับกระทงในปี 2565 มีกระทงจากวัสดุธรรมชาติ 548,086 ใบ คิดเป็นสัดส่วน 95.7% ส่วนกระทงจากโฟมมีทั้งสิ้น 24,516 ใบ คิดเป็น 4.3% แม้จะดูเป็น ?ส่วนน้อย? แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (ปี 2564) แล้ว พบว่า มีการใช้กระทงจากโฟมเพิ่มขึ้นราว 0.8% โดยเขตที่มีการใช้วัสดุจากโฟมมากที่สุด ได้แก่ เขตประเวศ จำนวน 1,140 ใบ

อย่างไรก็ตาม สถิติการจัดเก็บกระทงอาจไม่ใช่ตัวเลขที่จะนำมาสนับสนุนได้ว่า คนไทยลอยกระทงเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะข้อมูลการจัดเก็บกระทงเหล่านี้อาจอธิบายได้ว่า กทม. สามารถจัดเก็บขยะกระทงหลังลอยเสร็จได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่จะนำไปสู่ข้อมูลทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่มีการระบุว่า การจัดเก็บกระทงที่ไม่ครอบคลุมทำให้การลอยกระทงสร้างมลพิษทางน้ำ-ทำลายระบบนิเวศต่อปลาทะเล


ใบตอง-โฟม-ขนมปัง-ผัก ลอยแบบไหนก็ทำลายสิ่งแวดล้อม?

"ธนัสพงษ์ โภควนิช" อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มต้นอธิบายว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจลักษณะแหล่งน้ำที่มีทั้งแหล่งน้ำขัง แหล่งน้ำไหล และแหล่งน้ำรอการระบาย แต่ละแบบก็มีข้อจำกัดในการรับของเสียได้แตกต่างกัน สำหรับแม่น้ำเส้นหลักของไทย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำท่าจีน มีการไหลเวียนของน้ำค่อนข้างเร็ว ทำให้การจัดเก็บกระทงในแม่น้ำเหล่านี้ทำได้ค่อนข้างยาก อาจทำให้มีกระทงตกหล่นจากการจัดเก็บไปบ้าง ซึ่งประเด็นนี้คือเรื่องที่อันตรายที่สุดเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือมีกระทงถูกพัดไปติดตามชายฝั่งทะเล กลายเป็นขยะพิษต่อสัตว์น้ำในทะเลในท้ายที่สุด

หากถามว่า กระทงที่ย่อยสลายง่ายอย่าง "ผัก" หรือ "ขนมปัง" สร้างมลพิษน้อยกว่าโฟมหรือไม่ อาจารย์ระบุว่า เมื่อเทียบเคียงวัสดุยอดนิยมในการนำมาทำกระทงทั้งหมด "ขนมปัง" ยากต่อการจัดเก็บมากที่สุด ตามความเข้าใจของประชาชนทั่วไปอาจมองว่า ขนมปังเมื่อลอยในน้ำแล้วปลายทางจะเป็นอาหารปลาซึ่งไม่ใช่ปลาทุกชนิดที่จะชอบกินขนมปัง และเมื่อลอยน้ำไปสักพักขนมปังเหล่านี้อาจเปื่อยยุ่ยและจมลงสู่ก้นแม่น้ำก่อนที่ปลาจะกินด้วยซ้ำไป อาจารย์เปรียบเทียบว่า การลอยกระทงขนมปังลงแม่น้ำพร้อมกันหลายสิบ หลายร้อยใบ ไม่ต่างอะไรกับการทิ้งขยะลงแม่น้ำ มีแต่จะทำให้ปลาตาย แหล่งน้ำเน่าเสีย

"Hypoxia" หรือภาวะพร่องออกซิเจน คือสิ่งที่เกิดขึ้นในแม่น้ำหลังมีการลอยกระทง เมื่อขนมปังหรือผักผลไม้ปริมาณมากเกินกว่าที่ปลาในแม่น้ำจะกินจมลงแม่น้ำพร้อมกัน เศษอาหารเหล่านี้จะค่อยๆ เน่าเสีย เปื่อยยุ่ย ทำให้ปริมาณออกซิเจนในแม่น้ำต่ำลง ไม่ใช่แค่ปลาที่ได้ผลกระทบ แต่บรรดาสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถขึ้นมาหายใจรับออกซิเจนบนผิวน้ำจะยิ่งได้รับผลกระทบหนัก ท้ายที่สุดคือทำให้ระบบนิเวศเสียหายจนยากจะรักษาให้กลับมาดีดังเดิมได้


ดีที่สุด คือการไม่ลอยอะไรเลย?

ไม่ใช่ปลาทุกชนิดที่ชอบกินขนมปัง "ธนัสพงษ์" ให้ข้อมูลว่า พันธุ์ปลาแบบกว้างๆ มี 3 ชนิด ได้แก่ ปลากินเนื้อ ปลากินพืช และปลาที่กินทั้งเนื้อและพืช หากเป็นชนิดปลากินพืช "ขนมปัง" จะเป็นอาหารจานโปรดของพวกมัน แต่ถ้าในแม่น้ำเป็นปลากินเนื้อ "ขนมปัง" ที่เราลอยไปก็ไม่ต่างอะไรกับขยะในแม่น้ำ และแน่นอนว่า ในแม่น้ำไม่ได้มีปลาเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง ร้ายที่สุดคือการที่แหล่งน้ำนั้นไม่มีปลากินพืชอยู่เลย ซึ่งพันธุ์ปลาส่วนใหญ่ในแม่น้ำที่เราคุ้นเคยอย่างปลาช่อน ปลาดุก ปลากระพง ล้วนเป็น "ปลากินเนื้อ" ทั้งสิ้น

ฉะนั้น หากถามว่า ลอยกระทงด้วยวัสดุแบบไหนจึงจะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดคำตอบคงไม่ใช่ขนมปัง ผักผลไม้ หรือใบตอง แต่ต้องกลับไปที่ขั้นตอนการจัดเก็บกระทงว่า ทางเขตรับผิดชอบแต่ละจังหวัดมีการวางแผนการจัดเก็บกระทงเพื่อป้องกันกระทงทะลักสู่ชายฝั่งทะเลอย่างไรบ้าง ถ้าประเพณีนี้ยังดำเนินต่อไปด้วยเหตุและผลของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-ดึงดูดนักท่องเที่ยว ก็คงต้องทบทวนถึงมาตรการป้องกันความเสียหายต่างๆ อย่างรอบด้านว่า เม็ดเงินจากเทศกาลที่หลั่งไหลเข้ามานั้นคุ้มค่ากับผลกระทบที่ตามมาหรือไม่


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1100553

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:43


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger