#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่ง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน และมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 3 ? 4 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 5 ? 6 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 ? 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ยังคงมีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 7 ? 9 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 1 ? 3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ในขณะที่ยังคงมีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ??? อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3 ? 5 ธ.ค. 66 พายุดีเปรสชันที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกของประเทศอินเดียในช่วงวันที่ 4 ? 5 ธ.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 5 ? 6 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ??? ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
เร่งช่วยชีวิต "วาฬเบลน์วิลล์" น้ำหนัก 500 โล ถูกคลื่นซัดเกยตื้น คาดพลัดหลงฝูง บาดเจ็บ ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม ช่วยชีวิต "วาฬเบลน์วิลล์" เพศเมียตัวใหญ่กว่า 4 เมตร น้ำหนักกว่า 500 กก. ถูกคลื่นซัดเกยตื้นริมหาดปากบาง-สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา คาดอาจพลัดหลงฝูงหรือบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 3 ธ.คง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม อ.เทพา จ.สงขลา ได้ช่วยวาฬตัวหนึ่งที่ลอยมาเกยตื้นอยู่ที่บริเวณชายหาดปากบาง-สะกอม อ.เทพา โดยวาฬตัวนี้ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่ชายหาดในช่วงเช้าของวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทั้งชาวบ้านที่ไปพบและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม ซึ่งดูแลพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวได้ช่วยกันนำร่างวาฬลงสู่น้ำอีกครั้งในเวลาไม่นาน หลังจากนั้นได้พยายามประคองวาฬไปยังบริเวณที่มีน้ำลึกพอสมควรเพื่อให้สามารถว่ายออกสู่ทะเลได้ แต่ปรากฏว่าวาฬตัวนี้ว่ายออกไปได้ราว 500 เมตร ก็วนกลับเข้าหาฝั่งอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะอ่อนแรงและอาจจะบาดเจ็บ ด้วยคลื่นลมในทะเลที่ยังค่อนข้างแรงเป็นระยะ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงมรสุมของภาคใต้ จึงถูกคลื่นซัดกลับเข้าหาฝั่งอีกครั้ง และต่อมามีการประสานเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้ามาช่วยดูแลวาฬตัวนี้แล้ว โดยพบว่า เป็นวาฬเบลน์วิลล์ (Blainville?s beaked Whale) ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesoplodon densirodtris เพศเมีย ความยาวลำตัว 4 เมตร ขนาดรอบลำตัว 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม ทางสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างได้ทำเปลผ้าใบพยุงวาฬให้ลอยอยู่ในน้ำได้ และใช้ผ้าชุบน้ำคลุมรักษาความชุ่มชื่นของผิวหนัง รวมทั้งคอยรดน้ำให้ความชื้นบริเวณครีบหลัง และลำตัว พร้อมกับสับเปลี่ยนกันเฝ้าดูอาการตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจนถึงวันนี้ (3 ธ.ค.) อาการวาฬตัวนี้ยังทรงตัว และหากอาการดีขึ้นก็จะปล่อยกลับคืนสู่ท้องทะเลต่อไป สำหรับวาฬเบลน์วิลล์นั้น ปกติจะอยู่เพียงลำพังหรืออยู่เป็นคู่ แต่อาจรวมฝูง 3-7 ตัว เหมือนกับฮาเร็ม โดยมีเพศผู้เพียงตัวเดียว และเพศเมียหลายตัว และมีการแพร่กระจายค่อนข้างกว้างในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ส่วนมากจะพบไกลฝั่งบริเวณที่มีน้ำลึกประมาณ 200-1,000 ม. โดยประเทศไทยพบเพียงตัวเดียวเกยตื้นที่บ้านอ่าวน้ำบ่อ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อเดือน พ.ย. 2554 หรือเมื่อ 12 ปี ที่ผ่านมา https://www.dailynews.co.th/news/2961362/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
มาทุกปี! 'โลมาสีชมพู'โผล่เล่นน้ำอ่าวสัตหีบ ทะเลมีความอุดมสมบรูณ์ 3 ธันวาคม 2566 จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Somprasong Mart ได้โพสคลิปวิดิโอ อ่าวสัตหีบอุดมสมบรูณ์สุดๆ เจอโลมาสีชมพูวอนเรือเร็วขับระวังน้องด้วยนะครับ โดยคาดว่าน่าจะเป็น โลมาปากขวด สีชมพู ที่มักจะเข้ามาเล่นน้ำบริเวณอ่าวสัตหีบเป็นประจำทุกปี บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสัตหีบได้เป็นอย่างดีนั้น ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้รับรายงานจากชาวประมงชายฝั่งบริเวณ บอกว่าโลมามักจะเข้ามาเล่นน้ำบริเวณอ่าวสัตหีบเป็นประจำทุกปี และในหลายครั้งก็มักจะเข้ามาเล่นน้ำในพื้นที่ใกล้ชายฝั่ง สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก https://www.naewna.com/likesara/773000
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ความมั่นคงด้านน้ำ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นสัปดาห์นี้ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค. ที่นครดูไบ จะเป็นการรวมตัวกันของประชาคมโลก เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต่อการความร่วมมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกที่เข้าสู่ช่วงเวลาวิกฤติแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้น ความจำเป็นเร่งด่วนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือการยกระดับมาตรการสร้างความมั่นคงด้านน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เพิ่มสูงขึ้นจากอุทกภัยและภัยแล้ง ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ความเสี่ยงและความเปราะบางของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากสถิติข้อมูลพบว่า อุณหภูมิโลกสูงขึ้นนับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ในขณะที่สถานการณ์ฝน แม้จะมีความถี่ลดลงแต่กลับทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แบบจำลองยังบ่งชี้ ว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมเพิ่มขึ้นในหน้าฝน และเสี่ยงต่อภัยแล้งมากขึ้นในหน้าแล้ง โดยปัจจุบันประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 ของโลกตามดัชนีความเสี่ยงด้านอุทกภัย (INFORM Risk Index) อุทกภัยถือเป็นภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยมากที่สุด เหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี พ.ศ. 2554 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 680 คน และผู้ได้รับผลกระทบเกือบ 13 ล้านคน อีกทั้งยังสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่าราว 46.5 พันล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 12.6% ของจีดีพี และสำหรับอุทกภัยครั้งรุนแรงในเมื่อเดือนต.ค. 2565 รัฐบาลต้องจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยสูงถึง 663 ล้านดอลลาร์หรือ0.13% ของจีดีพี ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง โดยเกิดวิกฤติภัยแล้งรุนแรง ในปี 2522 2537 และ 2542 ทั้งนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอัตราความยากจนสูงสุด มีความเปราะบางต่อปัญหาภัยแล้งเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี สถานการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2554 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ก่อให้เกิดความตระหนักถึงความจำเป็นในการลงทุนในระบบบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน และการบูรณาการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบและเป็นเชิงรุก ซึ่งรวมถึงมาตรการด้านการปรับตัวต่อความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและด้านการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ทำการศึกษาสาเหตุและผลกระทบอันเกิดจากอุทกภัย และจัดทำแผนหลักเพื่อการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จนมีผลออกมาเป็น "แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผน" แผนทั้ง 9 นี้ ครอบคลุมโครงการลงทุนด้านโครงสร้างระบบชลประทาน การกักเก็บน้ำและการระบายน้ำ รวมมูลค่าราว 3 แสนล้านบาท เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีมูลค่าผลผลิตครึ่งหนึ่งของประเทศไทย อีกทั้งยังมี เขตอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรสูง ขณะนี้ธนาคารโลกอยู่ระหว่างการหารือกับรัฐบาลไทย เพื่อสนับสนุนโครงการ 9 แผนฯ โดยเริ่มดำเนินการจากแผนบรรเทาอุทกภัยฯ แผนที่ 1 ในฝั่งเจ้าพระยาตะวันออกตอนล่าง ร่วมกับกรมชลประทาน เพื่อปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานเดิม 24 คลอง ความยาวรวม 464.3 กิโลเมตร และก่อสร้างปรับปรุงอาคารบังคับน้ำและสถานีสูบน้ำอีกจำนวนหนึ่ง แผนนี้ยังจะช่วยเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ำในช่วงหน้าแล้งไว้ในคลองเพิ่มได้อีก 18 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่ 276,000 ไร่ สามารถลดมูลค่าความเสียหายจากอุทกภัยได้ถึง 6,281 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการส่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคให้ประชาชน รวมถึงการส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำบางพระเพื่อภาคอุตสาหกรรมในเขต EEC อีกด้วย แม้รัฐบาลไทยจะมีความคืบหน้าในการรับมือกับปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ยังคงมีความท้าทายบางประการที่ต้องดำเนินการต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเร่งการจัดการน้ำท่วมตามแนวพระราชดำริซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำและสร้างระบบบริหารจัดการข้อมูลที่มั่นคง การเสริมสร้างประสิทธิภาพระบบคาดการณ์และเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันที่มีการใช้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแผนที่ภัย การวางแผนการใช้ที่ดิน และการพัฒนาสีเขียว "แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผน" นี้ จะมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยจำนวนหลายล้านคน อีกทั้งจะเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับประเทศที่ต้องการสร้างภูมิต้านทานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านมาตรการจัดการอุทกภัยที่มีประสิทธิภาพต่อไป https://www.bangkokbiznews.com/environment/1101510
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|