เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 16-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (16 ธ.ค. 66) หลังจากนั้นจะแผ่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกในระยะต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1?3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนถึงปานกลาง และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ท้องฟ้าโปร่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 16 - 19 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3 ? 5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 1 ? 3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

จากนั้นในช่วงวันที่ 20 - 21 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิจะลดลงอีก 2 ? 4 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 17 ? 21 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกให้ระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 20 - 21 ธ.ค. 66












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 16-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ปลาทูสดกับฟอร์มาลดีไฮด์



ปลาทู อาหารประจำครัวของคนไทยที่เป็นแหล่งของสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งโปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ ปลาทูนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ปลาทูทอด น้ำพริกปลาทู ฉู่ฉี่ปลาทู ต้มยำปลาทู แกงผักปลังปลาทูย่าง แกงกะทิไหลบัวปลาทู ห่อหมกปลาทู ปลาทูสามรส เมี่ยงปลาทู ทว่าวันนี้ สิ่งที่อยากเตือนท่านที่ชื่นชอบปลาทูให้ระวังกันนิด คือ สารฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อนในปลาทู

ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือฟอร์มาลิน เป็นสารเคมีมีพิษ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อรา ปกติจะใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ทางการแพทย์ ใช้ดองศพ ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมการเกษตร การที่ฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อนในปลาทูสดนั้น อาจเกิดจากคนขายตั้งใจใส่ลงในปลาทู โดยนำฟอร์มาลดีไฮด์ผสมน้ำ ราด แช่ ฉีดพ่นปลาทูก่อนวางขาย ป้องกันการเน่าเสียทำให้ปลาทูยังคงความสดใหม่ สามารถเก็บไว้ขายได้นาน เมื่อทานอาหารที่มีฟอร์มาลดีไฮด์เข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยๆ ร่างกายจะกำจัดออกได้เองทางเหงื่อและปัสสาวะ แต่หากได้รับปริมาณมากๆ หรือมากเกินไปจะทำให้มีอาการปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้อง ปากและคอจะแห้ง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก อาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออก มีอาการเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น และคอแข็ง

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 391 พ.ศ.2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย กำหนดให้ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่มีฟอร์มาลดีไฮด์ สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และพาราฟอร์มาลดีไฮด์

สถาบันอาหารเก็บตัวอย่างปลาทูสดจำนวน 5 ตัวอย่าง จากร้านค้าในตลาดสด 5 แห่ง ในเขตกรุงเทพฯเพื่อนำมาวิเคราะห์ฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อน ผลปรากฏว่าปลาทูสดทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์ วันนี้ผู้บริโภคที่ชอบทานปลาทูสบายใจกันได้ ขอแนะว่าก่อนซื้อควรดมกลิ่น หากมีกลิ่นฉุนแสบจมูกไม่ควรซื้อ และก่อนนำปลาทูสดมาประกอบอาหารควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้งก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย.


https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/2747908

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 16-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


เร่งสร้างความตื่นรู้ ช่วยลด "ไมโครพลาสติก" ปนเปื้อนท้องทะเลไทย



ปัญหาขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งออกสู่ทะเล เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่แก้ได้ยาก เพราะไม่สามารถหาทางเก็บขยะพลาสติกออกจากทะเลได้ทั้งหมด และขยะเหล่านี้กำลังแตกตัวไปเป็นไมโครพลาสติก หรือ "พลาสติกขนาดจิ๋ว" ที่ปนเปื้อนทั้งในน้ำ อาหาร อากาศ และ เข้าสู่ร่างกายเราในที่สุด

ปัจจุบัน ไมโครพลาสติก กลายเป็นปัญหามลพิษทางทะเลที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั่วโลก เนื่องจาก ไมโครพลาสติก มีขนาดเล็กมากทำให้ยากต่อการเก็บและกำจัด รวมถึงย่อยสลายได้ยาก เมื่อมีการระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม "ไมโครพลาสติก" จึงสามารถปนเปื้อน แพร่กระจาย สะสม และ ตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ง่าย

การแพร่กระจายของ ไมโครพลาสติก ในสิ่งแวดล้อม พบได้ทั้งในน้ำจืด ตะกอนดิน และ ในทะเล แม้ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานวิจัยว่า "ไมโครพลาสติก" ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ผ่านทางห่วงโซ่อาหาร แต่ในมุมมองของ ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกกับไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า

"แม้จะยังไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดี แต่ไม่ควรมีน่าจะดีที่สุด"


มาโครพลาสติกปล่อยไมโครพลาสติก

อ.สุริยัน ระบุว่า ความน่ากลัวของไมโครพลาสติกเกิดจาก พวกพลาสติกชิ้นใหญ่ หรือ มาโครพลาสติก (Macroplastic) ที่ถูกปล่อยอยู่ในทะเล พลาสติกชิ้นใหญ่ที่ลอยอยู่บนผิดน้ำ จะถูกความร้อนจากแสงอาทิตย์ แล้วไมโครพลาสติกชิ้นขนาดเล็กก็จะค่อยๆ หลุดออกมา ปนเปื้อนในน้ำทะเล หรือสัตว์น้ำเช่น ปลา เต่า ที่ไม่มีวันแยกออกได้ระหว่างพลาสติกกับแมงกะพรุน สุดท้ายก็กินเข้าไปแล้วอุดตันในท้องตาย

ส่วนพลาสติกชิ้นใหญ่ที่จมน้ำ เช่น เชือกพลาสติก อวน แห อาจพันอยู่กับปะการังหรือโขดหินใต้ทะเล สัตว์น้ำต่างๆ ว่ายน้ำเข้าไปติดจนตาย จากนั้นก็จะมีสัตว์ตัวใหม่เข้าไปติดอีก วนไปเรื่อยๆ

ทางที่ต้องแก้ไขคือ "ทำอย่างไรที่จะไม่ให้พลาสติกเหล่านี้ลงสู่ทะเล"

นายสุวรรณ พิทักษ์สินธร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 ตราด และอุปนายกสมาคมนิสิตเก่าคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การจัดเก็บพลาสติกเพื่อลดการปล่อยสู่ทะเล ต้องเริ่มต้นจากการแยกขยะภายในบ้านก่อน รวมถึงการจัดเก็บขยะในที่สาธารณะให้เรียบร้อยด้วย

"บางครั้งลมพัดมา พวกขยะพลาสติกก็ปลิวบ้าง หรือน้ำท่วม ขยะพลาสติกก็ไปอุดตันท่อบ้าง"


หมั่นสร้างจิตสำนึกการแยกขยะ ช่วยลดไมโครพลาสติก

นายสุวรรณ กล่าวว่า เราต้องเริ่มต้นจากการสร้างจิตสำนึกให้ตัวเอง แล้วขยายไปสู่ครอบครัว สังคม ในเรื่อง "การแยกขยะ" เพื่อลดการปล่อยสู่ทะเล ยิ่งลดได้มากเท่าไหร่ ไมโครพลาสติกที่จะปนเปื้อนในทะเลก็ลดตามเท่านั้น

พร้อมยกตัวอย่างในต่างประเทศ ที่ใช้มาตรการนำขยะมาแลกเงิน หรือเก็บขวดมาแลกคูปอง และของขวัญ เพื่อเป็นการจูงใจให้คนในพื้นที่ช่วยกันแยกขยะ

มีนกรทั้ง 2 ยังแนะนำว่า อยากให้ทุกคนช่วยกันเริ่มต้นคัดแยกขยะ โดยเริ่มต้นจากตนเองก่อน แม้การรณรงค์นี้จะมีมานานแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องกระตุ้นให้ทำกันเรื่อยๆ พร้อมเปรียบเทียบว่าหลายประเทศในยุโรป ประชาชนในเมืองยอมปั่นจักรยานเพื่อไปทิ้งขยะตามถังขยะที่แยกไว้ แม้ว่าจะไม่มีผลตอบแทนใดๆ ก็ตาม ซึ่งเข้าใจได้ว่าทุกคนถูกปลูกฝังจนกลายเป็นความเคยชินแล้ว


10 อันดับขยะชายหาด

คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยขยะทะเล 10 อันดับแรกของทะเลไทย หากดูรวมๆ พบว่าขยะจำพวกพลาสติกและโฟม ครองแชมป์มากถึง 8 ใน 10 ชนิดที่พบเลยทีเดียว

1. ขวดเครื่องดื่มพลาสติก ร้อยละ 22.00
2. ถุงพลาสติก ร้อยละ 19.42
3. ขวดแก้ว ร้อยละ 10.96
4. ห่อ/ถุงขนม ร้อยละ 7.97
5. เศษโฟม ร้อยละ 7.55
6. กระป๋องเครื่องดื่ม ร้อยละ 7.46
7. กล่องอาหาร โฟม ร้อยละ 6.92
8. หลอด ร้อยละ 6.45
9. ฝาพลาสติก ร้อยละ 5.67
10.เชือก ร้อยละ 5.61


KUFA ชวนวิ่งสร้างจิตสำนึกปัญหามลภาวะทะเลไทย

สมาคมนิสิตเก่าคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ @ บางเขน ร่วมกับคณะประมง และสโมสรนิสิตคณะประมง เห็นถึงความสำคัญของคุณภาพระบบนิเวศทะเลไทยที่กำลังเข้าสู่วิกฤติ

เนื่องจากไทยกำลังประสบปัญหามลภาวะทางทะเล วัดจากติดอันดับ 5 ประเทศที่มีขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก ถึง 22,800,000 กิโลกรัมพลาสติก จึงจัดกิจกรรมวิ่ง Run For The Ocean ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหารายได้มาใช้ในกิจกรรมการดูแลทะเลไทย ร่วมกับภาคประชาชน และหน่วยงานท้องถิ่น โดยใช้ชื่อว่า โครงการ KU SOS : Kasetsart University Save Our Sea

เพื่อสร้างจิตสำนึกให้สังคมไทยรับรู้ และ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหามลภาวะในทะเลไทย และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทย ในระดับบุคคล ชุมชน และ เกิดนโยบายในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในระดับชาติ


https://www.thaipbs.or.th/news/content/334863

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:59


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger