เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 18-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประแทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ในระยะนี้ไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันลดลง อยู่ในเกณฑ์ดีถึงปานกลาง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วนกับมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 18 - 19 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2 ? 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 ? 3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลงอีก 2 ? 4 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20 ? 23 ธ.ค. 66 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง และมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวนในระยะต่อไป


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 18 ? 23 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกให้ระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 21 - 23 ธ.ค. 66









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 18-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ทัพเรือภาคที่ 2 จับกุมเรือประมงเวียดนามรุกน่านน้ำไทย คุมตัวลูกเรือ 6 คน

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ทัพเรือภาคที่ 2 จับกุมเรือประมงเวียดนามตกหมึก 1 ลำ พร้อมลูกเรือประมง 6 คน รุกล้ำน่านน้ำไทยลักลอบเข้ามาทำการประมง



วานนี้ (16 ธ.ค.) ทัพเรือภาคที่ 2 ได้รับแจ้งเบาะแสจากแหล่งข่าวในพื้นที่ว่า มีเรือประมงต่างชาติเข้ามาทำการประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำไทย บริเวณแบริ่ง 016 ระยะ 66 ไมล์ จากปากร่องน้ำสงขลา พล.ร.ท.พิจิตต ศรีรุ่งเรือง ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 ได้สั่งการให้เรือหลวงปัตตานีลาดตระเวนพิสูจน์ทราบ

เมื่อไปถึงเรือหลวงปัตตานีตรวจพบเรือประมงสัญชาติเวียดนาม เป็นเรือเบ็ด จำนวน 1 ลำ ผู้ควบคุมพร้อมลูกเรือรวม 6 คน กำลังลักลอบทำการประมง จึงได้ควบคุมเรือพร้อมลูกเรือทั้งหมดมาท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 เพื่อสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อเก็บไว้เป็นประวัติและข้อมูลในการจับกุมเรือประมงเวียดนามในแต่ละครั้ง และหลังจากสอบสวนเสร็จแล้วได้นำลูกเรือทั้ง 6 คน ส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองสงขลา ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

การดำเนินคดีกับเรือประมงสัญชาติเวียดนามในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการจับกุมในพื้นที่เขตน่านน้ำภายในจึงได้ตั้งข้อกล่าวหาผู้กระทำความผิดไว้ 3 ข้อหา 1.ใช้เรือประมงไร้สัญชาติทำการประมงในเขตการประมงไทย (ตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 10) 2.ร่วมกันทำการประมงพาณิชย์โดยไม่มีใบรับอนุญาตทำการประมง (ตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 และ 3.ทำการประมงในเขตการประมงไทยโดยทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต (ตาม พ.ร.ก.ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ.2482)

สำหรับการจับกุมเรือประมงต่างชาติในพื้นที่ทัพเรือภาคที่ 2 ในปีงบประมาณ 2567 ตั้งแต่ตุลาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน มีการจับกุมรวมในครั้งนี้แล้วจำนวน 2 ครั้ง จับกุมเรือทั้งหมด 2 ลำ ผู้ควบคุมเรือพร้อมลูกเรือรวม จำนวน 11 คน


https://mgronline.com/south/detail/9660000112984

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


หญ้าคาทะเลอันดามัน วิกฤต-ใกล้ล่มสลาย



เมื่อกล่าวถึงหญ้าทะเลที่เกาะมุก จ.ตรัง กำลังเกิดวิกฤต เข้าขั้นเสี่ยงล่มสลาย กระทบระบบนิเวศและสัตว์ใต้ท้องทะเล นักวิชาการชี้เหตุมาจากเต่าทะเลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น กินหญ้าทะเลและกินอย่างสิ้นเปลืองเพราะเต่ากินที่โคนต้น จึงต้องวอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาอนุรักษ์หรือเพิ่มปริมาณเต่าด้วยความสมดุล เพื่อให้สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ทั้งพืชและสัตว์น้ำอยู่ร่วมกันได้ต่อไป

ทั้งนี้ในเวทีการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิอันดามันรับผิดชอบทะเลฝั่งอันดามันเป็นหลัก เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการพูดถึง ทรัพยากรสัตว์น้ำ ที่ลดลงจากเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายและมนุษย์มุ่งทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำวัยอ่อน ในการสัมนาพูดคุยมีข้อมูลทางวิชาการที่น่าสนใจ คือ การลดปริมาณลงของหญ้าคาทะเลจำนวนมากในหลายพื้นที่ จุดที่วิกฤตหนักคือ เกาะมุก จ.ตรัง

การสำรวจโลกใต้ท้องทะเลส่วนนี้ พบว่า หญ้าทะเลเริ่มตาย ใกล้เข้าสู่การล่มสลาย สาเหตุหลักๆ เกี่ยวเนื่องจากการพบเต่าทะเลจำนวนเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่เพราะหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารชั้นดีสำหรับสัตว์น้ำประเภทนี้ที่มีอายุยืนยาว

ผศ.พรเทพ วิรัชวงศ์ อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง อธิบายว่า ข้อมูลล่าสุดในปลายปี 2565 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2566 พบว่า หญ้าคาทะเล ซึ่งเป็นหญ้าทะเลชนิดที่เป็นหลักนั้น ประสบปัญหา ขาดสั้น ไม่ใช่เรื่องปกติ

การขาดสั้นนั้นมาจากการที่เต่าทะเลกินหญ้าคาทะเลที่บริเวณโคน ทำให้ใบหญ้าทะเลปลิวหายไป หรือเรียกว่ากินแบบสิ้นเปลือง แทนที่สัตว์ชนิดอื่นๆ จะกินที่ใบ แต่เต่าได้กัดที่โคน ทำให้ใบปลิวหายไปแล้ว เมื่อเต่าทะเลกัดอีกครั้งก็กัดไปที่ตอ ทำให้เสื่อมโทรมและตายในที่สุด เมื่อเต่าทะเลแพร่พันธุ์มากขึ้น ทำให้กินหญ้า
ทะเลแบบสิ้นเปลืองเพิ่มขึ้น เพราะเป็นธรรมชาติของเต่าทะเลที่กินอาหารแบบนี้

จากการสำรวจพบว่า หญ้าทะเลที่เกาะมุก จ.ตรัง อยู่ในสภาวะการตาย และจะเข้าสู่ภาวะล่มสลายในไม่ช้า ขณะที่พื้นที่อื่นๆ ใน จ.ตรังและกระบี่ ก็พบเช่นเดียวกัน หญ้าทะเลอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม กังวลว่าเต่าทะเลจะขยายเข้าไปกัดกินหญ้าทะเลในวงกว้างมากขึ้น

ผศ.พรเทพ ยังเปรียบเทียบให้เห็นชัดคือหญ้าคาทะเล ซึ่งเป็นหญ้าทะเลชนิดหลักมีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร มีลำต้นส่วนที่อยู่ในดินใต้ทะเลประมาณ 10 เซนติเมตร และรากฝังอยู่อีก ทำให้เป็นหญ้าทะเลหลักที่คอยเป็นตัวกำบังแรงคลื่นให้กับ

หญ้าทะเลชนิดอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบหญ้าคาทะเล เมื่อหญ้าคาทะเลถูกกัดกินจนเหลือแต่โคน หญ้าทะเลชนิดอื่นๆ ที่มีรากในดินเพียง 1-2 เซนติเมตร ก็ถูกคลื่นซัดหายตายไปได้ง่ายๆ

วันนี้การอนุรักษ์ การปล่อยเต่าทะเล การเพิ่มปริมาณเต่าทะเล จึงควรมีความตระหนักว่ามีปริมาณเหมาะสมหรือไม่ มีเกินความสมดุลไปแค่ไหน แล้วหากต้องเลือกระหว่างเต่าทะเลกับหญ้าทะเลจะเลือกชนิดใด หญ้าทะเลนั้นมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ถือเป็นโรงงานผลิตอาหารในธรรมชาติ เป็นแหล่งอาหารของกุ้งหอยปูปลา รวมถึงพะยูน

วันนี้หากหญ้าทะเลล่มสลายไป แน่นอนว่าสัตว์ทะเลย่อมหายไปด้วย เพราะหญ้าทะเล ส่งผลต่อเนื่องมาถึงชุมชนชาวประมง อาชีพของชาวประมง ไปจนถึงการท่องเที่ยว และการลดภาวะโลกร้อน ในอนาคต

ผศ.พรเทพ กล่าวต่อว่า หญ้าทะเลจะพบได้ในทะเลอันดามัน ส่วนฝั่งอ่าวไทยนั้นหายไปเกือบหมดแล้ว หากไม่มีการดำเนินการใดๆ ปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ นอกจากนั้นก็ยังมีพื้นที่เสื่อมโทรมของหญ้าทะเลไม่ว่า จะเป็นปากเมง ปากคลองแหลมไทร เกรงจะเข้าเกาะลันตา ของ จ.กระบี่ เป็นลำดับต่อไป ดังนั้น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ขอย้ำว่าหญ้าทะเล ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อระบบนิเวศ

ขณะที่ บรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลเรียกร้องว่า หน่วยงานที่มีหน้าที่ควรจะตระหนัก และหันมาแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง เพราะเมื่อหญ้าทะเลล่มสลายไป แน่นอนว่าสัตว์ทะเลไม่ว่าจะเป็นสัตว์ทะเลที่เป็นอาหาร สัตว์ทะเลหายากก็อยู่ไม่ได้ เพราะหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารสำคัญ นั่นหมายถึงชุมชนประมง รวมถึงการท่องเที่ยวทางทะเล ย่อมได้รับผลกระทบ นักวิชาการชุมชนชายฝั่ง องค์กรภาคประชาชนส่งสัญญาณกรณีมาตั้งแต่ปลายปี 2565 แต่การแก้ปัญหานั้นได้ดำเนินการอย่างไรหรือไม่

เป็นการตั้งคำถามที่อยากให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขอย่างจริงจัง อย่าปล่อยให้ปัญหาลุกลามไปมากกว่านี้จนยากเกินจะเยียวยา


https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_4334403

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 18-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


เผยผลตรวจสอบ'ปรอท'ใน'ปลา' และไอปรอทจากไทยไปได้ไกลถึงรัสเซีย



เผยผลตรวจสอบ'ปรอท'ใน'ปลา' และไอปรอทจากไทยไปได้ไกลถึงรัสเซีย
นักวิชาการเผย 40% ของตัวอย่างปลามีปรอทในเนื้อมากกว่าค่าที่ยอมรับได้ แม้ค่าเฉลี่ยภาพรวมไม่เกินเกณฑ์ ชี้ปรอทจากประเทศไทยไปได้ไกลถึงรัสเซีย ขณะที่สารมลพิษตกค้างยาวนาน กลุ่มไดออกซิน/ฟิวแรนส์ จ.สมุทรสาคร มีค่าสูงกว่าประเทศญี่ปุ่นถึงเกือบ 5 เท่า


Keypoints:

- การปลดปล่อยและการตกสะสมของปรอท จากเชื้อเพลิงถ่านหินในประเทศไทย พบการปนเปื้อนปรอทในปลา และปรอทเคลื่อนที่ออกไปนอกประเทศไทยถึง 97% ไปได้ไกลถึงรัสเซีย

- มลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกเมินเฉย ทั้งที่ในประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถก่อมลพิษได้กว่า 60,000 แห่ง ผลศึกษาพบโลหะหนักและสารมลพิษตกค้างยาวนาน

- ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ควรกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบจากปริมาณฝุ่น PM 2.5 สารโลหะหนัก และสารมลพิษตกค้างยาวนานในระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า


ในงานประชุมระดับชาติ เรื่อง มลพิษทางอากาศ PM 2.5 ครั้งที่ 1 (Thailand National PM 2.5 Forum) หัวข้อ "อากาศสะอาด: ความรับผิดชอบร่วมของรัฐ เอกชน และประชาสังคม? ภายใต้แนวคิด ?เพราะเฮามีลมหายใจ๋เดียวกัน" จัดขึ้นที่ จ. เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 3 ? 4 ธันวาคม 2566 ในวงเสวนาห้องย่อยห้องที่ 4 หัวเรื่อง "PM 2.5 ในฝุ่นอุตสาหกรรมกับต้นเหตุที่ถูกมองข้าม"

รศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า มลพิษจากแหล่งต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมไม่ได้หายไปไหน เมื่อเกิดขึ้นและตกสู่สิ่งแวดล้อมแล้ว ก็มีการสะสมตัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นมากขึ้น จนกระทั่งพืชดูดซับไปเก็บไว้ เมื่อพืชถูกเผาและสร้างฝุ่นออกมา ฝุ่นดังกล่าวจึงอันตรายขึ้นเพราะมีองค์ประกอบของสารมลพิษแฝงอยู่อย่างมาก


ไอปรอทจากไทยไปได้ไกลถึงรัสเซีย

ในเรื่องของปรอทมลพิษข้ามพรมแดน จากข้อมูลระดับโลกบ่งบอกว่า แหล่งกำเนิดสำคัญมาจากการทำเหมือง โดยเฉพาะเหมืองทอง รองลงมาคือการเผาถ่านหิน นอกจากนั้นยังมีข้อมูลเปรียบเทียบที่บ่งชี้ชัดเจนว่า แม้แหล่งปลดปล่อยปรอทของโลกจะมีไม่กี่แห่ง แต่การแพร่กระจายกลับพบทั่วโลก ซึ่งผลกระทบที่สำคัญของปรอทคือการส่งผลต่อไอคิวของมนุษย์ หากพบปรอทสะสมในผมของหญิงตั้งครรภ์ 1 ppm เด็กที่เกิดมาจะมีIQ ลดลง0.18 หน่วย มูลค่าของ IQ 1 หน่วย เท่ากับมูลค่า 190,763 บาท

ผลการจำลองการฟุ้งกระจาย ปลดปล่อยปรอทนั้น ในปี 2561 ประเทศไทยใช้ถ่านหินผลิตเป็นเชื้อเพลิงประมาณ 6,545 เมกะวัตต์(MW) โดยปลดปล่อยไอปรอท (Hg0) มีปริมาณ 959 กิโลกรัม/ปี ปลดปล่อยไอปรอทประจุ 2+ (HgII) มีปริมาณ 353 กิโลกรัม/ปี และปลดปล่อยปรอทในรูปอนุภาค (HgP) มีปริมาณ 175 กิโลกรัม/ปี

จำนวนที่มาจากโรงไฟฟ้าและโรงงานในประเทศไทย (MCCT) สำหรับไอปรอท คิดเป็น 18% ส่วนไอปรอทประจุ 2+ คิดเป็น 17% และ 13% สำหรับปรอทในรูปอนุภาคทั้งหมดในบรรยากาศประเทศไทย

ปรอทเคลื่อนที่ออกไปนอกประเทศไทยถึง 97%, โดย 91% เป็นไอปรอท โดยแหล่งปลดปล่อยปรอทในประเทศไทยทำให้เกิดไอปรอท ในบรรยากาศที่พื้นผิวสูงสุดคือ 0.06 ส่วนในล้านล้านส่วน บริเวณจังหวัดลำปาง ข้ามพรมแดนไปทางตอนเหนือของภาคกลางของประเทศจีน และที่เกาะSakhalin ของประเทศรัสเซีย

ความเข้มข้นของ ปลดปล่อยไอปรอทประจุ 2+ และปรอทในรูปอนุภาค มีในประเทศไทยมีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.0045 ส่วนในล้านล้านส่วน และ 0.0009 ส่วนในล้านล้านส่วนตามลำดับ ในบริเวณจังหวัดลำปาง

"ปรอทตกสะสมแบบเปียกในประเทศไทย 22%, ตกสะสมนอกประเทศไทย 78%, โดยเกิดการตกสะสมของปรอทในประเทศไทยใกล้แหล่งกำเนิดในจังหวัดลำปางประมาณ 0.63 ไมโครกรัม/ตารางเมตร/ปี และใกล้แหล่งกำเนิดในจังหวัดตราดประมาณ 0.12 ไมโครกรัม/ตารางเมตร/ปี" รศ.ดร.ธนพลระบุ


พบปรอทในปลาไทย

รศ.ดร.ธนพล กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบปลากระสูบจาก 6 แหล่งน้ำในประเทศไทย พบว่า ปลาในจังหวัดลำปางมีปรอทเฉลี่ยเท่ากับ 0.258?0.20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(มก/กก) และประมาณ 40% ของตัวอย่างมีปรอทในเนื้อมากกว่าค่าที่ยอมรับได้ที่ 0.3 มก/กก

- ขณะที่ในจังหวัดตราดปลามีปรอทเฉลี่ยเท่ากับ 0.16?0.14 มก/กก และประมาณ 16% ของตัวอย่างมีปรอทในเนื้อมากกว่าค่าที่ยอมรับได้

- การวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าความเข้มข้นของปรอทในเนื้อปลาใน 6 แหล่งน้ำสัมพันธ์กับปริมาณการตกสะสม แบบเปียกของปรอทจากแหล่งปลดปล่อยปรอทในประเทศไทย

- ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการลดการปลดปล่อยปรอทจากแหล่งกำเนิดในประเทศไทยเพื่อลดการปนเปื้อนของปรอทในปลาเพิ่มความปลอดภัยของแหล่งอาหาร


มลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม

ขณะที่ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่วนใหญ่จะพูดถึงไฟป่าและการเผาของภาคการเกษตรว่าเป็นสาเหตุสำคัญ แต่ภาคส่วนอุตสาหกรรมไม่ค่อยถูกกล่าวถึง หรือแม้แต่การกำหนดตัวชี้วัดเป็นจุดความร้อนก็เป็นที่ชัดเจนว่า ปล่องโรงงานอุตสาหกรรมไม่เคยปรากฏในการแสดงจุดความร้อน

ในความเป็นจริง ปัญหาPM 2.5 เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของปัญหามลพิษอากาศ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนโรงงานที่ก่อมลพิษอากาศเป็นจำนวนมากกว่า 66,000 ตามที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นประเภทโรงงานที่เข้าข่ายต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย อย่างไรก็ตาม จำนวนที่แท้จริงิอาจมีมากกว่านี้ เนื่องจากในภาพรวมของประเทศไทยมีข้อจำกัดเรื่องข้อมูล

"กฎหมายเรื่องระบบการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม หรือ PRTR ของประเทศไทยยังไม่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นกลไกสำคัญซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่าจะช่วยลดมลพิษอย่างได้ผล จึงควรผลักดันกฎหมายฉบับนี้" เพ็ญโฉมกล่าว

ด้านฐิติกร บุญทองใหม่ ผู้จัดการแผนงาน มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ผลการศึกษาเรื่ององค์ประกอบของฝุ่นในพื้นที่อุตสาหกรรม จ. สมุทรสาครและ จ. ปราจีนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก และจประสบปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 โดยเน้นการตรวจหาสารโลหะหนักและสารมลพิษตกค้างยาวนาน (POPs) ที่เป็นสารอันตรายซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้อย่างรุนแรงและยาวนาน พบว่ามีปริมาณสารโลหะหนักและสารมลพิษตกค้างยาวนาน

เมื่อเทียบผลการวิเคราะห์สารมลพิษตกค้างยาวนาน กลุ่มไดออกซิน/ฟิวแรนส์ของประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย พบว่า พื้นที่อุตสาหกรรมในจ.สมุทรสาคร ประเทศไทย มีค่าสูงกว่าประเทศญี่ปุ่นถึงเกือบ 5 เท่า
เผยผลตรวจสอบ'ปรอท'ใน'ปลา' และไอปรอทจากไทยไปได้ไกลถึงรัสเซีย


(ร่าง) 9 ข้อเสนอเชิงนโยบาย

ทั้งนี้ งานเสวนาห้องย่อยที่ 4 เรื่อง ?PM 2.5 ในฝุ่นอุตสาหกรรมกับต้นเหตุที่ถูกมองข้าม? 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ออกแบบแนวทางการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนร่วมกันระหว่างภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และ2.

เกิดการบูรณาการร่วมกันภายใต้เจตจำนงที่มุ่งมั่นในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน


จากการจัดเสวนาในห้องย่อย จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่

1.สร้างการทำงานของภาครัฐแบบรวมศูนย์ข้อมูลใช้การทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางอากาศแบ่งปันข้อมูลโดยไร้ซึ่งข้อจำกัด เพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

2. จัดให้มีคณะทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชน ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน

3.กำหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ และสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยท้องถิ่น

4.สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ของตน โดยประชาชนสามารถใช้สิทธิของตนได้อย่างเต็มที่

5.มีนโยบายสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษอากาศจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนามาตรการในการลดความเสี่ยงและการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

6.กำหนดนโยบายเร่งด่วนในการศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ในการรองรับมลพิษอุตสาหกรร

มโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศของเขตพัฒนาอุตสาหกรรมทั่วประเทศ (loading capacity)

7. พัฒนาค่ามาตรฐานของสารอันตรายในบรรยากาศ เช่น สารโลหะหนักในบรรยากาศ, ค่ามาตรฐานสารโลหะหนักในฝุ่น PM 2.5 และค่ามาตรฐานสารมลพิษตกค้างยาวนาน (สาร POPs)ในบรรยากาศของประเทศไทย ซึ่งสารเหล่านี้มีแหล่งกำเนิดหนึ่งจากภาคอุตสาหกรรม

8. กำหนดมาตรฐานการระบายเพิ่มเติมทั้งค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 และสาร POPs ที่ปลายปล่องของโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า

9. หนึ่งในแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหลัก คือ กลุ่มอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า จึงควรกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบจากปริมาณฝุ่น PM 2.5 สารโลหะหนัก และ สาร POPs ในระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า


https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1103995

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:40


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger