เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 26-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น รวมถึงให้ระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 26-27 ธันวาคม 2566

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันน้อย เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรง และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็น ในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 20-21 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 25 ? 26 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวต่อเนื่อง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามัน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณหัวเกาะสุมาตราจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 - 3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 31 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น และระมัดระวังอันตรายจากอัคคีภัยเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและมีลมแรงตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 26 ? 27 ธ.ค. 66 ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกให้ระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันเวลาดังกล่าว



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย ฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 16 (322/2566)

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 26 ? 27 ธันวาคม 2566

สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังค่อนข้างแรงทำให้ประเทศไทยยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น รวมถึงให้ระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 26-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


ครบรอบ 19 ปี คลื่นยักษ์ "สึนามิ" ถล่มไทย ส่องระบบเตือนภัย ใช้งานได้จริง?

ครบรอบ 19 ปี ภัยพิบัติทางธรรมชาติ คลื่นยักษ์ "สึนามิ" ถล่มภาคใต้ของไทย ส่องระบบเตือนภัย ใช้งานได้จริงหรือไม่?



26 ธันวาคม 2566 ครบรอบ 19 ปี เหตุุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ (TSUNAMI) ถล่ม 14 ประเทศโดยรอบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 280,000 คน นับเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

สำหรับประเทศไทย ได้รับผลกระทบ 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ภูเก็ต, พังงา, ระนอง, กระบี่, ตรัง และสตูล ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 ราย บาดเจ็บกว่า 8,000 ราย และมีผู้สูญหายอีกจำนวนมาก

ย้อนไปเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลา 07.58 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดเหตุแผ่นดินไหวใต้ทะเล ขนาด 9.1-9.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณนอกฝั่งด้านตะวันตก ทางตอนเหนือของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจาก จ.ภูเก็ต ประมาณ 580 กิโลเมตร

ประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากเกิดแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกผ่านทะเลอันดามัน เข้ากระทบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย นักท่องเที่ยวจำนวนมากเสียชีวิตจากสึนามิ เพราะขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิ และขาดเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ความชำนาญ เกี่ยวกับเรื่องคลื่นสึนามิโดยตรง

จากเหตุการณ์มหาวิปโยค ทำให้บ้านเรือนของประชาชน โรงแรม บังกะโล โฮมสเตย์ เกสต์เฮาส์ ร้านค้า ร้านอาหาร ทรัพย์สินส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ยานพาหนะ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน ได้รับความเสียหายจำนวนหลายพันล้านบาท

หลังเกิดภัยพิบัติสึนามิเมื่อปี 2547 มีการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ อยู่ในความดูแลของประเทศไทย จำนวน 2 ตัว ห่างจากเกาะภูเก็ต ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 965 กิโลเมตร และอีกจุดห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 340 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2565 เกิดเหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจาก จ.ภูเก็ต ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือกว่า 570 กิโลเมตร จำนวน 33 ครั้ง แต่ทุ่นเตือนสึนามิ ทั้ง 2 จุด ขึ้นสถานะไม่ทำงาน ซึ่ง ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยืนยันว่า หากเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 7.8 ที่อาจจะทำให้เกิดสึนามิ จะมีการกดปุ่มเตือนภัย และมีเวลา 1.30 ชั่วโมง ที่ประชาชนสามารถอพยพได้ทัน

ขณะเดียวกันยังมี "หอเตือนภัยสึนามิ" ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใน 6 จังหวัด ภูเก็ต, พังงา, ระนอง, กระบี่, ตรัง และสตูล มีทั้งสิ้น 130 แห่ง หากเกิดสึนามิติดชายฝั่งอันดามัน หอเตือนภัยจะดังขึ้นหลังกดสัญญาณเตือนภัย 5 นาที มีทั้งหมด 5 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น แจ้งให้อพยพไปที่สูงได้ทันท่วงที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาคารหลบภัย และหอเตือนภัยสึนามิหลายแห่งถูกปล่อยทิ้งร้าง มีหญ้าขึ้นปกคลุม จนชาวบ้านไม่มั่นว่ายังสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยได้จริงหรือไม่

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 เวลาประมาณ 03.45 น. หอเตือนภัยจำนวน 25 แห่ง ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้ส่งสัญญาณเตือนภัยโดยไม่ทราบสาเหตุ และก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดสึนามิ แต่จากการตรวจสอบไม่พบความผิดปกติของอุปกรณ์

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ในช่วงที่มีเสียงสัญญาณเตือนภัยเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถห้ามได้ แต่การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ ระบบเตือนภัยต่างๆ ความพร้อมด้านการอพยพ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ เพื่อลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด


https://www.nationtv.tv/news/social/378937944

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 26-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


"หยุดโรดโชว์-ศึกษา SEA ก่อน? ประมงพื้นบ้านยื่นเศรษฐา ?แลนดบริดจ์ชุมพร-ระนอง"



เครือข่ายประมงพื้นบ้าน-รักษ์พะโต๊ะยื่นผ่านผู้ว่าระนอง ถึงนายกฯเศรษฐา เรียกร้องกรณีเมกะโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง "หยุดโรดโชว์หานักลงทุน-ศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ SEA ให้เสร็จก่อน"

เผย "หวั่นกระทบประมงหนัก-โครงการส่อขาดทุน" พร้อมขอพบเพื่อชี้แจงความกังวลจากเครือข่ายฯ ระหว่างนายกเยือนระนองเดือนหน้า

รองผู้ว่าฯ ระนองรับเรื่อง บอกตัวแทนเครือข่าย "เชื่อรัฐบาลจะทำอย่างรอบคอบ"


ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ผ่านผู้ว่า

วันนี้ (25 ธ.ค. 2566) เวลาประมาณ 13:00 น. ตัวแทนสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และเครือข่ายคนรักษ์พะโต๊ะ รวมตัวกันบริเวณหน้าภูเขาหญ้า อ.เมือง จ.ระนอง ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนไปยังหน้าศาลากลางจังหวัดระนอง เพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ผ่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กิตติภพ รอดดอน

"เพื่อขอให้นายกฯ สั่งให้มีการทบทวนและศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ใหม่ให้รอบด้าน และยุติเดินสายนำเสนอโครงการในระหว่างที่การศึกษาผลกระทบยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากทางสมาพันธ์ฯ กังวลว่า โครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับชาวประมงพื้นบ้าน รวมถึงชาวประมงทั่วไป เนื่องจากการก่อสร้างท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งของโครงการ จะทำลายพื้นที่หากินของชาวประมง" ตัวแทนสมาคมฯ ประกาศ

"จุดประสงค์ของการเคลื่อนขบวนในครั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงค์ว่า พวกเรามีความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชาวประมงพื้นบ้าน และทะเลอ่าวไทย เนื่องจากรัฐบาลมีแผนที่จะใช้พื้นที่จังหวัดชุมพร และระนอง ทำโครงการแลนด์บริดจ์ โดยทั้งโครงการจะใช้พื้นที่ทางทะเลกว่า 12,000 ไร่ในการถมทะเลทำท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง รวมถึงจะมีการขุดลอกร่องน้ำลึกเพื่อให้เรือสินค้าเข้ามาได้ ทำให้เราเกิดความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เกิดผลกระทบมหาศาลต่อพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะพื้นที่อ่าวอ่าง จ.ระนอง

จากการพูดคุยกันของทางสมาพันธ์ฯ พวกเรามีความกังวลว่า โครงการดังกล่าวเสี่ยงต่อการขาดทุน เพราะว่าอาจจะไม่มีเรือมาใช้บริการ รวมถึงการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่แล้วเสร็จ แต่นายกฯ กับเดินทางโรดโชว์ให้กับต่างประเทศ" ตัวแทนสมาคมฯ กล่าว


หวั่นกระทบประมงหนัก-โครงการส่อขาดทุน

เวลาประมาณ 13:30 น. ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ได้อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คำนึงถึงผลกระทบของชาวประมงพื้นบ้าน ที่จะเกิดจากโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง ? ชุมพร เนื่องจากการดำเนินการโครงการดังกล่าวจะต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก โดยจะกระทบกับทั้งชาวบ้านที่ทำการเกษตรทำให้เสียที่ดินทำกิน และกลุ่มชาวประมงในจังหวัดระนอง และชุมพร ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างท่าเรือน้ำลึก ทำให้สูญเสียพื้นที่ทำการประมงไป

"พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ และมองเห็นพวกเรา "ชาวประมงพื้นบ้าน" ที่มีตัวตนอยู่จริงทั้งในจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง ด้วยเพราะเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถหลีกหนีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้แน่นอน

ทั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า ในขณะที่การศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ ภายใต้โครงการนี้ที่ยังไม่แล้วเสร็จ แต่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินกลับไม่สนใจกระบวนการดังกล่าว ทั้งยังเดินหน้าขายโครงการให้นักลงทุนต่างชาติในหลายประเทศ ถือเป็นความไม่เหมาะสมของผู้นำประเทศที่ไม่เพียงไม่เคารพต่อกระบวนการทางวิชาการ และไม่เคารพต่อประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง ท่าทีดังกล่าวทำให้ พวกเรามีข้อกังวลต่อการดำเนินโครงการนี้ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน? แถลงการณ์ระบุ


4 ข้อเรียกร้อง "ศึกษา SEA -หยุดโรดโชว์ระหว่างนี้-ขอพบ ม.ค."

"ด้วยความกังวลดังกล่าว พวกเราจึงมีข้อเรียกร้องไปถึงท่าน ดังนี้

1. นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ต้องกำกับกระบวนการศึกษาผลกระทบจากโครงการที่กำลังดำเนินการ ทั้งในมิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านสุขภาพตามที่กฏหมายไว้ให้เรียบร้อย และต้องทำให้เกิดกระบวนศึกษาเหล่านั้นอย่างตรงไปตรงมา และเป็นไปตามหลักการทางวิชาการที่ต้องเคารพการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ที่สำคัญรัฐบาลต้องไม่ชี้นำให้การศึกษาดังกล่าวดำเนินไปตามที่รัฐบาลต้องการ

2. รัฐบาลจะต้องยุติการประชาสัมพันธ์ หรือการเดินสายนำเสนอโครงการให้กับนักลงทุนประเทศต่าง ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำลังดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา จนกว่าผลการศึกษาโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จ

3. เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ และจะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วิถีชีวิต ฐานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงควรจัดทำ SEA หรือการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงยุทธศาสตร์เฉพาะโครงการนี้ เพื่อทำให้เห็นถึงผลกระทบในภาพใหญ่ที่จะเกิดขึ้นจากทุกโครงการย่อยทั้งหมด

4. ในการเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่รัฐบาลจะมาประชุมที่จังหวัดระนอง ระหว่างวันที่ 21 ? 23 มกราคม 2566 นั้น พวกเราจะส่งตัวแทนมาขอพบนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และขอเรียกร้องให้ท่านเปิดพื้นที่ให้พวกเราได้เข้าไปอธิบายถึงข้อห่วงกังวล และข้อเท็จจริงบางประการจากพวกเราโดยตรง ในฐานะประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง ? ชุมพร

เราหวังว่า รัฐบาลจะยอมรับข้อเสนอของพวกเราทุกมิติ เพื่อนไปสู่การแก้ไขปัญหาและเพื่อผนวกกับนโยบายของรัฐบาลต่อไป ที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบของพวกเรา "ชาวประมงพื้นบ้าน" ผู้อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทะเลชายฝั่งทั้ง 22 จังหวัดของประเทศไทย แต่มักไม่ถูกกล่าวถึงและไม่เคยให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในหลายยุคที่ผ่านมา" นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าว


รองผู้ว่าระนองรับเรื่อง "เชื่อรัฐบาลจะทำอย่างรอบคอบ"

ว่าที่ร้อยตรี กิตติภพ รอดดอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นตัวแทนรับหนังสือ เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดติดภารกิด โดยกล่าวว่า ในครั้งนี้ได้มารับฟังข้อห่วงกังวลของทั้งชาวชุมพร และระนอง รวมถึงชาวประมงพื้นที่บ้านที่มาในครั้งนี้ ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม แต่อยู่ในขั้นตอนการศึกษา และรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบ

"การประชุมรับฟังความคิดเห็นในแต่ละครั้ง เราพยายามให้ผู้ที่ทำการศึกษาได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้กับพี่น้องที่อยู่ตามแนวถนน และนำข้อสรุปจากหลาย ๆ พื้นที่มาเป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป ผมมั่นใจว่าทางรัฐบาจะทำในสิ่งที่พ่อแม่พี่น้องได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งคาดว่าทางรัฐบาลจะนำข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นต่าง ๆ นำไปพิจารณา เนื่องจากโครงการนี้ถือเป็นโครงการใหญ่ จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ" รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าว


https://greennews.agency/?p=36565

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:26


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger