เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 04-01-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่แผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางจะมีอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้าโดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-13 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ยังคงหนาวเย็นในตอนเช้า รวมทั้งเพิ่มระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้

ประกอบกับในช่วงวันที่ 6 ? 7 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน จะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3 - 14 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 ? 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือในระดับบนจะพัดพาอากาศหนาวเย็นจากที่ราบสูงธิเบตและประเทศเมียนมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิลดลง 1 ? 2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2 - 12 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 15 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 4 ? 9 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพที่ยังคงหนาวเย็นในตอนเช้าตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 8 ? 9 ม.ค. 67 ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 9 ม.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 04-01-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


แผ่นดินไหว วาตภัย คลื่นความร้อน แพงแค่ไหนที่มนุษย์ต้องจ่าย?



แผ่นดินไหว วาตภัย และคลื่นความร้อน ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อมนุษย์ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจในปี 2023 มากน้อยแค่ไหนแล้ว?...

เหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.6 ซึ่งมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่คาบสมุทรโนโตะ ใกล้จังหวัดอิชิกาวะ ทางฝั่งตะวันตกของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติรับต้นปี 2024 กำลังเป็น "สัญญาณเตือน" จากธรรมชาติที่ส่งต่อถึงการกระทำของ "มนุษยชาติ" หรือไม่?

และในปี 2023 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป "ภัยพิบัติจากธรรมชาติ" สามารถสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจโลก รวมถึงมนุษย์ได้มากแค่ไหน? และอะไรคือ "แนวโน้ม" ที่บริษัทประกันทั่วโลก "วิตกกังวล" จากภัยพิบัติทางธรรมชาติรูปแบบไหนมากที่สุด วันนี้ "เรา" ไปร่วมพิจารณาจาก "ข้อมูล" เหล่านี้ร่วมกัน...


มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี 2023 :

จากรายงานสรุปเหตุภัยพิบัติทั่วโลก ไตรมาส 3 ประจำปี 2023 (สิ้นสุด 30 ก.ย. 23) ของ "AON" บริษัทบริหารความเสี่ยงและประกันสุขภาพชั้นนำระดับโลก ระบุว่า เหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างไตรมาสที่ 1 - ไตรมาสที่ 3 ของปี 2023 "สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ" รวมกันมากกว่า 295,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (9.9 ล้านล้านบาท) โดยในจำนวนนี้เป็นความถี่จากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ "สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ" มูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (34,167 ล้านบาท) มากถึง 47 ครั้ง! ซึ่งถือเป็น "จำนวนครั้ง" ที่สูงกว่า "ค่าเฉลี่ยรายปี" ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 35 ครั้งต่อปี

โดย ?เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ" ที่สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ในปี 2023 คือ "เหตุแผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและซีเรีย" โดยคิดเป็น "มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ" ประมาณ 91,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.1 ล้านล้านบาท)

ลำดับที่ 2 คือ เหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศจีน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 370 ศพ สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่ารวม 31,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1 ล้านล้านบาท) ส่วนอันดับที่ 3 คือ เหตุภัยแล้งในลุ่มน้ำริโอเดลาพลาตา (Rio de la Plata) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศบราซิล, อาร์เจนตินา และอุรุกวัย สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวม 10,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (345,000 ล้านบาท)

สำหรับภูมิภาคที่ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเหตุภัยพิบัติมากที่สุดในปี 2023 คือ ภูมิภาคยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา หรือ EMEA โดยคิดเป็นมูลค่ารวมสูงถึง 134,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.5 ล้านล้านบาท) โดยมีสาเหตุหลักมาจาก "เหตุแผ่นดินไหว"


เหตุแผ่นดินไหวที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ :

เหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่ภูมิภาคโทโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2011 ยังคงเป็นเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่รุนแรงและสร้างความเสียหายมากที่สุด เพราะนอกจากจะทำให้ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่ารวมมากกว่า 360,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (12.3 ล้านล้านบาท) แล้ว ยังทำให้บรรดาบริษัทประกันภัยต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมกันมากถึง 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.6 ล้านล้านบาท) ด้วย

ส่วนเหตุแผ่นดินไหว ที่ทำให้บริษัทประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุดเป็นลำดับที่ 2 คือ เหตุแผ่นดินไหวที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 185 ศพ เมื่อปี 2011 โดยในครั้งนั้น ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่ารวมมากกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.3 ล้านล้านบาท) และบริษัทประกันภัยต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมกัน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (478,345 ล้านบาท)

*** อ้างอิงข้อมูลจาก Insurance information Institute) ***

ส่วนเหตุแผ่นดินไหวอื่นๆ ที่สร้างความเสียหายจำนวนมากนั้น ได้แก่ เหตุแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 1995 ซึ่งนอกจากทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 6,400 ศพแล้ว ยังสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่ารวมถึง 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.8 ล้านล้านบาท) ด้วย

ขณะที่เหตุแผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ในปี 2008 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 87,000 ศพ สร้างความเสียหายมูลค่ารวมมากกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.1 ล้านล้านบาท)


เหตุภัยพิบัติ ที่ทำให้บริษัทประกันมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดปี 2023 :

3 ไตรมาสแรกของปี 2023 บริษัทประกันทั่วโลก ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายไปกับเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติรวมกันสูงถึง 88,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3 ล้านล้านบาท) ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย (75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และค่ามัธยฐาน (62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อเปรียบเทียบแบบปีต่อปี

โดย "ภัยพิบัติทางธรรมชาติ" ที่ทำให้บริษัทประกันภัยทั่วโลก ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ เหตุแผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและซีเรีย โดยมีมูลค่ารวม 5,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (194,754 ล้านบาท)

อย่างไรก็ดี "เหตุวาตภัย" เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งมี "ความถี่ของปรากฏการณ์" ที่บริษัทประกันต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (34,167 ล้านบาท) มากถึง 32 ครั้ง (ในจำนวนนี้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา รวมกัน 21 ครั้ง) ทำให้บริษัทประกันภัยทั่วโลก ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายรวมกันเป็นจำนวนสูงถึง 59,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็น 60% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด!

โดยในจำนวนนี้เป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เพียงประเทศเดียวสูงถึง 53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ! หรือ 1.7 ล้านล้านบาท!


เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในปี 2023 :

อันดับที่ 1 : เหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศตุรกีและซีเรีย จำนวนผู้เสียชีวิต 59,259 ศพ

อันดับที่ 2 : เหตุพายุไซโคลนแดเนียล ซัดถล่มลิเบีย กรีซ บัลแกเรีย ตุรกี จำนวนผู้เสียชีวิต 4,361 ศพ

อันดับที่ 3 : เหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศโมร็อกโก จำนวนผู้เสียชีวิต 2,946 ศพ

อันดับที่ 4 : เหตุอุทกภัยในประเทศอินเดีย จำนวนผู้เสียชีวิต 2,432 ศพ

อันดับที่ 5 : เหตุพายุไซโคลนเฟรดดี้ ประเทศแอฟริกาใต้ จำนวนผู้เสียชีวิต 1,432 ศพ


ความเสี่ยงจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี :

รายงานของ AON ยังได้เตือนถึง "ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น" สำหรับภาคประชาชน ภาคธุรกิจและสังคมอีกด้วยว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี กำลังทำให้เกิด "ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศในหลายพื้นที่" กำลังจะส่งผลต่อทั้งผู้คน ภาคธุรกิจและสังคมในอนาคต

ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์ความร้อนที่พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ขณะเดียวกัน "คลื่นความร้อน? ยังเข้าปกคลุมทวีปอเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแคนาดาในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 เช่นเดียวกับในหลายๆ ภูมิภาคที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นในสหรัฐฯ และยุโรป ที่ต่างต้องเผชิญกับ ?ความร้อนที่ยืดเยื้อและยาวนานมากขึ้นกว่าปกติ"

ขณะเดียวกัน อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ได้ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี จนเป็นเหตุให้ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) คาดการณ์ว่า อาจเป็นผลให้เกิดปรากฏการณ์ "พายุเฮอร์ริเคน" ที่มีทั้งระดับความรุนแรงและความถี่สูงมากกว่าปกติ ในช่วงฤดูแอตแลนติกเฮอร์ริเคน (1 มิ.ย.-1 พ.ย.ของทุกๆ ปี)

ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งที่น่าเป็นกังวลคือ "คลื่นความร้อน" จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุของทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพราะสิ่งที่ต้องไม่ลืมคือในช่วงปี 2022 คลื่นความร้อนที่เข้าปกคลุมยุโรปเคยทำให้มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนมาแล้วถึงเกือบ 20,000 ศพ

ส่วนผลกระทบต่อภาคธุรกิจนั้น คลื่นความร้อนจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้างและภาคการเกษตร "ลดต่ำลง" อันเป็นผลมาจากความร้อนที่ทำให้แรงงานเกิดความเหนื่อยล้าได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ผลงานวิจัยในสหรัฐฯ พบว่า การสูญเสียผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ในสหรัฐฯ จาก "ปัญหาคลื่นความร้อน" คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี (3.4 ล้านล้านบาท) และตัวเลขนี้จะยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากอุณหภูมิยังคงพุ่งสูงขึ้นอยู่ต่อไป


https://www.thairath.co.th/scoop/world/2752397

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 04-01-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ปีใหม่ชวนเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ รักษ์โลกง่ายๆเริ่มที่ตัวเราเอง

"ยั่งยืน" ไม่ต้อง "ยิ่งใหญ่" แค่ทำเรื่องในความรับผิดชอบของเราก็พอ ความยั่งยืน ไม่ใช่แค่เรื่องคำพูดสวยหรู ไม่ใช่เรื่องธุรกิจ ไม่ได้เป็นแค่กระแส แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อความอยู่รอดของเราทุกคน และของโลกใบนี้



ซึ่งตอนนี้ธรรมชาติกำลัง "ทวงคืน" ถ้าเราไม่ร่วมกัน "ทำ" เราจะส่งต่อโลกแบบไหนให้กับลูกหลาน สุดท้ายอาจกลายเป็น "จุดจบของโลก" แบบที่เห็นในหนัง เดอะ เดย์ อาฟเตอร์ ทูมอร์โรว เป็นข้อความส่วนหนึ่งที่น่าสนใจในหนังสือ SUSTAIN or DIE หรือต้องรอให้โลกแย่ไปกว่านี้? เขียนโดย ดร.ยุ้ย-เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ประธานที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และงบประมาณ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เปิดศักราชใหม่ปี 67 ปีมังกรทองพ่นไฟ คอลัมน์ Sustainable Talk ขอหยิบยกข้อความที่น่าสนใจดังกล่าวขึ้นมา เพื่ออยากให้ทุกคนมารวมพลังคนละเล็กคนละน้อยตามความรับผิดชอบของแต่ละคนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ลดการกระทำที่ทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เพื่อมาสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศ ให้กับโลกของเรา ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป

เพราะทุกคนคงได้เห็นเหตุการณ์ภัยธรรมชาติต่าง ๆ แปลก ๆ สถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็เกิดขึ้น ทั้งไฟป่าที่รุนแรงเป็นวงกว้าง หิมะตกหนักและผิดฤดู หน้าฝนที่ยาวนานกว่าปกติจนเกิดมหันตภัยนํ้าท่วม หลาย ๆ พื้นที่เกิดพายุเฮอริเคน ทั้งหมดนี้ได้สร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สิน คร่าชีวิตผู้คน ทำลายเศรษฐกิจ ผู้คนอยู่ยากลำบากกันมากขึ้น และอีกสารพัดปัญหาที่ต้องเจอ

แม้สถานการณ์จะเริ่มบานปลายในหลาย ๆ พื้นที่ แต่ก็ยังไม่สายเกินแก้ ที่จะร่วมกันลงมือทำ เริ่มจากตัวเรา มองความยั่งยืนให้เป็นธุระของเราทุกคน ตื่นเช้ามาให้พูดกับตัวเองในทุก ๆ เช้า วันนี้ฉันตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง บ้าน ออฟฟิศที่ชั้นอยู่ให้ดีขึ้น เป็นการปลุกพลังในทุก ๆ เช้า เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะทำอะไร เราจะเริ่มระมัดระวังมากขึ้น เช่น ก่อนไปซื้ออะไร ลองคิดสักนิดก่อนซื้อดูว่า สิ่งของที่เราซื้อสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน เลิกใช้แล้วจะไปจบที่ไหน กลับคืนสู่ธรรมชาติ หรือรีไซเคิลได้หรือไม่

มองการยืดอายุการใช้งานของสิ่งของได้ให้ใช้ได้นานที่สุด เพื่อให้สิ่งของต่าง ๆ นั้น เป็นการใช้ทรัพยากรที่ถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น ทำกระเป๋าผ้าจากเสื้อตัวเก่า ลดการใช้พลาสติกและโฟมให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเกิดขึ้นเยอะมากตั้งแต่ช่วงยุคโควิด ถ้าให้ดีควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซํ้าได้โดยไม่ต้องทิ้งเพื่อลดขยะ ลดการสร้างมลพิษ และปล่อยไมโครพลาสติกสู่แหล่งดิน แหล่งนํ้า

ถ้าให้ดีควรใช้เสื้อผ้าที่ใส่ได้หลายครั้ง เพราะเสื้อยืดหนึ่งตัว ต้องใช้กระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 4 กิโลกรัม
ไม่ควรใช้เสื้อผ้าแบบ ฟาส แฟชั่น หรือใส่เสื้อผ้าตามกระแสแค่ไม่กี่ครั้ง ทำให้เกิดขยะแฟชั่นมหาศาล ลองเปลี่ยนมาสนับสนุน สโลว์ แฟชั่น เน้นเลือกเสื้อผ้าที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ใส่เสื้อผ้าให้คุ้มค่าที่สุด และถ้าเป็นไปได้ควรลดใช้รถส่วนตัว หันมาใช้รถสาธารณะ หรือทำธุระใกล้บ้านให้ขี่จักรยาน หรือเดินออกกำลังกายแทน รวมทั้งให้ลดการกินเนื้อน้อยลง กินผักมากขึ้น เพราะแต่ละปีอุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น 14.5% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก วันว่างเปลี่ยนกิจกรรมวันหยุดเป็นกิจกรรมจิตอาสา เป็นผู้ให้ เช่น เก็บขยะตามชายหาด สอนผู้ด้อยโอกาสทำอาชีพ

ต่อมา เริ่มที่บ้าน ลดการใช้ทั้งนํ้า ไฟฟ้า ใช้ให้ระมัดระวังมากขึ้น อะไรที่ไม่ใช้ก็ให้ปิด ช่วยทั้งโลก และลดค่าใช้จ่ายของเราเอง รวมทั้งควรลดการผลิตขยะ ใช้ถุงผ้าเวลาไปจ่ายตลาด ใช้กล่องข้าวใส่อาหาร ใช้พลังงานทดแทน เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับบ้าน เช่น ไฟหน้าบ้าน ไฟที่จอดรถ และควรปลูกฝังความยั่งยืนในครอบครัว ส่วนที่ทำงาน ใช้นโยบาย 3R คือ Reduce ลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้น การใช้กระดาษเอกสาร Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ ค้นหาวิธีใหม่ ๆ ในการใช้สิ่งต่าง ๆ แทนการถูกโยนทิ้ง Recycle การเปลี่ยนสิ่งที่เก่าและไร้ประโยชน์ ให้เป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ Carbon Footprint เพราะเป็นการบ่งบอกใน ทุกกระบวนการผลิตไปจนถึงการเสื่อมสภาพปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ทั้งหมดนี้ถือเป็นตัวอย่างที่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราสามารถเริ่มทำได้ทันที เพื่อพวกเราทุกคน


https://www.dailynews.co.th/news/3049603/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 04-01-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


เครือข่ายปชช.ฯ ร่อนแถงการณ์เย้ยความล้มเหลวโครงการกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอน



3 ม.ค.2566 - เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอน ออกแถลงการณ์เรื่อง ประณามความล้มเหลวโครงการกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอน จ.สงขลา ของกรมเจ้าท่า และ เรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและการฟื้นฟูชายหาดท่าบอน

?ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอนความยาว 5 กิโลเมตรแล้วเสร็จ ในรูปแบบกำแพงกันคลื่นเข็มผืด ซึ่งอ้างว่าสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้นั้น ชายหาดท่าบอนได้ถูกกัดเซาะหนักขึ้นจากผลการกระทบของกำแพงกันคลื่นที่คลื่นกระโจนปะทะกำแพงและกัดกินเข้ามาในบ้านเรือน สวนมะพร้าวของประชาชนตลอดแนวชายหาด 5 กิโลเมตร ที่มีกำแพงกันคลื่น ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 100 หลังคาเรือนที่อยู่เรียงรายตลอดแนวชายหาดท่าบอน ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งบ้านเรือนที่พังไป สวนมะพร้าวที่ล้มตายถูกน้ำกัดเซาะ ชายหาดที่หายไป คือ ผลกระทบอันเกิดจากการสร้างกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอนโดยกรมเจ้าท่าที่ผิดหลักวิชาการ สะท้อนความล้มเหลวในการป้องกันชายฝั่งด้วยกำแพงกันคลื่น

?ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนท่าบอนต้องทนทุกข์กับโครงการกำแพงกันคลื่นดังกล่าวและผลกระทบที่เกิดขึ้น ต้องนอนหวาหวั่นขวัญผวาทุกครั้งที่คลื่นปะทะกำแพงกันคลื่นแล้วกระโจนซัดเข้ามาสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือนของประชาชน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกำแพงกันคลื่นดังกล่าวตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการยอมรับจากกรมเจ้าท่าอย่างตรงไปตรงมาว่านี่คือ ความล้มเหลวและวิบัติของโครงการกำแพงกันคลื่นที่กรมเจ้าท่าสร้างทิ้งไว้ที่ชุมชนบ้านท่าบอน รวมถึงประชาชนไม่เคยได้รับการเยียวยาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ทุกหน่วยงานกลับปิดตาและมองข้ามปล่อยทิ้งให้ประชาชนท่าบอนต้องช่วยเหลือตัวเอง เอาตัวรอดเอง จากปัญหาที่พวกเราไม่ได้เป็นคนก่อ

?พวกเรา คือ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอน วันนี้เรามาศาลาเพื่อบอกกับผู้ว่าราชการ หน่วยงานของรัฐ และสังคมว่า "กำแพงกันคลื่นหาดท่าบอนที่สร้างโดยกรมเจ้าท่า คือ ความอัปยศและมรดกบาปที่รัฐทิ้งไว้ให้กับชุมชน จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขใดๆให้ชายหาดท่าบอนที่เคยสวยงามกลับคืนมา"
?พวกเราต้องการให้หน่วยงานเร่งดำเนินการ 3 ข้อเรียกร้องโดยเร็ว ดังนี้

(1) ให้มีการหารือหน่วยงานราชการภายในจังหวัดเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาและความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นจากกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอนก่อนบ้านเรือนประชาชนจะไหลลงทะเลเพราะกำแพงกันคลื่น

(2) ขอให้มีการฟื้นฟูชายหาดท่าบอนให้กลับมา เพราะที่นี่เคยมีชายหาด แต่ถูกกำแพงกันคลื่นทำลายชายหาดให้หายไป

(3) ขอให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาชายหาดท่าบอนและฟื้นฟูชายหาดทั้งระบบของบ้านท่าบอน

?เราหวังว่า 2 ข้อเรียกร้องนี้ จะถูกตอบรับโดยเร็ว เราทนทุกข์มานานเกินกว่าจะกลับไปรอที่บ้านโดยไร้ความหวังอีกต่อไป หากไม่มีความคืบหน้าประชาชนท่าบอนจะปักหลักรอความคืบหน้าตามข้อเรียกร้อง ณ ศาลากลางแห่งนี้จนกว่าจะเป็นไปตามข้อเรียกร้อง.


https://www.thaipost.net/district-news/511832/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:25


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger