เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 24-01-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 24 มกราคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงและระมัดระวังอันตรายจากอัคคีภัยเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและมีลมแรง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกให้ระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 27 ม.ค. 67 นี้ไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันเล็กน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 24 - 27 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส และภาคตะวันออกอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 28 ? 29 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ในช่วงวันที่ 25 ? 29 ม.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้

สำหรับในช่วงวันที่ 24 ? 27 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 ? 29 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 24 - 27 ม.ค. 67 นี้ไว้ด้วย



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง คลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามัน ฉบับที่ 4 (15/2567) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 24 - 27 มกราคม 2567)

ในช่วงวันที่ 24 - 27 มกราคม 2567 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 27 มกราคม 2567









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 24-01-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ผ่าซากเต่ามะเฟือง พบในท้องมีไข่ คาดเป็น "แม่ท้ายเหมือง" ที่จะขึ้นมาวางไข่



พังงา - ผ่าซากแม่เต่ามะเฟือง ที่เกยตื้นหาดท้ายเหมือง พบถูกเชือกที่เป็นลอบดักสัตว์น้ำของชาวประมงรัดลำคอตายและใบพายจนจมน้ำตาย พบในท้องมีไข่ คาดเป็นแม่ท้ายเหมือง ที่จะขึ้นมาวางไข่ในฤดูกาลนี้

หลังจากชาวบ้านในพื้นที่พบซากเต่าทะเลถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบริเวณชายหาดปาง ภายในอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพบว่าเป็นซากเต่ามะเฟือง เพศเมีย มีเชือกพันรัดอยู่ที่บริเวณลำคอ และพายหน้าทั้ง 2 ข้าง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เต่าเสียชีวิต จึงได้เคลื่อนย้ายซากเต่ามาที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ พร้อมประสานไปยังศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร เพื่อผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตาย และเก็บข้อมูลเชิงวิชาการต่อไป

ล่าสุด สัตวแพทย์หญิงพัชราภรณ์ แก้วโม่ง หัวหน้าศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหาหายากสิรีธาร ได้ผ่าพิสูจน์ซากเต่า พบเป็นเต่ามะเฟืองตัวเมีย วัดขนาดกระดองความกว้าง 105 ซม.ยาว 181 ซม. ถูกเชือกไนล่อนสีเหลืองรัดลำคอและใบพายหน้าทั้งสองข้างอยู่หลายรอบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เต่าจมน้ำตาย เมื่อผ่าท้องออกมาพบว่ามีไข่อยู่ในท้อง คาดว่าตายแล้วมากกว่า 4 วัน

นายปรารพ แปลงงาน อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองกล่าวว่า สาเหตุการตายของเต่ามะเฟืองนั้นเกิดจากการว่ายน้ำไปติดเชือกผูกลอบจับสัตว์น้ำของชาวประมงที่วางไว้ในทะเล เบื้องต้นคาดว่าเป็นแม่เต่ามะเฟืองหนึ่งในสามตัวที่ขึ้นมาวางไข่ในฤดูกาลนี้ และจากการดูวงรอบการวางไข่แล้ว น่าจะเป็นแม่ท้ายเหมือง ที่ขึ้นมาวางไข่แล้ว 4 ครั้งในฤดูกาลนี้ นับว่าเป็นความสูญเสียที่น่าเศร้าเป็นอย่างมาก

ล่าสุด ดร. ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ได้โพสต์บอกว่า ผลการชันสูตรเบื้องต้น พบเป็นแม่เต่าเฟืองที่มีไข่ในท้อง ความยาวกระดอง 139 ซม หากคาดการณ์จากวงรอบการวางไข่ของแม่เต่ามะเฟือง ชื่อ "ท้ายเหมือง" ซึ่งครบกำหนดในระหว่างวันที่ 15-17 มกราคม 2567 แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่พบเห็นการขึ้นวางไข่ เมื่อเทียบเคียงกับจำนวนเวลาที่เต่ามะเฟืองตายมาแล้วประมาณ 1 อาทิตย์ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นแม่เต่ามะเฟืองท้ายเหมือง ทั้งนี้การเปรียบเทียบข้อมูล mtDNA ของเต่ามะเฟืองตัวที่ตายกับลูกเต่าที่ฟักจะสามารถยืนยันได้ต่อไป

การสูญเสียแม่เต่ามะเฟืองแต่ละตัว เท่ากับการสูญเสียลูกเต่ามากกว่าหมื่นตัว ที่ตลอดชั่วชีวิตของแม่เต่าสามารถขยายพันธุ์ได้ การอนุรักษ์และปกป้องแม่เต่ามะเฟืองในช่วงการเข้ามาวางไข่ รวมถึงการปกป้องพ่อพันธุ์เต่าที่เข้ามารอผสมพันธุ์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้ในบ้านเราจะยังไม่ประสบความสำเร็จในการติดตามการอพยพของแม่เต่ามะเฟือง แต่หากเทียบเคียงกับข้อมูลทีมีการศึกษาในต่างประเทศด้วยเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม พบว่า แม่เต่ามะเฟืองจะว่ายน้ำเป็นวงรอบ (loop) ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร ทั้งนี้แตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิศาสตร์และทิศทางการไหลของกระแสน้ำ เมื่อนำข้อมูลนี้มาจำลองบนแหล่งวางไข่ของประเทศไทยโดยมีศูนย์กลางบริเวณหาดท้ายเหมือง และไกลออกไปจากฝั่งถึงบริเวณร่องน้ำลึก ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าระหว่างช่วงเวลา 10 วันที่แม่เต่าจะย้อนกลับมาวางไข่ แม่เต่ามะเฟืองอาจว่ายไปไกลถึงหมู่เกาะสุรินทร์ (หรือเหนือกว่า) และใต้สุดถึงบริเวณตอนใต้ของภูเก็ต

จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ในช่วงใกล้ขึ้นวางไข่ แม่เต่ามะเฟืองจะว่ายเข้ามาใกล้ฝั่งในรัศมีประมาณ 6 กิโลเมตร ทำให้เป็นพื้นที่เปราะบางและมีความเสี่ยงต่อการติดเครื่องมือประมงหรือเกี่ยวพันรัดกับขยะทะเลที่มีมากบริเวณใกล้ฝั่ง ในกรณีที่ผ่านมาของช่วงปลายปี 2566 ถึงต้นปี 2567 เราพบการเกยตื้นแล้วรวม 3 ครั้ง โดยเป็นการเกยตื้นที่เกิดจากการรัดพันของเชือกลอบเพียงเส้นเดียวถึง 2 ครั้ง ในขณะที่อีกครั้งเป็นการติดอวน ถึงแม้ว่าจากการเกยตื้นทั้งสามครั้ง มีเพียงตัวเดียวที่เสียชีวิต และเต่า 2 ตัวได้รับการช่วยเหลือให้กลับสู่ทะเลได้ แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดการสูญเสียแบบนี้อีก

ระยะเร่งด่วนน่าจะมีการสำรวจและลาดตระเวนพื้นที่ทางทะเลในรัศมี 6 กิโลเมตรจากฝั่ง เพื่อตรวจหาแม่เต่าที่รอขึ้นวางไข่ ตรวจสอบและแจ้งเตือน รวมถึงขอความร่วมมืองดใช้เครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายในพื้นที่ๆพบแม่เต่า หรือให้มีการเฝ้าระวังประจำเครื่องมือเพื่อช่วยได้ทันกรณีติด การสำรวจและลาดตระเวนอาจใช้อากาศยานไร้คนขับร่วมกับทางเรือและจากบนหาด โดยเน้นพื้นที่บริเวณหน้าแหล่งวางไข่สำคัญ ในระยะยาวควรมีการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่มีมาตรการลดภัยคุกคามต่อเต่าทะเล โดยเฉพาะพื้นที่ทางทะเลหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดท้ายเหมือง และหน้าหมู่เกาะพระทอง รวมกับการปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงเครื่องมือประมงบางประเภทให้มีความปลอดภัยกับเต่าทะเล"


https://mgronline.com/south/detail/9670000006764

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:21


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger