#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และมีการระบายอากาศที่ไม่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 5 - 7 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในช่วงวันที่ 5 ? 8 มี.ค.67 โดยในช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ชีวิตหมีขั้วโลกเหนือ : บททดสอบแห่งการอยู่รอด หมีขั้วโลก หรือ หมีขาว (อังกฤษ : polar bear ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus maritimus) สัตว์นักล่าผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนน้ำแข็ง ถูกขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งอาร์กติก" หมีขั้วโลก หรือ หมีขาว (อังกฤษ : polar bear ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus maritimus) สัตว์นักล่าผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนน้ำแข็ง ถูกขนานนามว่าเป็น ?ราชาแห่งอาร์กติก? อาศัยอยู่ในเขตอาร์กติก บนแผ่นน้ำแข็งทะเลที่ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน พวกมันมีขนสีขาวหนาเพื่อเก็บกักความร้อน ร่างกายอ้วนกลมช่วยให้ลอยน้ำได้ดี และอุ้งเท้าขนาดใหญ่ช่วยกระจายน้ำหนักบนพื้นน้ำแข็ง สามารถว่ายน้ำได้ไกลถึง 100 กิโลเมตรต่อวัน เพื่อตามหาอาหารซึ่งอาหารหลักของมันคือแมวน้ำ ภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งทะเลละลาย พื้นที่หากินของมันแคบลงส่งผลต่อจำนวนแมวน้ำทำให้มันขาดแคลนอาหาร ส่งผลให้มันผอมโซ อ่อนแอ ลูกหมีขั้วโลกตายก่อนโตเต็มวัย ตัวเมียไม่มีน้ำนมเพียงพอที่จะเลี้ยงลูก ปัจจุบันประมาณการว่า ประชากรหมีขั้วโลกทั้งหมดทั่วโลกมี 22,000?31,000 ตัว อาศัยอยู่ในโซนประเทศแถบขั้วโลกเหนือ นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ประชากรหมีขั้วโลกจะลดลง 30% ภายในปี 2050 หากอุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือหมีขั้วโลก อนาคตของพวกมันจึงขึ้นอยู่ในมือมนุษย์ที่ต้องร่วมมือกันเพื่อปกป้อง ?ราชาแห่งอาร์กติก? ให้ยังคงมีชีวิตอยู่รอดต่อไปบนโลกใบนี้ https://www.dailynews.co.th/articles/3226186/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
เมืองเซี่ยเหมินใช้ "เรือไฟฟ้าไร้คนขับ" ลาดตระเวนพิทักษ์โลมาขาว เมืองเซี่ยเหมิน ในมณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เริ่มใช้งานเรือลาดตระเวนไร้คนขับพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมาพร้อมเทคโนโลยี 5จี เพื่อภารกิจคุ้มครองโลมาขาวในจีน สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองเซี่ยเหมิน ประเทศจีน เมื่อวันที่ 4 มี.ค. ว่า โลมาขาวจีนหรือ ?แพนด้ายักษ์แห่งท้องทะเล? จัดเป็นสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดและสัตว์คุ้มครองระดับสูงสุดของจีน ส่วนเซี่ยเหมินเป็นเมืองแห่งเดียวของจีน ซึ่งประชาชนสามารถพบเห็นโลมาสายพันธุ์ดังกล่าวได้ตามแนวชายฝั่ง นายหวัง ไห่ลี่ ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการเดินเรือวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน กล่าวว่า เรือไร้คนขับลำนี้มีขนาดเล็ก สามารถลาดตระเวนพื้นที่ตามคำสั่ง เช่น อ่าวถงอัน พื้นที่หลักของเขตอนุรักษ์โลมาขาวในเซี่ยเหมิน ทั้งนี้ เรือไฟฟ้าสร้างเสียงรบกวนเบามาก จึงไม่ส่งผลกระทบต่อโลมาขาว รวมถึงสามารถปฏิบัติงานได้ทุกเวลาและท่ามกลางทุกสภาพอากาศ นำไปสู่การคุ้มครองโลมาขาวได้ตลอด 24 ชั่วโมง. ข้อมูล-ภาพ : XINHUA https://www.dailynews.co.th/news/3228018/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ช่วยด่วน! ภูเขาไฟระเบิดบน "เกาะกาลาปากอส" ลาวาแดงร้อนไหลท่วมเกาะเสี่ยงต่อชีวิต "เต่ายักษ์กาลาปากอส" ไม่เห็นมานานกว่า 100 ปี เอเจนซีส์/เอพี/MGRออนไลน์ ? ภูเขาไฟลากุมเบร์( La Cumbre )บนหนึ่งในหมู่เกาะกาลาปากอสของเอกวาดอร์เกิดปะทุขึ้นในคืนวันเสาร์(2 มี.ค) ส่งลาวาร้อนแดงฉานไหลท่วมลงทะเล เสี่ยงเป็นภัยต่อเต่ายักษ์กาลาปากอสเพศเมียชื่อ เฟอร์นานดา อาศัยอยู่ตามลำพังพบตั้งแต่ปี 2019 หลังไม่เคยปรากฎมานานกว่า 1 ศตวรรษ ยูโรนิวส์รายงานวันจันทร์(4 มี.ค)ว่า ภูเขาไฟลากุมเบร์ (La Cumbre) ที่อยู่บนเกาะเฟอร์นานดินา( Fernandina) หนึ่งในหมู่เกาะกาลาปากอสที่มีชื่อเสียงของเอกวาดอร์เกิดปะทุในคืนวันเสาร์(2) ลาวาแดงฉานพุ่งขึ้นฟ้าทำสว่างจ้าไปทั่วระหว่างที่ลำธารลาวาร้อนไหลมุ่งหน้าลงทะเล เกาะเฟอร์นานดินาเป็นบ้านของเต่ายักษ์ปาลาปากอสเพศเมียชื่อ เฟอร์นานดา(Fernanda)ที่ค้นพบเมื่อปี 2019 ในบริเวณที่มีพืชขึ้นอยู่ใต้ภูเขาไฟ เต่าเฟอร์นานดาหรือชื่อย่อคือ "เฟิร์น" ตามการรายงานพบว่าอาศัยอยู่บนเกาะตามลำพังตัวเดียว เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า ในขณะที่ถึงแม้ว่าการระเบิดของภูเขาจะไม่ทำให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตรายเพราะเป็นเกาะที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ แต่ทว่าเกาะที่ว่านี้กลับเป็นที่อยู่ของสัตว์นานาพันธุ์รวมไปถึง อิกัวนา เพนกวิน และนกกาน้ำที่บินไม่ได้ ในปี 2019 บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างตื่นเต้นที่ค้นพบว่าบนเกาะกลับมีเต่ายักษ์กาลาปากอสที่ไม่ได้พบเห็นนานกว่า 100 ปี หรือเป็นการพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1906 และเกรงว่าอาจสูญพันธุ์ เจ้าหน้าที่สถาบันธรณีฟิสิกส์ของเอกวาดอร์เปิดเผยว่า การปะทุล่าสุดนี้อาจเป็นการปะทุครั้งใหญ่ที่สุดของภูเขาไฟลากุมเบร์ นับตั้งแต่ปี 2017 ลากุมเบร์มีความสูง 1,476 เมตรถือเป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่คุกรุ่นมากที่สุดของหมู่เกาะกาลาปากอสและเกิดปะทุครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2020 https://mgronline.com/around/detail/...19698?tbref=hp
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
"พาณิชย์" ขึ้นทะเบียน GI รายการใหม่ "ปลิงทะเลเกาะยาว" จ.พังงา กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ "ปลิงทะเลเกาะยาว" จ.พังงา เป็นสินค้ารายการที่ 4 ของจังหวัด เผยเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งการบริโภค และเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาและอาหารเสริม คาดดันรายได้ให้ชุมชนเพิ่มขึ้นจากปกติปีละกว่า 3.3 ล้านบาท นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ คือ ปลิงทะเลเกาะยาว จ.พังงา ซึ่งเป็นสินค้า GI ลำดับ 4 ของจังหวัด ต่อจากสินค้าทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา และมังคุดทิพย์พังงา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ โดยมั่นใจว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีมูลค่าประมาณปีละ 3.3 ล้านบาท และยังเป็นการควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค สำหรับปลิงทะเลเกาะยาว จะเพาะเลี้ยงในบ่อดินที่มีลักษณะเป็นดินเลนปนทราย โดยมีการทำประตูน้ำหรือต่อท่อน้ำให้น้ำทะเลไหลเข้าออกหมุนเวียนในบ่อได้ พื้นที่เพาะเลี้ยงปลิงทะเลเกาะยาวครอบคลุมพื้นที่อำเภอเกาะยาวที่ตั้งอยู่ในอ่าวพังงา ซึ่งเป็นอ่าวกึ่งปิด เพราะถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีแนวหญ้าทะเล และแนวปะการังกระจายตัวอยู่ทั่วไป ที่มีความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สาหร่าย และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่นๆ เหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ พื้นที่เพาะเลี้ยงบริเวณเกาะยาวจึงเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสมและเป็นแหล่งอาหารคุณภาพดี ประกอบกับการเลี้ยงปลิงทะเลรวมกับสัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่นๆ ทำให้ปลิงทะเลดูดกินอาหารจากหน้าดินในบ่อ รวมถึงอาหารและของเสียจากการเลี้ยงสัตว์น้ำ นอกจากนี้ ปลิงทะเลที่เลี้ยงในบ่อจะอาศัยบริเวณก้นบ่อ ไม่เคลื่อนไหวร่างกายมากเท่ากับปลิงที่อยู่ในทะเล จึงไม่เกิดภาวะเครียดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ปลิงทะเลเกาะยาวมีขนาดตัวใหญ่ เนื้อแน่น และตัวหนากว่าปลิงทะเลที่เลี้ยงด้วยวิธีอื่นๆ หรือจากแหล่งผลิตอื่น ส่งผลให้ปลิงทะเลเกาะยาวเป็นที่รู้จัก จนนับได้ว่า ปลิงทะเลเกาะยาว เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดพังงา ที่นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคและเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาและอาหารเสริม มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นที่ต้องการของหลายประเทศทั้งแบบสดและแบบแห้ง ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ทำให้สินค้าท้องถิ่นได้รับการยกระดับมูลค่าสร้างรายได้สู่ชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของไทยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กรมขอเชิญชวนทุกท่านติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว และร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้า GI ได้ที่ Facebook Page : GI Thailand หรือโทร.สายด่วน 1368 https://mgronline.com/business/detail/9670000019527
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
รายงานเตือนสายพันธุ์ปลา 1 ใน 5 ของแม่น้ำโขงเสี่ยงสูญพันธุ์ เอเอฟพี - รายงานฉบับใหม่จากกลุ่มสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ระบุว่า สายพันธุ์ปลา 1 ใน 5 ในลุ่มแม่น้ำโขงเผชิญกับภัยคุกคามต่อการสูญพันธุ์ แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก ที่เป็นรองเพียงแค่แม่น้ำแอมะซอนและแม่น้ำคองโก เป็นที่อยู่อาศัยของปลาราว 1,148 สายพันธุ์ โดยผู้คนหลายล้านชีวิตพึ่งพาแหล่งน้ำแห่งนี้เพื่อเลี้ยงชีพ แต่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกล่าวว่า ปลาในลุ่มน้ำโขงเผชิญกับภัยคุกคามมากมาย ที่รวมถึงการสร้างเขื่อน การทำเหมืองขุดทราย การทำประมงที่จัดการไม่ดี การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย และการนำสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่ รายงานระบุว่า 19% ของสายพันธุ์ปลาในแม่น้ำถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเน้นย้ำว่าจำนวนปลาที่ลดน้อยลงจะส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านที่การดำรงชีวิตต้องพึ่งพาแม่น้ำสายนี้อย่างไร "การลดลงอย่างน่าตกใจของประชากรปลาในแม่น้ำโขงเป็นการปลุกกระตุ้นให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน เราต้องดำเนินการทันทีเพื่อหยุดยั้งแนวโน้มหายนะนี้ เนื่องจากชุมชนและประเทศต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขงไม่สามารถสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไปได้" ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของ WWF กล่าว รายงานจากกลุ่มภูมิภาคและระหว่างประเทศ 25 กลุ่ม ได้ตรวจสอบผลกระทบในส่วนต่างๆ ของแม่น้ำความยาว 4,900 กิโลเมตร ที่เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงทะเลสาบโตนเลสาบของกัมพูชา ที่พวกเขากล่าวว่าประชากรปลาลดลง 88% ระหว่างปี 2546 และปี 2562 ผู้เขียนรายงานระบุว่า ปลา 74 สายพันธุ์ได้รับการประเมินว่ามีสถานะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และมี 18 สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง "สิ่งนี้หมายความว่าประมาณ 19% ของสายพันธุ์ปลาแม่น้ำโขงที่รู้จักกำลังถูกคุกคาม" รายงานระบุ อย่างไรก็ตาม รายงานยังระบุอีกว่าสายพันธุ์ปลาที่กำลังหายไปอาจทำให้การตัดไม้ทำลายป่าในภูมิภาครุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้คนหลายล้านคนที่เคยอาศัยแม่น้ำถูกบังคับให้ต้องไปทำการเกษตร "เห็นได้ชัดว่าเรากำลังเสี่ยงต่อวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพครั้งใหม่สำหรับลุ่มแม่น้ำโขง แต่ยังไม่สายเกินไป" เฮอร์แมน แวนนิงเกน กรรมการผู้จัดการมูลนิธิ World Fish Migration Foundation ที่เป็นส่วนหนึ่งของรายงานระบุ ในข้อเสนอแนะของรายงานได้เรียกร้องให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงให้คำมั่นต่อโครงการฟื้นฟูแม่น้ำ และปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศของแม่น้ำ การเพิ่มการไหลเวียนตามธรรมชาติของแม่น้ำ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ การปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยและสายพันธุ์ที่สำคัญ และการขจัดสิ่งกีดขวางแม่น้ำที่ล้าสมัย เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักที่รายงานแนะนำเพื่อช่วยฟื้นฟูแม่น้ำโขง. https://mgronline.com/indochina/detail/9670000019568
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ออสเตรเลียพบ 'ตุ่นปากเป็ด' แก่ที่สุดในโลก ฟื้นความหวังอนุรักษ์ ไม่ให้สูญพันธุ์ ............... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล KEY POINTS - นักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียพบ ?ตุ่นปากเป็ด? เพศผู้ที่มีอายุ 24 ปี กลายเป็นตุ่นปากเป็ดที่อายุยืนที่สุดที่เคยพบตามธรรมชาติ ซึ่งมันยังคงมีสุขภาพแข็งแรง และยังสามารถผสมพันธุ์ได้อีกด้วย - ความหนาแน่นของประชากร และการแย่งชิงพื้นที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีชีวิตรอดของตุ่นปาก โดยตัวผู้อาจเกิดความเครียดได้ เมื่อต้องแข่งขันการแย่งชิงตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ ส่วนตุ่นปากเป็ดตัวเมียจะต่อสู้กันเพื่อแย่งอาหาร - นักวิจัยพบอายุขัยที่ยืนยาวของตุ่นปากเป็ดนั้นเป็นผลจากที่พวกมันไม่มีความเครียดในชีวิต "ตุ่นปากเป็ด" เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวในโลกที่ออกลูกเป็นไข่ ที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามมากมายในป่า เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สัตว์นักล่า มลภาวะ น้ำท่วม และแหล่งที่อยู่อาศัยน้ำจืดที่ลดลง ทำให้พวกมันมีอายุไม่ยืนยาวนัก เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียพบตุ่นปากเป็ดเพศผู้ที่มีอายุ 24 ปี กลายเป็นตุ่นปากเป็ดที่อายุยืนที่สุดที่เคยพบตามธรรมชาติ พวกเขารู้อายุของตุ่นปากเป็ดตัวนี้ได้จากแท็กข้อมูลที่ติดอยู่บนตัวของมัน โดยตุ่นปากเป็ดตัวนี้ถูกติดแท็กตอนที่มันอายุ 1 ขวบ เมื่อปี 2543 ถึงแม้ว่าตุ่นปากเป็นตัวนี้จะมีอายุถึง 24 ปี แต่มันยังคงมีสุขภาพแข็งแรง และยังสามารถผสมพันธุ์ได้อีกด้วย เอาตัวรอดจากความแห้งแล้งสุดขั้ว มอนบัลค์ครีก เป็นลำธารเล็ก ๆ ที่มีน้ำไหลประมาณ 6.2 เมกะลิตรต่อวัน ในโดยช่วงฤดูแล้ง ที่แห่งนี้ไม่มีน้ำไหลเลย แต่บางปีก็กลับต้องเจอกับน้ำท่วมหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งในปี 2550 นักชีววิทยาลงพื้นที่สำรวจลำธารแห่งนี้ พบว่าจำนวนตุ่นปากเป็ดไม่เพิ่มขึ้นเลย เนื่องจากขาดแคลนอาหารเป็นอย่างมาก ทำให้เหล่าตุ่นปากเป็ดต้องย้ายไปอาศัยอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีน้ำกักเก็บอยู่ตลอดปี เพื่อใช้เป็นที่หลบภัยในช่วงฤดูแล้งอันยาวนาน เจฟฟ์ วิลเลียมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายอนุรักษ์ตุ่นปากเป็ดออสเตรเลีย ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่มานานหลายทศวรรษ กล่าวว่าเขาไม่คาดคิดที่จะพบตุ่นปากเป็ดที่มีอายุมากขนาดนี้ "เราไม่คิดว่ามันจะอยู่รอดในธรรมชาติได้จนถึงอายุขนาดนี้" วิลเลียมส์กล่าว ตุ่นปากเป็ดตัวผู้นี้ถูกติดแท็กในเดือนพ.ย. 2543 ที่มอนบัลค์ครีก ในเมลเบิร์น ก่อนที่เมื่อก.ย. ปีที่แล้วมันจะย้อนกลับมาในห้วยแห่งนี้ และถูกวิลเลียมส์จับได้ พร้อมนำมาทำการศึกษาเกี่ยวกับอายุขัยของตุ่นปากเป็ด วิลเลียมส์กล่าวว่าโดยปรกติแล้วเป็นเรื่องยากที่จะพบตุ่นปากเป็ดที่มีอายุเกิน 20 ปีในพื้นที่ธรรมชาติ และนักวิจัยยังไม่รู้ขอบเขตของช่วงชีวิตตุ่นปากเป็ดที่แน่นอน โดยก่อนหน้าเจ้าของสถิติตุ่นปากเป็ดที่อายุยืนที่สุด เป็นตุ่นปากเป็ดตัวเมียอายุ 21 ปี จากรัฐนิวเซาท์เวลส์ ในออสเตรเลีย "การวิจัยมีราคาแพงและใช้เวลานาน จึงยังไม่มีการศึกษาระยะยาวมากนัก แต่โชคดีที่การติดแท็กในตุ่นปากเป็ดช่วยให้ประหยัดเวลาลงไป และสามารถเก็บข้อมูลอายุสัตว์ได้" วิลเลียมส์กล่าว ตุ่นปากเป็ดมีชีวิตยืนยาวได้ เมื่อชีวิตไม่เครียด ความหนาแน่นของประชากร และการแย่งชิงพื้นที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีชีวิตรอดของตุ่นปาก นอกจากนี้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้อาจเกิดความเครียดได้ เมื่อต้องแข่งขันการแย่งชิงตัวเมีย ซึ่งตัวผู้ที่สู้ที่สู้ไม่ได้จะถูกแทนที่ ขับไล่ไปอยู่พื้นที่ชายขอบแทน ส่วนตุ่นปากเป็ดตัวเมียจะต่อสู้กันเพื่อแย่งอาหาร จากการศึกษาพบว่า ตุ่นปากเป็ดตัวผู้ที่อาศัยอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำโชลเฮเวนจะมีอายุไม่เกิน 7 ปี เนื่องจากในฝูงมีประชากรหนาแน่นอย่างมาก โดยมีตัวเมียคิดเป็น 84% ของประชากรตัวเต็มวัย การศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่าประมาณ 25% ของตุ่นปากเป็ดที่เคยจับได้มีอายุมากกว่า 9 ปี ส่วนอีก 36% มีอายุระหว่าง 6-8 ปี และ 40% มีอายุเพียง 3-5 ปีเท่านั้นต่างจากฝูงตุ่นปากเป็ดที่อยู่ในมอนบัลค์ครีก มีจำนวนสมาชิกและความหนาแน่นทางประชากรน้อยกว่าที่แม่น้ำ สำหรับตุ่นปากเป็ดที่มีอายุมากที่สุดในออสเตรเลีย เป็นตุ่นปากเป็ดเพศเมียอายุ 30 ปี ชื่อ "ฟลีย์" ปัจจุบันอาศัยอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่สวนสัตว์วิกตอเรีย โดยตุ่นปากเป็ดตัวนี้ยังคงมีสุขภาพดีและกินอาหารได้ตามปรกติ แต่เป็นโรคข้อมืออักเสบ ตาเป็นต้อกระจกทั้งสองข้าง และการได้ยินลดลงตามกาลเวลา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจจะทำให้ฟลีย์อาศัยอยู่ในป่าได้อย่างยากลำบาก แม้ว่าประสาทสัมผัสจะลดลง แต่ผู้ดูแลฟลีย์ ยังคงสามารถจับเหยื่อในน้ำได้อย่างแม่นยำ วิลเลียมส์กล่าวว่าอายุขัยที่ยืนยาวของตุ่นปากเป็ดนั้นเป็นผลจากที่พวกมันไม่มีความเครียดในชีวิต ส่วน เมโลดี เซเลนา นักชีววิทยาด้านการอนุรักษ์ตุ่นปากเป็ดออสเตรเลีย กล่าวเสริมว่า จากสัญญาณแห่งความชราภาพของฟลีย์คาดว่าตุ่นปากเป็ดไม่น่าจะมีอายุเกิน 30 ปีมากนัก ปัจจุบันมีตุ่นปากเป็ดเหลืออยู่ในออสเตรเลียอยู่ประมาณ 300,000 ตัว ในฝั่งออสเตรเลียตะวันออกและรัฐแทสเมเนีย ซึ่งตุ่นปากเป็ดถูกระบุว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของออสเตรเลีย โดยเฉพาะในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย และมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ในรัฐวิกตอเรีย วิลเลียมส์กล่าวว่าตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ได้ทุกเมื่อ แต่การค้นพบตุ่นปากเป็ดอายุ 20 กว่าปี เป็นสัญญาณว่าสัตว์ที่ถูกคุกคามสามารถฟื้นตัวได้มากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คิด ที่มา: ABC, The Guardian, The New York Times https://www.bangkokbiznews.com/environment/1116103
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#8
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
เตือนภัย กทม. ปี 73 หากไม่ทำอะไร คาร์บอนพุ่ง 53 ล้านตัน สูงขึ้น 23% ............... โดย จุลวรรณ เกิดแย้ม KEY POINTS - พ.ศ.2561 กรุงเทพฯ มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 43.73 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า - กิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.การขนส่งทางถนน 2. การใช้พลังงานในธุรกิจการค้าและหน่วยงานรัฐ 3. การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 4.การใช้พลังงานในที่พักอาศัย 5.การจัดการของเสียที่เกิดในพื้นที่ด้วยวิธีฝังกลบ - หากไม่มีการดำเนินการใดๆ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2573 จะเท่ากับ 53,935,683 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า การเติบโตทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 23% พ.ญ.วนัทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวในงาน เวทีผู้นำ "Climate Action Leaders Forum รุ่น 3" หรือ CAL Forum #3 ว่า สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ ใน พ.ศ.2561 ผลการรวบรวมข้อมูลกิจกรรม และประเมินข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพมหานครปี พ.ศ.2561 กรุงเทพฯ มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 43.73 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) ซึ่งภาคพลังงาน (Stationary Energy) นั้นเป็นกลุ่มกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด โดยกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด 5 อันดับแรก (96.66%) คือ 1.การขนส่งทางถนน 28.58% 2.การใช้พลังงานในธุรกิจการค้า และหน่วยงานรัฐ 25.65% 3.การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 18.37% 4.การใช้พลังงานในที่พักอาศัย 13.98% 5.การจัดการของเสียที่เกิดในพื้นที่ด้วยวิธีฝังกลบ และเป็นกิจกรรมที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ ในอนาคต 10.08% ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินการใดๆ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2573 จะเท่ากับ 53,935,683 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า การเติบโตทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 23% ทาง กทม. ได้มีแผนแม่บทว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2564 - 2573 โดยกรอบทำงานคือ การกำหนดดังนี้ วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ และเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีระดับชาติ ระดับประเทศ และระดับเมือง โดยแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี รวมถึงแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นตัวกำหนดโดยระบุว่าภายในปี พ.ศ.2575 คุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มคุณภาพดีขึ้น และ มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ กรุงเทพมหานคร มีการบริหารจัดการมูลฝอยและของเสียอันตรายด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste management) โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) และทำให้ขยะเหลือน้อยที่สุด และกำจัดที่เหลือ (residue) ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล กรุงเทพมหานคร มีคุณภาพอากาศที่เหมาะสม ต่อการดำรงชีวิต มีฝุ่นละอองและสารเจือปน ไม่เกิน ค่ามาตรฐาน และระดับเสียงที่เกิดจากยานพาหนะ เครื่องจักรกล รวมถึงเสียงที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ใน ทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกินค่ามาตรฐาน การรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ และการคาดการณ์ จนถึงการประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปฏิบัติการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2564 - 2573 เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) 19 % ปีฐาน 2561ภายในปี 2573 จะเป็น Net Zero GHG Emission มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาพรวม รายภาค และมาตรการที่ดำเนินการโดย กทม. โครงสร้างเชิงสถาบัน และการบริหารจัดการกลไกการกำกับ และขับเคลื่อนแผน 5 ภาคส่วน รวมถึงออกมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายภาค ดังนี้ ภาคพลังงานดำเนินการโดย กทม. 24 โครงการ ภาคการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 6 มาตรการ ภาคขนส่ง และจราจร 14 มาตรการ และภาคการจัดการขยะและน้ำเสีย 8 มาตรการ กลไกการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน ด้วยเป้าหมายการลดและดูดซับก๊าซเรือนกระจกใน พ.ศ.2573 จะลดคาร์บอน 10.15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 19% แบ่งเป็น 1.ภาคจัดการขยะและน้ำเสีย 0.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 10% 2.ภาคขนส่งและจราจร 4.00 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 28% 3. ภาคพลังงาน 5.55 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 16% และ 4.ภาคการวางผังเมืองสีเขียว 0.01 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 16% ทั้งหมดนี้เป็นแผน และมาตรการที่จะทำให้เมืองหลวงของประเทศเป็นเมืองที่น่าอยู่ ในด้านของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และก้าวขึ้นสู่การเป็น "มหานครแห่งเอเชีย" อย่างยั่งยืน https://www.bangkokbiznews.com/environment/1115934
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#9
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
คนไทยเตรียมร้อนตับแตก ปี 2567 อุณหภูมิโลกร้อนสุดในประวัติศาสตร์ ................ โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล KEY POINTS - นักวิทยาศาสตร์พบว่าผลกระทบจาก "ปรากฏการณ์เอลนีโญ" มีโอกาส 90% ที่จะทำให้อุณหภูมิโลกในปี 2567 สูงขึ้นจนทำลายสถิติใหม่ - ปรากฏการณ์สภาพอากาศ 2 ขั้ว ประกอบไปด้วย เอลนีโญและ "ลานีญา" เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาช้านาน แต่ในระยะหลังปรากฏการณ์เหล่านี้รุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้น - ปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรงนี้จะทำให้เกิดคลื่นความร้อนทั่วภูมิภาคแคริบเบียน อ่าวเบงกอล และทะเลจีนใต้ ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงประเทศไทยด้วย นักวิทยาศาสตร์เผยมีแนวโน้มถึง 90% ที่ปี 2567 มี อุณหภูมิทั่วโลกร้อน ขึ้นจนทุบสถิติ เนื่องจาก ?ปรากฏการณ์เอลนีโญ? ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ป่าแอมะซอน หรือ อะแลสกาที่มีน้ำแข็งปกคลุมทั้งปีก็หนีไม่รอด ขณะที่ไทยก็ต้องเตรียมรับมือเช่นกัน ปี 2566 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการจดบันทึกในปี 2393 และอาจจะร้อนที่สุดในรอบอย่างน้อย 100,000 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกิดเอลนีโญ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกจะปลดปล่อยความร้อนออกมา ทำให้ในช่วงครึ่งหลังของปี อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป จีน และมาดากัสการ์ ต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ขณะเดียวกันปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้น จนอุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้น และ ส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงปี 2567 ที่จะกลายเป็นที่ร้อนยิ่งกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา โลกร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดร.หนิง เจียง จากสถาบันวิทยาศาสตร์อุตุนิยมวิทยาจีน และคณะทำการศึกษา ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports โดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ระบุฮอตสปอตในภูมิภาคที่เป็นไปได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 พร้อมจำลองผลกระทบของเหตุการณ์ดังกล่าวต่อความแปรผันของอุณหภูมิอากาศบนพื้นผิวในระดับภูมิภาคตั้งแต่เดือนก.ค. 2566 ถึง มิ.ย. 2567 พบว่ามีโอกาส 90% ที่อุณหภูมิโลกในปี 2567 จะสูงขึ้นจนทำลายสถิติใหม่ ทีมวิจัยคาดการณ์ว่าอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกระหว่างเดือนก.ค. 2566 ถึง มิ.ย. 2567 จะเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 1.1-1.2 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในยุคก่อนอุตสาหกรรมถึง 1.4-1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับเกณฑ์สำคัญในข้อตกลงปารีสปี 2015 ในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ หรือ COP ครั้งที่ 21 ที่พยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม "คลื่นความร้อนที่รุนแรงและพายุหมุนเขตร้อน เมื่อรวมกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลกที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีประชากรหนาแน่นกำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่และเร่งด่วน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของมนุษย์ในการปรับตัว การบรรเทา และการบริหารความเสี่ยง" ดร.หนิง กล่าว "คลื่นความร้อน" ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ จะทำให้อุณหภูมิในมหาสมุทรเพิ่มมากขึ้น พร้อมความเสี่ยงเกิดไฟป่าและผลกระทบต่าง ๆ เกิดขึ้น ในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เนื่องจากมหาสมุทรสามารถกักเก็บความร้อนได้มากกว่าพื้นดิน หมายความว่าสภาพอากาศที่ร้อนจะคงอยู่เป็นระยะเวลานานขึ้น "เอลนีโญ" สาเหตุหลักทำอุณหภูมิสูงทั่วโลก ปรากฏการณ์สภาพอากาศ 2 ขั้ว ประกอบไปด้วย เอลนีโญ และ "ลานีญา" เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างกระแสน้ำและชั้นบรรยากาศ เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างช้านาน โดยเอลนีโญจะเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนลานีญาจะทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง แต่ในระยะหลังปรากฏการณ์เหล่านี้รุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากระดับคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลังลง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ส่งผลกระทบให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้ ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยปกติแล้ว เอลนีโญจะรุนแรงสูงสุดระหว่างในช่วงพ.ย.-ม.ค. "เอลนีโญ" ส่งผลกระทบถึงไทย นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในปี 2567 มีแนวโน้มที่อุณหภูมิในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแอมะซอนจะสูงขึ้นจนทำลายสถิติ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า เนื่องจากความแห้งแล้งในช่วงปลายปี 2566 ทำให้เกิดไฟไหม้อย่างรุนแรง อีกทั้งในเดือนก.พ. 2567 มีระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงเป็นประวัติการณ์ อีกทั้ง ปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรงนี้จะทำให้เกิดคลื่นความร้อนทั่วภูมิภาคแคริบเบียน อ่าวเบงกอล และทะเลจีนใต้ ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงประเทศไทยด้วย คลื่นความร้อนในทะเลที่สามารถฟอกขาวและทำลายแนวปะการัง ที่ถือว่าเป็นแหล่งกันชนจากพายุโซนร้อน ขณะที่อุณหภูมิที่สูงในรัฐอะแลสกา จะส่งผลให้ธารน้ำแข็งและชั้นดินเยือกแข็งคงตัวละลาย และเกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มมากยิ่งขึ้น ไมเคิล แมคฟาเดน สมาชิกในทีมวิจัยจาก NOAA กล่าวว่า "นี่คือจุดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสุดขั้วในระดับสูง และภาวะสุดขั้วเหล่านี้สร้างความเสียหายอย่างมาก ทั้งต่อสุขภาพของมนุษย์ความเสียหายต่อระบบนิเวศทางทะเล" ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจจะเกิดในปีนี้ ถือว่าอยู่ในระดับ "ปานกลาง" แต่ก็สามารถสร้างผลกระทบที่รุนแรง และจนทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาภายในเดือนมิ.ย. นี้ ที่มา: New Scientist, The Guardian, The Verge https://www.bangkokbiznews.com/environment/1116005
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#10
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟกำลังฟอกขาว หวั่นเกิดการฟอกขาวใหญ่ครั้งที่ 7 SHORT CUT - ทางตอนใต้เกรทแบร์ริเออร์รีฟ แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเผชิญกับการฟอกขาวครั้งรุนแรงเนื่องจากสภาพอากาศร้อน - อุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง - นักวิทยาศาสตร์กังวลว่า อาจจะเกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ครั้งที่ 7 บ้านปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก Great Barrier Reef กำลังเเกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ ผลจากอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญหวั่นอาจเกิดการฟอกขาวใหญ่ครั้งที่ 7 เร็วๆนี้ Great Barrier Reef กำลังฟอกขาว 2024 สำนักข่าว CNN รายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางตอนใต้เกรทแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเผชิญกับการฟอกขาวครั้งรุนแรงเนื่องจากสภาพอากาศร้อน โดยหน่วยงานที่ดูแลแนวปะการังเปิดเผยว่า ในเวลานี้นักวิทยาศาสตร์กำลังกลัวว่า อาจจะเกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ครั้งที่ 7 ภาพมุมสูง Great Barrier Reefเมื่อเดือนที่ผ่านมา หน่วยงานที่ดูแลทำการสำรวจทางอากาศและพบว่าการฟอกขาวรุนแรงทั่วแนวปะการังที่ทำการสำรวจ โดยทีมงานได้บินสำรวจแนวปะการังเลียบฝั่งกว่า 27 แนวในหมู่เกาะเคปเปลและแกลดสโตน อีกทั้งแนวปะการังนอกชายฝั่ง 21 แนวในจุดที่เรียกว่า คาปริคอร์นบังเกอร์ส นอกชายฝั่งด้านตอนใต้ของรัฐควีนแลนด์ ดร.มาร์ค รีด ผู้อำนวยการของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสภาพของแนวปะการัง เปิดเผยว่า แนวปะการังส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจแสดงให้เห็นถึงการฟอกขาว ทั้งนี้ แนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟครอบคลุมพื้นที่เกือบ 345,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยที่นี่เป็นบ้านของปลากว่า 1,500 สายพันธุ์ และปะการังแข็ง 411 สายพันธุ์ อีกทั้งมันยังสร้างงานเม็ดเงินมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ให้แก่เศรษฐกิจของออสเตรเลียในแต่ละปี และได้รับการโปรโมทอย่างหนักต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในฐานะหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ และในโลก ปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟกำลังฟอกขาว หวั่นเกิดการฟอกขาวใหญ่ครั้งที่ 7อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง โดยอุณหภูมิน้ำทะเลกำลังอุ่นขึ้นอีก เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ หน่วยงานที่ดูแลเกรทแบร์ริเออร์รีฟยังมีแผนที่จะสำรวจทางอากาศและสำรวจทางน้ำเพิ่มเติมอีกในช่วงสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ขณะที่แนวปะการังทางตอนใต้เป็นจุดที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวมากที่สุด แต่ทางหน่วยงานก็ได้รับรายงานการฟอกขาวจากพื้นที่อื่นๆอีกด้วย ด้านนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า แนวปะการังสามารถฟื้นฟูสภาพได้ ถ้าหากว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลคงที่ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กังวลว่า อาจจะเกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ครั้งที่ 7 ขึ้นได้ ทั้งนี้ เกรทแบร์ริเออร์รีฟเคยเผชิญการฟอกขาวครั้งใหญ่มาแล้วในปี 1998, 2002, 2016, 2017, 2020 และครั้งล่าสุดคือ 2022 ปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟกำลังฟอกขาว หวั่นเกิดการฟอกขาวใหญ่ครั้งที่ 7เดวิด ริตเตอร์ ซีอีโอของ Greenpeace Australia Pacific เปิดเผยว่า ตอนนี้กำลังรอยืนยันอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานอุทยานทางทะเล แต่ดูเหมือนว่า เหตุการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่ครั้งที่ 7 กำลังเกิดขึ้นในแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟ เพราะมีรายงานเกิดการฟอกขาวรุนแรงเป็นแนวยาว โดยวิกฤตด้านสภาพอากาศกำลังทำให้เกิดคลื่นความร้อนทางทะเล และนำไปสู่เหตุการณ์ฟอกขาว ซึ่งความถี่และขนาดที่เกิดขึ้นในตอนนี้ทำให้หลายฝ่ายกังวล เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกตัดสินใจไม่บรรจุเกรทแบร์ริเออร์รีฟลงไปในแหล่งมรดกที่ตกอยู่ใน "อันตราย" และเสี่ยงถูกถอดออกจากการเป็นมรดกโลก แม้ว่าจะมีความเสี่ยงเกิดเหตุการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่อีกครั้งก็ตาม โดยรัฐบาลออสเตรเลียให้คำมั่นว่าจะทำทุกอย่างเพื่อปกป้องแนวปะการังดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการเร่งแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายแนวปะการังด้วย ที่มาข้อมูล CNN https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/848364
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|