#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 20 มีนาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลัแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เนื่องจากมีฝนเพิ่มขึ้น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 19 - 20 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 21 - 25 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับในช่วงวันที่ 22 - 23 มี.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 19 ? 20 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 7 (66/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2567) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 20 มีนาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
รู้จัก "กัลปังหา" ไม่ใช่พืช แต่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง สำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แจ้งอย่ารบกวน "กัลปังหาแดง" โผล่พ้นน้ำ ที่เกาะสุกร จ.ตรัง ชี้เป็นการรบกวนการอาหารและดำรงชีวิต - "กัลปังหา" ไม่ใช่พืช แต่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลขนาดเล็ก - ค่านิยมผิดๆ หลายคนลักลอบตัด "กัลปังหา" ประดับตู้ปลา ทำเป็นของตกแต่ง รวมทั้งเครื่องรางของขลัง เป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมาก หลังจากกรณีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้แจ้งนักท่องเที่ยวไม่ควรเข้าใกล้ "กัลปังหาแดง" ที่โผล่พ้นน้ำหลังน้ำทะเลลดลงต่ำสุด เผย 1 ปีมีให้เห็นแค่ไม่กี่ครั้ง ที่เกาะสุกร จ.ตรัง เนื่องจากจะเป็นการรบกวนการอาหารและการดำรงชีวิตของกัลปังหาได้ ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่า "กัลปังหา" นั้นเป็นพืชใต้ทะเล แต่แท้จริงแล้ว "กัลปังหา" หรือ "Sea Fan" เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวมีขนาดเล็กมาก จัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการัง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวกัลปังหา (polyp) ที่มีลักษณะคล้ายดอกไม้ทะเลขนาดเล็ก มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และมีหนวดรอบปากจำนวนแปดเส้น ฝังและกระจายตัวอยู่ตามโครงสร้างของกัลปังหา และอีกส่วนเป็นส่วนโครงสร้างที่เป็นกิ่งแตกกิ่งก้านคล้ายพัดและซี่หวีแล้วแต่ชนิด กิ่งโครงสร้างนี้ตัวกัลปังหาสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวเองและเป็นสารจำพวกเขาสัตว์ (keratin) ชอบอาศัยอยู่ตามที่มีกระแสน้ำไหล เนื่องจากกระแสน้ำจะช่วยพัดพาอาหารมาให้และ จะช่วยพัดพาของเสียที่ถูกปล่อยออกจากกัลปังหาออกไป โดยจะใช้หนวดในการดักจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเพื่อนำมาเป็นอาหาร ส่วนเข็มพิษที่หนวดจะช่วยในการจับพวกแพลงก์ตอน กัลปังหา สำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล นอกจากนี้ กัลปังหา ยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล เนื่องจากเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ทะเลขนาดเล็กหลายชนิดโดยสัตว์เหล่านี้จะเกาะตามกิ่งก้าน และจากการที่ กัลปังหานั้นมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนำลักลอบตัดนำมาประดับตู้ปลา ตกแต่งบ้าน รวมไปถึงความเชื่อในเรื่องการนำมาทำเป็นเครื่องรางของขลัง รวมทั้งมีความเชื่อว่า กัลปังหาเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่า แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีงานวิจัยหรือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่สามารถรับรองได้เลยว่ากัลปังหามีสรรพคุณที่ใช้ในการรักษาโรคได้จริงตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ ที่สำคัญคือ กัลปังหา เป็นสัตว์คุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดจะมีไว้ในครอบครอง ทำการค้าขาย หรือนำเข้า-ส่งออกโดยเด็ดขาด (ทั้งที่ยังมีชีวิต หรือเป็นซาก) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงห้ามครอบครอบ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตให้ครอบครอง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท นอกจากมีโทษตามกฎหมายแล้ว การทำลายกัลปังหายังส่งผลต่อระบบนิเวศอีกด้วย เพราะถือว่าเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ทำให้สัตว์ขนาดเล็กไม่มีที่หลบภัยจากนักล่าจึงไม่สามารถเจริญเติบโตและอาจสูญพันธุ์ได้ ขณะที่ตัวของกัลปังหาเองก็เจริญเติบโตได้ช้า บางชนิดอาจจะใช้เวลาเป็นร้อยปีในการเติบโตเพียงแค่ 1 ฟุต ดังนั้นถ้าเราอยากมีทะเลสวยๆ ก็ไม่ควรทำลายกัลปังหา รวมไปถึง ปะการัง ดอกไม้ทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆ ด้วย สำหรับเทคนิคการดำน้ำชมปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใต้น้ำ ทางศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้แนะนำข้อปฏิบัติ ดังนี้ 1. ใช้ตะกั่วถ่วงน้ำหนักให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันการจมลงไปกระแทกแนวปะการัง 2. พยายามว่ายน้ำในแนวราบเสมอ รักษาระยะตามองข้างหน้าหรือก้มลง ตัวอยู่ห่างจากแนวปะการังพอควรเพื่อป้องกันเมื่อกระแสน้ำแรงอาจจะพัดร่างกายไปกระแทกปะการังได้ อย่าพลิกตัวหรือตีลังกาเพราะถังอากาศจะไปกระแทกโดนปะการังโดยไม่ตั้งใจ 3. ควบคุมการใช้ตีนกบ ระวังอย่าให้ไปถูกแนวปะการัง 4. หลีกเลี่ยงการดิ่งลงสู่พื้นในกรณีที่ยังไม่ชำนาญ ควรจะค่อยๆ ไต่ลงตามสายสมอ 5. เก็บอุปกรณ์ที่เป็นสายระโยงระยางให้เรียบร้อย เพราะมักไปเกี่ยวปะการังอยู่เสมอ 6. อย่าเก็บสิ่งของจากท้องทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการัง กัลปังหา โดยเด็ดขาด 7. อย่ายืนพักตัวบนปะการัง และแตะต้องแนวปะการัง 8. อย่าสัมผัสหรือจับต้องสัตว์น้ำทุกชนิด อย่าดำน้ำไล่ต้อน และเฝ้าชมอยู่ในระยะห่างพอสมควร โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นปลากระเบนราหูหรือปลาฉลามวาฬ เพราะจะเป็นเหตุให้สัตว์ใหญ่เหล่านี้ตื่นกลัว และอาจไม่ยอมเข้าใกล้นักดำน้ำอีกเลย 9. หากพบขยะใต้ท้องทะเลโปรดเก็บมาทิ้งในถังขยะบนเรือหรือที่ชายฝั่ง 10. จอดเรือกับทุ่นจอดเรือของอุทยานแห่งชาติ หรือบริเวณที่อุทยานแห่งชาติกำหนด ภาพและข้อมูลจาก แฟนเพจ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ https://www.thairath.co.th/futureper...ticles/2771825
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
การศึกษาวาฬชี้วิวัฒนาการวัยหมดประจำเดือน วัยหมดประจำเดือนเป็นลักษณะที่หาได้ยากในสัตว์หลายชนิดบนโลก มีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น และมนุษย์ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยา พฤติกรรม พันธุกรรม ที่บ่งชี้การเกิดปรากฏการณ์นี้ในสายพันธุ์วาฬมีฟันเพศเมียบางชนิด เช่น วาฬเพชฌฆาต วาฬเบลูกา และนาร์วาฬที่เป็นวาฬขาวขนาดเล็ก ล่าสุด มีงานวิจัยใหม่ของทีมวิจัยนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์จากมหาวิทยาลัยเอกซีเตอร์ ในอังกฤษ เผยได้เปรียบเทียบอายุขัยของวาฬมีฟัน 32 สายพันธุ์ พบว่า ใน 5 สายพันธุ์ที่เป็นเพศเมียและมีภาวะวัยหมดประจำเดือน ได้แก่ วาฬเพชฌฆาต วาฬเพชฌฆาตดำ วาฬเบลูกา นาร์วาล และวาฬนำร่องครีบสั้น จะมีอายุยืนยาวกว่าวาฬเพศเมียในสายพันธุ์เดียวกันที่ไม่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน โดยจะมีอายุยืนยาวกว่าที่คาดไว้ประมาณ 40 ปี สำหรับสายพันธุ์ที่มีขนาดเท่าๆกัน การค้นพบนี้สนับสนุนสมมติฐานการอายุยืนของวาฬ นอกจากนี้ นักวิจัยระบุว่า วาฬที่มีฟันชนิดอื่นๆ เช่น วาฬสเปิร์ม และวาฬบาลีนที่ใช้การ กรองกิน เช่น วาฬสีน้ำเงิน ยังไม่ได้ถูกค้นพบว่า มีการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ทีมวิจัยเผยว่า การศึกษาวาฬเพชฌฆาตที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่า วาฬตัวเมียหยุดแพร่พันธุ์เมื่ออายุประมาณ 40 ปี แต่จะมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 60 และหรือจนถึง 80 ปี โดยวาฬเพชฌฆาตเพศผู้มักตายก่อนอายุ 40 ปี การวิจัยครั้งใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่า วาฬเพชฌฆาตยายช่วยเหลือวาฬลูกสาวและหลานด้วยการให้อาหาร ปกป้อง และดูแลการสื่อสารและสติปัญญา. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2771451
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
นักวิจัยพยายามกู้ชื่อเสียงให้กับ 'ฉลาม' ในฟลอริดา AFP ในขณะที่ฤดูใบไม้ผลิกำลังมาถึงทำให้ซีกโลกเหนืออบอุ่นเป็นพิเศษ ภูมิภาคต่างๆ จึงมีผู้แสวงหาแสงแดดกลุ่มแรกไปพักผ่อนตามชายหาดบ้างแล้ว ขณะเดียวกันก็มีข่าวพาดหัวว่าฟลอริดากลายเป็นจุดโจมตีของฉลามที่หนักข้อแห่งหนึ่งของโลก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ในความเป็นจริงเมื่อปีที่แล้วการโจมตีของฉลามที่เกิดขึ้นทั้งหมดในสหรัฐอเมริกามีเพียงหนึ่งในสี่ นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามต่อสู้กับภาพลักษณ์ที่น่ากลัว แม้แต่ในฟลอริดาที่เกิดเหตุ พวกเขายังถกเถียงกันว่าความเสี่ยงของการถูกฉลามกัดนั้นมีน้อยมาก มหาวิทยาลัยฟลอริดาบันทึกสถิติปี 2023 ไว้ มีการโจมตีของฉลามโดยไม่ได้ตั้งใจ 69 ครั้งทั่วโลก เกิดเหตุขึ้นนอกชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา 16 ครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อปีที่แล้วมีผู้คนอาบแดดและเล่นน้ำที่ชายหาดของฟลอริดาหลายล้านคน เมื่อเทียบกับเหตุร้ายที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย แม้สถิติจะบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงต่ำที่จะถูกฉลามกัด แต่ความกลัวของผู้คนต่อปลานักล่าที่มีฟันแหลมคมก็ยังคงมีอยู่ ภาพยนตร์อย่าง 'Jaws' หรือซีรีส์สารคดีเรื่อง 'Shark Week' ซึ่งเผยแพร่มานานหลายทศวรรษแล้ว ยังปลุกกระแสความกลัวฉลามได้ไม่เคยสร่าง "เวลาฉลามออกล่าปลาในทะเล บางทีพวกมันก็เจอมนุษย์เข้าไปขวางทาง และบางครั้งฉลามก็ทำผิดพลาด" เกวิน เนย์เลอร์-ผู้เชี่ยวชาญด้านฉลามจากมหาวิทยาลัยฟลอริดากล่าว เขาเป็นหนึ่งในผู้เขียนรายงานฉลามประจำปี ถ้าหากฉลามต้องการจู่โจมมนุษย์จริงๆ ละก็ มันจะเป็นเหมือนเด็กเล่นของเล่น เนย์เลอร์บอก "ปกติแล้วในสายตาพวกมัน มนุษย์เป็นคล้ายไส้กรอกที่ลอยอยู่ในน้ำ" แทนที่จะจู่โจมพวกมันกลับอยากว่ายหนีห่างไปเอง บริเวณน้ำตื้นกึ่งเขตร้อนนอกชายหาดของรัฐฟลอริดาอุดมไปด้วยสารอาหาร รวมถึงปลาที่เป็นเหยื่อด้วย ดังนั้นจึงดึงดูดฉลามจำนวนมาก เมื่อปีที่แล้วนอกชายฝั่งนิวสเมียร์นาของโวลูเซียเคาน์ตี มีคน 8 คนถูกฉลามจู่โจมทำร้าย ทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับสมญานามว่า "เมืองหลวงแห่งฉลามกัดของโลก" ทะเลที่นั่นเป็นที่นิยมในหมู่นักเล่นเซิร์ฟ แต่น้ำขุ่นทำให้ทัศนวิสัยของปลานักล่าจำกัด บางครั้งเป็นเหตุให้พวกมันมีแนวโน้มที่จะข่มขู่มนุษย์โดยไม่ได้ตั้งใจ ฉลามกัดเป็นเรื่องที่น่าตกใจพอๆ กับเครื่องบินตก และเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก บรูซ อดัมส์กล่าว เขาพักอาศัยอยู่ที่ชายหาดนิวสเมียร์นา และเคยพบเจอปลานักล่าหลายครั้งขณะเล่นเซิร์ฟ เรื่องแง่ลบเกี่ยวกับฉลามเป็นผลมาจากกระแสข่าวส่วนใหญ่ ซึ่งเขารู้สึกว่าน่าเสียดาย "แต่มันก็ทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นเหมือนกัน" เขาบอก ทุกวันนี้มีพ่อค้าหัวใสในนิวสเมียร์นาผลิตเสื้อยืดที่มีข้อความว่า 'Shark Bite Capitol of The World' ออกขายกัน โจ มิเกซ-นักวิจัยฉลาม ผู้เขียนรายงานเรื่องฉลามอีกคนหนึ่งกล่าว นักว่ายน้ำส่วนใหญ่ในฟลอริดาอาจเคยอยู่ในน้ำร่วมกับฉลามโดยไม่รู้ตัว "จริงๆ แล้วพวกมันไม่อยากจะยุ่งกับมนุษย์หรอก" จากกรณีศึกษาล่าสุด จำนวนฉลามทั่วโลกลดลงประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่ปี 1970 บางทีมนุษย์อาจเป็นอันตรายต่อฉลามมากกว่า "เราควรให้ความสำคัญกับการปกป้องฉลาม แทนที่จะกลัวว่าพวกมันพุ่งเป้าทำร้ายเรา" โจ มิเกซเรียกร้อง. https://www.thaipost.net/abroad-news/554867/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
'เต่าตนุ'กัดกินหญ้าทะเล อาจเป็นสาเหตุ ทำแหล่งอาหารของพะยูนลดลง หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เผยคลิปวีดีโอที่พบเต่าตนุตัวใหญ่กำลังกัดกินหญ้าทะเล จนเหี้ยนโกรนที่เกาะมุกด์ อ.กันตัง จ.ตรัง ส่งผลกระทบต่อพะยูนที่ขาดแคลนหญ้าทะเล จนผอมแห้งและส่วนหนึ่งอพยพย้ายถิ่น จนเหลือไม่ถึง 40 ตัวจากเดิมเกือบ 200 ตัวในทะเลตรัง 18 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ช่วยศาสตาจารย์ พรเทพ วิรัชวงศ์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ได้นำคลิปวีดีโอที่ติดตั้งกล้องไว้ใต้น้ำจำนวน 2 ตัว เพื่อค้นหาสาเหตุของหญ้าทะเลที่ขาดท่อน โคนเน่าและลอยขึ้นสู่ผิวน้ำโดยผิดธรรมชาติเป็นบริเวณกว้าง ที่บริเวณเกาะมุกด์ อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกระทำของเต่าตนุที่พบมากในบริเวณดังกล่าว ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารของพะยูนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้พะยูนทุกช่วงวัย เกิดอาการ ผอมแห้ง ป่วยตาย และบางส่วนอพยพย้ายถิ่นเพราะขาดแคลนอาหาร โดยผลการบินสำรวจล่าสุดของกรมทรัพยากรทางทะเลเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบพะยูนในท้องทะเลตรังจำนวน 36 ตัว จากเมื่อปี 2566 พบมากเกือบ 200 ตัว และพบคู่แม่ลูกแค่ 12 คู่ โดยคลิปเผยให้เห็นว่า เต่าตนุได้กัดกินบริเวณโคนต้น ทำให้ใบขาดและลอยขึ้นมา ซึ่งเมื่อกัดซ้ำอีกทีที่ต้นเดิม จะทำให้รากเน่าและตายในที่สุด แต่ในส่วนของหญ้าทะเลที่แห้งตายที่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งมีการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2563 พบว่า มีลักษณะใบขาดสั้นแบบตากแห้ง โดยบริเวณส่วนปลายใบ มีสีน้ำตาลเหลืองแล้วขาด เนื่องจากเกิดการทับถมของทราย ทำให้หญ้าทะเลเกิดอาการเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด ซึ่งในพื้นที่ เกาะมุกด์ ในปี 2565- 2566 แหล่งหญ้าทะเลขาดสั้น เกิดสาเหตุจากเต่าตนุกัดกินหญ้าคาทะเลในบริเวณส่วนโคนใบ ภายในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 ปี เกิดความเสียหาย 4,500 ไร่ เช่นเดียวกับที่ อ่าวขามหาดปากเมง อ.สิเกาเกิดความเสียหาย 1,500 ไร่ บ้านปากคลอง อ.สิเกา เสียหาย 500 ไร่ และบ้านแหลมไทร อ.สิเกา เสียหาย 2,000 ไร่ รวมเนื้อที่กว่า 8,500 ไร่ โดยกล้องบันทึกภาพจำนวน 2 ตัวที่ติดตั้งไว้ในบริเวณนั้น สามารถจับภาพเอาไว้ได้ ส่วนข้อสันนิฐานที่ว่าน่าจะเกิดจากสภาวะโลกร้อน ก็ทำให้เกิดประเด็นที่ขัดแย้งตามมา เช่น ถ้าเกิดสภาวะโลกร้อนแล้วเหตุใดหญ้าคาทะเลบางต้นยังยาวปกติ บางต้นขาดสั้น ซึ่งหากเกิดจากสภาวะโลกร้อนหญ้าคาบริเวณเดียวกันจึงไม่มีการขาดสั้นทั้งหมดพร้อมๆกัน พร้อมกับหญ้าคาทะเลในเขตน้ำลึกที่ขาดสั้นยังมีลักษณะสีเขียวสด โดยไม่ได้มีการตากแห้งแต่อย่างใด โดยตลอดทั้งปีก็ไม่ได้มีการรายงานระดับน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ หรือมีการรายงานของปะการังฟอกขาวในจังหวัดตรังแต่อย่างใด ในขณะที่ ผศ.พรเทพ วิรัชวงศ์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเล มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรังกล่าวว่า สรุปสาเหตุคือเต่าทะเล เพราะจากการสังเกตอาหารตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้วในปี 65-66 จะเห็นได้ว่าในช่วงต้นปี ตัวหญ้าคาทะเลจะขาดลอยขึ้นมาทั้งที่ไม่มีลมพายุ ตัวใบยังสดสีเขียวแต่ขาดเฉพาะที่โคนเท่านั้น และที่โคนก็ยังเขียวอยู่ สภาพอย่างนี้ไม่ใช่สภาพของการตากแห้งแน่นอน ไม่ใช่เกิดจากทรายมาทับถมหรือการเปลี่ยนของพื้นทะเล ทำให้เกิดเป็นสันทรายหรือทรายทับถมมากขึ้น แล้วทำให้หญ้าทะเลตากแห้งขณะน้ำลงนั้น ไม่ใช่ ซึ่งที่พบคือเต่าตนุที่มีมากเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่เข้ากินในแปลงหญ้าบริเวณท่าเรือ อย่างน้อยนับได้ไม่ต่ำกว่า 30 ตัวโดยสายตาที่ยืนนับและตรงกับที่ชาวบ้านร้องเรียนมา และเท่าที่ตนได้ติดตามมา โดยจะเริ่มลำดับเหตุการณ์คือ ที่เกาะมุกด์ จะเริ่มตั้งแต่ปลายปี 65 ที่ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องเต่าตนุกินหญ้าคาทะเล ตั้งแต่แปลงลึกถึงแปลงที่ตื้น เพราะเต่าตนุจะกินจากที่ลึกมาก่อน และเรามีภาพตั้งแต่แปลงลึกถึงแปลงตื้น โดยมีวีดีโอให้ดูตั้งแต่ปี 65 ปลายปี ทางเราได้เข้าไปติดตั้งและติดตามตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี 66 เพราะเขาร้องเรียนปี 65 ปลายปี ทำให้หญ้าทะเลลดลงเรื่อย ๆหลังจากนั้น ในเดือนเดียวกันของปี 66 คือที่ปากเมงซึ่งมีหญ้าทะเลอยู่ประมาณ 1,500 ไร่ ก็ได้สูญเสียไปทั้งหมด ถัดไปอีกที่หนึ่งคือบ้านปากคลองซึ่งมีอยู่ 500 ไร่หญ้าคาก็สูญเสียไป ต่อมาก็เป็นที่แหลมไทรอีก 2,000 ไร่ก็หายไป ส่วนที่เกาะลิบงเป็นปัญหาเดิม คือเปลี่ยนจากพื้นที่หญ้าเป็นทรายที่ชุ่มน้ำปนโคลนกับเปลือกหอย ได้เปลี่ยนเป็นทรายอย่างเดียวที่ทับถมหนาเกิน 10 เซนติเมตร โดยที่เกาะลิบงไม่ได้เกี่ยวกับเต่าแต่อย่างใด. https://www.naewna.com/likesara/793862
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
จับเรือน้ำมันเถื่อนกลางทะเลอ่าวไทย 5 ลำ ตำรวจสนธิกำลัง จับเรือน้ำมันเถื่อน 5 ลำ กลางทะเลอ่าวไทย เตรียมขยายผลเส้นทางการเงินและกลุ่มนายทุนเบื้องหลัง วันนี้ (19 มี.ค.2567) ชุดเฉพาะกิจ กองบังคับการตำรวจน้ำ สนธิกำลังร่วมกับ กองบังคับการปราบปราม เข้าจับกุมขบวนการค้าน้ำมันเถื่อน กลางทะเลอ่าวไทย อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จับกุมเรือน้ำมันเถื่อนได้ 5 ลำ พร้อมของกลางน้ำมันกว่า 400,000 ลิตร ก่อนเข้าแจ้งความกับ สภ.สัตหีบ การจับกุมครั้งนี้เนื่องจากได้รับแจ้งเบาะแสว่า มีการกระทำความผิดค้าน้ำมันเถื่อนกลางทะเลอ่าวไทยจำนวนมาก โดยทราบพิกัดห่างจาก อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ประมาณ 100 ไมล์ทะเล จึงสนธิกำลังลงพื้นที่กวาดล้าง กระทั่งจับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งหมด ขณะนี้ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างขยายผลเส้นทางการเงินและกลุ่มนายทุนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ และมีรายงานว่า พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จะเดินทางมายังสถานีตำรวจน้ำสัตหีบเพื่อติดตามสอบสวนและข้อสรุปผลการจับกุม และเตรียมขยายผลกวาดล้างเครือข่ายรายนี้ต่อไป https://www.thaipbs.or.th/news/content/338187
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
อุณหภูมิน้ำทะเลทั่วโลกร้อนขึ้น จนทำลายสถิติรายวันต่อเนื่องครบ 365 วันแล้ว SHORT CUT - รายงายจาก NOAA เผยว่า อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลทั่วโลกร้อนขึ้น ทำลายสถิติรายวันติดต่อกันจนครบ 365 วันแล้ว - โดยเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 67 อุณหภูมิเฉลี่ยน้ำทะเลอยู่ที่ 21.2 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติสูงสุดตลอดกาล - ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นขึ้น - ต่อจากนี้จับตาดูปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ของโลกครั้งที่ 4 เปิดเตา เผาโลก! ผู้เชี่ยวชาญชี้ ขณะนี้อุณหภูมิมหาสมุทรทั่วโลกร้อนทำลายสถิติรายวัน ที่ร้อนติดต่อกันเป็นเวลา 365 วัน หรือครบ 1 ปีเต็มแล้ว และจะร้อนขึ้นไปอีก เราทราบกันดีว่าอุณหภูมิน้ำทะเลทั่วโลกกำลังร้อนขึ้น จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่รายงานล่าสุดจากหน่วยงานด้านมหาสมุทรของสหรัฐฯเผยให้เห็นว่า อุณหภูมิน้ำทะเลทั่วโลกร้อนขึ้น จนทำลายสถิติรายวันติดต่อกันจนครบ 365 วันแล้ว สำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์รายงานว่า อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลโลกร้อนทำลายสถิติติดต่อกันเป็นเวลา 365 วันหรือครบหนึ่งปีแล้ว โดยข้อมูลจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือโนอาของสหรัฐฯ และระบบวิเคราะห์สภาพอากาศของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเมน พบว่า นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมปีที่แล้ว อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลทั่วโลก ร้อนจนทำลายสถิติรายวันของปีก่อนหน้า ติดต่อกันจนครบ 365 วัน และเมื่อวันพุธที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นวันที่อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 21.2 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่ด้วย รายงานระบุว่า สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่มีมนุษย์เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นขึ้น ด้านริชาร์ด สปินแรด ผู้บริหารของโนอาเปิดเผยสัปดาห์นี้ว่า ความร้อนดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล โดยก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โนอาก็เพิ่งเตือนว่า โลกของเรากำลังเผชิญกับเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ของโลกครั้งที่สี่ หน่วยงานเฝ้าระวังแนวปะการังของสหรัฐฯพบว่า มีการเตือนภัยปัญหาปะการังฟอกขาวในหลายภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก และในทะเลแคริบเบียน ซึ่งประสบกับปัญหาอากาศร้อนรุนแรง ทำให้นักวิทยาลัยเริ่มเป็นกังวลมากขึ้นว่า ในฤดูเฮอริเคนของมหาสมุทรแอตแลนติกที่กำลังจะมาถึง มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายรุนแรงมากกว่าเดิม ตามปกติแล้ว ฤดูเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายนและสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี แต่เนื่องจากรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป หลายพื้นที่ของมหาสมุทรแอตแลนติกตอนกลางเริ่มอุ่นมากขึ้นกว่าเดิมในช่วงเดือนมีนาคม ปะการังฟอกขาวที่ great barrier reef Cr.Reutersริชาร์ดเปิดเผยด้วยว่า ถ้าหากดูจากถสิติ เราจะเห็นว่า พายุไซโคลนกกำลังก่อตัวขึ้นเร็วกว่าวันที่ 1 มิถุนายน และเราอาจจะได้เห็นฤดูเฮอริเคนขยายออกไปเกินสิ้นเดือนพฤศจิกายน เพราะในตอนนี้ ฤดูเฮอริเคนยาวนานขึ้น ทั้งนี้ มหาสมุทรทั่วโลกดูดซับความร้อนและพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ถึงราว 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งความร้อนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านั้นเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปัญหารการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในชั้นบรรยากาศตอนเหนือคือมหาสมุทรแอตแลนติกนั่นเอง ซึ่งการไหลเวียนของน้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิบนแผ่นดิน ดังนั้นบรรดานักวิทยาศาสตร์จึงกังวลหากน้ำทะเลร้อนขึ้นนั่นเอง ที่มาข้อมูล Financial Times https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/848711
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|