#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 3 เมษายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมในบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน และขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
บึมสนั่น ควันโขมง เรือนำเที่ยวระเบิด ไฟลุกท่วม คนเรือโดดน้ำหนีตายระทึก "พังงา" เกิดเหตุเรือนำเที่ยวระเบิด กลางคลองท่าเทียบเรือบ้านทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จนท.ระดมกำลังดับไฟนาน 1 ชม. เบื้องต้นโชคดีไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต เร่งติดตามตัวคนประจำเรือมาสอบสวน หลังมีรายงานคนเห็นโดดน้ำว่ายหนีตายขึ้นฝั่งระทึก เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. วันที่ 2 เม.ย. 67 เกิดเหตุเรือนำเที่ยวทะเลอันดามันระเบิด จนเพลิงลุกไหม้อยู่กลางลำคลองท่าเทียบเรือบ้านทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เบื้องต้น หน่วยดับเพลิงเทศบาลตำบลลำแก่น และหน่วยดับเพลิงฐานทัพเรือพังงา และเรือดับเพลิง ร่วมกันลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือ ที่เกิดเหตุพบเรือนำเที่ยวแบบดำน้ำลึกขนาดใหญ่ ถูกเพลิงลุกไหม้ทั้งลำ เจ้าหน้าที่ต้องระดมกำลังช่วยกันดับไฟ และป้องกันไม่ให้เปลวเพลิงลุกลามไปยังเรือที่จอดใกล้เคียง เนื่องจากจุดเกิดเหตุมีกระแสลมค่อนข้างแรง ซึ่งเจ้าหน้าที่ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ควบคุมเพลิงได้สำเร็จ จากการสอบถาม นายสงบ สะโตน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า เรือที่เกิดเหตุเป็นเรือนำเที่ยวแบบดำน้ำลึก ไม่มีผู้โดยสาร เข้ามาจอดทอดสมออยู่กลางลำคลองทับละมุ มีรายงานว่ามีคนประจำเรือ 1 คน ซึ่งมีคนเห็นว่าขณะเกิดเหตุได้กระโดดน้ำหนีว่ายน้ำเข้าฝั่งแล้ว เบื้องต้นเจ้าหน้าที่กำลังติดตามคนประจำเรือ และเจ้าของเรือมาสอบสวนดำเนินการต่อไป https://www.thairath.co.th/news/local/south/2775567
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ดร.ธรณ์ แจ้งเตือน! "ทะเลเดือดของจริงมาถึงแล้ว" วันนี้ (2 เมษายน 2567) ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat แจ้งว่า ทะเลเดือดของจริงมาถึงแล้วแม่เจ้าเอ๊ย ?? อุณหภูมิน้ำทะเลตอนนี้น่าเป็นห่วงมาก ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์สูงกว่าปรกติ ต้นเดือนมีนาคมดีขึ้น กลับมาใกล้เคียงปีก่อน แต่พอเข้าปลายเดือนเริ่มสูงอย่างต่อเนื่อง เมื่อคืนวาน (1 เมษายน.2567) ตอนตีสี่ เครื่องวัดของคณะประมงที่สถานีศรีราชาเตือนว่าสูงเกิน 31.5 องศา สามสี่วันมานี้ อุณหภูมิน้ำไม่ว่าดึกดื่นค่อนคืนแค่ไหน ไม่เคยต่ำกว่า 31.2 องศา ทั้งที่ตามปรกติ น้ำกลางคืนน่าจะเย็นกว่านี้ เส้นปะการังฟอกขาวคือ 30.5 องศา หากอุณหภูมิน้ำสูงเกินนี้ตลอดเวลา ติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์ ถือว่าเข้าสู่การฟอกขาว ยิ่งถ้าสูงเกินเยอะๆ การเกิดฟอกขาวจะเร็วยิ่งขึ้น เมื่อมองไปตลอดเดือนเมษา นับว่าเป็นช่วงวิกฤตของปี สอดคล้องกับคำเตือนขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA ว่าปีนี้อาจเกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ในแถบบ้านเรา ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ในช่วงเมษายน/พฤษภาคม เราติดเครื่องตามอุณหภูมิและเตรียมจุดสำรวจถาวรจากโครงการเสื้อฉลามอ้วนเรียบร้อยหมดแล้ว หากมีอะไร ผมจะพาทีมไปดูอีกที ขอบคุณเพื่อนธรณ์ที่กรุณาสนับสนุน ช่วงนี้ใครไปทะเลช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากเจอปะการังฟอกขาวหรือสีซีดผิดปรกติ รีบแจ้งมาเลยครับ แล้วก็?ช่วยกันลดโลกร้อนเท่าที่ทำได้ เหตุการณ์มันแย่ลงทุกวันครับ?????? ผมเตือนเพื่อนธรณ์มาตั้งแต่ปีก่อน เอลนีโญบวกโลกร้อนจะทำให้ทะเลเดือด เมื่อวานก่อนพูดถึงอุณหภูมิน้ำที่สูงจนน่าสะพรึง มาวันนี้ (2 เม.ย.2567) สูงกว่าเมื่อวานครับ เมื่อเทียบกับต้นเมษาปีก่อน น้ำแถวภาคตะวันออกร้อนกว่าเยอะ ยังเป็นน้ำร้อนประหลาด กลางคืนก็แทบไม่เย็นลง แช่อยู่ที่ 31.5+ องศา กลางวันไม่ต้องพูดถึง น้ำช่วงนี้ร้อนเกิน 32 องศาเกือบทั้งวัน ที่สำคัญคือช่วงนี้เพิ่งเริ่มพีค (ดูภาพประกอบ จุดแดงคือน้ำร้อนวัดบ่ายเมื่อวาน) พีคน้ำร้อนของทะเลไทยอยู่ที่ปลายเมษา/พฤษภา สถิติในปีก่อนๆ บอกว่าน้ำอาจร้อนกว่าต้นเมษา 1 องศา หมายถึงปีนี้ในช่วงนั้น น้ำทะเลอาจร้อนเกิน 33+ องศา ขาดอีกนิดเดียวก็ออนเซนแล้วครับ (38 องศา) ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า จุดที่เราวัดลึก 3-5 เมตร มิใช่น้ำแค่เข่าแค่เอวริมชายฝั่ง แถวนั้นน้ำจะร้อนยิ่งกว่า ถ้าวันไหนแดดแรงๆ จะร้อนจัด อาบแดดแช่ออนเซนอาจเป็นสโลแกนใหม่เที่ยวทะเลไทยในไม่ช้า น้ำร้อนส่งผลอะไรบ้าง ? ปะการังฟอกขาว ???? เรื่องนั้นแน่นอน หากร้อนระดับนี้ต่อไปอีก 2-3 สัปดาห์ ผมว่าเราจะเริ่มเห็นในบางพื้นที่ เช่น ภาคตะวันออก องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวิทยาศาตร์ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเตือนอีก 4-8 สัปดาห์ อาจเกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ในแถบบ้านเรา ปะการังฟอกขาวทำให้เราต้องปิดจุดท่องเที่ยว ถ้าต้องปิดเยอะ ส่งผลกระทบแน่ โดยเฉพาะช่วงเที่ยวทะเล สัตว์น้ำชายฝั่งลดลง ???? เมื่อน้ำร้อนจัด ออกซิเจนในน้ำลดลง ปลายังต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นตามเมตาโบลิซึมร่างกาย สัตว์เล็กอยู่ไม่ได้ ปลาไม่มีอาหารเพียงพอ สัตว์ล้วนมีลิมิตของสภาพแวดล้อมที่ตัวเองอยู่ได้ ปลาไม่มีแอร์ ปลาต้องว่ายหนีไปที่ลึก แต่ชาวประมงพื้นบ้านตามไปจับไม่ได้ เพราะออกไปไกลเกิน เราไปเที่ยวทะเล หวังอยากกินอาหารทะเลสดๆ ซีฟู้ดราคารับได้ อาจไม่ได้กินอย่างที่คาดไว้ การเพาะเลี้ยงเดือดร้อน ?? ปลาในทะเลยังว่ายหนีได้ แต่ปลาในกระชังไปไม่ได้ น้ำร้อนจัดอาจเสี่ยงกับสัตว์ตายยกกระชัง หนี้สินมหาศาลในชั่วข้ามคืน หอยหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ก็เกิดผลกระทบ โตช้า ตัวเล็ก หรือไม่ก็ตายไปเลย น้ำเขียวมาถี่ ???? น้ำร้อนทำให้แพลงก์ตอนบลูมง่าย เป็นเหตุการณ์ที่เตือนกันไว้ทั่วโลก ปีที่แล้วทะเลไทยเกิดแพลงก์ตอนบลูม 70+ ครั้ง มากกว่าเมื่อ 15-20 ปีก่อน ประมาณ 5 เท่า ชายฝั่งตะวันออกคือเขตน้ำร้อนจัดในไทย (น้ำทะเลร้อนไม่เท่ากัน) แถวนั้นเป็นเขตฮอตสปอตของน้ำเขียวอยู่แล้ว น้ำร้อนขนาดนี้ยิ่งน่าห่วง พายุฤดูร้อนที่มาปุ๊บ ฝนถล่มน้ำท่วมฉับพลันเป็นจุดๆ ตามที่เคยเกิดเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน ยังกวาดเอาธาตุอาหารลงทะเล ช่วยกระตุ้นให้เกิดน้ำเขียวง่าย ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ???? เท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นแนวปะการังหลายแห่ง แหล่งหญ้าทะเล มันก็เปลี่ยนไปเยอะแล้ว เปรียบเสมือนคนป่วยที่โดนโรครุมเร้า น้ำร้อนจัดในครั้งนี้อาจเป็นตัวปิดจ๊อปสำหรับแนวปะการังหรือแหล่งหญ้าทะเลบางแห่ง ทั้งหมดนั้น เราทำอะไรกับน้ำร้อนไม่ได้ แต่เราช่วยลดโลกร้อนทุกทางได้ ช่วยบรรเทาผลกระทบอื่นๆ เช่น ขยะทะเล น้ำทิ้ง เที่ยวทำลายล้าง ฯลฯ เรายังต้องป้อมเตรียมรับมือและปรับตัวกับเหตุการณ์น้ำร้อนเป็นประวัติการณ์เช่นนี้ได้ เตรียมตัวไว้ให้ดี ทะเลเดือดของจริงมาถึงแล้ว แม่เจ้าโว้ย!! จะมารายงานสถานการณ์ให้เพื่อนธรณ์เรื่อยๆ ครับ https://mgronline.com/greeninnovatio.../9670000028838
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
อุณหภูมิน้ำทะเลเดือดกว่า 31.5?C ส่งผลสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเล SHORT CUT - อุณหภูมิน้ำทะเลร้อนกว่า 31.5?C ใกล้เคียงอุณหภูมิออนเซน เพราะโลกร้อนบอกเอลนีโญ - ผลกระทบจากน้ำทะเลเดือด ปะการังฟอกขาว ปลาในทะเลอาจตายเกลื่อน กระทบท่องเที่ยวและอาหาร - ทางที่จะช่วยได้ลดโลกร้อนทุกทาง เช่น ขยะทะเล น้ำทิ้ง เที่ยวแบบทำลายล้าง อาจช่วยบรรเทาผลกระทบ อาบแดด เที่ยวออนเซน อาจเป็นสโลแกนใหม่ในการเที่ยวทะเลไทย เนื่องจากน้ำทะเลอุณหภูมิสูงขึ้นใกล้อุณหภูมิออนเซนเข้าไปทุกทีแล้ว โดยอุณหภูมิสูงกว่า 31.5 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตในทะเล ปะการัง และระบบนิเวศในทะเล จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โลกร้อนทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น บวกกับปรากฏการณ์เอลนีโญยิ่งทำให้ทะเลเดือด อุณหภูมิน้ำทะเลเดือดกว่า 31.5?C ส่งผลสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเลอ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คส่วนตัวเกี่ยวกับอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นในทะเลไทย ดังนี้ "ทะเลเดือดของจริงมาถึงแล้วแม่เจ้าเอ๊ย เตือนเพื่อนธรณ์มาตั้งแต่ปีก่อน เอลนีโญบวกโลกร้อนจะทำให้ทะเลเดือด เมื่อวานพูดถึงอุณหภูมิน้ำที่สูงจนน่าสะพรึง วันนี้สูงกว่าเมื่อวานครับ เมื่อเทียบกับต้นเมษาปีก่อน น้ำแถวภาคตะวันออกร้อนกว่าเยอะ ยังเป็นน้ำร้อนประหลาด กลางคืนก็แทบไม่เย็นลง แช่อยู่ที่ 31.5+ องศา กลางวันไม่ต้องพูดถึง น้ำช่วงนี้ร้อนเกิน 32 องศาเกือบทั้งวัน ที่สำคัญคือช่วงนี้เพิ่งเริ่มพีค (ดูภาพประกอบ จุดแดงคือน้ำร้อนวัดบ่ายเมื่อวาน) พีคน้ำร้อนของทะเลไทยอยู่ที่ปลายเมษา/พฤษภา สถิติในปีก่อนๆ บอกว่าน้ำอาจร้อนกว่าต้นเมษา 1 องศา หมายถึงปีนี้ในช่วงนั้น น้ำทะเลอาจร้อนเกิน 33+ องศา ขาดอีกนิดเดียวก็ออนเซนแล้วครับ (38 องศา) ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า จุดที่เราวัดลึก 3-5 เมตร มิใช่น้ำแค่เข่าแค่เอวริมชายฝั่ง แถวนั้นน้ำจะร้อนยิ่งกว่า ถ้าวันไหนแดดแรงๆ จะร้อนจัด อาบแดดแช่ออนเซนอาจเเป็นสโลแกนใหม่เที่ยวทะเลไทยในไม่ช้า" อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำทะเลร้อนส่งผลกระทบกับอะไรบ้าง? อ.ธรณ์ เผยว่าอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นส่งผลให้เกิดปะการังฟอกขาว หากร้อนระดับนี้ต่อไปอีก 2-3 สัปดาห์ จะเริ่มเห็นปะการังฟอกขาวในบางพื้นที่ เช่น ภาคตะวันออก อีกทั้ง NOAA ยังประกาศเตือนว่าอีก 4-8 สัปดาห์ อาจเกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ในแถบบ้านเรา ปะการังฟอกขาวทำให้ต้องปิดจุดท่องเที่ยว หากต้องปิดสถานที่ท่องเที่ยวจำนวนมากอาจส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงเที่ยวทะเล ส่วนสัตว์น้ำชายฝั่งลดลง เมื่อน้ำร้อนจัด ออกซิเจนในน้ำลดลง ปลายังต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นตามเมตาโบลิซึมร่างกาย สัตว์เล็กอยู่ไม่ได้ ปลาไม่มีอาหารเพียงพอ สัตว์ล้วนมีลิมิตของสภาพแวดล้อมที่ตัวเองอยู่ได้ ปลาต้องว่ายหนีไปที่ลึก และชาวประมงพื้นบ้านอาจตามไปจับไม่ได้ เพราะออกไปไกลเกิน อาหารทะเลอาจขาดแคลน การเพาะเลี้ยงปลาในกระชังอาจได้รับความเดือดร้อน เพราะปลาในทะเลยังว่ายหนีได้ แต่ปลาในกระชังไปไหนไม่ได้ น้ำทะเลร้อนจัดอาจเสี่ยงกับสัตว์ตายยกกระชัง ส่วนหอยหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ก็เกิดผลกระทบ โตช้า ตัวเล็ก หรือไม่ก็ตายไปเลย ช่วงเกิดน้ำทะเลสีเขียวบ่อยขึ้น น้ำร้อนทำให้แพลงก์ตอนบลูมได้ง่าย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เตือนกันไว้ทั่วโลก ซึ่งปีที่แล้วทะเลไทยเกิดแพลงก์ตอนบลูมมากกว่าครั้ง ซึ่งมากกว่าเมื่อ 15-20 ปีก่อน ประมาณ 5 เท่า ชายฝั่งตะวันออกคือเขตน้ำร้อนจัดในไทย (น้ำทะเลร้อนไม่เท่ากัน) แถวนั้นเป็นเขตฮอตสปอตของน้ำเขียวอยู่แล้ว น้ำร้อนขนาดนี้ยิ่งน่าห่วง อ.ธรณ์ ยังเผยอีกว่า "พายุฤดูร้อนที่มาปุ๊บ ฝนถล่มน้ำท่วมฉับพลันเป็นจุดๆ ตามที่เคยเกิดเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน ยังกวาดเอาธาตุอาหารลงทะเล ช่วยกระตุ้นให้เกิดน้ำเขียวง่าย ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง เท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นแนวปะการังหลายแห่ง แหล่งหญ้าทะเล มันก็เปลี่ยนไปเยอะแล้ว เปรียบเสมือนคนป่วยที่โดนโรครุมเร้า น้ำร้อนจัดในครั้งนี้อาจเป็นตัวปิดจ๊อปสำหรับแนวปะการังหรือแหล่งหญ้าทะเลบางแห่ง ทั้งหมดนั้น เราทำอะไรกับน้ำร้อนไม่ได้ แต่เราช่วยลดโลกร้อนทุกทางได้ ช่วยบรรเทาผลกระทบอื่นๆ เช่น ขยะทะเล น้ำทิ้ง เที่ยวทำลายล้าง ฯลฯ เรายังต้องป้อมเตรียมรับมือและปรับตัวกับเหตุการณ์น้ำร้อนเป็นประวัติการณ์เช่นนี้ได้ เตรียมตัวไว้ให้ดี ทะเลเดือดของจริงมาถึงแล้ว" ที่มา : Facebook Thon Thamrongnawasawat https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/849138
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
โลกร้อนไม่ใช่เรื่องตลก! อีก 75 ปี มนุษย์จ่อเผชิญวิกฤตสภาวะแวดล้อมครั้งใหญ่ SHORT CUT - หากไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มนุษยชาติจะเผชิญวิกฤตแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน - จะทำอย่างไรถ้าชายฝั่งบางขุนเทียนหายไป กลายเป็นชายฝั่งสระบุรี - คนรุ่นหลานของหลาน จะต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เคยถูกบันทึกมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โลกร้อนไม่ใช่เรื่องเล่น! สว.วีระศักดิ์ เผยอีก 75 ปี มนุษยชาติจะเผชิญวิกฤตแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก หากไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่วันนี้ ?ไทย? ก็อยู่ไม่ได้ น้ำทะเลจะล้น ชายฝั่งใหม่อยู่ จ.สระบุรี คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จัดเวทีเสวนา "2024-2030-2050 โลกจะเดือดต่างกันอย่างไร" โดยมีนายวีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน บรรยายให้เห็นว่า "สภาวะโลกเดือด" ตามที่เลขาธิการสหประชาติได้แถลงต่อโลกไว้จากค่าอุณหภูมิพื้นผิวของโลก และอุณหภูมิของมหาสมุทรเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความร้อนอย่างรุนแรง ซึ่งสภาวะโลกเดือดเกิดจากแก๊สเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดน์ออกไซด์ ทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกเปราะบาง รับพลังงานและสะสมความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลายรุนแรงถึงชั้นน้ำแข็งที่อยู่ในพื้นดินขนาดใหญ่มาก หรือชั้น Permaforce ที่ไม่เคยละลายเลยมาเป็นเวลากว่าหมื่นปี ซึ่งคาดหมายว่าในปี 2030 จะเกิดการละลายอย่างรุนแรงและจะรุนแรงต่อเนื่องมากขึ้นถึงปี 2050 ส่งผลต่อน้ำแข็งบนยอดเขาสูงในภูมิภาคอื่น ตลอดจนป่ามรสุมในทวีปแอฟริกา แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้ฝั่งตะวันออกหัก เมื่อถึงจุดนั้นแล้วจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นจนเมืองใหญ่ทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้ เพราะมนุษย์มักตั้งถิ่นฐานในแหล่งน้ำจืดที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำเค็มเสมอ ในผลการศึกษาดังกล่าวคาดการณ์ว่าเมื่อถึงสถานการณ์นั้น ชายฝั่งของประเทศไทยจะอยู่ไกลถึงจังหวัดสระบุรี นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า สถาณการณ์การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือ กรีนแลนด์ จะทำให้ความหนืดของแผ่นน้ำแข็งน้อยลงและจะทำให้กระแสน้ำ AMOC ในแอตแลนติกเหนือหรือกระแสน้ำอุ่นกลัฟสตรีมหยุดการไหลเวียน คาดว่าจะหยุดไหลระหว่างปี 2035-2100 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกอย่างรุนแรง ทวีปยุโรปอาจเผชิญความหนาวเย็นอย่างมาก หากไม่มีกระแสน้ำอุ่นจะทำให้ระบบนิเวศทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เกิดการปลดปล่อยมีเทน คาร์บอนไดน์ออกไซน์ และเชื้อโรคร้ายจาก Permarforce ที่ซ่อนอยู่มาเป็นหมื่นปี ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้มีเกิดโรคระบาด เช่น หมีขั้วโลกตายจากการติดเชื้อไข้หวัดนก กวางเรนเดียร์ตายจากเชื้อเอนแทรกซ์ นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเล หากเรายังมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นแบบเดิม ในปี 2030 จะทำให้เกิดวิกฤตรุนแรงต่ออุณหภูมิในทะเล เกิดปะการังฟอกขาว ความหลายหลายของสัตว์ทะเลจะหายไป และหากเรายังไม่แก้ไขปัญหาหรือลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก วิกฤตจะรุนแรงมากกว่าเดิมอีกระลอกในช่วงปี 2050 แต่ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเห็นตรงกันทุกทฤษฎีว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแบบที่มนุษยชาติไม่เคยพบมาก่อนปี 2100 "แปลว่าใน 75 ปีหลังจากนี้ ที่คนรุ่นหลานของหลานเราเท่านั้นเอง ที่จะต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เคยถูกบันทึกมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ" นายวีระศักดิ์ เสนอว่า ประเทศไทยควรเร่งกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เสนอให้เกิด ?แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ส้งคม และสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ? เพื่อทำให้ทุกฝ่ายให้ความสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้มากกว่าที่ผ่านมา ต้องผลักดันให้มีกฎหมาย งบประมาณ และแผนสำหรับการแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องขยะ ปัญหาไฟป่า ฝุ่นควันพิษ อย่าปล่อยให้ประชาชนรู้สึกเหลืออดและเอาตัวรอดกันเอง ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องตื่นและเข้าใจปัญหานี้อย่างจริงจัง https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/849152
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
วิบากกรรม! ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทะเลเดือด "พะยูน" ลดฮวบ ไฟป่า ฝุ่นควัน น่าห่วง SHORT CUT - ปัญหาสิ่งแวดล้อมไทยยังน่าห่วง ทั้งโลกเดือด และไฟป่า ฝุ่นควัน ล่าสุดน่าห่วงสถานการณ์ทะเลเดือด-รวน - ก.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งหาสาเหตุหญ้าทะเลตายทั้งอ่าวไทย-อันดามัน เกิดจากเขื่อน หรือโลกร้อน - เผยสำรวจพะยูนพบแค่ 70-80 ตัว จากที่เคยเชื่อว่ามี 200 กว่าตัว ปัญหาสิ่งแวดล้อมไทยยังน่าห่วง ทั้งโลกเดือด และไฟป่า ฝุ่นควัน ล่าสุดน่าห่วงสถานการณ์ทะเลเดือด-รวน พร้อมเร่งหาสาเหตุหญ้าทะเลตายทั้งอ่าวไทย-อันดามัน เกิดจากเขื่อน หรือโลกร้อน เผยสำรวจพะยูนพบแค่ 70-80 ตัว จากที่เคยเชื่อว่ามี 200 กว่าตัว ยอมรับว่าทุกวันนี้อากาศบ้านร้อนมากๆ ร้อนจนหลายคนบอกว่าร้อนเหมือนซ้อมตกนรกกันเลยทีเดียว ปัญหาหลักๆ คือ โลกร้อนขึ้น โลกเดือด ทำทะเลเดือด ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้ง และปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆตามมา ส่งผลกระทบต่อ คน สัตว์ ธุรกิจ และอื่นๆ มากมาย แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าวถ้าไม่เร่งแก้ไข ไทยจะเผชิญกับวิกฤตมากกว่านี้ ล่าสุด ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร ผู้ช่วย รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้แทน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ Action for Change : โจทย์ใหญ่เปลี่ยนไทยอย่างไร ให้ยั่งยืน? ว่า ได้มีการลงพื้นที่สำรวจบริเวณทะเลอันดามันของตน ในพื้นที่ จ.ตรัง พังงา กระบี่ เพื่อไปดูว่าความจริงฝีมือมนุษย์ในการสร้างเขื่อน หรือภาวะโลกร้อนทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทะเลเดือด ทะเลรวน หรือเกิดจากโรคระบาดที่ทำให้หญ้าทะเลหมดไปไม่มีอาหารให้พะยูน และจากการสำรวจก่อนหน้านี้อ่าวไทยมีพะยูน 200 กว่าตัว มีจริงหรือไม่ ปรากฏว่าในการลงพื้นที่ครั้งล่าสุดไม่เจอพะยูนเลยแม้แต่ตัวเดียว "จากการสังเกตการณ์ว่าทำไมหญ้าทะเลที่เคยมีในบริเวณนั้น ขณะนี้กลายเป็นหาดทรายไปหมด พอลงไปดูปรากฏว่าไม่มีที่ให้หญ้าทะเลขึ้นเลย เมื่อถามนักวิชาการ ปรากฏว่าปัญหามันเกิดจากการที่เริ่มทำเขื่อนและตะกอนพัดอยู่ในทะเล โดยไม่ได้หายไปไหน และพัดมาทับหญ้าไปทั้งหมด หญ้าจึงขึ้นไม่ได้ และในฝั่งอ่าวไทยหญ้าทะเลก็ตายไปถึง จ.ตราด ตายข้ามฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน จึงวิเคราะห์ว่าไม่น่าจะเป็นเพราะเขื่อนเพียงอย่างเดียว หากสร้างเขื่อนกั้นก็ต้องเกิดเฉพาะฝั่งอันดามัน แต่เกิดขึ้นทั้งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย" ร.อ.รชฏ กล่าว ทั้งนี้ล่าสุดจากการประเมินก่อนหน้านี้ว่ามีพะยูน 200 กว่าตัว แต่?ล่าสุดจากการใช้โดรนบินลาดตระเวนทุกจังหวัดผลออกมาเราเจอพะยูนประมาณ 70-80 ตัวเท่านั้น ดังนั้นค่อนข้างน่าเป็นห่วงว่าสิ่งที่คิด และเชื่อมั่นว่าเมื่อ 2-3 ปียังเห็นอยู่เลย จ.ตรัง ที่มีสัญลักษณ์เป็นพะยูน ตอนนี้อาจจะไม่ใช่แล้ว อาจจะไม่เหลืออีกต่อไป ถ้าไม่ทำอะไรเลย ซึ่งเรื่องนี้ต้องมาทำการสำรวจใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ในภาคเหนือในเรื่องไฟป่าน่าเป็นห่วง ตั้งแต่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ขึ้นไปถึงภาคเหนือตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ทำให้เกิดภาวะฝุ่นควันอย่างหนัก รวมทั้งการเผาจากประเทศเพื่อนบ้าน และวิธีแก้ฝุ่นทำอย่างอื่นไม่ได้นอกจากต้องใช้ฝนหลวงอย่างเดียว ฝนหลวงก็ต้องใช้ความชื้น ถ้าความชื้นไม่ถึง 50% ก็ทำฝนหลวงไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวได้ทับถมเป็นปัญหาซ้อนปัญหา พอฝุ่นเกิดขึ้นมาก จ.เชียงใหม่ ที่เป็นแอ่งกระทะ ฝุ่นก็กักอยู่อย่างนั้น ซึ่งฝุ่นเกิดทั้งจากไฟป่า การเผาไหม้ทางการเกษตร หรือเกิดจากประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาบางครั้งการจะเปลี่ยนแปลงได้ต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ คือตัวเองก่อน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/849166
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|