#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในช่วงกลางวันของวันนี้ (8 มี.ค.67) ทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับในช่วงวันที่ 9?11 เม.ย. 67 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาและผ่านภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมในบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 8 ? 11 เม.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป ประกอบกับในช่วงวันที่ 9 ? 11 เม.ย. 2567 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาและผ่านภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก ฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 เม.ย. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 8 ? 9 เม.ย. 67 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 ? 13 เม.ย. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 7 ? 8 เม.ย. และ 11 - 13 เม.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนในช่วงวันที่ 8 ? 11 เม.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 4 (71/2567) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 8?11 เมษายน 2567) ในช่วงวันที่ 8?11 เมษายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป ประกอบกับในช่วงวันที่ 9?11 เมษายน 2567 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาและผ่านภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 8 เมษายน 2567 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี วันที่ 9 เมษายน 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 10 เมษายน 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย และชัยภูมิ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง วันที่ 11 เมษายน 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ และตาก
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
สวยขนาดนี้! "เกาะตาชัย" อย่าให้ต้องช้ำเพราะนักท่องเที่ยว ผู้ว่าฯ พังงาย้ำเปิดรอบใหม่! ต้องจัดการให้ดี เน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพ ไม่กระทบทรัพยากรธรรมชาติ พังงา - ผู้ว่าฯ พังงาลงพื้นที่เกาะตาชัย ชี้หากเปิดเกาะตาชัยอีกครั้งต้องเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพ ไม่มุ่งที่จำนวน มีการจัดการที่ดี ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และหากมีความพร้อมจะเปิดเกาะตาชัยอีกครั้งในเร็วๆ นี้ เพื่อทำให้เกาะตาชัยเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับพรีเมียมของประเทศ นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วยนายโดม จันทร์สุวรรณ์ หัวหน้าอุทยานเเห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และคณะได้เดินทางลงพื้นที่เกาะตาชัย ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่เกาะของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เพื่อสำรวจดูพื้นที่ของเกาะที่ปัจจุบันอยู่ในระหว่างปิดเกาะอย่างไม่มีกำหนด ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อให้ธรรมชาติได้พักฟื้นและซ่อมแซมตัวเอง จากที่ก่อนหน้านี้ เกาะตาชัยได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมความสวยงามจนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากจนล้นเกาะ ทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย และเกิดความเสื่อมโทรม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า ได้หารือกับทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เพื่อเตรียมพร้อมและวางแนวทางการบริหารจัดการให้มีความเหมาะสมและเข้มงวด หากจะทำการเปิดเกาะตาชัยอีกครั้ง จะต้องกำหนดมาตรการการเข้าชมแบบไหนเพื่อไม่ให้เหมือนอดีตที่ผ่านมา ซึ่งมองว่าการคัดกรองเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าชม ไม่เน้นที่ปริมาณอย่างที่ผ่านมา การทำจุดรับส่งในการขึ้นลงเรือนอกแนวปะการัง การจัดการขยะ ของเสีย กำหนดจุดเล่นน้ำ ดำน้ำ การรักษาความปลอดภัย รวมถึงมาตรการอื่นๆ ให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะยกระดับของแหล่งท่องเที่ยวขึ้นเป็นระดับพรีเมียม นักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่าเมื่อได้มาที่เกาะตาชัย คาดว่าหากมีหากความพร้อมทุกอย่างแล้ว ทางกรมอุทยานจะได้ทำการเปิดเกาะในเร็วๆ นี้แน่นอน และขอให้นักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวชมอุทยานแห่งชาติทุกแห่ง หรือสถานที่ใดๆ ก็ตามต้องช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่นำขยะเข้าไป งดใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ เช่น ครีมกันแดดที่ผสมสารเคมีบางชนิด ซึ่งจะทำลายระบบนิเวศของที่นั่นได้ https://mgronline.com/south/detail/9670000030302
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
'สนธิสัญญาพลาสติกโลก' ไทยลงเหวมลพิษพลาสติก ระหว่างที่ร่างสนธิสัญญาแก้ปัญหามลพิษจากพลาสติก ซึ่งสมาชิก 175 ประเทศลงนามร่วมกันให้จัดทำมาตรการทางกฎหมายเพื่อเป็นแนวทางการจัดการพลาสติกที่ครอบคลุมและตลอดวงจรชีวิตพลาสติก ลดการผลิตพลาสติก เลิกผลิต เลิกใช้ ควบคุม พลาสติกบางประเภท และการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) ร่างกฎหมายระหว่างประเทศนี้ เตรียมจะนำมาเจรจาในการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 4 (INC-4) ที่เมืองออตตาว่า ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 23-29 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นการเจรจาก่อนเจรจารอบสุดท้าย และเป็นที่คาดหวังว่า เอกสารร่างสนธิสัญญาจะต้องแล้วเสร็จ และกลายเป็นมาตรการทางกฎหมายฉบับแรกของโลกที่จะลดภัยคุกคามพลาสติก ตลอดจนไมโครพลาสติกที่พบแล้วในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงลดภาวะโลกเดือด เพราะการผลิตพลาสติกเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีความเคลื่อนไหวในบ้านเรา มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) กรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) และมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) จัดงาน "สนธิสัญญาพลาสติกโลก สู่การยุติมลพิษพลาสติก สำคัญอย่างไรต่อสังคมไทย" เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และประกาศจุดยืนให้มาตราการทางกฎหมายฉบับนี้คำนึงถึงสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายสูงสุด และเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติมลพิษพลาสติกเพื่อโลกที่ยั่งยืน ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยเชี่ยวชาญสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าในระดับโลกมีการผลักดันการแก้ไขภาคสมัครใจมาก่อนแล้ว คือ Ellen MacArthur Foundation ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมหสประชาชาติทำโครงการ Global Commitment ผลักดันให้แบรนด์ ห้างค้าปลีกรายใหญ่ รัฐบาลประเทศต่างมาตั้งเป้าร่วมกันว่าภายในปี 2025 จะลดการใช้พลาสติกใหม่ เพิ่มพลาสติกรีไซเคิล ปรับบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำได้ ซึ่งเริ่มมาตั้งปี 2018 จนถึงปี 2023 มีความคืบหน้า แต่สุดท้ายทั่วโลกยังผลิตพลาสติกใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งที่มาให้คำมั่นร่วมพันองค์กร ในรายงาน 5 ปีระบุว่า ยังเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกได้อย่างแท้จริง ข้อสรุปรายงานบอกว่าต้องมาช่วยกันผลักดันให้สินธิสัญญานี้เกิดขึ้น และมีการออกกฎระเบียบในประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย " อุปสรรคสำคัญ สิ่งท้าทายหลัก คือ การส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ ถ้าภาครัฐไม่ได้ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ส่งเสิมการ reuse refill แม้ภาคธุรกิจอยากจะทำ ก็ทำไม่ค่อยได้ ส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ช่วยรักษาคุณภาพอาหารหรือเครื่องสำอางค์ยังไม่มีทางออกที่จะปรับวัสดุให้คุ้มค่าต่อต้นทุน และระบบจัดเก็บมารีไซเคิลมีปัญหามาก " ดร.สุจิตรา กล่าว สำหรับประเทศไทย นักวิจัยเชี่ยวชาญจุฬาฯ กล่าวว่า ปัญหาขยะพลาสติกเริ่มเป็นประเด็นของโลกในปี 2015 จากบทตีพิมพ์ที่จัดอันดับประเทศที่มีการปล่อยขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งประเทศไทยอยู่อันดับที่ 6 เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลไทยเริ่มเต้นขึ้นมา มีมาตรการ โรดแมป และแผนปฏิบัติการขึ้นมา แต่การห้ามใช้พลาสติก 7 ชนิด ของไทย ไม่ได้มีกฏหมายรองรับ เป็นการเลิกใช้แบบสมัครใจ ขอร้องให้เลิกการใช้ เลิกการผลิต ซึ่งทางธุรกิจทำไม่ได้ต้องอาศัยกฎหมาย ยกเว้นการห้ามใช้ไมโครบีด ซึ่งสำนักคณะกรรมการงานอาหารและยา (อย.) มี พ.ร.บ.เครื่องสำอางอยู่แล้ว แต่ไม่มีระบบติดตามตรวจสอบว่า เครื่องสำอางในท้องตลาดมีส่วนผสมของไมโครบีดหรือไม่ โควิดทำให้การใช้พลาสติกเพิ่มขึ้น ระดับโลกยังแก้ไขไม่ได้ แผนปฏิบัติการของไทยที่ไม่มีกฎหมายรองรับจะแก้ไขอะไรได้ ส่วนกฎหมายขยะของไทยยังไม่พร้อม เน้นแค่ปลายทาง ผู้บริโภคที่สร้างขยะ แต่ไม่ไปถึงต้นทางการผลิต กฎหมายบ้านเราทิ้งภาระขยะทุกประเภทที่ไม่ใช่ขยะจากโรงงาน ทิ้งไว้ให้กับท้องถิ่น และไม่มีกฎหมายให้ท้องถิ่นจัดการ ส่วนเงินจ่ายค่าเก็บขนขยะต่ำมาก คนไม่อยากจ่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม ใประเทศที่จัดการขยะได้ดี ดร.สุจิตรา ระบุจะมีกลไกกฎหมายระบบความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) ,ระบบมัดจำคืนเงิน (DRS), ภาษีเตาเผา ภาษี Landfill และเก็บค่าขยะตามปริมาณที่ทิ้ง ซึ่งประเทศไทยไม่มี 4 เครื่องมือเชิงนโยบายนี้ ต้องช่วยกันผลักดันเพื่อให้แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนี้ กรมควบคุมมลพิษกำหนดแผนงานร่างกฎหมาย CE/EPR บรรจุภัณฑ์ ตั้งเป้าประกาศใช้ปี 2569 และร่างกฏหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในปี 2570 แต่ยังไม่ได้นำสนธิสัญญาพลาสติกโลกมาปรับหรือบรรจุหลักการที่เข้มข้นในกฎหมาย อาจต้องทบทวนใหม่ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า วงจรพลาสติกที่ก่อปัญหามลพิษ ประเทศไทยมีมลพิษพลาสติกครบทุกอย่างและสถานการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ ทั้งจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซเมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมาไป โดยเฉพาะ จ.ระยอง ในปี 2561 สหประชาติเปิดแคมเปญระดับโลกขยะในทะเล ทั่วโลกต้องลดปริมาณขยะพลาสติก เพื่อรักษาสิ่งมีชีวิตในทะเล แต่ก็ไม่สามารถทำให้ทั่วโลกลดขยะพลาสติกลงได้และไม่ลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเล นี่เป็นต้นทางจะชักชวนด้วยระบบสมัครใจไม่ได้อีกแล้ว ต้องมีกฎหมายระดับโลกเข้ามาคุม เป็นที่มาผลักดันสนธิสัญญาพลาสติก " ประเทศอุตสาหกรรม อเมริกา ยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มีระบบคัดแยกขยะที่ดีมาก ประเทศของเขาสะอาด และส่งออกขยะไปประเทศอื่น เมื่อจีนห้าม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมาย ปี 2561 เกิดเหตุการณ์จับกุมโรงงานรีไซเคิลพลาสติกที่มีการลักลอบนำเข้าขยะพลาสติก ปีนั้นปีเดียวไทยนำเข้าขยะพลาสติกที่เป็นขยะสกปรกด้วยสูงถึง 500,000 ตัน จากก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 50,000-60,000 ตัน อีกทั้งโรงงานรีไซเคิลของจีนขยายในไทยเยอะมาก จากการวิจัยการนำเข้า-ส่งออกพลาสติก ตั้งแต่ปี 2560-2564 มี 80 ประเทศส่งขยะพลาสติกมาที่ไทย " เพ็ญโฉมเผยมลพิษพลาสติก ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวต่อว่า การรีไซเคิลอันตรายมาก เพราะมีกระบวนการปล่อยมลพิษสู่ดิน น้ำ อากาศ สูงมาก ขอท้าทายรัฐบาลไทยจะแก้ปัญหา PM2.5 ให้สำเร็จ ต้องจัดการโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทที่เป็นแหล่งกำเนิด ณ วันนี้เราพูดถึงแต่เผาในที่โล่ง หมอกควันข้ามพรมแดน โรงงานรีไซเคิลเป็นแหล่งหนึ่งที่มีการปล่อย PM 2.5 สูงที่สุด รองจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงปูน แต่รัฐบาลไม่อยากพูดถึง มลพิษอากาศที่เกิดจากอุตสาหกรรมอันตรายกว่า PM2.5 จากภาคเกษตรและไฟป่ามาก เพราะมีสารเคมีหลายชนิด ส่วนหนึ่งมาจากการเผาขยะพลาสติกหลายชนิดระดับพันชนิด ปล่อยสู่อากาศในรูปฝุ่นละอองขนาดเล็ก ยังไม่รวมถึงเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการรีไซเคิล ยิ่งขยายโรงงานรีไซเคิลไม่ว่าโรงงานรีไซเคิลพลาสติก โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันมีมากขึ้นในไทย จะได้รับมลพิษหลากหลายมาก โดยเฉพาะขี้เถ้าจากโรงงานรีไซเคิล ไทยแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกผิดทาง เพ็ญโฉมวิพากษ์การเอาขยะพลาสติกไปเผาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า เป็นความผิดพลาดมหันต์ เพราะเป็นแหล่งปล่อยไดออกซินโดยตรง ตอนนี้มีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะอีก 70 แห่ง และมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมเพิ่มด้วย อนาคตที่น่ากลัวมาก คือ มลพิษอากาศ ไม่ใช่แค่ PM2.5 รัฐบาลเข้าใจว่าเป็นวิธีกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพที่สุด หรือรื้อขยะในหลุมฝังกลบมาทำ RDF ทางหนึ่งรัฐบอกส่งเสริมการรีไซเคิล สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน แต่อีกด้านรัฐบาลเร่งสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งมันสวนทางกัน ทำให้สิ่งแวดล้อมไทยก้าวลงสู่เหว " สารเคมีที่ใช้ในพลาสติกจากการสัมผัสตรง เป็นชีวิตบนความเสี่ยง อันตรายมาก หลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็งและทำลายระบบประสาทของเด็ก ทั้งหมดนี้คือรูปแบบมลพิษจากพลาสติกที่สังคมไทยไม่ตระหนัก เราพูดแต่ขยะๆ ยังมีอีกหลายมุม ต้องพลิกขึ้นมาดูให้แจ่มแจ้ง แล้วมาดูกันว่าสนธิสัญญาพลาติกจะตอบโจทย์ปัญหาที่เรากำลังเผชิญหรือไม่ รวมทั้งท่าทีของรัฐบาลไทย และอิทธิพลของกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะมีผลต่อการเกิดขึ้นของสนธิสัญญาพลาสติก " เพ็ญโฉมกล่าว ในวงเสวนา พิชามญชุ์ รักรอด หัวหน้าโครงการยุติมลพิษพลาสติก กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า เราต้องการสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่เข้มแข็ง และมุ่งไปที่การลดการผลิตพลาสติกอย่างน้อย 75% ภายในปี 2583 เพื่อให้เรายังคงอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไทยมีบทบาทสำคัญในการต่อกรกับปัญหามลพิษพลาสติกในเวทีเจรจาที่กำลังจะมีขึ้น โดยการให้คำมั่นต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมและกลุ่มเปราะบาง โดยยึดโยงกับหลักการสิทธิมนุษยชน ทั้งยังสามารถเริ่มกำหนดนโยบายช่วยลดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งในประเทศได้ โดยกำหนดให้มีการพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ( PPP) ที่ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตพลาสติกตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การกระจายสินค้า การรับคืน การสร้างระบบใช้ซ้ำ รวมไปถึงรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หลังเสวนาองค์กรภาคประชาสังคม 3 องค์กรอ่านแถลงการณ์ต่อการเจรจาจัดตั้ง "สนธิสัญญาพลาสติกโลก" พร้อมเรียกร้องรัฐบาลไทยร่วมมือกับประเทศที่เข้าร่วมการเจรจาเพื่อร่างสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่ทะเยอทะยาน มีการตั้งกรอบเวลาการดำเนินการที่ชัดเจน มีกลไกทางการเงินที่ยั่งยืน โปร่งใส และเป็นธรรม เปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีบทบาท และมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย 10 ประการอีกด้วย https://www.thaipost.net/news-update/566486/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'เอเชียใต้' ภูมิภาคที่มีอากาศแย่ที่สุดในโลก เพราะมีการเผาเป็นจำนวนมาก ............... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล 'เอเชียใต้' ภูมิภาคที่มีอากาศแย่ที่สุดในโลก เพราะมีการเผาเป็นจำนวนมาก เปิดวิธีรับมือ "ฝุ่น PM2.5" ของ "เอเชียใต้" ภูมิภาคที่มีอากาศที่แย่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีอุตสาหกรรมการเผาอิฐ และใช้ "เชื้อเพลิงแข็ง" เป็นหลักในการทำอาหารและให้ความร้อน ในปี 2023 "เอเชียใต้" กลายเป็นภูมิภาคที่มีสภาพภูมิอากาศเลวร้ายที่สุด โดยจากการรายงานสภาพอากาศประจำปี 2023 ของ IQAir บริษัทติดตามคุณภาพอากาศทั่วโลก พบว่า ?บังกลาเทศ? เป็นประเทศที่มีคุณภาพอากาศแย่มากที่สุดในโลก ตามมาด้วยปากีสถานและอินเดียในอันดับที่ 2 และ 3 ซึ่งอยู่ในเอเชียใต้เช่นเดียวกัน รายงานนี้ให้ภาพรวมของข้อมูลคุณภาพอากาศ โดยเก็บข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 มลพิษที่มีขนาดเล็กที่สุด มีขนาดเพียง 2.5 ไมครอน ซึ่งเป็นอันตรายมากที่สุด เนื่องจากสามารถผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ อนุภาคเหล่านี้ถูกปล่อยออกมาจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น พายุฝุ่นและไฟป่า และเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อเพลิงฟอสซิล การเผาถ่านหินหรืองานเกษตรกรรม ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระดับ PM2.5 เฉลี่ยต่อปีไม่ควรเกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ระดับ PM2.5 ของบังกลาเทศอยู่ที่ 79.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าที่ WHO แนะนำเกือบ 16 เท่า ขณะที่ปากีสถานอยู่ที่ 73.7 ส่วนอากาศของอินเดียมีอนุภาค PM2.5 อยู่ที่ 54.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรโดยเฉลี่ย หากดูปริมาณมลพิษเป็นรายเมือง จะพบว่า "เบกูซาไร" เมืองอุตสาหกรรมและการเงินของแคว้นพิหาร ในอินเดีย ที่ตั้งของโรงกลั่นและโรงไฟฟ้า มีอนุภาค PM2.5 สูงถึง 118.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรโดยเฉลี่ยในปี 2566 โดยอันดับที่ 2-4 ก็ยังคงเป็นเมืองในอินเดีย ได้แก่ อันดับที่ 2 คือ เมืองกูวาฮาติ ในรัฐอัสสัม ส่วนอันดับ 3 เมืองเดลี และอันดับที่ 4 เมืองมุลลันปูร์ ในรัฐปัญจาบ ในขณะที่ เมืองธากาในบังกลาเทศมี PM2.5 สูงถึง 80.2 ส่วนเมืองลาฮอร์ เมืองหลวงของปากีสถานก็มีค่าเฉลี่ยถึง 99.5 สาเหตุที่ทำให้สภาพอากาศ "เอเชียใต้" ย่ำแย่ รายงานยังพบว่า คุณภาพอากาศที่ไม่ดีในเอเชียใต้ เป็นเพราะประเทศเหล่านี้มีอุตสาหกรรมที่ใช้ ?การเผา? เป็นจำนวนมาก ทั้งการเผาอิฐ การเผาขยะทางการเกษตร การเผาศพ และการปล่อยมลพิษทางอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกจากนี้กลุ่มประเทศเหล่านี้ยังใช้ ?เชื้อเพลิงแข็ง? เช่น ไม้ ฟืน เศษวัชพืช ถ่านหิน หินน้ำมัน และแกลบ ในการปรุงอาหารและให้ความร้อน โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่อากาศหนาวเย็น ยิ่งจะทำให้มลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้น ในบังกลาเทศมีเตาเผาอิฐประมาณ 8,000 เตา ซึ่งบางแห่งดำเนินการอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้การเผาขยะพลาสติกและควันจากยานพาหนะยังส่งผลให้คุณภาพอากาศแย่ลงอีกด้วย นอกจากนี้ ?มลพิษข้ามพรมแดน? เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้บังกลาเทศมี PM2.5 จำนวนมาก เพราะเมื่ออินเดีย เนปาล และปากีสถานเผาไร่นา หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ควันเหล่านั้นอาจลอยเข้าสู่บังกลาเทศได้เช่นกัน ขณะที่ทางตอนเหนือของอินเดียและเดลีมีคุณภาพอากาศไม่ดีมากเช่นกัน เป็นผลมาจากการเผาสารชีวมวล ไม้ หรือของซากพืชต่าง ๆ หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวสาลี เพื่อนำไปใช้ผลิตเชื้อเพลิง อีกทั้งการเผาไหม้ถ่านหินและการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ ก็มีส่วนทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเช่นกัน นอกจากนี้ ภูมิศาสตร์ของเอเชียใต้ยังมีบทบาทสำคัญที่ทำให้มลพิษทางอากาศสะสมเป็นจำนวนมากอีกด้วย เอเชียใต้มี ?ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา? เป็นที่ราบที่สำคัญ โดยตั้งอยู่บริเวณบังกลาเทศ ฝั่งตะวันออกของปากีสถาน พื้นที่ทางตะวันออกและตอนเหนือของอินเดีย และทางใต้ของเนปาล เมื่อโดนลมจากชายฝั่งพัดเขามา ทำให้มลพิษที่ปล่อยออกมาถูกพัดพาไปเข้าไปยังเทือกเขาหิมาลัยที่อยู่ทางตอนเหนือ และมลพิษไม่สามารถกระจายออกไปยังที่อื่นได้ คุณภาพชีวิตลดลงของคนใน "เอเชียใต้" จาก "PM2.5" กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม จากอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอนทำการวิจัยเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศมานานหลายทศวรรษ พบว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกแรกเกิด โดยทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย อีกทั้งการสัมผัสมลพิษทางอากาศยังทำให้พัฒนาการเด็กล่าช้า พร้อมเชื่อมโยงต่อการแท้งบุตร และการคลอดบุตรอีกด้วย ขณะข้อมูลจากดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อชีวิตที่ยืนยาว หรือ AQLI ที่สำรวจความสัมพันธ์ระหว่าง PM2.5 กับอายุขัยเฉลี่ยของประชากร พบว่า ประเทศที่มีอายุขัยเฉลี่ยของประชากรลดลงมากที่สุดจากการมีคุณภาพอากาศที่แย่ 3 อันดับแรก ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย และเนปาล ซึ่งลดลง 6.76 5.26 และ 4.58 ปี ตามลำดับ นอกจากผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว มลพิษทางอากาศในปากีสถานและอินเดียยังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันอีกด้วย ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 แคว้นปัญจาบ ของปากีสถานจำเป็นต้องประกาศประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองลาฮอร์ เมืองกุชรันวาลา และเมืองฮาฟิซาบัด พร้อมปิดพื้นที่สาธารณะทั้งหมด เนื่องจากมีหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 มากเกินไป และต้องประกาศให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัย ส่วนกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ต้องปิดโรงเรียนถูกและสั่งหยุดการก่อสร้างลง "เอเชียใต้" เร่งแก้ปัญหา "มลพิษ" รัฐบาลเอเชียใต้ได้พยายามออกมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศ ตัวอย่างเช่น อินเดียประกาศห้ามไม่ให้มีการเผาถ่านหินในภูมิภาคราชธานีแห่งชาติ ซึ่งเป็นภูมิภาคส่วนกลางที่รายล้อมเขตเมืองหลวงแห่งชาติเดลี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 แม้ว่ายานพาหนะรุ่นเก่าถูกห้ามในเดลีในปี 2561 ส่งผลให้จำนวนรถยนต์บนท้องถนนลดลง 35% ตามรายงานของ IQAir แต่ว่ารัฐบาลเดลีและสถาบันเทคโนโลยีคานปูร์แห่งอินเดีย ยังระบุว่า การปล่อยมลพิษจากยานพาหนะยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศของเมือง ขณะที่แคว้นปัญจาบของปากีสถานสั่งห้ามการเผาพืชผลและเปิดตัวโครงการขนส่งสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนไม่เอารถส่วนตัวออกมาใช้ แต่ถึงจะมีคำสั่งห้าม เกษตรกรยังคงเผาพืชผลอย่างผิดกฎหมาย เพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่ถูกและดีกว่า ส่วนบังกลาเทศประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2567 ว่าตั้งใจที่จะใช้เครื่องติดตามจากเตาเผาอิฐ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล เพื่อระบุเตาเผาอิฐที่เป็นอันตราย และเพื่อช่วยปรับปรุงกฎการบังกับ อินเดียและปากีสถานหันมาใช้การทำฝนเทียมเพื่อลดหมอกควัน บิลาล อัฟซาล รัฐมนตรีรักษาสิ่งแวดล้อมของปากีสถาน เปิดเผยกับสำนักข่าว The Guardian ว่าการทำฝนเทียมในเมืองลาฮอร์จะช่วยให้คุณภาพอากาศดีขึ้นประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นมลพิษทางอากาศก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม https://www.bangkokbiznews.com/environment/1121129
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ทร.เตรียมแถลงผลสอบ "เรือหลวงสุโขทัย" อับปาง 9 เม.ย.นี้ กองทัพเรือ เตรียมแถลงผลสอบข้อเท็จจริง "เรือหลวงสุโขทัย" อัปปาง ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ท่ามกลางกระแสข่าวปลดผู้การเรือฯ ออกจากราชการ วันนี้ (7 เม.ย.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ทร.) เตรียมแถลงรายละเอียดผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในวันที่ 9 เม.ย.2567 เวลา 15.00 น. โดยไทม์ไลน์การปฏิบัติภารกิจของเรือหลวงสุโขทัย เริ่มตั้งแต่การออกเดินเรือจากท่าเรือฐานทัพสัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อไปร่วมงานฉลองครบรอบ 100 ปี กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร แต่เกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุทำให้เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในวันที่ 18 ธ.ค.2565 กำลังพลทหารเรือเสียชีวิต 24 นาย และสูญหายอีก 5 นาย การตรวจสอบนอกจากจะดูสภาพความพร้อมของเรือหลวงสุโขทัย หลังเพิ่งเดินทางกลับจากการปฏิบัติภารกิจฝึกซ้อมการลาดตระเวนร่วมระหว่างกองทัพเรือไทย-กองทัพเรือเวียดนาม ครั้งที่ 46 เมื่อวันที่ 29-30 พ.ย.2565 แล้ว ประเด็นหลัก คือ สาเหตุของการอับปาง โดยมีหลักฐานเป็นวัตถุพยาน และกำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจในเรือหลวงสุโขทัย รวมถึงสาเหตุที่ต้องให้สหรัฐฯ กู้เรือ เนื่องจากมีข้อตกลงกับสหรัฐฯ ในการจัดซื้อหลวงสุโขทัย ที่ระบุว่าไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใด ๆ หรือปลดประจำการเรือหลวงแล้ว ทางสหรัฐฯ จะมีอำนาจในการเข้าไปถอดระบบอาวุธทั้งหมด กองทัพเรือจึงต้องล้มการประมูลให้บริษัทเอกชนเข้าไปเก็บกู้ มีรายงานว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือจะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้สอบถามในทุกประเด็นข้อสงสัย โดยเฉพาะการชี้ถูก-ชี้ผิด หรือใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปางในครั้งนี้ ท่ามกลางกระแสข่าวว่า กองทัพเรือ เตรียมปลดผู้การเรือหลวงสุโขทัยออกจากราชการด้วย ขณะเดียวกันกองทัพเรือ พิจารณาข้อมูลจากหน่วยต้นสังกัดของกำลังพลที่เสียชีวิต ในการได้รับสิทธิบรรจุ หรือแต่งตั้งทายาท จำนวนทั้งสิ้น 24 คน คือ ให้บรรจุทายาทตามกฎกระทรวง จำนวน 7 คน, บรรจุบุคคลในครอบครัวของผู้เสียชีวิตเป็นกรณีพิเศษ จำนวน 13 คน และรับทราบการเสนอบรรจุทดแทนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล จำนวน 1 คน https://www.thaipbs.or.th/news/content/338843
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|