เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 18-04-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกเกิดขึ้นได้บางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับในช่วงวันที่ 17 ? 18 เม.ย. 67 มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 17 ? 18 เม.ย. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 19 ? 23 เม.ย. 67 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลอันดามัน ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานตลอดช่วง

ส่วนในวันที่ 17 ? 18 เม.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 18-04-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


โลกร้อน ดินร้อน ทะเลเดือด เกิดปรากฏการณ์ 'หญ้านึ่ง' พะยูนตรังอาการหนัก หนีตายกระจัดกระจาย


ภาพโดย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 17 เมษายน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก รายงานสถานการณ์หญ้าทะเลในพื้นที่อันดามัน และอ่าวไทย จากการที่ทางคณะประมงลงพื้นที่สำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีเนื้อหาต่อไปนี้


"สรุปผลสถานการณ์หญ้าทะเลไทยในขณะนี้ให้เพื่อนธรณ์ทราบ

ข้อมูลมาจากทริปที่ผมลงใต้ จากหน่วยวิจัยหญ้าทะเลสู้โลกร้อนของคณะประมง ของทีมสำรวจกรมทะเล และของคณะทำงานวิกฤตหญ้าทะเล

ขอบคุณทุกๆ ท่านที่ช่วยกันทำงานเต็มกำลัง
หญ้าทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ประจวบ-ปัตตานี ยังอยู่ในสภาพดี อาจมีที่ลดลงบ้างแต่ยังไม่รุนแรงจนเห็นชัด

อ่าวไทยฝั่งตะวันออก สภาพปกติ ยกเว้นแหล่งหญ้าใหญ่ที่ตราด สิ้นเดือนนี้ผมจะไปดู

หญ้าทะเลอันดามันเหนือ พบปัญหาบางจุดที่พังงา ต้องติดตาม แต่ที่อื่นยังอยู่ในสภาพปกติ

หญ้าทะเลอันดามันใต้ จังหวัดตรัง/กระบี่ตอนล่าง เกิดผลกระทบรุนแรง รวมถึงสตูลบางจุด

โลกร้อนทำให้ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อเนื่องถึงกระบวนการในทะเล เช่น น้ำลงต่ำผิดปกติ

ยังทำให้น้ำร้อนจัด ดินร้อนจนเกิดปรากฏการณ์ ?หญ้านึ่ง? อันเป็นเรื่องใหม่ที่เราเพิ่งเคยเจอ

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดไม่เท่ากัน

การสำรวจพะยูนล่าสุด พบว่ากระจายตัวออกไปในพื้นที่กว้าง ไม่รวมฝูงหากินเหมือนเคย มีรายงานการพบเพิ่มมากขึ้นในจุดที่เคยมีน้อย

หมายถึงพะยูนกระจายกันหากิน บางส่วนเริ่มอพยพขึ้นเหนือ (ตรัง -> กระบี่ -> ภูเก็ต)

หลายฝ่ายช่วยกันหาทางแก้ปัญหา/ฟื้นฟู แต่มันไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะเมื่อโลกร้อนทะเลเดือดขึ้นทุกวัน

มันเป็นปัญหาถาวรและมีแต่แรงขึ้นเรื่อย ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไปแก้ต้นตอได้ง่ายๆ

หน่วยวิจัยหญ้าทะเลสู้โลกร้อน คณะประมง กำลังวางแผนขยายงานฟื้นฟูหญ้าไปที่สถานีคลองวาฬ ประจวบ (ผมเพิ่งเล่า) ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ กำลังพยายามเต็มที่

นับจากนี้ เราต้องปกป้องแหล่งหญ้าที่เหลืออยู่ให้ดีที่สุด
การพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งหญ้าฯ เบาได้เบาครับ".


https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_4529824

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-04-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


ครม. เสนอ 'ทะเลสาบสงขลา' เป็น 'มรดกโลกทางวัฒนธรรม'

ครม. เห็นชอบ นำเสนอ 'ทะเลสาบสงขลา' เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นเพื่อพิจารณาเป็น 'มรดกโลกทางวัฒนธรรม' ให้ทันการประชุม ครั้งที่ 46 ในเดือนกรกฎาคม ประเทศอินเดีย


วันที่ 9 เมษายน 2567 ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเอกสารนำเสนอ สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริม"ทะเลสาบสงขลา" ภายใต้ชื่อ Songkhla and its Associated Lagoon Settlements (เอกสารนำเสนอฯ) เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก

รวมทั้งเห็นชอบให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกลงนามในเอกสารนำเสนอฯ ต่อศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส)

และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ นำเสนอเอกสารนำเสนอฯ เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลกต่อศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

ทส. จะต้องดำเนินการจัดส่งเอกสารนำเสนอฯ ให้ศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ 15 เม.ย. 2567 เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อให้การรับรองในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ที่จะจัดขึ้นวันที่ 21-31 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อให้สามารถจัดส่งเอกสารการนำเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกได้ในปี 2568

เนื่องจากสมาชิกจะต้องเสนอชื่อแหล่งมรดกฯ เพื่อบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลกอย่างน้อย 1 ปี ก่อนขอรับการพิจารณาขึ้นทะเบียน ดังนั้นขั้นตอนการพิจารณาจริงจะเกิดขึ้นในปี 2568


แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ของประเทศไทย ปัจจุบัน มี 4 แหล่ง ดังนี้

- เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
- นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร
- แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
- เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง


อยู่ระหว่างกระบวนการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม จำนวน 2 แหล่ง ดังนี้

- อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
- แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาฯ


สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา

อยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา ได้แก่ อ.ระโนด, อ.สทิงพระ, อ.สิงหนคร, อ.เมืองสงขลา

เป็นทะเลสาบน้ำกร่อยเพียงแห่งเดียวของประเทศ และเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่มีการตั้งถิ่นฐานรอบทะเลสาบ มีความสำคัญทางวัฒนธรรมสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลก

เป็นต้นกำเนิดของวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับน้ำกร่อย ความเชื่อ ประเพณี การตั้งถิ่นฐานและเมืองต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณ


ทะเลสาบสงขลา

เป็นทะเลสาบแบบลากูน เป็นทะเลสาบน้ำกร่อยตามธรรมชาติ อยู่บริเวณชายฝั่งและเปิดเชื่อมต่อสู่ทะเล เป็นระบบนิเวศธรรมชาติที่มีความหลากหลายซับซ้อน ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

มีการตั้งถิ่นฐานหลายแห่งบริเวณรอบทะเลสาบสงขลา มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับระบบนิเวศทะเลสาบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ส่งผลให้การตั้งถิ่นฐานพัฒนาจนกลายเป็นชุมชนและเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ

และมีสิ่งก่อสร้างจากชุมชนเมืองโบราณที่อยู่ริมทะเลสาบสงขลา มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับการปกป้องคุ้มครองไว้อย่างดี ปรากฎหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก


ประกอบด้วย 4 พื้นที่ คือ

- เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณพะโคะ และเมืองโบราณสีหยัง
- เมืองโบราณสทิงพระ
- เมืองป้อมค่ายซิงกอร่า
- เมืองเก่าสงขลา บ่อยาง


โดยแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาฯ สามารถเข้าหลักเกณฑ์เพื่อประกอบการนำเสนอ ดังนี้

- เกณฑ์ข้อที่ 2 เป็นพื้นที่แสดงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

- เกณฑ์ข้อที่ 4 เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีการพัฒนาด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรืออุตสาหกรรม

- เกณฑ์ข้อที่ 5 เป็นตัวอย่างของขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรมหรือการตั้งถิ่นฐานมนุษย์


ทั้งนี้ ไม่มีแหล่งมรดกในบัญชีรายชื่อมรดกโลกที่เป็นทะเลสาบแบบลากูน และมีการตั้งถิ่นฐานที่แสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนที่สำคัญกับอารยธรรมอื่น และเป็นตัวอย่างของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แบบดั้งเดิมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

การนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาฯ เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ กระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์และหวงแหนมรดกเมืองเก่าสงขลาและชุมชนริมทะเลสาบสงขลา ส่งเสริมเศรษฐกิจท่องเที่ยว


https://www.bangkokbiznews.com/lifes...prakai/1122364

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 18-04-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


NOAA ประกาศ ปะการังฟอกขาวระดับ "หายนะ" ใน 3 มหาสมุทร 53 ประเทศ


SHORT CUT

- "ปะการังฟอกขาว" เกิดจากภาวะโลกร้อน อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเลและสัตว์ทะเล

- ปัจจุบันมี 53 ประเทศใน 3 มหาสมุทร เกิดปะการังฟอกขาวและจะมีเพิ่มขึ้นอีก ในทะเลไทย




ดร.ธรณ์ เผย NOAA ประกาศ "ปะการังฟอกขาวระดับหายนะ" ถือเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ แสดงถึงความรุนแรงของโลกร้อนทะเลเดือด ล่าสุดมี 53 ประเทศใน 3 มหาสมุทร ไทยต้องเฝ้าระวัง ช่วงสิ้นเดือน เม.ย. ถึง พ.ค. เป็นช่วงวิกฤต แนะควบคุมการท่องเที่ยวบางพื้นที่ มีส่วนช่วยได้

ก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่าอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากปัจจัยต่างๆ รวมถึง ภาวะโลกรวน อาจทำให้เกิดเหตุปะการังฟอกขาวได้ในปีนี้ผลมาจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างหนักโดยเฉพาะกับปะการังที่พบการเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวขึ้นเป็นวงกว้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลที่ใช้ประโยชน์จากแนวปะการังให้ขาดที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่หลบภัย

ล่าสุด ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า NOAA ประกาศ "ปะการังฟอกขาวระดับหายนะ" (Global Coral Bleaching Event) อย่างเป็นทางการ ถือเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ สองครั้งหลังเกิดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แสดงถึงความรุนแรงของโลกร้อนทะเลเดือด

ปัจจุบันมี 53 ประเทศใน 3 มหาสมุทร เกิดปะการังฟอกขาวแล้ว คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก ในทะเลไทย อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นในช่วงปลายมีนาคม/ต้นเมษายน แต่คงที่/ลดเล็กน้อยในช่วงสงกรานต์

ยังไม่พบปะการังฟอกขาวอย่างชัดเจนในขณะนี้ ต้องเฝ้าระวังปะการังฟอกขาวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงสิ้นเมษายน/ตลอดเดือนพฤษภาคม อันเป็นช่วงวิกฤต

การลดผลกระทบด้านอื่นๆ ในแนวปะการัง เช่น ตะกอน น้ำทิ้ง การท่องเที่ยว แพลงก์ตอนบลูม ฯลฯ เป็นเรื่องสำคัญในการเพิ่มความทนทานของระบบนิเวศ

การย้ายปะการัง เก็บสะสมพ่อแม่พันธุ์ ฯลฯ อาจจำเป็นหากเกิดฟอกขาวรุนแรง แต่ต้องทำอย่างรอบคอบ ภายใต้การดูแลของกรมทะเล/ผู้เชี่ยวชาญ

การลดจำนวนนักท่องเที่ยว ปิดบางพื้นที่ อาจจำเป็นแต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยวควบคู่กันไป การสร้างแหล่งดำน้ำอื่นๆ เพื่อดึงคนออกจากแนวปะการัง มีส่วนช่วยได้ เช่น เรือปราบ/สัตกูด (ฟอกขาวในปี 2553)

เครือข่ายปะการังฟอกขาวของไทยเข้มแข็ง และจะติดตามต่อไป หากเพื่อนธรณ์พบพื้นที่ใดที่ปะการังเริ่มซีด ช่วยกันแจ้งเพื่อให้มีการตรวจสอบและประเมินให้เร็วทันเวลา

กลับจากใต้ พักแป๊บนึง จากนั้นผมจะไปทะเลตะวันออก ตามดูทั้งปะการังและหญ้าทะเล โลกร้อนกำลังส่งผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปะการัง หญ้าทะเล น้ำเขียว เต่าทะเล ฯลฯ

เหนื่อยครับ บอกตามตรง ก็ได้แต่หวังว่าเราจะช่วยกันรักษาทะเลให้มากที่สุด เพราะเธอกำลังอ่อนแออย่างไม่เคยเกิดมาก่อนเลย


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/849537

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 18-04-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


'ปะการังฟอกขาว' สะเทือนทั้งระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์


SHORT CUT

- ปะการังฟอกขาว เกิดจากการสูญเสียสาหร่าย Zooxanthellae จากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย

- ปะการังฟอกขาวทำให้ระบบนิเวศของแนวปะการังพังทลายลง สิ่งมีชีวิตในทะเลก็มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ได้

- ปะการังฟอกขาวส่งผลความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัย และสูญเสียสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติที่ดูดซับพลังคลื่นกระทบฝั่ง




ช่วงนี้เราจะได้ยินข่าวปรากฎการณ์ 'ปะการังฟอกขาว' บ่อยขึ้น หลายคนอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่รู้ไหมว่านี่เป็นสัญญาณเตือนของโลกร้อน ที่เราควรเร่งมือลดการปล่อยมลพิษ และปะการังฟอกขาวนอกจากจะส่งผลบระบบนิเวศแล้วยังส่งผลกับความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ด้วย

NOAA ประกาศ "ปะการังฟอกขาวระดับหายนะ" ถือเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ แสดงถึงความรุนแรงของโลกร้อนทะเลเดือด ล่าสุดเกิดขึ้นใน 53 ประเทศใน 3 มหาสมุทร ซึ่งประเทศไทยต้องเฝ้าระวังในช่วงสิ้นเดือน เม.ย.-พ.ค. อาจเป็นช่วงวิกฤต


ปะการังฟอกขาวคืออะไร?

ปะการังสีซีดจาง หรือ ปะการังฟอกขาว เป็นการที่ปะการังสูญเสียสีสันสดใสและเปลี่ยนเป็นสีขาวจากการสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) เกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย หากสภาพแวดล้อมในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลง เช่น หากร้อนเกินไป ปะการังจะเครียดและขับสาหร่ายออกไป ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว

ปัจจุบันปะการังฟอกขาวอยู่ในระดับวิกฤตเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสภาพภูมิอากาศ และโลกร้อนอันเนื่องมาจากฝีมือของมนุษย์ ปัจจัยที่ทำให้ปะการังฟอกขาวมีหลายสาเหตุ เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป น้ำจืดไหลลงมาทำให้ความเค็มลดลง ตะกอนที่ถูกน้ำจืดไหลพัดพามาจากชายฝั่ง หรือมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมทางทะเลของมนุษย์ ทั้งการปล่อยน้ำเสีย หรือใช้ครีมกันแดด

หากปะการังฟอกขาวจะส่งผลให้ปะการังตายลง แนวปะการังอาจไม่สามารถกลับเหมือนเดิมอีก ระบบนิเวศแนวปะการังทั้งหมดที่มนุษย์และสัตว์ป่าต้องพึ่งพาก็เสื่อมโทรมลง จากข้อมูลของสมาคมมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ ระหว่างปี 2014-2017 แนวปะการังเขตร้อนประมาณ 75% ของโลกประสบกับความเครียดจากความร้อนรุนแรงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการฟอกขาว สำหรับแนวปะการัง 30% ของโลก ความเครียดจากความร้อนนั้นเพียงพอที่จะทำลายปะการังได้


ปะการังฟอกขาวส่งผลกระทบกับสัตว์ทะเลอย่างไร?

แนวปะการังเป็นแหล่งของระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก สัตว์ทะเลหลายพันตัวต้องอาศัยแนวปะการังเพื่อความอยู่รอด รวมถึงเต่าทะเล ปลา ปู กุ้ง แมงกะพรุน นกทะเล ปลาดาว และอื่นๆ แนวปะการังเป็นแหล่งพักพิง พื้นที่วางไข่ และการปกป้องจากผู้ล่า พวกมันยังมีความสำคัยกับสิ่งมีชีวิตและห่วงโซ่อาหารใต้ทะเลอีกด้วย เมื่อระบบนิเวศของแนวปะการังพังทลายลง สิ่งมีชีวิตในทะเลก็มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ได้


ปะการังฟอกขาวส่งผลต่อมนุษย์อย่างไร?

การที่ปะการังสีซีดลงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คน ความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัย แนวปะการังเป็นสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติที่ดูดซับพลังของคลื่นและคลื่นพายุ ทำให้ชุมชนชายฝั่งปลอดภัย

หากไม่มีแมวปะการังเราต้องพึ่งพากำแพงกันคลื่นที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งมีราคาแพง และมีประสิทธิภาพน้อยกว่า และยังกำแพงที่เป็นสิ่งก่อสร้างยังทำสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อไม่มีแนวปะการังจะทำให้ปลาและสัตว์จำพวกกุ้งจำไม่มีแหล่งวางไข่และเติบโต ชาวประมงจะได้่รับผลกระทบเมื่อแหล่งรายได้ประสบปัญหา นอกจากการท่องเที่ยวแนวปะการังยังได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวอาจหดหาย คนอาจตกงานมากขึ้น

ที่มา : WWF / ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา


https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/849541

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:30


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger