#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 28-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 ? 30 เม.ย. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ประกอบกับในช่วงวันที่ 1 ? 3 พ.ค. 67 มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 28 ? 29 เม.ย. 67 ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 30 เม.ย. ? 3 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 ? 30 เม.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 1 ? 3 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ฟอกขาวครั้งใหญ่ โลกร้อนฉับพลัน ปะการังเสี่ยงสูญพันธุ์? คุยกับนักชีววิทยาผู้ศึกษาวิวัฒนาการ ชี้การฟอกขาวเกิดจาก 'ภาวะเครียด' ซึ่งอาจไม่ใช่แค่ความร้อน พร้อมเปิดประเด็นที่เหล่านักวิทยาศาสตร์กังวล หากปะการังปรับตัวไม่ทันอากาศที่เปลี่ยนฉับพลัน! เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักทั้งไทยและต่างประเทศ ต่างพากันนำเสนอเรื่อง "ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่" เพื่อเน้นย้ำให้ 'มนุษย์' ได้เห็นความเป็นไปของโลกใบนี้ ที่นับวันยิ่งเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ 'แย่ลง' สำหรับ 'Coral bleaching' หรือ 'ปะการังฟอกขาว' ครั้งใหญ่นี้ ถือเป็นรอบที่ 4 ของโลก โดย 3 ครั้งที่ผ่านมาเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1998, ค.ศ. 2010 และช่วง ค.ศ. 2014-2017 ซึ่งการฟอกขาวใหญ่แต่ละครั้ง เกิดขึ้นในช่วงที่โลกต้องเผชิญกับ เอลนีโญ (El Ni?o) นักวิทยาศาสตร์จึงคาดการณ์กันว่า ความร้อน มีความสัมพันธ์ต่อเหตุการณ์นี้ สำนักข่าว CNN รายงานว่า องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ โนอา (NOAA) และโครงการริเริ่มแนวปะการังนานาชาติ (ICRI) ได้แถลงร่วมกันว่า ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา พื้นที่แนวปะการังมากกว่า 54% ใน 53 ประเทศ/ดินแดนทั่วโลก ต้องเผชิญกับการฟอกขาว หนึ่งในตัวอย่างที่สร้างความกังวลให้แก่นักวิทยาศาสตร์ คือ 'เกรตแบร์ริเออร์รีฟ' (Great Barrier Reef) แนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งมีความยาวกว่า 2,300 กิโลเมตร ตามแนวชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ตลอดความยาวนั้น ประกอบไปด้วยปะการังน้อยใหญ่ราว 3,000 แห่ง หน่วยงานอุทยานทางทะเลเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ออกแถลงการณ์ว่า ที่ผ่านมาเกรตแบร์ริเออร์รีฟสามารถฟื้นตัวมาได้เสมอ แต่ความร้อนในปัจจุบัน อาจทำให้แนวปะการังไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งจากการสำรวจแนวปะการัง 1,080 แห่ง พบว่า 49% ของการสำรวจ พบ 'การฟอกขาวระดับรุนแรงมากที่สุด' จากข้อมูลตัวอย่างดังกล่าว น่าจะทำให้คุณผู้อ่านได้พอเข้าใจเบื้องต้นว่า เหตุใดนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงเริ่มแสดงความกังวลกันออกมา วันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงได้เชิญชวน 'ดร.วัชรพงษ์ หงส์จำรัสศิลป์' หรือ 'อาจารย์วิน' นักชีววิทยา และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมพูดคุยประเด็น 'ปะการัง' กันให้มากขึ้น เราจะไปดูกันว่าปะการังสำคัญอย่างไร และเพราะเหตุใดเรื่องนี้จึงน่ากังวล? ซึ่งก่อนการสนทนาจะเริ่มขึ้น อ.วิน ได้กล่าวกับเราว่า "ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญปะการัง วันนี้ผมขอพูดในฐานะผู้ศึกษาวิวัฒนาการ ซึ่งศึกษาภาพรวมชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตทั่วไปอยู่แล้ว" ปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นได้อย่างไร? : นักชีววิทยา เลกเชอร์ความรู้ให้เราฟังว่า Coral bleaching เกิดจากการที่สาหร่ายที่เราเรียกว่า สาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) หนีออกจากตัวปะการัง ซึ่งสาหร่ายนี้จะมีสีสันแตกต่างกันออกไป จึงทำให้เราเห็นปะการังมีสีสวยงาม พอมันหนีออกไป? ปะการังกลายเป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีปกติของมันอยู่แล้ว มนุษย์จึงเรียกเหตุการณ์นี้ว่า 'ปะการังฟอกขาว' โดยปกติแล้ว เจ้าสองสิ่งนี้จะอาศัยอยู่ร่วมกัน แบบพึ่งพาอาศัยกัน สาหร่ายจะให้สารอาหารที่จำเป็นแก่ปะการัง เช่น กรดไขมันจำเป็น ส่วนปะการังเองก็ให้อะไรกับสาหร่ายเหมือนกัน เช่น ให้ที่อยู่อาศัย ให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสง หรือแร่ธาตุบางอย่าง "อย่างไรก็ตาม เมื่อวันใดวันหนึ่ง 'สภาวะแวดล้อม' ไม่เหมาะสม พวกมันก็จะแยกกันอยู่สักครู่หนึ่ง" อาจารย์วิน กล่าว หากแยกกันอยู่แล้ว พวกมันจะกลับมาอยู่ด้วยกันอีกไหม? ทีมข่าวฯ ถามด้วยความสงสัย อ.วิน ตอบว่า สาหร่ายสามารถกลับเข้ามาได้ ถ้าปะการังยังไม่ตาย กล่าวคือช่วงที่สาหร่ายออกไป ปะการังยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่สารอาหารจะไม่เพียงพอ ทำให้สุขภาพของมันเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ และหากจะถามว่านานแค่ไหน ก็ต้องตอบว่า 'ระบุชัดเจนไม่ได้' เนื่องจากขึ้นอยู่กับชนิดและบริเวณที่ปะการังอาศัยอยู่ "อาจจะหลักวัน หลักสัปดาห์ หลักเดือน หรือหลักปี มันก็ต่างที่กันไป แต่เราลองสมมติให้มันมีอายุได้ 1 เดือน สาหร่ายจะกลับมาหรือไม่กลับ ก็ไม่ได้มีผลอะไรมาก เพราะปะการังเขาตายไปแล้ว" รวมกันเราอยู่ แยกกันอยู่ได้ไหม? : จากข้อมูลข้างต้น ทีมข่าวฯ จึงถามต่อว่า ปะการังกับสาหร่ายต้องมีกันและกันตลอดไปใช่ไหม จึงจะอยู่รอด? "ปะการังต้องมีสาหร่ายถึงจะไปรอด แต่สาหร่ายออกไปข้างนอก ไม่มีใครรู้ว่ามันอยู่รอดหรือเปล่า แต่เดาว่าน่าจะอยู่ได้" นักชีววิทยา กล่าวกับเรา ก่อนจะอธิบายเสริมว่า "เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในส่วนวิวัฒนาการของปะการัง เพราะช่วงแรกๆ เจ้าปะการังมันถูกวิวัฒนาการให้อยู่กับตัวสาหร่าย ซึ่งมันอยู่ด้วยกันมานานมากแล้ว จนเหมือนขาดกันแล้วมันจะตาย" แสดงว่าในอดีตปะการังอยู่ได้โดยไม่มีสาหร่าย? ดร.วัชรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจน จึงยังบอกไม่ได้ หากจะรู้ได้ นักวิทยาศาสตร์ต้องย้อนกลับไปศึกษาว่า ฟอสซิลของปะการังในอดีตมันเป็นยังไง ซึ่งถือว่าค่อนข้างดูยาก เพราะปกติแล้ว ที่เราได้เห็นฟอสซิลปะการัง เนื่องจากมันมีโครงสร้างแข็งที่เป็นพวกแคลเซียมคาร์บอเนต ส่วนสาหร่ายเป็นเยื่ออ่อนๆ ถ้ามันตายมันก็หายไปเลย มันเลยทำให้เราไม่รู้ว่าในอดีตมันเคยมีสาหร่ายอยู่ในปะการังหรือไม่ แต่ถ้าเรามองกลับไปไกลๆ เลย ปะการังมีบรรพบุรุษร่วมกับพวกดอกไม้ทะเลและแมงกะพรุน ซึ่งถ้าเราย้อนกลับไปดูอีกในเชิงวิวัฒนาการ บรรพบุรุษของเจ้าพวกนี้ทั้งหมด ไม่ได้มีสาหร่ายอยู่ในตัว สาหร่ายเพิ่งจะเข้ามาอยู่ตอนที่มันกลายเป็นปะการัง สภาวะ 'ไม่เหมาะสม' : จากที่ได้แวะทำความรู้จักประวัติคร่าวๆ ของน้องปะการังมาแล้ว เราขอพาผู้อ่านกลับมาที่เรื่อง 'การฟอกขาว' กันต่อดีกว่า? จากที่ ดร.วัชรพงษ์ กล่าวในหัวข้อแรกว่า "วันใดวันหนึ่งสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม พวกมันจะแยกกันอยู่" จึงชวนสงสัยใคร่รู้ต่อไปว่า สภาวะไหนที่เรียกว่าไม่เหมาะสม จนสาหร่ายต้องออก? อาจารย์วิน เอ่ยรับทันทีว่า "อันนี้เป็นส่วนสำคัญ" เพราะทุกคนจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของอุณหภูมิสูง จึงทำให้สาหร่ายหนีออกจากปะการัง แต่ถ้าเราไปอ่านดูดีๆ จะเห็นว่ามีปัจจัยอื่นด้วย เนื้อข่าวหรือบทความต่างๆ จะบอกว่าสิ่งที่ทำให้มัน 'ฟอกขาว' ก็คือ 'ความเครียด' เวลาปะการัง 'เครียด' มันจะปล่อย 'สาหร่าย' ออกมา แต่เราก็อาจจะบอกไม่ได้เต็มที่ว่า ปะการังไล่สาหร่ายออกมา หรือสาหร่ายออกมาเอง เพราะถ้าอ่านเรื่องนี้จากภาษาอังกฤษ เขาจะใช้คำว่า Expel ที่แปลว่า พ่นออกไป เราจึงไม่รู้แน่ชัดว่าใครออกไปหรือใครอยากออก "แต่การเครียด มันก็เกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง หากน้ำเย็นเกินไป ปะการังก็ฟอกขาวได้ ไม่จำเป็นแค่ว่าต้องเกิดขึ้นเพราะน้ำร้อนอย่างเดียว" กรณีหนึ่งที่ผมเคยอ่านเจอ เป็นเหตุการณ์เกิดที่ฟลอริดา เมื่ออุณหภูมิลดเร็วมากภายในระยะเวลาอันสั้น ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว ดังนั้น เราจะเห็นว่าไม่ใช่แค่ความร้อน แต่ความเย็นเกินก็ทำให้เกิด Coral bleaching ฉะนั้น การฟอกขาวเลยขึ้นอยู่กับความเครียดของปะการัง สภาวะอื่นนอกจากเรื่อง 'อากาศ' : ดร.วัชรพงษ์ หงส์จำรัสศิลป์ เลกเชอร์เรื่องราวของ 'ปะการัง' ด้วยความคล่องแคล่วต่อว่า ภาวะ 'เครียด' ไม่ได้มาจากแค่อุณหภูมิอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากปัจจัยอื่นได้อีก เช่น สารเคมี น้ำมันรั่ว หรือเหตุอื่นๆ แต่เรื่องนี้ยังไม่มีคนศึกษามากนัก แม้จะมีอยู่บ้างแต่ก็ยังไม่ได้ชัดเจน บวกกับกระแสของโลกที่ทุกคนกำลังพูดเรื่อง Climate Change (การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ) ในความเป็นจริงเรารู้กันอยู่แล้วว่า Pollution (มลพิษ, มลภาวะ) อื่นๆ มีผลกับสิ่งมีชีวิต แต่ตอนนี้เราถูก Bias (โน้มเอียง) ไปที่เรื่องของ Climate Change ดังนั้น เมื่อมีคนพูดถึง 'ปะการังฟอกขาว' เขาก็จะพูดกันว่าเป็นเพราะอุณหภูมิเพิ่มขึ้น "ผมเปรียบเทียบให้เห็นภาพโดยง่ายว่า เรามีเพื่อน 10 คน ทุกคนไปเที่ยวญี่ปุ่นด้วยกัน แล้วอยู่ๆ อุณหภูมิเกิดเย็นขึ้นกว่าเดิม ถามว่าทั้ง 10 คน จะป่วยพร้อมกันเลยหรือเปล่า คำตอบก็คือ 'ไม่ใช่' อาจจะป่วยเพียง 3 คน คำถามต่อไปคือ 'ทำไม 3 คนจึงป่วย แต่เราไม่ป่วย?' เพราะเราแข็งแรงกว่าเขา การที่เขาไม่แข็งแรงก็อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ หลายอย่างประกอบกัน" อ.วิน กล่าวต่อว่า เช่นเดียวกับปะการัง เขาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ก็เป็นแบบนี้ เมื่อเขาเครียด ภูมิคุ้มกันจะตก ทำให้เสี่ยงกับการป่วยหรือตายได้ง่ายขึ้น ที่ผมพูดประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะทุกคนพูดถึงเพียงเรื่อง 'ความร้อน' แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปะการังป่วย แค่มันยังไม่ได้ฟอกขาว แต่พอมีอุณหภูมิมาช่วยกระตุ้นก็เลยฟอกขาว สมมติว่า? คุณเอาปะการังมาเลี้ยงไว้ในตู้ด้วยน้ำที่สะอาดมาก แล้วลองเพิ่มอุณหภูมิสัก 2 องศา มันอาจจะไม่ฟอกขาวก็ได้ เพราะในธรรมชาติมันมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย อย่างเรื่อง 'น้ำมันรั่ว' ซึ่งเราก็รู้อยู่แล้วว่าส่งผลกระทบต่อชีวิตในระบบนิเวศ "อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจริง ถึงจะดูเป็นตัวเลขที่เล็กน้อย แต่ก็เยอะสำหรับปะการัง แต่ยังมีสิ่งที่น่ากลัวกว่า ซึ่งเราอาจจะไม่ได้พูดถึงเลย เช่น มลพิษ สมมติว่าคุณล่องเรือไปดูปะการัง มันก็จะมีน้ำมันออกมา เรื่องพวกนี้ก็จะส่งผลอยู่เงียบๆ แต่เราไม่ได้สนใจมากเท่าไร เพราะเราไป Bias เรื่องของโลกร้อน" ถ้าอย่างนี้การที่สื่อต่างๆ นำเสนอว่า 'เกิดจากโลกร้อน' ก็แสดงว่าทำให้ผู้รับสารเข้าใจเรื่องนี้คลาดเคลื่อนหรือเปล่า? ทีมข่าวฯ ถาม "ความเข้าใจไม่คลาดเคลื่อน แต่บอกไม่หมด" นักชีววิทยา ตอบกลับ ทำไมเรียกว่า 'การฟอกขาวครั้งใหญ่'? : เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์ ยกให้ครั้งนี้เป็น 'การฟอกขาวครั้งใหญ่' ดร.วัชรพงษ์ อธิบายว่า มาจากการที่ปะการังฟอกขาวพร้อมกันหลายที่ในโลก โดย NOAA ของสหรัฐฯ ได้รับรายงานจากหน่วยงานเครือข่ายในหลายประเทศว่า มีจุดไหนที่ฟอกขาวแล้วบ้าง ทำให้ NOAA ทราบว่า 'มันเริ่มฟอกพร้อมกันเยอะแล้ว' ทีมข่าวฯ สอบถามนักชีววิทยาที่อยู่ปลายสายว่า อากาศร้อนเป็นสาเหตุหลักๆ ใช่หรือไม่ เนื่องจากมีรายงานว่า ทั้ง 4 ครั้งที่เกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ ล้วนแต่เป็นช่วงที่เกิด 'เอลนีโญ' ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเสมือนสาเหตุหลัก? อาจารย์วัชรพงษ์ กล่าวว่า ต้องเรียกว่าการฟอกขาวใหญ่ทั้ง 4 ครั้ง บังเอิญมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่สูงขึ้น เราต้องแยกให้ออกว่าความสัมพันธ์ไม่ได้แปลว่า 'สาเหตุ' เพราะส่วนใหญ่จะบอกว่าโลกร้อนทำให้ปะการังฟอกขาว แต่จริงๆ แล้วมันคือ 'มีความสัมพันธ์ระหว่างการฟอกขาวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น' (มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ฟอกขาวครั้งใหญ่ โลกร้อนฉับพลัน ปะการังเสี่ยงสูญพันธุ์? ........ ต่อ ดังนั้นหมายความว่า การฟอกขาวครั้งใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ 'เอลนีโญ'? อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตอบว่า "เป็นไปได้อยู่แล้วครับ" เพราะว่าเอลนีโญจะทำให้สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง บางที่ก็แห้งแล้งมาก สมมติเราดูแค่ในประเทศไทยก่อน สภาพปกติเมืองไทยเป็นโซนที่ฝนตกเยอะ ด้วยการหมุนตัวของโลก บวกกับตำแหน่งของประเทศ ทำให้บริเวณบ้านเราฝนตกบ่อย เลยมีป่าฝนเขตร้อนเยอะ แต่พอเกิดเอลนีโญ กลุ่มเมฆไม่ได้มารวมตัวกัน ฝนเลยไม่ตก ทำให้เกิดความแห้งแล้งและอุณหภูมิสูง ไม่ว่าจะบนบกหรือน้ำทะเล แต่เรื่องเอลนีโญมันเกิดแล้วหมดไป เดี๋ยวก็เกิดอีกเป็นวัฏจักร "เมื่อเอลนีโญทำให้ร้อน แล้วลานีญาทำให้ฝนตก ถ้ามีลานีญาเข้ามา พอจะช่วยบรรเทาการฟอกขาวได้ไหม" ทีมข่าวฯ สอบถามอาจารย์วิน "อันนี้ก็ยังบอกไม่ได้นะ เราต้องย้อนไปดูในอดีตว่า ลานีญาทำให้ฟอกขาวได้ไหม มันอาจจะเคยมีข่าว แต่ผมไม่เคยได้ยิน ปกติลานีญาจะทำให้ฝนตกเยอะ ซึ่งถ้าฝนตกเยอะ การฟอกขาวอาจจะไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแล้ว" ดร.วัชรพงษ์ เสริมต่อว่า แต่การที่ฝนตกเยอะมันก็มีข้อเสียนะ เช่น ความเค็มอาจจะเปลี่ยนไป เพราะน้ำจืดลงทะเลเยอะเกิน ซึ่งความเค็มเป็นอะไรที่สำคัญกับสิ่งมีชีวิตในทะเลมาก ถ้ามันเปลี่ยนมากเกินไป จะทำให้สิ่งมีชีวิตช็อกได้ หรือฝนตกเยอะแล้วไปนำน้ำจากชานเมืองไหลลงทะเล ซึ่งน้ำเหล่านั้นอาจมีสารพิษปนเปื้อนอยู่ อาจมาผสมปนในน้ำ ทำให้ปะการังเครียดได้อีก ความกังวลของผู้เฝ้าดู : สืบเนื่องจากเหตุการเกิด 'เอลนีโญ' อาจารย์วัชรพงษ์ มองว่า ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ถามว่าปะการังตายหมดไหม มันก็ยังมีตัวที่ 'Breed' (สืบพันธุ์) ได้ปกติ ถ้าสภาวะทุกอย่างเอื้อดังเดิม ปะการังก็จะดูดสาหร่ายเข้ามา แล้วก็ค่อยปรับตัวไปเรื่อยๆ ผมยกตัวอย่างว่า สมมติเอลนีโญเกิดขึ้นทุก 10 ปี มันจะมีปะการังบางตัวที่ตายไปเลย ส่วนบางตัวอาจจะมีความทนทานสูง พอฟอกขาวไปแล้ว ยังอดทนรอได้ 3-4 เดือน หรือมากกว่านั้น เมื่อสาหร่ายกลับเข้ามาใหม่ อยู่รอดได้และสืบพันธุ์ต่อไป ซึ่งจุดนี้ลูกหลานของตัวที่อยู่รอด ก็จะเริ่มมีความอดทนต่อความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ มันคือกระบวนการคัดเลือกจากธรรมชาติ อ่านมาถึงตรงนี้ คุณอาจจะเริ่มขมวดคิ้วสงสัยว่า ถ้ามันเป็นการคัดเลือกจากธรรมชาติ ปะการังไม่ได้ตายทั้งหมด ยังมีตัวที่เหลือรอด แล้วนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยเขากังวลเรื่องอะไรกันล่ะ!? ดร.วัชรพงษ์ หงส์จำรัสศิลป์ ได้พูดเรื่องนี้ขึ้นมา ก่อนที่ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จะเอ่ยความสงสัยดังกล่าวขึ้นมาเสียอีก อาจารย์วิน บอกว่า สิ่งที่ NOAA หรือใครก็ตามรู้สึกกังวล คือ ถ้าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป เขากลัวว่าพวกมันจะตายกันหมด โดยที่ยังไม่มีตัวไหนปรับตัวได้เลย ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ว่า เมื่อเรามีแบคทีเรียในร่างกายเยอะ แล้วหมอให้ยาปฏิชีวนะมากิน 7 วัน เราทานยาครบ 7 วัน แบคทีเรียก็ตายหมดเลย เพราะร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน "นั่นจึงเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้สึกกังวลว่ามันจะเกิดขึ้น กลัวปะการังจะตายทั้งหมด ตายแบบฟื้นตัวไม่ได้อีก ในกระบวนการมันกำลังวิวัฒนาการอยู่ แต่เขากลัวกันว่าวิวัฒนาการ มันจะโตสู้การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติไม่ได้ เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์ไปเร่งให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น" ดร.วัชรพงษ์ มองว่า ความเชื่อโดยส่วนตัวของผม ซึ่งเป็นนักศึกษาวิวัฒนาการ ผมเชื่อว่ามันจะยังไม่ตายไปทั้งหมด มันจะมีตัวที่อยู่รอด เพียงแต่ว่ามันจะไม่รอดพอให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ ผมแค่สงสัยว่า มนุษย์กังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมจริงหรือเปล่า หรือกังวลว่าตนเองจะเสียผลประโยชน์ เนื่องจากการสูญเสียปะการัง ถ้าคุณเห็นข่าวของต่างประเทศ เขาจะบอกว่า 'ปะการังเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ อีกทั้งยังสร้างเงินมหาศาลเป็นพันล้านเหรียญ' และอื่นๆ เพราะฉะนั้นถ้าถามปะการังฟอกขาวแล้วจะ 'ฟื้นตัวได้ไหม' ก็ได้นะ แต่มันอาจจะไม่เร็วทันใจหรือเปล่า 'ปะการัง' คือ เมืองหลวงแห่งท้องทะเล : อีกนิดเดียวสกู๊ปนี้ก็จะจบลงแล้ว? ทีมข่าวฯ ยังมีอีกเรื่องที่ต้องพูดถึง นั่นก็คือความสำคัญของน้อง 'ปะการัง' ดร.วัชรพงษ์ บอกว่า ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตในทะเล เป็นแหล่งอนุบาลลูกปลา ลูกสัตว์ต่างๆ ยังมีประโยชน์อีกมากมายสำหรับสัตว์ทะเล ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ แบบไม่ใช่แนววิชาการ ทะเลก็เหมือนประเทศหนึ่ง ที่มีความเจริญกระจุกอยู่แค่ในเมืองหลวง ซึ่งก็คือ 'ปะการัง' แนวปะการังเหมือนเมืองหลวงที่ทุกคนอยากจะมา มันมีอาหารเยอะ มีทุกอย่างที่ดีไปหมด พอออกจากแนวปะการังก็ไม่มีอะไรแล้ว เหมือนอยู่ตามชานเมือง เมื่อได้ยินดังนั้น เราจึงถามกลับไปว่า ถ้ามันหายพร้อมกันหมดโลกเลยล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น!? อาจารย์วิน ขานรับด้วยคำว่า "โอ้โห" ก่อนจะอธิบายต่อไปว่า ถ้ามันเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งโลก แบบอยู่ๆ ปะการังตายพร้อมกัน แน่นอนว่าสิ่งมีชีวิตจะมีชนิดและปริมาณลดลงแน่นอน แต่มันอาจจะไม่ได้สูญพันธุ์ทั้งหมดก็ได้ เช่น วันนี้ปะการังตายหมด สัตว์บางตัวอาจจะสูญพันธุ์ บางตัวไม่สูญพันธุ์ ผมเชื่อว่าตัวที่จะอยู่รอดได้ จะเป็นผู้คนพบระบบนิเวศใหม่ ไปหาแหล่งอาศัยอื่น แล้วพยายามปรับตัว "เช่น อ่างศิลาในอดีต มีแนวหินธรรมชาติและสัตว์อยู่จำนวนมาก ปัจจุบันมีท่าเรือเกิดขึ้น มีมลพิษ มีน้ำมันรั่ว สัตว์ก็หนีไปเยอะ แต่ถามว่าตรงนั้นยังพอมีสัตว์ไหม ก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ว่าจำนวนชนิดลดลง" "บางทีเราเห็นน้ำเน่ามากๆ แต่หอยบางตัวยังอยู่ได้ เพราะว่าเขาปรับตัวได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าเอาหอยสปีชีส์เดียวกันที่อยู่ในน้ำสะอาดมาก่อน มาปล่อยในน้ำเน่าดังกล่าว มันก็จะตาย แต่ประชากรเดิมที่อยู่ตรงน้ำนั้นจะรอด" อยากให้มีการสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐาน : ก่อนการสนทนาจะจบลง ทีมข่าวฯ สอบถามอาจารย์ว่า อยากจะเสริมเรื่องไหนที่เกี่ยวกับปะการังหรือไม่ คำตอบของคำถามนี้ คือ "ไม่มีแล้ว" แต่อย่างไรก็ตาม ดร.วัชรพงษ์ ก็มีเรื่องที่อยากจะกล่าวเล็กน้อย แต่แฝงไปด้วยความหวังต่อวงการวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยของไทย? "ผมไม่มีอะไรจะเสริมนะ นอกเหนือจากว่า ผู้เกี่ยวข้องควรจะมีงบประมาณให้เราทำวิจัยเรื่องพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตมากขึ้น เพราะผมรู้สึกว่าประเทศไทยยังไม่ค่อยสนับสนุนเรื่องงานวิจัยพื้นฐาน หากวันหนึ่งมีปัญหาขึ้นมา แล้วจะมาเรียกร้องหาข้อมูล เราจะเอาข้อมูลมาจากไหน ในเมื่อวันที่ไม่มีปัญหา ไม่มีใครมาเหลียวแล" "ทุกวันนี้การให้งบหรือทุนของประเทศไทยก็น้อยมาก ทุกครั้งจะถูกตั้งคำถามว่า งานนี้มีนวัตกรรมอะไร หรือจะถูกผลิตเป็นเม็ดเงินได้อย่างไรบ้าง แล้วงานพื้นฐานแบบนี้จะผลิตเม็ดเงินให้วันนี้ได้อย่างไร" "แล้วบางทีบอกว่า 'เอาเงินไปเลย ให้เวลา 1 ปี' ในทางกลับกัน มันไม่สามารถทำได้กับทุกเรื่อง สมมติถ้าจะศึกษาเรื่องปะการัง กว่ามันจะโตเป็นต้นใหญ่ก็ใช้เวลาหลายปี เราไม่สามารถสรุปข้อมูลใน 1 ปีได้ เพราะฉะนั้น นี่คือปัญหาในประเทศของเรา เป็นความไม่เข้าใจระหว่างผู้ให้ทุนกับผู้รับทุน" "เรื่องลักษณะดังกล่าวมันเกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบันยังเป็นอยู่ แต่ผมคาดหวังว่าในอนาคตจะไม่เกิดอีก" ดร.วัชรพงษ์ หงส์จำรัสศิลป์ กล่าวกับเรา https://www.thairath.co.th/scoop/world/2780670
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
กอช.มีมติยก "บางปู" เป็นพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2567 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการดำเนินงานเพื่อยกระดับศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จ.สมุทรปราการ เป็นพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกองทัพบก ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป พร้อมทั้งมีมติให้เสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จ.สมุทรปราการ เป็นอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Park : AHP) และเห็นชอบ (ร่าง) เอกสารการขอขึ้นทะเบียนฯ ที่ปรับแก้ไขตามความเห็นของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาร่างเอกสารการขอขึ้นทะเบียนศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก เพื่อให้กองทัพบกสามารถเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเกี่ยวกับองค์กรระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลไทย พร้อมมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ (ร่าง) เอกสารการเสนอขึ้นทะเบียนฯ เสนอต่อศูนย์อาเซียน ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อดำเนินการเสนอตามกระบวนการต่อไป. https://www.thairath.co.th/news/local/central/2781386
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
"เกาะหูยง" เกาะอนุรักษ์เต่าทะเล พบแนวโน้มแม่เต่าขึ้นวางไข่เพิ่มขึ้น ปีที่แล้ว 167 รัง 3 เดือนแรกปีนี้พบแล้ว 16 รัง ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เกาะหูยง หนึ่งในหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา เกาะเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเล ให้แม่เต่าขึ้นมาวางไข่ ทัพเรือภาคที่ 3 เข้าเฝ้าดูแลแม่เต่าขึ้นมาวางไข่ อนุบาลไข่เต่าจนฟักออกเป็นตัว ก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ เผยแนวโน้มแม่เต่าขั้นวางไข่ดีมาก ปีที่แล้วพบถึง 167 รัง 3 เดือนแรกปีนี้ 16 รังแล้ว ทั้งหมดเป็นแม่เต่าตนุ เมื่อเร็วๆ นี้ ทัพเรือภาคที่ 3 ได้จัดโครงการสื่อมวลชนสัมพันธ์ นำสื่อมวลชนจากจังหวัดภูเก็ต และพังงาเยี่ยมชมภารกิจของทัพเรือภาคที่ 3 ที่เกาะสิมิลัน และเกาะหูยง จ.พังงา โดยเฉพาะโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล ที่เกาะหูยง ที่ทางทัพเรือภาคที่ 3 ได้เข้าไปดำเนินการ มาตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา เกาะหูยง หรือเกาะหนึ่ง เป็นหนึ่งในหมู่เกาะอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นที่ตั้งของโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่กองทัพเรือได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน และมอบหมายให้ทัพเรือภาคที่ 3 จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เมื่อปี 2538 กำหนดจุดอนุบาลเต่าทะเลไว้ 2 จุด พื้นที่แรกเป็นการอนุรักษ์เพาะฟักไข่เต่า ที่เกาะหูยง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือพังงา นายชาลี ปัดกอง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะหูยง กล่าวว่า การขึ้นมาวางไข่ของเต่าทะเลที่เกาะหูยงมีแนวโน้มที่ดีมาก ซึ่งจากข้อมูลเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา มีแม่เต่าขึ้นมาวางไข่และเจ้าหน้าที่สามารถเก็บไข่เต่าได้ทั้งหมด 164 รัง ลูกเต่าเพาะฟัก 11,000 กว่าตัว ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วแม่เต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่ปีละประมาณ 80-90 รัง โดยแม่เต่า 1 ตัว จะขึ้นมาวางไข่ครั้งละ 100-150 ฟอง ปีละประมาณ 8 ครั้ง ทำให้แม่เต่าแต่ละตัวขึ้นมาวางไข่ประมาณ 1,000 ฟอง และในช่วง 3 เดือนของปี 2567 นี้ ตั้งแต่ ม.ค.-เม.ย. มีแม่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่แล้ว 16 รัง และช่วงมรสุมระหว่างเดือน พ.ค.-ต.ค. จะมีแม่เต่าขึ้นมาวางไข่มากที่สุด เกือบจะทุกคืน โดยเจ้าหน้าที่จะเดินลาดตระเวนตรวจพื้นที่ต่อวันดูตามตารางน้ำเป็นหลัก นายชาลี กล่าวต่อว่า แม่เต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ที่เกาะหูยง เป็นเต่าตนุทั้งหมด มีทั้งแม่เต่าทะเลตัวเดิมที่เคยขึ้นมาวางไข่แล้ว และแม่เต่าทะเลตัวใหม่ โดยแม่เต่าที่ขึ้นมาวางไข่ทางเจ้าหน้าที่จะฝังชิปไว้ เพื่อติดตามตัวและเพื่อบันทึกประวัติการขึ้นมาวางไข่ รวมไปถึงขนาดลำตัว กว้างยาว วันที่ขึ้นมาวางไข่ เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาวงจรชีวิตและการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ ณ ปัจจุบันนี้บนเกาะหูยงจะมีแม่เต่าสลับกันขึ้นมาวางไข่ประมาณ 300 ตัว และแม่เต่าขึ้นมาวางไข่เมื่ออายุประมาณ 15 ปีขึ้นไป โดยเมื่อแม่เต่าทะเลขึ้นมาว่างไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 2 เดือน อัตราการรอดต่อรังอยู่ประมาณ 70% เมื่อลูกเต่าฟักออกมาจะปล่อยสู่ธรรมชาติที่เกาะหูยง 50% และอีก 50% จะนำกลับฐานทัพเรือพังงาและแบ่งให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ภูเก็ต) ไปทำวิจัยต่อไป อย่างไรก็ตาม ศัตรูตัวร้ายของลูกเต่าทะเล บนเกาะหูยง คือ ปูลม หากปล่อยให้ไข่เต่าฟักเองตามธรรมชาติ เมื่อลูกเต่าฟักออกมาในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ปูลมจะออกหากิน เมื่อปูลมพบลูกเต่าขึ้นจากหลุมจะหนีบที่ช่วงคอและพายของลูกเต่า จึงจำเป็นต้องนำไข่เต่ามาอนุบาลในบ่อฟัก และต้องเฝ้าดูแลอนุบาลเป็นอย่างดีจนกว่าไข่จะฟักออกมาเป็นตัว https://mgronline.com/south/detail/9670000036492
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
พื้นที่สีเขียวกลายเป็น 'ทะเลทราย' เนื่องจากโลกร้อน ............. โดย จุลวรรณ เกิดแย้ม เมื่อนึกถึงทะเลทราย ภูมิภาคต่างๆ เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ หรือเอเชียกลางอาจนึกถึง แต่การแปรสภาพเป็นทะเลทรายที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทำให้ทั่วโลกกว้างขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลล่าสุดของสหประชาชาติ ซึ่งนําเสนอโดยภาคี 126 ภาคีในรายงานระดับชาติปี 2022 แสดงให้เห็นว่า 15.5% ของที่ดินเสื่อมโทรมแล้ว เพิ่มขึ้น 4% ในหลายปี แต่นี่อาจกลายเป็นปีสําคัญสําหรับการต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย โดยมีกําหนดเหตุการณ์สําคัญสองเหตุการณ์ในปี 2024 ในซาอุดิอาระเบียเพื่อระดมการสนับสนุน การจัดการกับปัญหาที่เพิ่มขึ้นนี้จะเป็นจุดสนใจหลักในการประชุมพิเศษเกี่ยวกับความร่วมมือระดับโลก การเติบโต และพลังงานเพื่อการพัฒนาของ World Economic Forum ในเดือนพฤษภาคม และการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทําให้เป็นทะเลทราย (UNCCD) COP16 ในเดือนธันวาคม UNCCD เป็นหนึ่งในสามอนุสัญญาริโอ พร้อมด้วยกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพการแปรสภาพเป็นทะเลทรายมีความหมายต่อโลกและผู้คนอย่างไร และจะบรรเทามันได้อย่างไร การแปรสภาพเป็นทะเลทรายคืออะไรและเกิดจากอะไร? การทําให้เป็นทะเลทรายเป็นความเสื่อมโทรมของที่ดินประเภทหนึ่งซึ่งพื้นที่ที่ดินที่ค่อนข้างแห้งแล้งอยู่แล้วจะแห้งแล้งมากขึ้น ทําให้ดินที่ให้ผลผลิตเสื่อมโทรม และสูญเสียแหล่งน้ํา ความหลากหลายทางชีวภาพ และพืชพรรณที่ปกคลุม มันถูกขับเคลื่อนโดยการรวมกันของปัจจัยต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทําลายป่า การเลี้ยงสัตว์มากเกินไป และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่ยั่งยืน ปัญหานี้ไปไกลกว่าทะเลทราย เช่น ทะเลทรายซาฮารา คาลาฮารี หรือโกบี UNCCD กล่าวว่าที่ดินที่มีประสิทธิผล 100 ล้านเฮกตาร์เสื่อมโทรมในแต่ละปี ภัยแล้งกําลังกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น และคาดว่าสามในสี่ของผู้คนจะเผชิญกับการขาดแคลนน้ําภายในปี 2050 ปัจจุบัน ผู้คนประมาณ 2 พันล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นทะเลทรายมากที่สุดภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือแอฟริกาและเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ใครได้รับผลกระทบจากการแปรสภาพเป็นทะเลทรายมากที่สุด? ในแอฟริกา ผู้คนประมาณ 40 ล้านคนอาศัยอยู่ในสภาพภัยแล้งที่รุนแรงแล้ว ตามรายงานของ World Economic Forum เชิงปริมาณผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพของมนุษย์ในปี 2024 และในเอเชีย จีน อุซเบกิสถาน และคีร์กีซสถานเป็นหนึ่งในประเทศที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่บางพื้นที่เหล่านี้จัดอยู่ในประเภทที่มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 การแปรสภาพเป็นทะเลทรายยังคงดําเนินต่อไป นําไปสู่สภาพอากาศที่ร้อนและเปียกชื้น ในภูเขา การขาดหิมะทําให้ธารน้ําแข็งค่อยๆ หายไป คุกคามความมั่นคงด้านน้ําที่ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้คนและการเกษตร แต่ความเสื่อมโทรมของที่ดินยังส่งผลกระทบต่อเขตอบอุ่นมากขึ้น ในสหรัฐอเมริกา เกือบ 40% ของรัฐที่ต่ำกว่า 48 รัฐกําลังเผชิญกับภัยแล้ง รายงานของฟอรัมกล่าว โดยอ้างสถิติจากระบบข้อมูลภัยแล้งแบบบูรณาการแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ยุโรปตอนใต้ได้เห็นภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในสเปน การแปรสภาพเป็นทะเลทรายและการใช้ประโยชน์มากเกินไปได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งที่เรียกว่า "สวนครัวของยุโรป" สหภาพยุโรปได้ตั้งค่าสถานะความเปราะบางของสมาชิกทางใต้ต่อการแปรสภาพเป็นทะเลทรายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่ชี้ไปที่สเปนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโปรตุเกส อิตาลี กรีซ ไซปรัส บัลแกเรีย และโรมาเนียด้วย ผลกระทบของการทําให้เป็นทะเลทรายคืออะไร? จากข้อมูลของ UNCCD ผู้คนประมาณ 500 ล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่รกร้าง สามารถประสบกับความยากจนที่ทวีความรุนแรงขึ้น การขาดความมั่นคงด้านอาหาร และสุขภาพที่ไม่ดีเนื่องจากการขาดสารอาหารและการขาดการเข้าถึงน้ําสะอาด และยังเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศที่รุนแรง เช่น ภัยแล้งและภัยธรรมชาติ ด้วยการดํารงชีวิตของพวกเขาที่ตกอยู่ในความเสี่ยงและความเสี่ยงที่มากขึ้นของความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพยากรที่ลดลง พวกเขาอาจเผชิญกับการอพยพที่ถูกบังคับ หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของการแปรสภาพเป็นทะเลทรายคือทะเลทราย Aralkum ในเอเชียกลาง ในช่วงทศวรรษที่ 1960 พื้นที่ดังกล่าวถูกปกคลุมด้วยทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก นั่นคือทะเลอารัล ตั้งแต่นั้นมา มันก็หดตัวลงเหลือหนึ่งในสิบของขนาดเดิม โดยมีทะเลสาบขนาดเล็กที่เค็มสูงเหลือเพียงสามทะเลสาบ ในสมัยโซเวียต น่านน้ําของมันถูกใช้เพื่อทดน้ําในพื้นที่กึ่งทะเลทรายเพื่อปลูกฝ้าย ส่งผลให้ระดับน้ําลดลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มแรงผลักดันเพิ่มเติมให้กับสิ่งนี้เมื่อเวลาผ่านไป เปลี่ยนก้นทะเลที่แห้งแล้งให้กลายเป็นทะเลทรายที่ปกคลุมไปด้วยเกลือ ทําให้เรือประมงติดค้าง สนิม และการดํารงชีวิตถูกทําลาย จะบรรเทาการแปรสภาพเป็นทะเลทรายได้อย่างไร? มีแนวทางที่หลากหลายในการจัดการกับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย โดยมีโครงการต่างๆ กําลังดําเนินการอยู่ทั่วโลก การปลูกป่าและการปลูกป่าสามารถช่วยฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมได้ ในอุซเบกิสถาน โครงการฟื้นฟูสีเขียวได้ปลูกต้นไม้และพุ่มไม้บนพื้นที่หนึ่งล้านเฮกตาร์ตามแนวทะเลทรายอาราล ซึ่งรวมถึงไม้พุ่ม saxual สีดํา ซึ่งทนแล้งสูงและสามารถตรึงเกลือและทรายได้ ป้องกันไม่ให้ถูกพัดพาและพัดพาเข้าไปในแผ่นดินโดยพายุทราย ในภูมิภาคซาเฮลและซาฮาราในแอฟริกา "กําแพงสีเขียวอันยิ่งใหญ่" ซึ่งเปิดตัวในปี 2550 โดยสหภาพแอฟริกา มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูชีวิตพืชบนพื้นที่เสื่อมโทรม 100 ล้านเฮกตาร์ เกี่ยวข้องกับ 22 ประเทศในแอฟริกา ความคิดริเริ่มนี้จะฟื้นฟูที่ดิน กักเก็บคาร์บอนมากกว่า 220 ล้านตัน และสร้างงาน 10 ล้านตําแหน่งภายในปี 2573 อีกส่วนสําคัญของการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดินคือการแนะนําแนวทางการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ตั้งแต่วนเกษตรไปจนถึงการแทะเล็มอย่างยั่งยืน และยังสามารถปรับปรุงผลผลิตพืชผลและการดํารงชีวิตได้อีกด้วย แนวปฏิบัติด้านการจัดการน้ํา เช่น การเก็บเกี่ยวน้ําฝน การชลประทานแบบน้ําหยด และการปลูกพืชที่ทนแล้ง สามารถจัดการกับผลกระทบของการขาดแคลนน้ําได้ขั้นตอนการแก้ไขอื่นๆ ได้แก่ re-vegetation และการฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ําหรือก้นแม่น้ําทั้งหมด https://www.bangkokbiznews.com/environment/1123813
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
โลกร้อนแปรสภาพพื้นที่เสื่อมโทรม แล้ง เป็นทะเลทราย แนวทางแก้คือปลูกต้นไม้ SHORT CUT - ผู้คน 2 พันล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง มีแนวโน้มกลายเป็นทะเลทราย ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ แอฟริกา เอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง - ทะเลทรายเกิดขึ้นมาจากความเสื่อมโทรมของที่ดินประเภทหนึ่ง ความเสื่อมโทรมมาจากหลายปัจจัย เช่น โลกร้อน การตัดไม้ทําลายป่า การเกษตรที่ไม่ยั่งยืน - การปลูกป่าสามารถช่วยฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมได้ ข้อมูจากสหประชาชาติ เผยให้เห็นว่า 15.5% ของที่ดินเสื่อมโทรมแล้ว เพิ่มขึ้น 4% ในหลายปี และพื้นที่ที่เสื่อมโทรมก็อาจแปรสภาพเป็นทะเลทราย ปัจจุบันผู้คนประมาณ 2 พันล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นทะเลทราย ซึ่งภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ แอฟริกา เอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง ที่ดินพื้นที่เสื่อมโทรมจะกลายเป็นทะเลทรายได้อย่างไร? ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ การขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ความแห้งแล้ว ขาดแแหล่งน้ำ พืชปกคลุมที่ดิน อาจทำให้พื้นที่นั้นแแปรสภาพกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด ซึ่งพูดง่ายๆ คือ ทะเลทรายเกิดขึ้นมาจากความเสื่อมโทรมของที่ดินประเภทหนึ่ง ซึ่งความเสื่อมโทรมของพื้นที่นั้นอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น โลกร้อน การตัดไม้ทําลายป่า การเกษตรที่ไม่ยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รายงานของ World Economic Forum รายงานผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพของมนุษย์ในปี 2024 ว่า หลายประเทศในเอเชีย อย่าง จีน อุซเบกิสถาน และคีร์กีซสถาน เป็นหนึ่งในประเทศที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และบางพื้นที่มีภูมิอากาศแบบทะเลทราย การแปรสภาพเป็นทะเลทรายไปสู่สภาพอากาศที่ร้อนและเปียกชื้น ภูเขาขาดหิมะทําให้ธารน้ำแข็งค่อยๆ หายไป คุกคามทำให้ความมั่นคงด้านน้ำสั่นคลอน ส่งผลกับคนในพื้นที่และการเกษตร ด้านสหรัฐอเมริกา พื้นที่เกือบ 40% กําลังเผชิญกับภัยแล้งและกำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของที่ดิน ส่วนยุโรปตอนใต้ก็กำลังประสบภัยแล้งที่รุนแรง อย่าง สเปน โปรตุเกส อิตาลี กรีซ ไซปรัส บัลแกเรีย และโรมาเนีย กำลังได้รับผลกระทบต่อการแปรสภาพเป็นทะเลทรายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะบรรเทาปัญหานี้ได้อย่างไร? แน่นอนว่าการแก้ไขการแปรสภาพที่ดินเสื่อมโทรมไปสู่การเป็นทะเลทราย หลายประเทศกำลังนำเนินการแก้ไนอยู่ สิ่งที่หลายประเทศทำคือ การปลูกป่าเนื่องจากสามารถช่วยฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมได้ อย่างเช่น อุซเบกิสถานมีโครงการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้และพุ่มไม้บนพื้นที่หนึ่งล้านเฮกตาร์ตามแนวทะเลทรายอาราล ซึ่งไม้ที่ปลูกมีคุณสมบัติทนแล้งสูงและสามารถตรึงเกลือและทรายได้ ป้องกันไม่ให้ถูกพัดพาและพัดพาเข้าไปในแผ่นดินโดยพายุทราย ส่วนสําคัญในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน เป็นการแนะนําแนวทางการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น การทำเกษตรแบบวน ซึ่งช่วยให้สามารถปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตรได้ด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดการน้ำ การเก็บน้ำฝน ชลประทาน การปลูกพืชน้ำน้อย ทนแล้ง https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/849862
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|