เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 01-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และลมใต้พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับชาวเรือควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 29-30 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 1 ? 2 พ.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 6 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 1 ? 2 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ไว้ด้วย

ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 6 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สำหรับชาวเรือควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 1 (79/2567) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567)

ในช่วงวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2567 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับในช่วงวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2567 มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 01-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


จีนเผยโฉม "หุ่นยนต์เลียนแบบปลากระเบน" ว่ายน้ำพลิ้วไหวราวมีชีวิต

มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ไห่หยางเผยโฉม หุ่นยนต์กระเบนราหูเลียนแบบชีวภาพ ซึ่งเป็นฝีมือการพัฒนาโดยทีมนวัตกรรมปลาเลียนแบบชีวภาพปัญญาประดิษฐ์ของสถาบัน


ข้อมูล-ภาพ : XINHUA

สำนักข่าวซินหัวรายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ว่าเจ้ากระเบนราหูเลียนแบบชีวภาพตัวนี้มีความทนทาน คล่องตัวสูง รองรับน้ำหนักบรรทุกมาก และตอบโจทย์การดำเนินงานขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะทางสัณฐานวิทยา โครงสร้าง และพฤติกรรมการว่ายน้ำราวกับปลากระเบนมีชีวิต

กระเบนราหูอัจฉริยะตัวนี้ว่ายด้วยความเร็วปกติ 0.5 เมตรต่อวินาที แหวกว่ายได้นานสูงสุด 6 ชั่วโมง และว่ายระยะทางไกลสุด 30-35 กิโลเมตร โดยสามารถนำทางตัวมันเองได้ผ่านระบบอัตโนมัติ

รายงานระบุว่า กระเบนราหูเลียนแบบชีวภาพดังกล่าวยังสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ความแม่นยำสูงหลายตัว สำหรับการตรวจสอบฝูงปลาใต้น้ำแบบเรียลไทม์ รวมถึงการจดจำและการโต้ตอบแบบอัจฉริยะ.


https://www.dailynews.co.th/news/3389932/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 01-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


อ.ธรณ์ เผยบทอวสาน หายนะโลกร้อน ทะเลเดือด น้ำในแหล่งหญ้า ร้อนจี๋เท่าออนเซ็นในญี่ปุ่น

อ.ธรณ์ เผยบทอวสาน หายนะโลกร้อน ทะเลเดือด น้ำในแหล่งหญ้า ร้อนเท่าออนเซ็นในญี่ปุ่น ไม่ต้องรออีก 30-40 ปี มันเกิดขึ้นแล้ว



ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ขณะนำเครื่องวัดอุณหภูมิเพื่อวัดน้ำในแหล่งหญ้าในทะเล พบว่าอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส

พร้อมระบุข้อความว่า น้ำในแหล่งหญ้าทะเลไทยร้อนเท่าออนเซนในญี่ปุ่น เมื่อโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวดังกล่าวจำนวนมาก หลายคนห่วงเรื่องภาวะโลกร้อน

ต่อมา ผศ.ดร.ธรณ์ โพสต์ระบุเพิ่มเติมว่า เมื่อ 3 วันก่อน ผมเขียนมินิซีรี่ย์ ?จุดจบ? โดยทิ้งท้ายว่า จะมาเขียนบทอวสานเมื่อมาสำรวจพื้นที่ และบทอวสานก็มาถึงจริง แม้จะภาวนาไว้ แต่หญ้าทะเล 810 ไร่ที่เกาะกระดาด (ตราด) หายไปทั้งหมดเลย

ทั้งหมดหมายความว่าหมดจริง ลองดูภาพเปรียบเทียบ ปี 2563 เห็นดงหญ้าสีดำกว้างใหญ่ กรมทะเลรายงานว่ามีหญ้า 6 ชนิด ความหนาแน่น 90% ของพื้นที่ วันนี้คณะประมงมาสำรวจอีกครั้ง หญ้าไม่เหลือเลย

สีดำๆ ที่เห็นในภาพปี 67 คือเศษปะการังตายและสาหร่าย หญ้าทะเลเหลือเพียงไม่กี่ต้น กุดสั้น มองไม่เห็นจากโดรนที่นี่ไม่มีพะยูน ไม่มีเต่ามากินหญ้า ไม่มีการขุดลอกร่องน้ำ ไม่มีการพัฒนาใดในระหว่างปี 63-67 จึงสรุปได้ว่าโลกร้อนทำให้ทะเลแปรปรวนถึงขีดสุด ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีหลายอย่างฆ่าหญ้าทะเล

สาเหตุหลักน่าจะมาจากน้ำลงต่ำผิดปรกติในช่วงปี 64-65 ทุกอย่างแห้งผาก ผิดจากวันนี้ที่แม้ในตารางน้ำบอกว่าลงเท่ากัน แต่ในความเป็นจริง น้ำปีนี้ไม่ลดต่ำเท่า 2-3 ปีก่อน แต่น้ำร้อนจี๋ในบริเวณที่เคยมีหญ้า อุณหภูมิน้ำ 40 องศา ในทรายลึก 10 เซนติเมตร บริเวณที่รากหญ้าฝังอยู่ อุณหภูมิ 36 องศา

ยังอาจเกี่ยวกับลมแรงมากในทิศทางผิดปรกติบางช่วง รวมถึงแนวปะการังที่เคยเป็นกำแพงกั้นคลื่น ทรุดโทรมจากปัญหาปะการังฟอกขาาวซ้ำซ้อน ทำให้ไม่สามารถลดแรงคลื่นได้เหมือนเดิม

จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แหล่งหญ้าทะเล 810+ ไร่ ใหญ่สุดในแนวปะการังภาคตะวันออก เป็นที่อยู่ของปลาเกือบ 30 ชนิด ปูม้าเต็มไปหมด ตอนนี้แทบไม่เหลืออะไรสักตัว ปลาเอย ปูเอย หายหมด เหลือแต่ทรายโล้นๆ

ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศดีสุดในโลก ก็ไม่มีเหลือเช่นกัน สภาพกลับกลายเป็นพื้นทรายธรรมดา มันน่าเศร้าเมื่อคิดว่าหญ้าทะเลที่ช่วยเรากักเก็บคาร์บอนมาตลอด สุดท้ายก็สู้โลกร้อนไม่ไหว พ่ายแพ้ตายจนหมดสิ้น แล้วใครจะช่วยเราลดคาร์บอน โลกก็ยิ่งร้อนหนักขึ้นอีก

ผมไม่ทราบว่าอีกนานแค่ไหน หญ้าทะเลจะกลับมา แต่เราคงพยายามภารกิจนี้จึงไม่จบแค่สำรวจ ยังรวมถึงการทดลองหาพื้นที่พอฟื้นฟูได้ ทดลองปลูกเพื่อพัฒนาวิธีในอนาคต ฯลฯ เดี๋ยวจะมาเล่ารายละเอียดให้เพื่อนธรณ์ฟัง แต่ตอนนี้ขอไปตั้งสติก่อน เพื่อนธรณ์อยากรู้รายละเอียดมากขึ้น ย้อนไปอ่าน 3 วันก่อน ผมเขียนเรื่องจุดจบและจุดจบก็มาถึงจริงครับ

นี่แหละครับคือหายนะโลกร้อนทะเลเดือดที่มาถึงเมืองไทยแล้ว ไม่ต้องรออีก 30-40 ปี มันเกิดขึ้นแล้วที่ตราด ที่ตรัง ที่กระบี่ และอีกบางที่ในทะเลไทยหญ้าทะเลของเราแย่มากแล้วครับ

หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้เราตระหนักถึงความพินาศจากโลกร้อน ผลกระทบกับทะเล ภูมิอากาศ เศรษฐกิจปากท้อง และผู้คน อาจมีสักวันที่เราจะเอาจริงเรื่องโลกร้อนให้มากขึ้น เพื่อความหวังน้อยๆ ของเราและลูกเราครับ


https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8210459

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 01-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


เศร้า! 'ดร.ธรณ์' เปิดภาพหญ้าทะเล 810 ไร่ ที่เกาะกระดาด หายไปทั้งหมด



1พ.ค.2567- ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กพร้อมภาพหญ้าทะเล ว่า

เมื่อ 3 วันก่อน ผมเขียนมินิซีรี่ย์ "จุดจบ" โดยทิ้งท้ายว่า จะมาเขียนบทอวสานเมื่อมาสำรวจพื้นที่

และบทอวสานก็มาถึงจริง แม้จะภาวนาไว้ แต่หญ้าทะเล 810 ไร่ที่เกาะกระดาด (ตราด) หายไปทั้งหมดเลย

ทั้งหมดหมายความว่าหมดจริง ลองดูภาพเปรียบเทียบ ปี 2563 เห็นดงหญ้าสีดำกว้างใหญ่ กรมทะเลรายงานว่ามีหญ้า 6 ชนิด ความหนาแน่น 90% ของพื้นที่
วันนี้ คณะประมงมาสำรวจอีกครั้ง หญ้าไม่เหลือเลย

สีดำๆ ที่เห็นในภาพปี 67 คือเศษปะการังตายและสาหร่าย หญ้าทะเลเหลือเพียงไม่กี่ต้น กุดสั้น มองไม่เห็นจากโดรน

ที่นี่ไม่มีพะยูน ไม่มีเต่ามากินหญ้า ไม่มีการขุดลอกร่องน้ำ ไม่มีการพัฒนาใดในระหว่างปี 63-67

จึงสรุปได้ว่าโลกร้อนทำให้ทะเลแปรปรวนถึงขีดสุด ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีหลายอย่างฆ่าหญ้าทะเล

สาเหตุหลักน่าจะมาจากน้ำลงต่ำผิดปรกติในช่วงปี 64-65 ทุกอย่างแห้งผาก ผิดจากวันนี้ที่แม้ในตารางน้ำบอกว่าลงเท่ากัน แต่ในความเป็นจริง น้ำปีนี้ไม่ลดต่ำเท่า 2-3 ปีก่อน

แต่น้ำร้อนจี๋ ในบริเวณที่เคยมีหญ้า อุณหภูมิน้ำ 40 องศา ในทรายลึก 10 เซนติเมตร บริเวณที่รากหญ้าฝังอยู่ อุณหภูมิ 36 องศา

ยังอาจเกี่ยวกับลมแรงมากในทิศทางผิดปรกติบางช่วง รวมถึงแนวปะการังที่เคยเป็นกำแพงกั้นคลื่น ทรุดโทรมจากปัญหาปะการังฟอกขาาวซ้ำซ้อน ทำให้ไม่สามารถลดแรงคลื่นได้เหมือนเดิม

จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แหล่งหญ้าทะเล 810+ ไร่ ใหญ่สุดในแนวปะการังภาคตะวันออก เป็นที่อยู่ของปลาเกือบ 30 ชนิด ปูม้าเต็มไปหมด ตอนนี้แทบไม่เหลืออะไรสักตัว

ปลาเอย ปูเอย หายหมด เหลือแต่ทรายโล้นๆ

ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศดีสุดในโลก ก็ไม่มีเหลือเช่นกัน สภาพกลับกลายเป็นพื้นทรายธรรมดา

มันน่าเศร้าเมื่อคิดว่าหญ้าทะเลที่ช่วยเรากักเก็บคาร์บอนมาตลอด สุดท้ายก็สู้โลกร้อนไม่ไหว พ่ายแพ้ตายจนหมดสิ้น

แล้วใครจะช่วยเราลดคาร์บอน โลกก็ยิ่งร้อนหนักขึ้นอีก
ผมไม่ทราบว่าอีกนานแค่ไหน หญ้าทะเลจะกลับมา แต่เราคงพยายาม

ภารกิจนี้จึงไม่จบแค่สำรวจ ยังรวมถึงการทดลองหาพื้นที่พอฟื้นฟูได้ ทดลองปลูกเพื่อพัฒนาวิธีในอนาคต ฯลฯ เดี๋ยวจะมาเล่ารายละเอียดให้เพื่อนธรณ์ฟัง

แต่ตอนนี้ขอไปตั้งสติก่อน เพื่อนธรณ์อยากรู้รายละเอียดมากขึ้น ย้อนไปอ่าน 3 วันก่อน ผมเขียนเรื่องจุดจบ

และจุดจบก็มาถึงจริงครับ

นี่แหละครับคือหายนะโลกร้อนทะเลเดือดที่มาถึงเมืองไทยแล้ว ไม่ต้องรออีก 30-40 ปี

มันเกิดขึ้นแล้วที่ตราด ที่ตรัง ที่กระบี่ และอีกบางที่ในทะเลไทย
หญ้าทะเลของเราแย่มากแล้วครับ

หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้เราตระหนักถึงความพินาศจากโลกร้อน ผลกระทบกับทะเล ภูมิอากาศ เศรษฐกิจปากท้อง และผู้คน

อาจมีสักวันที่เราจะเอาจริงเรื่องโลกร้อนให้มากขึ้น เพื่อความหวังน้อยๆ ของเราและลูกเราครับ

ขอบคุณ ?บางจาก? และ ?เครือข่ายอนุรักษ์เกาะหมาก? และเพื่อนธรณ์ ผู้ช่วยสนับสนุนมาตลอดครับ
พี่สุวรรณ สำหรับภาพโดรนปี 63 ครับ Suwan Pita


https://www.thaipost.net/general-news/579040/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 01-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


'ทำไมฤดูร้อนของไทย อากาศร้อนจนแทบอยู่ไม่ได้ ?'


ภาพถ่ายจากเครื่องมือบนดาวเทียม Terra ของ NASA แสดงค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิพื้นผิวในไทยและอินเดียในเดือนเมษายน 2559 (ที่มา :NASA Earth Observatory)

"ปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส การศึกษาในปี 2563 [6] คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยจะเท่ากับของทะเลทรายซาฮาราภายในปี 2613 โดยสูงมากกว่า 29 องศาเซลเซียส คลื่นความร้อนที่เบาที่สุดในช่วงปี 2613 จะเทียบได้กับคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุด ณ ปัจจุบัน และทำให้ประเทศไทยร้อนเกินกว่าที่จะอาศัยอยู่ได้ตลอดทั้งปี"

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย ได้ออกบทความ "ทำไมฤดูร้อนของไทยอากาศร้อนจนแทบอยู่ไม่ได้ ?"มีเนื้อหาดังนี้

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศจึงร้อนเป็นธรรมดา นี่เป็นคำตอบแบบกำปั้นทุบดินไปหน่อย และหากจะตอบว่าเป็นเพราะโลกร้อนขึ้นอาจจะเหมารวม (oversimplify) ไปนิด เรื่องนี้เราต้องพิจารณาในทางเวลาหลายระดับ

ในช่วงฤดูร้อนของไทย อุณหภูมิสูงสุดในแต่ละวันอาจทะลุไปมากกว่า 40 องศา ดังที่เราเคยประสบ ประเทศไทยเจออากาศร้อนสูงขึ้น 12 องศาเซลเซียส มากกว่าค่าเฉลี่ยในพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีการทำลายสถิติอุณหภูมิรายวันมากกว่า 50 ครั้ง จากข้อมูลที่ประมวลจากภาพถ่ายจากเครื่องมือบนดาวเทียม Terra ของ NASA แสดงค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิพื้นผิวในไทยและอินเดียในเดือนเมษายน 2559 ข้อมูลที่บันทึกโดยกรมอุตนิยมวิทยาระหว่างปี 2494-2565 จังหวัดแม่ฮ่องสอนทุบสถิติอากาศร้อนสูงสุด 44.6 องศาเซลเซียสในวันที่ 28 เมษายน 2559 [1]

แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกร้อนมากน้อย ไม่ใช่เป็นตัวเลขอุณหภูมิล้วนๆ แต่คือสิ่งที่เรียกว่า ?ดัชนีความร้อน(Heat Index)? คิดจากอุณหภูมิอากาศ(Air Temperature) และเปอร์เซ็นต์ของความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity%) กล่าวง่ายๆ คือเป็นอุณหภูมิที่เรารู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิอากาศจริง

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเจออุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียสในวันนั้นที่แม่ฮ่องสอน และมีความชื้นสัมพัทธ์ 15% เราจะรู้สึกร้อนประมาณนั้นซึ่งจริงๆ แล้วก็เกินระดับเฝ้าระวัง ทำให้เราอ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวได้

แต่เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ขึ้นเป็น 35% ในอุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียส ดัชนีความร้อน(ซึ่งไม่มีหน่วย) จะกลายเป็น 54 ที่ทำให้เราเป็นภาวะลมแดด(heat stroke) ในทันที


อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือน

ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี เราสามารถสัมผัสกับอากาศร้อนที่อาจสูงถึง 40?C ในปี 2559 ประเทศไทยต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 65 ปี

เรารับรู้ถึงอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและจากสภาพอากาศสุดขั้ว ข้อมูลที่วิเคราะห์โดย Berkeley Earth [3] ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนของประเทศไทยในทศวรรษล่าสุด (ปี ค.ศ.2020 ? เส้นสีแดง) เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนระหว่างทศวรรษ 1951-1980 (เส้นสีดำและแถบสีเทา)เกือบตลอดทั้งปี เดือนที่ร้อนที่สุดคือเมษายนโดยมีค่าเฉลี่ย 30.6 องศาเซลเซียส(พ.ศ.2562) เดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดคือธันวาคมโดยมีค่าเฉลี่ย 23.8 องศาเซลเซียส(พ.ศ.2562 และ 2563)


อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยระยะยาวของไทย

ข้อมูลที่วิเคราะห์โดย Berkeley Earth [4] ที่เก็บรวบรวมตั้งแต่ พ.ศ.2383 (ช่วงรัชกาลที่ 3 ปีที่ 59 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นต้นมา อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส มากกว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่ 1.3 องศาเซลเซียส

ทำไมเราต้องแคร์การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 1 หรือ 2 องศาเซลเซียส เพราะการผกผันของอุณหภูมิในแต่ละวันของพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ก็มากกว่านั้นอยู่แล้ว

คำตอบคือ การบันทึกอุณหภูมิพื้นผิวโลกนั้นแทนค่าเฉลี่ยของพื้นผิวทั้งหมด อุณหภูมิที่เราเจอในพื้นที่และในช่วงเวลาสั้นๆ นั้นผันผวนขึ้นลงอย่างมากเนื่องจากเหตุการณ์ที่เป็นวัฐจักรซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ (กลางคืนและกลางวัน ฤดูร้อนและฤดูหนาว) แบบแผนของกระแสลมและการตกของฝน/หิมะ/ลูกเห็บ/น้ำค้างที่คาดการณ์ยาก แต่อุณหภูมิผิวโลกขึ้นอยู่ปริมาณพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์และพลังงานที่แผ่กลับออกไปนอกโลก ซึ่งขึ้นอยู่องค์ประกอบของสารเคมีในชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซเรือนกระจกที่มีคุณสมบัติกักเก็บความร้อน

อุณหภูมิผิวโลกเพิ่มขึ้น 1 องศาองศาเซลเซียส จึงมีนัยสำคัญยิ่งเนื่องจากต้องใช้ความร้อนมหาศาลในการทำให้มหาสมุทร ชั้นบรรยากาศและผืนแผ่นดินร้อนขึ้น(ที่ 1 องศาเซลเซียส) ในทางตรงกันข้าม การลดลงของอุณหภูมิผิวโลกเพียง 1 หรือ 2 องศา ในอดีตสามารถทำให้โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง (Little Ice Age) การลดลงของอุณหภูมิผิวโลก 5 องศา เพียงพอที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนืออยู่ใต้มวลน้ำแข็งหนาเมื่อ 20,000 ปีก่อน

ดังนั้น "โลกร้อน" จึงมิได้หมายถึงอุณหภูมิทุกจุดบนพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้น 1 องศา อุณหภูมิในปีหนึ่งๆ หรือในทศวรรษหนึ่งๆ อาจเพิ่มขึ้น 5 องศาในที่หนึ่ง และลดลง 2 องศาในอีกที่หนึ่ง ฤดูหนาวที่เย็นผิดปกติในภูมิภาคหนึ่งอาจตามมาด้วยฤดูร้อนรุนแรงในเวลาต่อมา หรือฤดูหนาวที่เย็นยะเยือกในที่หนึ่งอาจถ่วงดุลด้วยฤดูหนาวที่อุ่นขึ้นอย่างผิดปกติในอีกฟากฝั่งหนึ่งของโลก โดยรวม ผืนแผ่นดินจะร้อนขึ้นมากกว่าพื้นผิวมหาสมุทร เนื่องจากมวลน้ำจะค่อยๆ ดูดซับความร้อนและค่อยๆ คายความร้อนออก (มหาสมุทรโลกมีความเฉี่อยทางความร้อนมากกว่าผืนแผ่นดิน) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกจึงแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภาคพื้นทวีปและแอ่งมหาสมุทร

กลับมาที่ประเทศไทย เมื่อใช้แถบสี(Climate Stripe) [5] ด้านล่าง เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวระยะยาวในประเทศไทยซึ่งชี้ชัดถึงหน้าตาของภาวะโลกร้อนที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี

Berkeley Earth ยังได้ใช้แบบจำลองคาดการณ์อนาคตซึ่งหากไม่มีการลงมือทำอย่างจริงจังของประชาคมโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนถึง พ.ศ.2643 อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้น 2.5-5.5 องศาเซลเซียส โดยมีค่ากลางที่ 3.8 องศาเซลเซียส

เป็นเวลาหลายพันปีที่เผ่าพันธุ์มนุษย์วิวัฒนาการในพื้นที่ที่มีอุณภูมิเฉลี่ยทั้งปี (Mean Annual Temperature) ระหว่าง 11-15 องศาเซลเซียส โดยเป็นลักษณะของสภาพอากาศของโลกในช่วงแคบๆ แท้ที่จริงแล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ที่มีอุณภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่านี้มาก และต้องรับมือกับอุณหภูมิสูงสุดในฤดูร้อนที่ท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์

จากการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นความร้อนของไทยในปี 2561 แม้แต่คลื่นความร้อนที่มีกำลังน้อยถึงปานกลางก็สามารถสร้างความเสียหายได้ นอกจากความเครียดจากความร้อนโดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางที่เข้าไม่ถึงเครื่องปรับอากาศ ยังเพิ่มอุบัติการณ์ของโรคหัวใจ โรคปอดบวม และโรคติดเชื้ออื่นๆ

ปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส การศึกษาในปี 2563 [6] คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยจะเท่ากับของทะเลทรายซาฮาราภายในปี 2613 โดยสูงมากกว่า 29 องศาเซลเซียส คลื่นความร้อนที่เบาที่สุดในช่วงปี 2613 จะเทียบได้กับคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุด ณ ปัจจุบัน และทำให้ประเทศไทยร้อนเกินกว่าที่จะอาศัยอยู่ได้ตลอดทั้งปี

กลุ่มประชากรในไทยที่ต้องเผชิญอากาศร้อนจัดมักเป็นกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท หรือมีสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงระบบการลดความร้อน / ที่มา : https://earth.org/data_visualization...ot-to-live-in/
พื้นที่ตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่ในประเทศไทยทั้งหมดจะต้องเผชิญกับช่วงความร้อนสูงที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า อะไรคือมาตรการรับมือในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศต้องขยายตัวมากขึ้น เครือข่ายระบบเครื่องปรับอากาศที่ใหญ่พอที่จะปกป้องประชากรส่วนใหญ่จะเป็นคำตอบหรือไม่

รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายไม่มีทางเลือกนอกจากพิจารณาถึงแผนการรับมือและปรับตัวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ทั้งคลื่นความร้อน ภัยแล้งยาวนาน อุทกภัย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เป็นต้น

สิ่งสำคัญคือลงมือกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศบนรากฐานของความเป็นธรรมทางสังคม


หมายเหตุ :

[1] https://www.tmd.go.th/climate/tempmaxstatlatest
[2] http://www.arcims.tmd.go.th/Research...D%E0%B8%99.pdf
[3] http://berkeleyearth.lbl.gov/regions/Thailand
[4] Berkeley Earth จัดตั้งโดย Richard และ Elizabeth Muller ในช่วงต้นปี 2553 เมื่อพวกเขาพบข้อดีในข้อกังวลบางประการของผู้สงสัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พวกเขาจัดตั้งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เพื่อทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลอุณหภูมิผิวโลก และเผยแพร่ข้อค้นพบครั้งแรกในปี 2555 ปัจจุบัน Berkeley Earth เป็นองค์กรอิสระไม่แสวงหากำไร
[5] Climate Stripe คิดโดย Professor Ed Hawkins (University of Reading) เพื่อให้บทสนทนาเรื่องโลกร้อนไปสู่วงกว้างมากขึ้นและสื่อสารออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ละแถบแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละปี (ถ้าเป็นสีฟ้าคือเย็นกว่าค่าเฉลี่ย ถ้าเป็นสีแดงคือร้อนกว่าค่าเฉลี่ย
[6] https://www.pnas.org/content/117/21/11350



https://www.thaipost.net/news-update/578820/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 01-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


เตรียมการรับมือ วิกฤตโลกเดือด

30 เม.ย.67 - กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เตรียมการรับมือ รู้เท่าทัน "วิกฤตโลกเดือด"



ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเป็นห่วงประชาชนจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะปีนี้ที่ร้อนและแล้งหนัก และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งเตรียมการรับมือให้เท่าทันต่อวิกฤตโลกเดือด

ดร.พิรุณ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยของไทย ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 องศาเซลเซียส สอดคล้องกับอุณหภูมิเฉลี่ยโลก และจากที่ประชุม COP28 แสดงให้เห็นว่า ความพยายามในการลดก๊าซเรือนกระจกของทุกประเทศที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 2.4 ? 2.7 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ. 2643 (ค.ศ. 2100) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมกับศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิระดับภูมิภาคและพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยรามคำแหง (RU-CORE) ที่มีการคาดการณ์อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นไปถึง 2 - 3 องศาเซลเซียสในปลายศตวรรษนี้ หากการลดก๊าซเรือนกระจกของโลกยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

"ในมุมของการลดก๊าซเรือนกระจก ประเทศไทยตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและเร่งขับเคลื่อนอย่างจริงจังในทุกภาคส่วน ทั้งพลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรมและกระบวนการผลิต เกษตรและของเสีย ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 30-40 ภายในปี พ.ศ. 2573 หรือเป้าหมายระยะยาวที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608"

การเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงระบบอากาศ ที่มีปัจจัยความเสี่ยงทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ซึ่งมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น ทั้งการรับมือแบบรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เช่น การแจ้งเตือนภัยความร้อนล่วงหน้า การเตรียมความพร้อมอพยพประชาชน และการเตรียมความพร้อมรับมือในระยะยาว ทั้งการบริหารความเสี่ยงของภัยที่อาจเกิดขึ้น ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรับมือกับผลกระทบจากสภาพอากาศที่รุนแรง รวมถึงการประยุกต์ใช้แนวทางระบบนิเวศและธรรมชาติเป็นฐาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเมือง

ขณะนี้ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างบูรณาการดำเนินการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้าสู่ 6 สาขา ได้แก่

1.สาขาการจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นมิติการเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ ลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยพิบัติจากน้ำ

2.สาขาเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร

3.สาขาการท่องเที่ยว ในมิติการจัดการความเสี่ยงและการเพิ่มขีดความสามารถของภาคการท่องเที่ยว

4.สาขาสาธารณสุข ในมิติระบบสาธารณสุขที่สามารถจัดการความเสี่ยงและลดผลกระทบต่อสุขภาพ

5.สาขาการจัดการทรัพยากร ในมิติการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

6.สาขาการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ ในมิติของประชาชน ชุมชนและเมือง ที่มีความพร้อมและขีดความสามารถในการปรับตัวต่อความเสี่ยงและผลกระทบอย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่จะต้องบูรณาการทำงานร่วมกันในทุกมิติ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้และให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการรับมือจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


https://www.mcot.net/view/u8wGuAkH

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 01-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ตะลึง! สัมผัส "ไมโครพลาสติก" ทำสารเคมีที่เป็นพิษเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้


SHORT CUT

- สารเคมีอันตรายในวัสดุกันไฟ และสารพลาสติก สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้จากการสัมผัสไมโครพลาสติก อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์

- การทดลองพบว่าสารเคมีจากไมโครพลาสติกถูกดูดซึมโดยผิวหนังได้ถึง 8% โดยผันแปรตามความชุ่มชื้นของผิว

- หากสัมผัสต่อเนื่องจะสะสมและอันตราย แม้หลายประเทศจะมีมาตรการควบคุม แต่สารเคมีก็ยังตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม




งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม พบการดูดซับสารเคมีที่เป็นพิษเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางผิวหนัง จากการ "สัมผัสไมโครพลาสติก" หวั่นส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากสะสมในระยะยาว

งานวิจัยชิ้นนี้จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ถือเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า สารเคมีอันตรายอย่างสารหน่วงการติดไฟและสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตพลาสติก สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ผ่านการสัมผัสกับไมโครพลาสติก ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีที่ยังคงมีอยู่ในสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ผลการศึกษาพบว่าเมื่อสารเคมีเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในไมโครพลาสติก จะสามารถซึมเข้าสู่เหงื่อของมนุษย์ ทะลุผ่านผิวหนัง และเข้าสู่กระแสเลือดได้ในที่สุด ซึ่งเป็นเส้นทางการได้รับสารพิษที่ไม่เคยมีการค้นพบมาก่อน การค้นพบนี้จึงก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น หากมีการสะสมของสารอันตรายเหล่านี้ในร่างกายเป็นเวลานาน


ทำความรู้จัก ไมโครพลาสติก คืออะไร

ไมโครพลาสติก (Microplastics) คือ ชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ไมโครพลาสติกเกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่งหลักๆ คือ

1. ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (Primary Microplastics) เป็นไมโครพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาให้มีขนาดเล็กตั้งแต่แรก เช่น เม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือไมโครบีดส์ที่ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ขัดผิว

2. ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ (Secondary Microplastics) เกิดจากการแตกหักหรือสึกหรอของผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ และเศษชิ้นส่วนจากยางรถยนต์

ไมโครพลาสติกเหล่านี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่าย ทั้งในแหล่งน้ำ ดิน อากาศ และห่วงโซ่อาหาร จนกลายเป็นปัญหามลพิษที่น่ากังวล เพราะจากงานวิจัยพบว่าสิ่งมีชีวิตหลายชนิดกินไมโครพลาสติกเข้าไป ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อระบบนิเวศแล้ว ยังอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าไมโครพลาสติกอาจดูดซับสารพิษต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม แล้วนำพาสารอันตรายเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จึงเป็นประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจศึกษากันมากในปัจจุบัน


"ไมโครพลาสติก" อันตรายร้ายที่แทรกซึม

ดร. Ovoidroye Abafe จากมหาวิทยาลัยบรูเนล ผู้ร่วมงานวิจัยนี้ขณะที่อยู่ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ได้ชี้ให้เห็นว่าไมโครพลาสติกที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นตัวนำพาหรือ "พาหะ" ของสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ โดยสารเคมีเหล่านี้จะซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด และสะสมอยู่ในร่างกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนอาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากได้รับสัมผัสอย่างต่อเนื่อง

แม้หลายประเทศจะมีมาตรการควบคุมหรือห้ามใช้สารเคมีบางชนิดที่พบว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดความเสียหายต่อตับและระบบประสาท เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง และส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ แต่สารพิษหลายชนิดที่ใช้เป็นสารหน่วงการติดไฟและสารพลาสติก ก็ยังคงมีอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์เก่าๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ พรม และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งอาจทำให้มนุษย์สัมผัสสารเคมีเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะผ่านไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม


วิธีวิจัย การดูดซึมของไมโครพลาสติก

ในการศึกษาวิจัยนี้ ทีมนักวิจัยได้ใช้แบบจำลองผิวหนังมนุษย์ 3 มิตินวัตกรรมใหม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นทางเลือก แทนที่จะใช้สัตว์ทดลองหรือเนื้อเยื่อมนุษย์แบบดั้งเดิม โดยนำแบบจำลองไปสัมผัสกับไมโครพลาสติกที่มีสารโพลีโบรมิเนเต็ด ไดฟีนิล อีเทอร์ (PBDE) ซึ่งเป็นสารหน่วงไฟที่พบได้ทั่วไป เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนจะวัดผลการดูดซึมสารเคมี

"ผลการทดลองพบว่า ผิวหนังสามารถดูดซึมสารเคมีที่มีอยู่ในไมโครพลาสติกได้สูงถึง 8% โดยระดับการดูดซึมจะแปรผันตามความชุ่มชื้นของผิวหนัง กล่าวคือ ผิวที่มีความชุ่มชื้นมากกว่าจะดูดซึมสารเคมีได้ในอัตราที่สูงกว่า"

ดร. Mohamed Abdallah รองศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ระบุว่าการค้นพบนี้ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลและผู้กำหนดนโยบายปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับไมโครพลาสติก รวมถึงปกป้องสุขภาพของประชาชนจากการสัมผัสสารอันตราย

งานวิจัยนี้ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการกับแหล่งกำเนิดและผลกระทบของไมโครพลาสติก ซึ่งกลายเป็นสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมที่พบได้ทั่วทุกมุมโลก แม้กระทั่งในบริเวณขั้วโลก

ที่มา
Innovation News Network
PHOTO : REUTERS



https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/849935

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:42


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger