เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย สำหรับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ชาวเรือควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3?5 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
อุณหภูมิต่ำสุด 29-30 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3 ? 5 พ.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ หลังจากนั้น แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่

สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 3 ? 5 พ.ค. 67 สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 8 พ.ค. 67 ลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 3 ? 5 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 8 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่
โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย รวมทั้งระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

สำหรับชาวเรือในช่วงวันที่ 6 ? 8 พ.ค. 67 ชาวเรือบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 (83/2567) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567)


ในช่วงวันที่ 3?5 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 3 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครราชสีมา และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี


วันที่ 4 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี และกาญจนบุรี


วันที่ 5 - 6 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


วันที่ 7 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เอเชียปาดเหงื่อ คลื่นความร้อนจะนานขึ้น ถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้นอีก

- ทวีปเอเชียกำลังเผชิญกับสภาพอากาศร้อนรุนแรง โดยผลการวิจัยพบว่าผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จะยิ่งทำให้คลื่นความร้อนยาวนานขึ้น ถี่ขึ้น และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

- ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายประเทศในเอเชียประกาศเตือนภัยคลื่นความร้อน และให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ส่งผลต่อสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด โดยประชาชนต่างหาที่หลบร้อนตามสวนสาธารณะ และห้างสรรพสินค้าที่มีเครื่องปรับอากาศแทน

- ขณะเดียวกันโรงเรียนในฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ ก็ประกาศหยุดการเรียนการสอนชั่วคราว เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของครูและนักเรียน แม้ว่าจะต้องส่งผลต่อความต่อเนื่องในการเรียนก็ตาม




ภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างต้องรับมือกับสภาพอากาศร้อนจัด จนทำให้หน่วยงานสาธารณสุขต้องออกประกาศเตือนภัยด้านสุขภาพ ขณะที่ประชาชนต่างก็หาที่หลบร้อนตามสวนสาธารณะและห้างสรรพสินค้า เพื่อบรรเทาความร้อนชั่วคราว

โดยคลื่นความร้อนรุนแรงได้เข้ามาปกคลุมภูมิภาคเอเชียในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้อุณหภูมิความร้อนพุ่งสูงถึงราว 45 องศาเซลเซียส และยังทำให้โรงเรียนอีกจำนวนมากต้องปิดเรียน เพื่อให้นักเรียนอยู่บ้าน อย่างที่ฟิลิปปินส์ ได้ประกาศปิดเรียนเบื้องต้น 2 วัน ในวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมา เนื่องจากกรุงมะนิลาเมืองหลวง อุณหภูมิสูงทำลายสถิติ

ขณะที่ประเทศไทย มีรายงานผู้เสียชีวิตจากฮีตสโตรกอย่างน้อย 30 ศพแล้วในปีนี้ ขณะที่หน่วยงานอุตุนิยมวิทยา เตือนสภาพอากาศรุนแรง หลังจากอุณหภูมิของจังหวัดในภาคเหนือพุ่งทะลุ 44.01 องศาเซลเซียส เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

ส่วนประเทศกัมพูชา เมียนมา เวียดนาม อินเดีย และบังกลาเทศ หน่วยงานด้านสภาพอากาศเตือนอุณหภูมิอาจจะพุ่งเกิน 40 องศาเซลเซียสในอีกไม่กี่วันข้างหน้า พร้อมขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือ

ซาน ยิน ชาวบ้านในย่างกุ้ง วัย 39 ปี ระบุว่า เธอไม่กล้าจะออกนอกบ้านในเวลากลางวันเลย เพราะกลัวว่าจะเป็นฮีตสโตรก โดยทั้งเธอ สามี และลูกชายวัย 4 ขวบ จะออกจากอพาร์ตเมนต์ในเวลากลางคืน และไปเดินเล่นในสวนเพื่อคลายร้อน เพราะในห้องพักของเธอก็อบอ้าวมากเช่นกัน

โดยข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ ระบุว่า อุณหภูมิโลกได้พุ่งสูงทำลายสถิติไปเมื่อปีที่แล้ว และภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่จะร้อนขึ้นในอัตราที่รวดเร็วมาก ซึ่งผลจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทำให้คลื่นความร้อนจะอยู่นานขึ้น เกิดบ่อยครั้งขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย


ความร้อนยังไม่ทุเลา

จากข้อมูลของหน่วยงานติดตามสภาพอากาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชี้ว่าเมียนมาได้ทุบสถิติอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนเมษายน ราว 3-4 องศาเซลเซียสแล้ว และเมื่อวันอาทิตย์ หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิในช่วงตอนกลางของประเทศอย่างในเมืองมัณฑะเลย์ อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 43 องศาเซลเซียส

ด้านกระทรวงทรัพยากรน้ำ และอุตุนิยมวิทยาของกัมพูชา เตือนว่าอุณหภูมิมีโอกาสจะแตะระดับ 43 องศาเซลเซียสในบางพื้นที่ของประเทศในสัปดาห์หน้า ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ประชาชนคอยติดตามข่าวสารด้านสภาพอากาศ และดูแลสุขภาพตัวเองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ส่วนอุณหภูมิที่เวียดนาม ก็มีการคาดการณ์ว่าน่าจะพุ่งสูงตลอด 5 วัน ซึ่งเป็นวันหยุดเนื่องในวันชาติ โดยคาดว่าอุณหภูมิทางภาคเหนือจะอยู่ที่ 41 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิจะสูงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน ก่อนที่จะค่อยๆ เย็นลงในเดือนพฤษภาคม

ในขณะที่หน่วยงานด้านสภาพอากาศของอินเดีย ระบุว่า คลื่นความร้อนรุนแรง จะยังคงต่อเนื่องไปจนถึงสุดสัปดาห์นี้ในหลายๆ รัฐ โดยบางจุดอาจจะอุณหภูมิขึ้นไปถึง 44 องศาเซลเซียส ซึ่งแน่นอนว่าอากาศร้อนจัดส่งผลกระทบต่อการออกไปใช้สิทธิของประชาชนหลายล้านคน ที่ต้องไปยืนรอต่อคิวเพื่อใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั่วไปด้วย โดยมีรายงานว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งของอินเดีย ได้ตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อสำรวจผลกระทบที่เกิดจากคลื่นความร้อนและความชื้นในพื้นที่ ก่อนที่จะมีการใช้สิทธิในแต่ละรอบด้วย

ส่วนในบังกลาเทศ ประชาชนนับล้านคนทยอยกลับไปเรียนแล้ว หลังจากที่ประกาศปิดโรงเรียนชั่วคราวจากคลื่นความร้อนรุนแรง แม้ว่าหน่วยงานสภาพอากาศจะออกมายืนยันว่า คลื่นความร้อนจะยังไม่ทุเลาอย่างน้อยในอีก 3 วันข้างหน้า


สั่งปิดโรงเรียน

การประกาศปิดโรงเรียนในฟิลิปปินส์มีขึ้น หลังจากมีข้อมูลว่า กรุงมะนิลาเผชิญอุณหภูมิสูงสุดทำลายสถิติเท่าที่เคยมีมา โดยพนักงานขับรถโดยสารจี๊ปนีย์ ซึ่งเป็นรถสาธารณะที่ไม่มีแอร์ในฟิลิปปินส์ เตรียมที่จะรวมตัวประท้วงกันในช่วงนี้ด้วย

โดยอุณหภูมิในเมืองหลวงของฟิลิปปินส์อยู่ที่ 38.8 องศาเซลเซียสเมื่อวันเสาร์ ขณะที่ดัชนีความร้อน หรืออุณหภูมิความร้อนที่ร่างกายสัมผัสได้ในขณะนั้น พุ่งไปถึง 45 องศาเซลเซียส

และเนื่องจากโรงเรียนส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ทำให้นักเรียนต้องทนร้อนระอุในห้องเรียนที่มีผู้คนหนาแน่น และอากาศถ่ายเทไม่ดี โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ประชาชนจำนวนมากแห่ไปยังห้างสรรพสินค้าและสระว่ายน้ำเพื่อคลายร้อน

เดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม นับเป็นช่วงที่ร้อนที่สุด และแห้งที่สุดในบรรดา 12 เดือนในภูมิภาคนี้อยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่าสภาพอากาศในปีนี้เลวร้ายมากจากผลของปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยมีการคาดการณ์ว่าหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะในกรุงมะนิลา จะต้องเจอกับสภาพอากาศที่ร้อนมากกว่านี้จนถึงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม และคาดว่าอุณหภูมิในปีนี้จะแตะระดับสูงสุด ทำลายสถิติในฟิลิปปินส์ในหลายพื้นที่อีกด้วย.


ผู้เขียน : อาจุมมาโอปอล
ที่มา : แชนแนลนิวส์เอเชีย, Omanobserver



https://www.thairath.co.th/news/foreign/2781844
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 03-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


หากน้ำทะเลร้อนกว่านี้ 1-3 สัปดาห์ปะการังไม่รอด

ชี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นจนหลายพื้นที่ของประเทศไทยอุณหภูมิทะยานขึ้น 44 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับน้ำทะเลมีอุณหภูมิที่สูง จนส่งผลต่อปะการังฟอกขาว



อุณหภูมิที่สูงขึ้นจนหลายพื้นที่ของประเทศไทยอุณหภูมิทะยานขึ้น?44?องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับน้ำทะเลมีอุณหภูมิที่สูง จนส่งผลต่อปะการังฟอกขาว ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก อ.ธรณ์?Thon Thamrongnawasawat?เปิดภาพผลสำรวจ แนวปะการัง จ.ตราด?8?แห่ง?พื้นที่หมู่เกาะหมาก?6?แห่ง-เกาะผี เกาะขาม เกาะกระดาด เกาะหมากตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และทางใต้หมู่เกาะกูด?2?แห่ง?เกาะแรดและแนวปะการังกลางน้ำ พบว่าสถานการณ์ฟอกขาวยังไม่จบ ทะเลยังร้อนอยู่ โดยระบุเป็นความเสี่ยง?3?ระดับเสี่ยงมาก-เป็นแนวปะการังติดฝั่ง เช่น รอบๆ เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะขามบริเวณนี้น้ำตื้น ไหลเวียนไม่ค่อยดี น้ำร้อนและโดนแดดเยอะ ยังเป็นเขตฟอกขาวซ้ำซ้อน ส่วนหัวตายตามที่เคยเล่าไว้ ปะการังมีชีวิตพบเฉพาะด้านข้างและกำลังฟอกขาวตรงขอบแนวน้ำลึกหน่อย ปะการังมีชีวิตทั้งก้อน แต่ด้วยน้ำที่ร้อนจัด ทำให้ส่วนใหญ่เปลี่ยนสี และบางส่วนเริ่มฟอกจนเป็นสีขาวทั้งก้อน

ส่วนปะการังเสี่ยงปานกลาง-เกาะแรด อยู่ลึกกว่า น้ำไหลไปมาได้ แต่มีปะการังเขากวางที่ไม่ค่อยทนต่อการฟอกขาว อีกทั้งยังมีการท่องเที่ยว?(จะเล่าให้ฟังภายหลังครับ)?ปะการังเสี่ยงน้อย-เกาะผี น้ำไหลเวียนดี น้ำลึก ฟอกขาวแค่บางชนิด การท่องเที่ยวควบคุมดี อย่างไรก็ตาม ปะการังทนมาจนใกล้ถึงลิมิต หากน้ำร้อนต่อไปอีก?1-3?สัปดาห์ เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก พวกเสี่ยงสูงจะรอดยากขึ้น พวกเสี่ยงปานกลางอาจมีปะการังบางกลุ่มตาย ในขณะที่เสี่ยงน้อยยังพอไหว แต่สภาพจะโทรมลงกว่านี้ นั่นคือปัญหาของสถานการณ์ฟอกขาว ทุกอย่างเปลี่ยนเร็วมาก แต่การช่วยกันรายงานให้เครือข่ายฟอกขาวทราบเป็น?%?เป็นเรื่องดี เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ทั้งนี้ข้อมูลจากเว็บไซต์?https://thailandcoralbleaching.dmcr....กขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้ สาเหตุที่ทำให้ปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่กว้างครอบคลุมพื้นที่น่านน้ำในระดับประเทศหรือครอบคลุมอาณาเขตกว้างในระดับภูมิภาคได้คือ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งในน่านน้ำไทย เคยได้รับผลกระทบเช่นนี้เมื่อปี พ.ศ. 2534 2538 2541 2546 2548?และ?2550?โดยปี พ.ศ. 2534?และ?2538?แนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันได้รับความเสียหายมาก พบว่าปะการังตายประมาณ?10-20%?ส่วนในปี พ.ศ. 2541?ก่อให้เกิดความเสียหายมากทางฝั่งอ่าวไทย แต่ปีต่อๆ มาเกิดทางฝั่งอันดามันแต่ไม่พบความเสียหายมากนัก เพราะปะการังสามารถฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพปกติได้ เนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมาเร็วในตอนต้นฤดูช่วยบรรเทาทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงได้

สำหรับในปี พ.ศ. 2553?นับเป็นปีที่แนวปะการังเสียหายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิน้ำทะเลจากปกติ?29?องศาเซลเซียสได้เริ่มสูงขึ้นเป็น?30?องศาเซลเซียสตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553?สามสัปดาห์ต่อมาปะการังได้เริ่มฟอกขาวแผ่พื้นที่เป็นวงกว้างคลุมทะเลทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย จากการสำรวจโดยหลายหน่วยงาน พบว่าในแต่ละพื้นที่มีปะการังฟอกขาวมากน้อยต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณนั้นมีปะการังชนิดใดเป็นพวกที่ขึ้นครอบคลุมพื้นที่มาก?(dominant group)?หากพวกที่ขึ้นคลุมพื้นที่มากเป็นพวกที่ไวต่อการฟอกขาว พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบมาก อย่างเช่น แนวปะการังที่มีปะการังเขากวาง?(Acropora?spp.)?ขึ้นเป็นดงกว้างใหญ่ พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบมาก นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าชายฝั่งที่แนวปะการังขึ้นอยู่นั้นได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมมากน้อยเพียงไรด้วย ด้านที่รับแรงจากคลื่นลมจะเป็นด้านที่อุณหภูมิไม่สูงอยู่ตลอดเวลา?(เช่น ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน)?ปะการังจึงฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่น เมื่อประมาณโดยภาพรวมทั่วประเทศแล้ว พบว่าปะการังแต่ละแห่งฟอกขาวมากถึง?30-95%?ปะการังทุกชนิดฟอกขาวเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียง?3-4?ชนิดเท่านั้นที่ยังคงต้านอยู่ได้ เช่น ปะการังสีน้ำเงิน?(Heliopora coerulea)?ปะการังลายดอกไม้?(Pavona decussata)?และปะการังดาวใหญ่?(Diploastrea heliopora)


https://www.dailynews.co.th/news/3395273/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 03-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


2 ปีทะเลเดือดส่งผลร้ายแรงแหล่งหญ้าทะเลที่พบสัตว์กว่า50ชนิด ไร้ปู-หญ้ามีแต่ทรายโล้น

"อ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์" โพสต์เปรียบเทียบทะเลเกาะกระดาษ จ.ตราด 2 ปีทะเลเดือด พบแหล่งหญ้าทะเลที่พบสัตว์กว่า 50 ชนิด เหลือเพียงทรายโล้น-เศษปะการังตาย



เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์รูปภาพผ่านเฟซบุ๊กเปรียบเทียบทะเลเกาะกระดาด จ.ตราด ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากระบบนิเวศที่เคยมีสัตว์ทะเลต่าง ๆ มากมาย ตอนนี้กลับเหลือเพียงทรายโล้น ๆ และเศษปะการังตาย

โดยระบุข้อความว่า "ปิดจ๊อบหญ้าทะเลที่เกาะกระดาด ด้วยการนำ before & after มาให้เพื่อนธรณ์ดูว่าทะเลเดือดส่งผลแค่ไหน

ปี 2565 เราสำรวจแหล่งหญ้าทะเลพบสัตว์ต่างๆ 30+ ชนิด ปลาอีก 27 ชนิด (รวมงานของกรมทะเล) มีปูม้าอยู่มากมายทุกแห่งหน

ปี 2567 เดินลุยแดดเป็นวันๆ ไร้หญ้า ไร้ปู มีแต่ทรายโล้นๆ และเศษปะการังตาย มีสาหร่ายนิดหน่อย เจอปลิงดำไม่กี่ตัว ปลาก็น้อยนิดจนมิอาจกล่าวถึง

น้ำทะเลลงต่ำ ร้อนมาก ในทรายก็ร้อน ขุดลงไปเป็นโคลนสีดำ/เหม็นเน่า ก็คงไม่มีอะไรบอกได้ ยกเว้นช่วยกันลดโลกร้อนและรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีที่สุดครับ"


https://www.dailynews.co.th/news/3397020/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 03-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


จุดเช็กอินที่ต้องไม่พลาด จุดชมวิว 360 องศา "เกาะห้อง" ทะเลกระบี่ จุดชมวิวสุดปัง

ททท.ชวนเที่ยว "เกาะห้อง" ทะเลกระบี่ ท้าพิสูจน์ความแข็งแรงของร่างกายกับบันได 419 ขั้น บนจุดชมวิวเกาะห้อง 360 องศา ชมวิวสุดปัง ที่มองเห็นชายหาดเกาะห้องและท้องทะเลสีฟ้าที่อยู่เบื้องล่าง รวมทั้งหมู่เกาะต่างๆ ในน่านน้ำทะเลพังงา-กระบี่



การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภูมิภาคภาคใต้ ร่วมกับ ททท.สำนักงานกระบี่ เชิญชวนผู้สนใจล่องเรือเที่ยวชมความงามของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอันดามันในพื้นที่ "อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี" อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เยี่ยมชมความสวยงามของ "เกาะห้อง" หรือ "เกาะเหลาบิเละ" ที่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะห้อง อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี

เกาะห้องมีลักษณะเป็นเกาะเขาหินปูน ด้านหน้าเกาะมีหาดทรายโค้งคล้ายรูปนกบิน ทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสีเขียวมรกตสวยและใสมาก สุดปลายหาดด้านหนึ่งมีทางเดินเป็นบันไดเหล็ก 419 ขั้น นำทางขึ้นไปบนยอดเขาซึ่งเป็น"จุดชมวิว 360 องศา" ที่สุดแสนอะเมซิ่ง เพราะสามารถมองเห็นชายหาดเกาะห้อง และท้องทะเลสีฟ้าที่อยู่เบื้องล่าง รวมทั้งหมู่เกาะต่างๆ ในน่านน้ำทะเลของจังหวัดกระบี่และพังงา ซึ่งที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมเดินทางมาเข้ามาเที่ยวชมความงามของธรรมชาติของท้องทะเลเกาะห้องกันเป็นจำนวนมาก

สำหรับจุดชมวิว 360 องศาที่เกาะห้องถือเป็นอีกหนึ่งจุดเช็กอินที่เป็นไฮไลต์ของอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เป็นโครงการก่อสร้างของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2562 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 9,737,400 บาท มีเส้นทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสูงสุดรวม 239 เมตร มีบันไดรวม 419 ขั้น ขึ้นไปยังความสูง 109 เมตร นับเป็นหอชมวิว 360 องศาที่สูงที่สุด และมีแห่งเดียวในฝั่งอันดามัน

เมื่อขึ้นไปยืนบนระเบียงชมวิว นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของท้องทะเลกระบี่ และเกาะต่างๆ นับ 10 เกาะ ใน จ.กระบี่และพังงา ท่ามกลางขุนเขากลางทะเล หาดทรายขาวเนียน และน้ำทะเลสวยใสที่ค่อยๆ ไล่โทนสีจากตื้นไปหาลึก

นอกจากนี้ การเดินขึ้นไปบนจุดชมวิวเกาะห้องยังถือเป็นการทดสอบร่างกาย ความแข็งแรง และกำลังขาของนักท่องเที่ยวขาลุย พิสูจน์ว่ากำลังใจและกำลังขาของเรายังเที่ยวแบบลุยได้หรือไม่ แต่เมื่อขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแล้ว เมื่อได้พบกับความสวยงามของทะเลและเกาะแก่งในวิวแบบ 360 องศาจะรู้สึกหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเลยทีเดียว (อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ไขข้อ ความดัน โรคหัวใจ หรือผู้สูงอายุที่มีร่างกายไม่แข็งแรงไม่ควรเดินขึ้นไปบนจุดชมวิวดังกล่าว)

นางรุ่งทิพ ว่องปฏิการ คิมูระ รองผู้อำนวยการ ททท.ภูมิภาคภาคใต้ กล่าวว่า กระบี่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่น่าประทับใจเที่ยวได้ทั้งปี กระบี่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามหลากหลายทั้งทางบกและทางทะเล พร้อมกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมรวมถึงอาหารต่างๆ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจให้มาเที่ยวที่จังหวัดกระบี่กันให้มากๆ


https://mgronline.com/south/detail/9670000037924

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 03-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


เศร้า! มูลนิธิสืบนาคะเสถียรเผยผืนป่าของไทยลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี

มูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้เผยรายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย ปี 2566-2567 พบลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ถึง 317,819.20 ไร่ หรือ 31.57% ของพื้นที่ประเทศ



วันนี้ (2 พ.ค.) เพจ "มูลนิธิสืบนาคะเสถียร" ได้เผยรายงาน "สถานการณ์ป่าไม้ไทย ปี 2566-2567" กล่าวคือ สังคมของพืชทุกชนิดและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แมลง สัตว์ป่าชนิดต่างๆ รวมถึงสิ่งไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ดิน แม่น้ำ ภูเขา ซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งพื้นที่ป่าไม้ถือว่าเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เกิดการหมุนเวียนและแลกเปลี่ยนของระบบนิเวศ หรือกล่าวอีกนัย สังคมของพืชและสิ่งมีชีวิตในป่ามีลักษณะคล้ายกับสังคมของมนุษย์ ที่มีทั้งการแก่งแย่งแข่งขัน (Competition) เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด มีการเกิดใหม่และทดแทน (Succession) เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของตน มีการพึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้ได้ประโยชน์เอื้ออำนวยต่อกัน จนก่อให้เกิดเป็นระบบนิเวศหนึ่งๆ ได้

ประโยชน์ของป่าไม้ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ประโยชน์ทางตรง และประโยชน์ทางอ้อม ประโยชน์ทางตรง เช่น เนื้อไม้ เชื้อเพลิง วัตถุทางเคมี อาหาร ยารักษาโรค เส้นใยจากเปลือกไม้หรือเถาวัลย์ ชันน้ำมันและยางไม้ อาหารสัตว์ ฝาดฟอกหนัง และสีธรรมชาติ รวมทั้งการกักเก็บคาร์บอนเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ

ประโยชน์ทางอ้อม เช่น ป่าไม้ทำให้น้ำไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดปี ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุ ป้องกันการพังทลายของดิน ช่วยบรรเทาอุทกภัย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้ความชุ่มชื้น เป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยรักษาคุณภาพของอากาศ รวมถึงช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกได้

จากปี 2566 ถึงปี 2567 พบว่าผืนป่าของไทยลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ถึง 317,819.20 ไร่ จากปี 2565 ที่มีพื้นที่ป่าไม้เหลือ 102,135,974.96 ไร่ หรือ 31.57% ของพื้นที่ประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ ?101,818,155.76 ไร่ หรือคิดเป็น 31.47%? ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้ที่ยังคงสภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด 101,627,819.86 ไร่ และพื้นที่อื่นๆ ที่เปลี่ยนสภาพเป็นพื้นที่ป่าไม้อีก 190,335.90 ไร่


สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้แบ่งตามรายภูมิภาค มีดังนี้

ภาคกลาง มีพื้นที่ป่าไม้ 12,263,466.16 ไร่ หรือ 21.55% ของพื้นที่ภูมิภาค ลดลงจากปี 2565 เท่ากับ 171,143.04 ไร่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ป่าไม้ 15,608,130.07 ไร่ หรือ 14.89% ของพื้นที่ภูมิภาค ลดลงจากปี 2565 เท่ากับ 87,575.79 ไร่

ภาคตะวันออก มีพื้นที่ป่าไม้ 4,703,353.52 ไร่ หรือ 21.82% ของพื้นที่ภูมิภาค ลดลงจากปี 2565 เท่ากับ 7,874.77 ไร่

ภาคตะวันตก มีพื้นที่ป่าไม้ 20,033,806.37 ไร่ หรือ 58.86% ของพื้นที่ภูมิภาค ลดลงจากปี 2565 เท่ากับ 49,667.70 ไร่

ภาคใต้ พื้นที่ป่าไม้ 11,232,880.27 ไร่ หรือ 24.34% ของพื้นที่ภูมิภาค เพิ่มขึ้นจากปี 2565 เท่ากับ 8,395.32 ไร่

ภาคเหนือ มีพื้นที่ป่าไม้ 37,976,519.37 ไร่ หรือ 63.24% ของพื้นที่ภูมิภาค ลดลงจากปี 2565 เท่ากับ 171,143.04 ไร่


ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ ได้มีการนำเทคนิคการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแต่ละปี โดยทำให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ได้ 3 รูปแบบ คือ

1. พื้นที่ป่าไม้ที่เพิ่มขึ้น
2. พื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง และ
3. พื้นที่ป่าไม้ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

พื้นที่ป่าไม้ที่เพิ่มขึ้น สาเหตุหลัก ได้แก่ การขยายตัวของพื้นที่ป่าไม้ตามธรรมชาติ (Natural Forest Expansion) การปลูกป่าเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เช่น สวนป่า (Plantation) หรือการปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของต้นไม้และสิ่งมีชีวิต

พื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง สาเหตุหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) จากพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเกิดจากปัญหาไฟป่าที่มีความรุนแรงขึ้น (Forest Fire)

นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์ความร้อนในช่วงต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ของป่าผลัดใบและสวนป่าเกิดการร่วงหล่นของใบเป็นอย่างมาก ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้


https://mgronline.com/onlinesection/.../9670000038222

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 03-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


ทะเลเดือด! 'ดร.ธรณ์' เปิดภาพ 'ปะการังฟอกขาว' ในอัตราเร็วมาก เพียงแค่ 2 วัน




3พ.ค.2567 - ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" ระบุว่า


เพื่อนธรณ์รู้ไหม ใช้เวลานานแค่ไหนก่อนที่ปะการังจะฟอกขาว ?

ภาพที่เห็นอยู่ มีคุณฝรั่งที่เป็นเพื่อนธรณ์ส่งมาจากเกาะลันตา เขาถ่ายภาพปะการังกิ่งเดียวกัน ก่อนหน้าและให้หลัง 2 วัน

ดูจากภาพ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน จากสีปรกติกลายเป็นสีจางจนเห็นโครงร่างหินปูนข้างในเป็นสีขาว

เมื่ออุณหภูมิน้ำร้อนจัด ปะการังจะปล่อยสาหร่ายจิ๋วออกจากเนื้อเยื่อ จึงเกิดลักษณะเช่นนี้

ยังเห็นสีชมพูที่โคนอยู่บ้าง แต่อีกไม่นานก็เป็นสีขาวทั้งโคโลนี

คราวนี้เรามาดูข้อความสำคัญ = 2 วัน !

อัตราเร็วในการฟอกขาว ขึ้นกับชนิดปะการัง ยังรวมถึงความหลากหลายทางสายพันธุ์ และตัวแปรอื่นๆ เช่น แดด

แต่ที่สำคัญคืออุณหภูมิน้ำ หากร้อนจัด ปะการังย่อมฟอกขาวเร็ว

2 วัน หมายถึงเร็วมาก ปะการังที่เราเห็นว่าคล้ายปรกติในวันอังคาร วันนี้วันพฤหัส ฟอกขาวแล้ว

นี่ไม่ใช่การทดลองในแลป แต่เป็นเรื่องจริงในทะเลเดือดที่กำลังเกิด ณ ตอนนี้

เหมือนที่ผมเคยบอกเมื่อเช้า เรื่องนี้มีความสำคัญสุดๆ เพราะการประเมินแนวปะการังช่วงนี้ต้องทำถี่ๆ

ประเมินว่า 30% เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว กลับไปอาทิตย์นี้ อาจกลายเป็น 70-80%
ความรุนแรงของการฟอกขาว จะไปเกี่ยวข้องกับแผนการอนุรักษ์และจัดการ
ในยุคทะเลเดือด น้ำร้อนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เราจะใช้ข้อมูลเก่ามาตัดสินสถานการณ์ปัจจุบันแทบไม่ได้เลย

"เก่า" ในที่นี้ หมายถึง 2 อาทิตย์ก็เก่าแล้ว

การสำรวจจึงต้องแบ่งเป็นช่วง ผมวางแผนที่เกาะหมาก/เกาะกูดไว้เช่นนั้น เริ่มจากสแกนทั่วไปเพื่อกำหนดจุด

อีก 3 สัปดาห์กลับมาใหม่ ช่วงนั้นน่าจะถึงจุดพีค เราลงเช็คเฉพาะจุดที่กำหนดไว้ว่าน่าจะแย่และสามารถจัดการได้ เช่น ลดจำนวนนักท่องเที่ยว ฯลฯ

ปัญหาคือทุกอย่างเปลี่ยนเร็ว ทำให้เราต้องลงแรงให้หนักขึ้น สำรวจแล้วสำรวจอีกอัปเดต สถานการณ์ตลอดเวลา

แล้วจะหานักวิจัยหรือเจ้าหน้าที่มาจากไหน ใช้งบประมาณแค่ไหน ? สำรวจแนวปะการังทั่วทะเลไทยทุกอาทิตย์เนี่ยนะ

จึงพยายามเน้นเสมอว่า เดือนพฤษภาคมนี่แหละคือเหตุฉุกเฉิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องระดมทุกอย่างลงไปเพื่อให้ได้ข้อมูลอัปเดตให้มากที่สุด

ที่สำคัญคืออย่าใช้ข้อมูลเก่าเด็ดขาด ประเภทต้นเดือนกลางเดือนเมษายน แทบไม่มีประโยชน์

ลองดูภาพประกอบอีกที แค่ 2 วันยังเป็นอย่างนี้ แล้ว 10-15 วันจะขนาดไหน ?
เป็นบทเรียนที่เราต้องปรับการประเมินและการจัดการให้ทันกับสถานการณ์น้ำร้อนจัดสุดๆ

จึงอยากฝากบอกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบอกเพื่อนธรณ์ว่าเห็นปะการังฟอกขาวที่ไหน แจ้งไปที่เครือข่ายเถิด (https://thailandcoralbleaching.dmcr.go.th/)
หรืออินบอกซ์มาที่ผมก็ได้ครับ

บอกเวลาที่เจอให้ชัดเจน ทำแล้วทำอีกที่เดิมไม่เป็นไร ทำได้บ่อยๆ ยิ่งดี

เพื่อนธรณ์หลายคนรายงานเข้ามา ลันตา พีพี เริ่มเจอแล้ว ยังมีที่อื่นอีก จะสรุปให้ฟังเมื่อมีเวลา

แต่ตอนนี้ ใครไปทะเลดูปะการัง ทุกคนมีส่วนช่วยได้ ข้อมูลอัปเดทที่ส่งเข้ามาจะมีความหมายมากๆ ครับ

ขอบคุณคุณฝรั่ง เจ้าของร้านไอติมที่เกาะลันตา ภาพและข้อมูลที่ส่งมา มีประโยชน์มากๆ และพิสูจน์ว่า ทุกคนมีส่วนช่วยทะเลได้ครับ

ใครไปเกาะลันตา เจอรถขายไอศครีมแบบ food truck อุดหนุนกันนะฮะ


https://www.thaipost.net/environment-news/580279/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 03-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'โลกรวน' กับฝุ่นควันไทย 2567

ปรากฏการณ์ "คลื่นความร้อน" (heatwave) ทำลายสถิติเดิม ปีนี้อาเซียนเผชิญอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายนถ้วนหน้า ส่วนไทยหนักสุด เจอทั้งวิกฤติสภาพอากาศร้อนจัด ทั้งวิกฤติฝุ่นควันภาคเหนือที่ลากยาวผิดปกติ



ฤดูแล้งปี 2567 เกิดมีปรากฏการณ์หลายประการแสดงอาการของภาวะโลกรวน-โลกร้อน เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังมีผลต่อวิกฤติปัญหาฝุ่นควันอันเป็นปัญหามลพิษพื้นฐานเดิมของภูมิภาคอีกต่อหนึ่งด้วย

ปรากฏการณ์ที่เกิดเป็นวงกว้างระดับภูมิภาคคือ "คลื่นความร้อน" heatwave ระดับทำลายสถิติเดิมของแต่ละชาติ ปีนี้อาเซียนเผชิญอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายนถ้วนหน้า


สภาพอากาศร้อนจัดสถิติใหม่ทั่วอาเซียน แต่ละพื้นที่อุณหภูมิพุ่งแค่ไหน?

สำหรับประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาเปิดข้อมูลอากาศร้อนทำลายสถิติทุกภาค เพชรบูรณ์ กับ กาญจนบุรีร้อนทะลุ 44 องศาเซลเซียส ขณะที่ภาคใต้ซึ่งใกล้ทะเล ปกติอุณหภูมิจะต่ำกว่าพื้นที่ตอนบน มาปีนี้ได้เกิดมีสถิติใหม่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ร้อนเกิน 40 องศาฯ ไล่ลงทั้งแถบชายทะเลตะวันออก

ขณะที่ ฟิลิปปินส์ อากาศร้อนจัดจนต้องประกาศปิดโรงเรียน ทำลายสถิติสูงสุดเท่าที่มีมา คือขึ้นไปแตะ 57 องศาเซลเซียส เมื่อ 20 เมษายน ที่เมือง San Jose จังหวัด Occidental Mindoro ส่วนเมืองหลวงอย่างนครมะนิลา ก็เกิดสถิติใหม่ในปีนี้เช่นกัน คืออุณหภูมิขึ้นไปแตะ 48 องศาเซลเซียส

กัมพูชา ปีนี้อุณหภูมิสูงสุดขึ้นไปแตะ 43 องศาเซลเซียส รายงานโดยกระทรวงทรัพยากรน้ำและอุตุนิยมวิทยา ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นสถิติ ปกติแล้วกัมพูชาใกล้ทะเลอากาศจะไม่ร้อนถึงระดับนี้

ความร้อนเกินปกติในปีนี้เป็นรูปธรรมที่ผู้คนสัมผัสได้ถึงคำเตือนว่าด้วยโลกร้อน-โลกรวน ที่ก่อนหน้านี้ฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว เมื่อได้เจอะสภาวะร้อนจัดโดยตรง รับรู้ข่าวสารว่ามีผู้เสียชีวิตจากฮีทสโตรก ต้นไม้ต้นทุเรียนยืนต้นตาย ประปาบางพื้นที่ไม่มีน้ำต้นทุนให้ใช้ ขณะที่เวียดนามใต้มีข่าวปลาในกระชังตายยกฟาร์ม


ภาคเหนือของไทย เผชิญทั้งวิกฤติอากาศร้อนจัด บวกวิกฤติฝุ่นควันที่ลากยาวผิดปกติ

ในพื้นที่ภาคเหนือยิ่งร้ายขึ้นไปเสียกว่า เพราะปกติแล้วภาคเหนือมีอุณหภูมิสูงกว่าภาคอื่นโดยเฉลี่ย ย้อนหลังไปหลายปี ลำปาง เถิน ตาก เพชรบูรณ์ มักจะติดอันดับต้นๆ ของพื้นที่อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยมาก่อนแล้ว ยิ่งในปีนี้เมื่อเจอกับคลื่นความร้อนจากปีเอลนีโญ ทำให้ภาคเหนือประสบกับความร้อนระดับ 43 องศาเซลเซียสขึ้นไปหลายพื้นที่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

มันทำให้คนภาคเหนือเผชิญสภาวะวิกฤติผิดธรรมชาติพร้อมกันถึง 2 ประการ คือ อากาศร้อนจัด บวกกับ มลพิษอากาศจากฝุ่นควันไฟป่า ซ้ำเติมวิกฤติให้ยากลำบากขึ้น เพราะการเผชิญเหตุกับไฟป่านั้นเจ้าหน้าที่ดับไฟต้องออกไปดับไฟกลางแจ้งในสภาพภูมิประเทศสูงชัน เหนื่อยง่ายอยู่เดิมแล้ว เจ้าหน้าที่ยอมรับว่า บางสถานการณ์ในวันที่อากาศร้อนจัดต้องปล่อยให้ไฟไหม้ป่าไปก่อนเพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่ดับไฟจะออกไปผจญเพลิงกลางแดด ต้องเปลี่ยนแผนเข้าดับไฟในช่วงเย็นและกลางคืนแทน โชคดีที่ปีนี้มีอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ดับไฟช่วยผ่อนเบา

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีข่าวเจ้าหน้าที่ดับไฟเกิดฮีทสโตรกจำนวนหลายราย และน่าเสียใจที่มีผู้เสียชีวิตเพราะเหตุนี้ ทั้งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนน่าน จังหวัดน่าน เมื่อเดือนมีนาคม และล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา ก็มีราษฎรอาสาสมัคร นายอะหวู่ผะ เลาย้าง ชาวบ้านบ้านห้วยต้นโชค (บ้างปางมะเยา) ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เข้าไปช่วยดับไฟป่าลามเข้าหมู่บ้านแล้วหมดสติเสียชีวิต

ฮีทสโตรก จากภาวะคลื่นความร้อนผิดปกติ เลื่อนระดับกลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของการวางแผนสู้วิกฤติไฟป่าฝุ่นควันในปีนี้ ซึ่งหากจะนับกันจริงจัง จะพบว่าเหตุผิดปกติของสภาวะอากาศโลก หรือที่เรียกโลกร้อน-โลกรวนนั้น เป็นอปุสรรคต่อการแก้ปัญหาวิกฤติมลพิษอากาศฝุ่นควันมากขึ้นเรื่อยๆ


ภาวะโลกรวน ยิ่งซ้ำเติมปัญหาฝุ่นควันให้แก้ยากขึ้น

เริ่มจาก โลกรวน ทำให้การคาดการณ์พยากรณ์สภาวะอากาศผิดพลาดมากขึ้น ตัวอย่างเกิดเมื่อต้นเดือนเมษายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่าจะมีพายุฤดูร้อนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ต่อเนื่อง ยืนยันล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ ทำให้เกิดมีการลอบจุดไฟเพิ่มขึ้นเพราะเข้าใจว่าประเดี๋ยวฝนจะตกลงมาช่วยดับ แต่เมื่อถึงวันจริงกลับไม่เป็นไปตามพยากรณ์ เป็นบทเรียนให้กรมอุตุนิยมวิทยาต้องปรับการพยากรณ์เหลือแค่ระยะ 3-5 วันล่วงหน้า ไม่ประกาศก่อนนานเกินไป

ความคลาดเคลื่อนไม่เป็นไปตามแบบแผน ประสบการณ์เดิมๆ ยังเกิดต่ออีก ล่าสุดในปี 2567 นี้ที่ถูกประกาศให้เป็นปีเอลนีโญ หรือ ปีแล้ง บรรดาผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหามลพิษฝุ่นควัน รู้จากประสบการณ์และสถิติเดิมว่าในปีเอลนีโญ ปัญหาไฟป่า และค่ามลพิษจะสูงกว่าปีน้ำ หรือลานีญา มีการเตรียมป้องกันระดมกำลังดับไฟตั้งแต่ต้นปี แต่ปรากฏว่า การณ์กลับตาลปัตร เพราะในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของปีนี้แทบไม่มีการเกิดจุดความร้อนไฟไหม้ใหญ่ๆ เลย ค่ามลพิษอากาศของสองเดือนแรกก็เป็นปกติ ไม่เหมือนกับปีเอลนีโญที่เคยผ่านมา

ป่าที่เคยทิ้งใบเร็ว เช่น ป่าแม่ปิง และป่าแม่ตื่น เหนือเขื่อนภูมิพลกลับทิ้งใบช้าลง เจ้าหน้าที่ประมาณการว่า การทิ้งใบช้าของป่าเขตนี้ล่ากว่าปีปกติราว 2 สัปดาห์ ปกติแล้วป่าเขตนี้จะเริ่มไหม้ราวปลายมกราคม และไหม้สูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ กลายเป็นว่าปีนี้เริ่มไหม้มากในเดือนมีนาคม ซึ่งก็รวมถึงพื้นที่ป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ปกติเริ่มไหม้มากในปลายกุมภาพันธ์ ก็ล่าออกไปเช่นกัน ปีนี้แม่ฮ่องสอนเริ่มไหม้มากหลังจากสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมผ่านไป


พบไฟป่าไหม้ต่อเนื่อง การไหม้ไม่ได้ลดลงหลังสงกรานต์เหมือนสถิติของปีก่อนหน้า

การล่าออกของฤดูแล้งของปี 2567 การไหม้ใหญ่ช้าออกจากเดิม ช่วยทำให้ยอดรวมของจุดความร้อนปี 2567 น้อยกว่าปีเอลนีโญก่อนหน้า 2563/2566 แต่ก็ยังมากกว่าปีลานีญา 2564/2565 แต่กระนั้นก็ตาม มันก็ก่อปัญหาใหม่ขึ้นมา เมื่อการไหม้ไม่ได้ลดลงหลังสงกรานต์เหมือนกับสถิติก่อนหน้า

ในปี 2567 พฤติกรรมการไหม้ในภาคเหนือผิดเพี้ยนไปจากเดิมเพราะหลังสงกรานต์แล้ว ยังเกิดการไหม้ต่อเนื่องในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ จนจุดฮอทสปอตเกิน 2,000 จุด เมื่อสิ้นเมษายน และไม่หยุดกระทั่งข้ามเดือนพฤษภาคมมาแล้วก็ตาม เทียบกับปีก่อนๆ หน้า จำนวนจุดความร้อนการไหม้ในประเทศไทยจะลดลงอย่างชัดเจนหลังจากสงกรานต์

ความผิดเพี้ยนที่กล่าวมา เป็นปัญหาต่อระบบราชการกลไกการแก้ปัญหาด้วย เพราะทุกจังหวัดมีประกาศห้ามเผาเด็ดขาดที่สิ้นสุดในเดือนเมษายน แปลเป็นภาษาความเข้าใจชาวบ้านว่า เมื่อถึงเดือนพฤษภาคมจะไม่มีมาตรการเข้มงวดกับการเผา ทำให้ยังเกิดมีการเผาในป่าจำนวนมากในคืนวันที่ 1 ต่อเนื่อง 2 พฤษภาคมอย่างไม่เคยปรากฏ สถิติของ GISTDA แสดงให้เห็นพฤติกรรมไฟปลายฤดูที่แตกต่างกันระหว่างปี 2567 กับปี 2566 อย่างชัดเจน

ความคลาดเคลื่อนของดินฟ้าอากาศและอุณหภูมิของโลกใบนี้ เริ่มแสดงรูปธรรมที่จับต้องได้มากขึ้นเรื่อยๆ ดั่งเช่นที่เกิดในฤดูแล้งปีนี้ ความผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนจากเดิม มีผลต่อวิกฤติปัญหาและการแก้ปัญหามลพิษฝุ่นควันให้ซับซ้อนและแก้ยากเพิ่มขึ้นไปอีก


เขียนโดย บัณรส บัวคลี่ คอลัมน์จุดประกายความคิด กรุงเทพธุรกิจ


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1124990

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:45


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger