#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือ และภาคกลาง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนชาวเรือควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวมีฝนตกหลายพื้นที่ และการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 12 ? 13 พ.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14 ? 17 พ.ค. 67 ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 12 ? 14 พ.ค. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะลากา ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15 ? 17 พ.ค. 67 ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 12 ? 13 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 14 ? 17 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก และขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
พะยูนสาวถูกใบพัดเรือฟันหัว ในอช.หาดนพรัตน์ธาราฯ จนท.ยื้อชีวิตไม่ไหว จนท.อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ช่วยปฐมพยาบาล หวังยื้อชีวิตพะยูนสาว ถูกใบพัดเรือฟันหัวเหวอะ สุดท้ายไม่รอด ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 11 พ.ค. คลิปที่ถ่ายไว้โดย จนท.อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ กำลังเข้าช่วยชีวิตของพะยูนเพศเมียตัวหนึ่ง ที่ประสบเหตุถูกใบพัดเรือฟันเข้าที่ส่วนหัว เหตุเกิดบริเวณท่าเรืออุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ สอบถามนายยุทธพงค์ ดำศรีสุข หน.อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราฯ ทราบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วงเย็นวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา พะยูนตัวประสบเหตุ เป็นพะยูนเพศเมีย ตัวเต็มวัย น้ำหนักประมาณ 100 กก. มีร่องรอยถูกใบจักรเรือฟันบริเวณหัว เป็นแผลฉกรรจ์ขนาดใหญ่ จำนวน 2 แผล ขณะตรวจสอบยังมีชีวิตอยู่ จนท.จึงทำการกดแผลห้ามเลือดไว้ และประสานสัตวแพทย์ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (จ.ตรัง) เพื่อประเมินอาการ ซึ่งต่อมาพะยูนดังกล่าวได้เสียชีวิตลงในที่สุด จึงนำซากพะยูนส่งศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ตรวจสอบชันสูตรโดยละเอียดต่อไป พร้อมมอบหมาย จนท.จัดทำบันทึกการตรวจสอบ และลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่ สภ.อ่าวนาง เพื่อหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี ทั้งนี้ ที่ผ่านมา พื้นที่แห่งนี้พบการเข้ามาอยู่อาศัยของพะยูนค่อนข้างน้อย การเข้ามาของพะยูนดังกล่าว จะเป็นการอพยพหากินตามแหล่งอาหารในแต่ละช่วงฤดูกาล บริเวณพื้นที่เกิดเหตุ เป็นบริเวณเส้นทางเข้าออกของเรือนำเที่ยว ทั้งเรือสปีดโบ๊ต เรือหางยาว เป็นจำนวนมาก จากท่าเทียบเรือหาดนพรัตน์ธารา ซึ่งหากมีพะยูนเข้ามาอาศัยในพื้นที่ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จะเร่งสำรวจการเข้ามาหากินของพะยูนในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว ให้ใช้ความระมัดระวังในการขับเรือ ลดความเร็วเรือขณะเข้าพื้นที่น้ำตื้นซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่มีพะยูนเข้ามาหากิน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุกับพะยูน และร่วมกันดูแลสัตว์ป่าสงวนหายากในพื้นที่ต่อไป. https://www.thairath.co.th/news/local/south/2784830
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
เศร้าพบซาก 2 พะยูนเกยตื้นหาดเกาะหมากน้อย ?คาดติดอวนชาวประมง เศร้าใจ ซาก 'พะยูน' 2 ตัวเมียตายเกยตื้นชายหาดเกาะหมากน้อย จ.พังงา ?คาดติดอวนชาวประมงพื้นบ้าน เร่งน้ำซากไปผ่าพิสูจน์หาสาเหตุ เมื่อวันที่ 11 พ.ค. นางพิมพิกา สระวารี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านเกาะหมากน้อย ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา จ.พังงา แจ้งว่าพบซากพะยูน 2 ตัว ด้านทิศเหนือของเกาะหมากน้อย หมู่ 4 ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา ขนาดที่วัดได้ ตัวที่ 1 ความยาว 3.5 เมตร ตัวที่ 2 ความยาว 2.5 เมตร ก่อนแจ้งให้หน่วยงาน กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งในพื้นที่ จ.พังงา ทราบแล้ว เพื่อจะได้มาพิสูจน์ถึงสาเหตุการตายและเก็บซากไปดำเนินการต่อไป ขณะที่ดูร่องรอยบาดแผลแล้วคาดว่าน่าจะติดอวนชาวประมงพื้นบ้านจนตาย ล่าสุด ทางศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร ภูเก็ตกำลังเดินทางลงพื้นที่เพื่อรับซากพะยูนไปผ่าพิสูจน์ เพื่อหาสาเหตุการตายอย่างละเอียดแล้ว นับว่าเป็นการสูญเสียพะยูนครั้งใหญ่ในทะเลอ่าวพังงา. https://www.dailynews.co.th/news/3423420/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
3 วัน พะยูนตาย 3 ตัว หลังอพยพหาแหล่งอาหาร เจอเรือเร็วชนดับ อ.ธรณ์ ชี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของจุดจบ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก โพสต์ภาพและข้อความผ่านเพจ "Thon Thamrongnawasawat" ระบุว่า 3 วัน พะยูนตาย 3 ตัว ตัวแรกที่หาดนพรัตน์ฯ กระบี่ ชันสูตรแล้ว เกิดจากเรือชน ตัวสองตัวสาม เพิ่งเกิดเหตุในอ่าวพังงา อยู่ระหว่างการพิสูจน์ สถานการณ์เข้าใจง่าย โลกร้อน หญ้าทะเลแถวตรัง/กระบี่ตอนล่างหมดไป พะยูนอพยพขึ้นเหนือ พะยูนเข้ามาหาหญ้าแถวกระบี่ตอนบน อ่าวพังงา ภูเก็ต แต่ที่นั่นมีเรือท่องเที่ยวหนาแน่น พะยูนไม่คุ้นกับเรือเร็วจำนวนมาก พี่ๆ คนขับเรือก็ไม่คุ้นกับพะยูน เพราะแถวนี้สมัยก่อนมีน้อยมาก นั่นคือจุดเริ่มต้นของจุดจบ ที่ยังไม่จบหรอก ยังมีอีกหลายพะยูนที่จะจากไป จากไปเรื่อยๆ จนจบ ผมเขียนในภาพว่า ได้โปรด? ได้โปรด?อะไร ? กรมทะเล กรมอุทยาน เครือข่าย กำลังเร่งประสานงาน สำรวจและระบุแหล่งที่พะยูนอพยพเข้ามา เพื่อแจ้งผู้ประกอบการ ได้โปรด?ทำให้เร็วให้ทัน ได้โปรด?มีงบประมาณให้พอ ได้โปรด?ให้ความร่วมมือ ย้อนไปที่ต้นเหตุ โลกร้อนฆ่าหญ้าทะเล สถานการณ์ไม่ดีขึ้นเลย เลวร้ายลงด้วยซ้ำ ได้โปรด?เร่งรีบงานวิจัยเรียนรู้และฟื้นฟูหญ้าทะเล ได้โปรด?เร่งรีบพัฒนาการสำรวจ/ดูแลสัตว์หายาก ได้โปรด?ลดโลกร้อน ได้โปรด?เชื่อว่าโลกร้อนเรื่องจริง ได้โปรด?เชื่อว่าโลกร้อนฆ่าทุกสิ่ง ถึงน้องพะยูนทั้งสาม และอีกหลายชีวิตที่จะตามมา ได้โปรด?ไปสวรรค์ ได้โปรด?เกิดใหม่ในโลกที่มนุษย์รักธรรมชาติมากกว่านี้ ถึงตัวเอง ถึงเพื่อนธรณ์ ได้โปรด?เข้มแข็ง ได้โปรด?เชื่อเสียงกระซิบจากหัวใจ ได้โปรด?อย่ายอมแพ้ในคืนวันอันมืดมน ได้โปรด?เงยหน้าขึ้น มองฟ้า และเดินต่อไปบนเส้นทางที่เราเลือก https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_4570386
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
เปิดภาพ 'ปะการังฟอกขาว' 10 วันตายด่วน พังพินาศย่อยยับ โลกร้อน 'ทะเลเดือด' ดร.ธรณ์ เปิดภาพ "ปะการังฟอกขาว" เกาะลันตา จ.กระบี่ 10 วันตายด่วน มินิซีรีส์สุดเศร้า พังพินาศย่อยยับ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน "ยุคทะเลเดือด" อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่งสูง ทำลายระบบนิเวศ ความหลากหลายที่สุดบนโลก สัตว์เล็กสัตว์น้อยไร้ที่อยู่อาศัย ย้ำคำตอบชัดเจน ทำไมต้องลดโลกร้อน? ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม! ดร.ธรณ์ เปิดภาพ "ปะการังฟอกขาว" บนเกาะลันตา จ.กระบี่ 10 วันตายด่วน มินิซีรีส์สุดเศร้า พังพินาศย่อยยับ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน "ยุคทะเลเดือด" อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่งสูง ทำลายระบบนิเวศสวยงามและความหลากหลายที่สุดบนโลกใบนี้ สัตว์เล็กสัตว์น้อยไร้ที่อยู่อาศัย ย้ำคำตอบปรากฏชัดเจนตรงหน้า ทำไมต้องลดโลกร้อน? ขึ้นกับว่าเราจะมองไหม? โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า นี่คือมินิซีรี่ย์ #10DaysLater นำเสนอความเป็นไปของปะการังน้อยในยุคทะเลเดือด เป็นซีรี่ย์แสนสั้นและแสนเศร้า ปะการังน้อยที่เพื่อนธรณ์ส่งภาพมาจากเกาะลันตา ผมโพสต์ในวันที่ 2 พฤษภา เพื่อบอกถึงความเร็วของการฟอกขาวในยุคนี้ จากปะการังปกติ เพียงแค่ 2 วัน สีซีดเห็นชัด เพื่อนธรณ์มาร่วมลุ้นให้เธอรอด กดไลค์เกือบครึ่งหมื่น สู้ๆ นะ ปะการังน้อย 10 วันนับจาก Day 0 เพื่อนธรณ์ส่งภาพมาอีกครั้ง เธอตายแล้ว ซีรี่ย์จบ ไม่ต้องสู้ๆ นะ ไม่ต้องลุ้นอะไรอีก เธอตาย สาหร่ายขึ้นคลุม ไม่มีโอกาสฟื้น 10 วัน ! ทะเลเดือดใช้เวลาเพียงเท่านั้น ในการฆ่าปะการังน้อยกิ่งนี้ ไม่มีปะการังเขากวางต้นใหญ่ เป็นที่อาศัยของสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย ไม่มีไข่ไม่มีลูกหลานปะการังเกิดเพื่อเติบโตและคงอยู่เป็นสิบๆ ปี สร้างระบบนิเวศสวยงามและหลากหลายที่สุดบนโลกใบนี้ ทุกอย่างจบใน 10 วัน จบสิ้น?บริบูรณ์ พินาศ?ย่อยยับ ทำไมต้องลดโลกร้อน ? คำตอบปรากฏชัดเจนตรงหน้า ขึ้นกับว่า เราจะมองไหม ? ขอบคุณ-คุณฝรั่งเพื่อนธรณ์จากเกาะลันตา สำหรับภาพสะเทือนใจชุดนี้ Thank You" ปะการังสำคัญต่อท้องทะเลอย่างไร? ปะการังเป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง มีสารประกอบหินปูนเป็นโครงร่างแข็ง แนวปะการังคือผืนป่าในมหาสมุทร เป็นที่เกิด ที่อยู่อาศัย และที่พักพิงให้สัตว์ทะเลราว 25% ถ้าไม่มีแนวปะการัง ปลาและสัตว์ทะเลจำนวนมากไม่สามารถอยู่รอดได้ ความสำคัญอีกอย่างคือ แนวปะการัง หรือ ป่าฝนแห่งท้องทะเล ช่วยดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่เหมือนต้นไม้ในผืนป่า และเป็นแหล่งกำเนิดของหญ้าทะเลและป่าชายเลน เมื่อถึงหน้าร้อน อากาศร้อนส่งผลให้น้ำทะเลร้อนขึ้น เมื่อทะเลร้อนเกินไป สาหร่ายซูแซนเทลลี ที่อาศัยอยู่กับปะการังจะอพยพออกจากปะการัง ทำให้ปะการังสูญเสียแหล่งอาหารหลัก เหลือเพียงโครงสร้างหินปูนสีซีด จากนั้นอีก 2-3 เดือน ถ้าสาหร่ายไม่กลับมา ปะการังก็จะตาย ทุกคนบนโลกช่วยได้ลดความเสี่ยงปะการังฟอกขาว - ลดขยะทุกวิถีทาง ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ศึกษาชายหาดและฝั่งทะเล สนับสนุนเกษตรอินทรีย์ อย่ากินฉลาม / ปลานกแก้ว / สัตว์หายาก - ระวังอย่าแตะเหยียบโดนปะการังและสัตว์น้ำอื่น ๆ เลิกให้อาหารปลา - สนับสนุนผู้ประกอบการที่รู้คุณค่าธรรมชาติ ปลูกต้นไม้น้อยรักษาไม้ใหญ่ เที่ยวอย่างรับผิดชอบ ใช้ครีมกันแดดชนิดที่ไม่ทำร้ายปะการัง - สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ / อาสาสมัคร / ปฏิบัติตามกฎระเบียบของพื้นที่ 10 วิธีแก้วิกฤตโลกร้อนด้วยตัวเรา สหประชาชาติ ประเทศไทย ได้แนะนำ 10 วิธีแก้วิกฤตโลกร้อนด้วยตัวเรา ดังนี้ 1.) ประหยัดพลังงานที่บ้าน การผลิตไฟฟ้าและความร้อนส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เราสามารถใช้พลังงานให้น้อยลงได้โดยการปรับระดับการทำความร้อนและความเย็นให้ต่ำลง เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED และเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซักผ้าด้วยน้ำเย็น หรือตากผ้าแทนการใช้เครื่องอบผ้า 2.) เดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ถนนทั่วโลกแน่นขนัดไปด้วยยานพาหนะซึ่งส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลหรือเบนซินเป็นเชื้อเพลิง การเดินหรือขี่จักรยานแทนการขับรถจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพและความแข็งแรงอีกด้วย หากคุณต้องเดินทางไกล ลองเปลี่ยนมาโดยสารรถไฟหรือรถประจำทาง และติดรถไปกับผู้อื่นเมื่อทำได้ 3.) รับประทานผักให้มากขึ้น แค่รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดพืชมากขึ้น และลดเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมให้น้อยลง คุณก็สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก โดยทั่วไปกระบวนการผลิตอาหารที่มาจากพืชจะสร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า อีกทั้งยังใช้พลังงาน ที่ดิน และน้ำน้อยกว่า 4.) เลือกวิธีเดินทาง เครื่องบินใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล และปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก การนั่งเครื่องบินให้น้อยลงจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากทำได้ ให้คุณนัดพบกันในทางออนไลน์ ขึ้นรถไฟ หรือยกเลิกการเดินทางระยะไกลนั้นไปเลย 5.) รับประทานอาหารให้หมด ทุกครั้งที่คุณทิ้งอาหาร คุณกำลังทิ้งทรัพยากรและพลังงานที่ใช้ในการเพาะปลูก/เลี้ยง ผลิต บรรจุ และขนส่งอาหารนั้น ๆ และอาหารที่บูดเน่าอยู่ในบ่อขยะก็จะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงมาก ดังนั้น รับประทานอาหารที่คุณซื้อมาให้หมดและส่วนที่เหลือให้หมักทำปุ๋ย 6.) ลด ใช้ซ้ำ ซ่อมแซม และรีไซเคิล อุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้า และสินค้าอื่น ๆ ที่เราซื้อล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ณ จุดใดจุดหนึ่งของการผลิต ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิต และการขนส่งสินค้าสู่ตลาด คุณสามารถช่วยรักษาสภาพอากาศของเราด้วยการซื้อของให้น้อยลง ซื้อของมือสอง ซ่อมหากซ่อมได้ และรีไซเคิล 7.) เปลี่ยนแหล่งพลังงานในบ้าน สอบถามบริษัทสาธารณูปโภคของคุณว่าพลังงานที่คุณใช้ในบ้านนั้นผลิตมาจากน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ ให้ลองเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น ลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตพลังงานให้บ้านของคุณ 8.) เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า หากคุณวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ ลองเลือกดูรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งตอนนี้มีหลายรุ่นและราคาถูกลง แม้ว่าไฟฟ้าที่ใช้จะยังผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ แต่รถยนต์ไฟฟ้าก็ช่วยลดมลพิษทางอากาศและปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้แก๊สหรือดีเซลอย่างมีนัยสำคัญ 9.) เลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทุกการใช้จ่ายของเราส่งผลกระทบต่อโลกทั้งสิ้น คุณมีอำนาจว่าจะเลือกสนับสนุนสินค้าและบริการใดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้คุณซื้ออาหารตามฤดูกาลที่ผลิตในท้องถิ่น เลือกผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและของเสีย 10.) เป็นกระบอกเสียง เปล่งเสียงของคุณและชักชวนผู้อื่นให้ร่วมลงมือด้วยกัน นี่เป็นหนึ่งในวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ชักชวนเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของคุณ บอกให้ธุรกิจต่าง ๆ รู้ว่าคุณต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่กล้าหาญและชัดเจน ตลอดจนเรียกร้องให้ผู้นำท้องถิ่นและระดับโลกดำเนินการในทันที อ้างอิง-ภาพ : Thon Thamrongnawasawat , สหประชาชาติ ประเทศไทย https://www.bangkokbiznews.com/environment/1126286
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|