#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศในช่วงวันที่ 25 ? 26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 22 ? 24 พ.ค. 67 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 21 - 22 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมี คลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และด้านตะวันตกของประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้น ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของประเทศไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 25 ? 27 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับชาวบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดการเดินเรือในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 6 (98/2567) ในช่วงวันที่ 22-24 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ วันที่ 23-24 พฤษภาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และอุดรธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศในช่วงวันที่ 25 ? 26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 22 ? 24 พ.ค. 67 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศเริ่มต้นฤดูฝน ปี พ.ศ. 2567 ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เนื่องจากบริเวณประเทศไทยตอนบน สภาพอากาศมีฝนตกชุกหนาแน่นครอบคลุมพื้นที่มากกว่าร้อยละ 60 และต่อเนื่อง 3 วันขึ้นไป ประกอบกับลมชั้นบนที่พัดปกคลุมประเทศไทยที่ระดับความสูงประมาณ 1.5 กิโลเมตรได้เปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งจะพัดนาความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 10 กิโลเมตร ได้เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้สำหรับฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีกจนถึงกลางเดือมกราคม จึงขอประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ข่าวดี! ลูกเต่าตนุ 85 ตัว ออกจากไข่เตรียมปล่อยกลับสู่ท้องทะเล รังสุดท้ายของฤดูกาล ลูกเต่าตนุ 85 ตัว ออกจากไข่ อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เตรียมปล่อยกลับสู่ท้องทะเล รังสุดท้ายของฤดูกาล เมื่อวันที่ 21 พ.ค.67?นายปรารพ?แปลงงาน?หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เปิดเผยว่า?อุทยานฯเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ได้ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต ติดตามการฟักของเต่าตนุ ที่พบร่องรอยการขึ้นวางไข่วันที่?5 เม.ย.67 ทางเจ้าหน้าที่ทำการย้ายไข่มาเพาะฟักหน้าที่ทำการอุทยานฯ และพบการยุบของหลุมวันที่ 21 พ.ค.67 เนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้ทรายแน่น เจ้าหน้าที่จึงทำการขุดตรวจสอบหลุมเพาะฟัก พบลูกเต่ารอขึ้นจากหลุมจำนวน 85 ตัว รอฟัก 3 ฟอง (ฟักต่อใน?ICU Box)?ไข่ไม่ได้รับการผสม 5 ฟอง ตายโคม 2 ตัว หยุดพัฒนา 1 ฟอง (ไข่ในหลุมทั้งหมด 96 ฟอง) คิดเป็นอัตราการรอดจากหลุมเพาะฟัก 96.70% รวมระยะเวลาเพาะฟัก 46 วัน ทั้งนี้เนื่องจากคลื่นลมมีกำลังแรง จึงทำการอนุบาลลูกเต่าตนุทั้งหมดไว้ชั่วคราว เพื่อรอปล่อยในภายหลัง https://www.dailynews.co.th/news/3457086/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
อุทยานเกาะพีพีวางทุ่นไข่ปลา กำหนดแหล่งดำน้ำตื้นหน้าเกาะปอดะทดแทนจุดประกาศปิด กระบี่ - อุทยานเกาะพีพีวางทุ่นไข่ปลา กำหนดแหล่งดำน้ำตื้น (Snorkeling) ทดแทนจุดที่ประกาศปิด ที่หน้าเกาะปอดะ เพื่อความปลอดภัย นายยุทธพงศ์ ดำศรีสุข หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้ทำการวางทุ่นไข่ปลาหน้าเกาะปอดะ เขตอุทยาน ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำกับนักท่องเที่ยวที่ประกอบกิจกรรมเล่นน้ำและดำน้ำตื้น เป็นการทดแทนแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำตื้น (Snorkeling) ที่ประกาศปิดไปเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์ปะการังฟอกขาว นายยุทธพงศ์ กล่าวอีกว่า อุทยานมีมาตรการลดผลกระทบด้านการประกอบกิจการท่องเที่ยว ได้กำหนดจุดแหล่งท่องเที่ยวสำหรับประกอบกิจกรรมดำน้ำตื้น (Snorkeling) บริเวณเกาะปอดะ ด้านทิศตะวันออก เกาะมาตังหมิง ด้านทิศตะวันออก อ่าวหินงาม และเกาะทับ ไปจนกว่าสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังจะคลี่คลายลง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการทดแทนแหล่งท่องเที่ยวสำหรับประกอบกิจกรรมดำน้ำตื้น (Snorkeling) ที่ปิดไป จนกว่าสถานการณ์ปะการังฟอกขาวจะกลับมาเป็นปกติ โดยขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง ได้แก่ Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3), Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate), 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวสวมใส่เสื้อชูชีพตลอดเวลา และประกอบกิจกรรมเล่นน้ำและดำน้ำตื้นในบริเวณที่อุทยานแห่งชาติกำหนดไว้เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำกับนักท่องเที่ยวที่ประกอบกิจกรรมเล่นน้ำและดำน้ำตื้น https://mgronline.com/south/detail/9670000043693
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ฝนตกหนัก คลื่นแรง ขึ้นธงแดงตามชายหาดห้ามลงเล่นน้ำ หวั่นเกิดอันตราย พังงา - เกิดฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในทะเลอันดามัน ผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ต นำป้ายและธงแดงขึ้นตามชายหาดห้ามลงเล่นน้ำ หวั่นเกิดอันตราย วันนี้ (21 พ.ค.) หลังจากเกิดฝนตกหนักจากที่ฝั่งอันดามันเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน หรือฤดูมรสุม โดยพบว่าที่ชายหาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีสภาพคลื่นลมแรงพัดเข้าหาฝั่งและฝนตกหนัก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ขึ้นธงแดงและเขียนป้ายเตือนตลอดแนวชายหาดห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำทะเลโดยเด็ดขาด หวั่นเกิดอันตราย นอกจากนี้ ทางผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ตในพื้นที่ชายหาดเขาหลัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ได้นำธงแดง และป้ายเตือนมาปักห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำในทะเลอย่างเด็ดขาด โดยพบว่าตลอดแนวชายหาดทั้งวันมีคลื่นลมแรง สภาพอากาศค่อนข้างปิด เพื่อป้องกันอันตรายเนื่องจากยังคงมีคลื่นลมแรงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้นักท่องเที่ยวต่างเลือกพักผ่อนในห้องพักและเล่นน้ำในสระว่ายน้ำของโรงแรม ด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก ประกาศว่า ในช่วงวันที่ 25-27 มกราคม 2567 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้ฝั่งตะวันตกและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมทะเลอันดามันโดยเฉพาะห่างฝั่งมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในพื้นที่ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง https://mgronline.com/south/detail/9670000043738
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เช็ก 10 ชนิดสัตว์ป่าสงวน-สัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชี ทส. ?ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับสัตว์ป่า 2 ฉบับบรรจุ "วาฬสีน้ำเงิน-นกชนหิน" สัตว์ป่าสงวนเพิ่ม 8 ชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น ค่างตะนาวศรี งูหางแฮ่มกาญน์ ปลากระเบนปีศาจหางเคียว วันนี้ (21 พ.ค.2567) น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ....รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ..... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ลำดับที่ 19 และนกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 นอกจากนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีท้าย กฎกระ ทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางอนุกรมวิธานปัจจุบัน ทำให้จำนวนสัตว์ป่าคุ้มครอง จากเดิมจำนวน 1,316 รายการ คงเหลือ 1,306 รายการโดยแบ่งเป็น 2 บัญชี ดังนี้ บัญชี 1 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่มิใช่สัตว์น้ำ ได้แก่ - จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 176 รายการ - จำพวกนก จำนวน 948 รายการ - จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 68 รายการ - จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 4 รายการ - จำพวกแมลง จำนวน 20 รายการ ส่วนบัญชี 2 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ - จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 21 รายการ - จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 20 รายการ - จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 6 รายการ - จำพวกปลา จำนวน 30 รายการ - จำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำนวน 13 รายการ รวมทั้งเพิ่ม 8 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงฯ ดังนี้ - ค่างตะนาวศรี (Trachypithecus barbei) - งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis) - ปลากระเบนปีศาจหางเคียว (Mobula tarapacana) - ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum) - ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Eusphyra blochii) - ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ (Sphyrna zygaena) - ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน (Sphyrna lewini) - ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่ (Sphyrna mokarran) https://www.thaipbs.or.th/news/content/340228
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|