#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 25?26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 23?24 พ.ค. 67 ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23?26 พ.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23?26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 23 - 28 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และด้านตะวันตกของประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 28 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของประเทศไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ด้านตะวันตกของประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 25 ? 26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับชาวบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดการเดินเรือในช่วงวันที่ 23 ? 26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 8 (100/2567) ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 25?26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 23?24 พ.ค. 67 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23?26 พ.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน ตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23?26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ฟิลิปปินส์โทษจีน ต้นเหตุทำหอยมือเสือยักษ์ในสันดอนพิพาทลดลง เครดิตภาพ : AFP. ทางการฟิลิปปินส์กล่าวโทษชาวประมงจีน ในประเด็นการสูญเสียหอยมือเสือยักษ์จำนวนมากแนวสันดอนสการ์โบโรห์ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยยามชายฝั่งจีน ในทะเลจีนใต้ พร้อมกับเรียกร้องให้มีการสอบสวนระหว่างประเทศ เกี่ยวกับความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ว่า หน่วยยามชายฝั่งของฟิลิปปินส์นำเสนอรูปถ่ายการเฝ้าระวัง ซึ่งปรากฏภาพชาวประมงชาวจีนที่จับหอยมือเสือยักษ์จำนวนมาก เป็นเวลานานหลายปี ในทะเลสาบบริเวณแนวสันดอนสการ์โบโรห์ แต่กิจกรรมดังกล่าวหยุดลงในเดือน มี.ค. 2562 ด้านนายคอมโมดอร์ เจย์ ทาร์ริเอลา โฆษกหน่วยยามชายฝั่งฟิลิปปินส์ กล่าวในการแถลงข่าวว่า ปะการังโดยรอบแนวสันดอนบางส่วน ดูเหมือนได้รับความเสียหายอย่างหนัก จากการค้นหาหอยมือเสือยักษ์ของชาวจีน ขณะที่ นายโจนาธาน มาลายา ผู้ช่วยอธิบดีสภาความมั่นคงแห่งชาติฟิลิปปินส์ แสดงความตื่นตระหนกและความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณแนวสันดอนสการ์โบโรห์ พร้อมกับเสริมว่า จีนควรอนุญาตให้มีการสอบสวนอิสระ จากผู้สันทัดกรณีจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และกลุ่มสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้ จีนเข้ายึดแนวสันดอนสการ์โบโรห์ในปี 2555 เมื่อเรือของรัฐบาลฟิลิปปินส์แล่นออกจากพื้นที่พิพาท ภายหลังการบรรลุข้อตกลงที่มีเจ้าหน้าที่สหรัฐเป็นคนกลาง เพื่อลดการเผชิญหน้าที่เป็นอันตราย ทว่านับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หน่วยยามชายฝั่งของจีน ได้ปะทะกับเรือลาดตระเวน และเรือประมงของฟิลิปปินส์หลายครั้ง "พวกเขาป้องกันเราไม่ให้เข้าถึงทะเลสาบ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเราสามารถขอให้กลุ่มสิ่งแวดล้อมบุคคลที่สาม หรือแม้แต่ยูเอ็น ปฏิบัติภารกิจค้นหาความจริง เพื่อระบุถึงสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม" มาลายา กล่าวทิ้งท้าย https://www.dailynews.co.th/news/3455630/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
สำคัญอย่างไร ทำไม ? "ท้องทะเล" ต้องมี "น้องเต่า" 23 พ.ค. ของทุกปี เป็น "วันเต่าโลก" (World Turtle Day) เพื่อให้ความรู้ผู้คนทั่วโลก เห็นถึงความสำคัญแล้วร่วมอนุรักษ์เต่า Thai PBS และ Thai PBS Sci & Tech จึงขอนำเรื่องน่ารู้ ทำไม ? "ท้องทะเล" ต้องมี "น้องเต่า" มาให้ได้ทราบกัน "เต่า" มี 3 ชนิด ได้แก่ เต่าบก, เต่าน้ำจืด, เต่าทะเล ซึ่งไม่ใช่เต่าทุกชนิดจะว่ายน้ำได้ เช่น เต่าบกปล่อยลงน้ำจะจมเนื่องจากกระดองเต่าหนักมาก ขณะที่ "เต่าน้ำจืด" ว่ายน้ำได้ แต่ต้องการพื้นดินไว้พักในการว่ายน้ำด้วย ส่วน "เต่าทะเล" จะอาศัยอยู่ในทะเล ยกเว้นตอนวางไข่ ซึ่งต้องขึ้นมาวางไข่บนบก ชวนรู้จัก "น้องเต่า" ให้มากขึ้น - กระดองเต่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกของเต่าและเชื่อมต่อกับร่างกายของเต่า (ไม่ได้แยกออกจากลำตัวของเต่า) - เต่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เก่าแก่มากที่สุดในโลก โดยเต่าสายพันธุ์แรกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 ล้านปีก่อน - เต่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) มีแนวโน้มลดลงในปัจจุบัน - เต่าเป็นสัตว์เลือดเย็น - เต่าทะเลจัดอยู่ในสัตว์เลื้อยคลาน - เต่าไม่มีฟัน - เต่าสายตาสั้นเมื่ออยู่บนบก - ชอบกินแมงกะพรุน ประสาทสัมผัสของ "เต่าทะเล" ทำหน้าที่อะไรบ้าง สมอง : ถึงจะมีขนาดเล็ก แต่ก็ความจำดี สามารถจดจำแหล่งหากิน แหล่งกำเนิด และแหล่งวางไข่ได้อย่างแม่นยำ โดยอาศัยการรับรู้ด้านกลิ่น และเดินทางไปมายังสถานที่ต่าง ๆ โดยใช้สายตา และการรับรู้สนามแม่เหล็กโลก ตา : มองเห็นใต้น้ำได้ดี แต่สายตาจะสั้น เมื่ออยู่บนบก หู : ความสามารถในการได้ยินจำกัด เนื่องจากมีกระดูกหูเพียงชิ้นเดียว และไม่มีช่องเปิดของหูภายนอก สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่ต่ำ และรับรู้แรงสั่นสะเทือน จมูก : การดมกลิ่น เป็นความสามารถพิเศษของเต่าทะเล เมื่ออยู่ใต้น้ำเต่าทะเลจะกลืนน้ำผ่านไปยังโพรงจมูกแล้วคายออก ทำให้สามารถรับรู้ถึงกลิ่นใต้น้ำ สำคัญอย่างไร ทำไม ? "ท้องทะเล" ต้องมี "น้องเต่า" สำหรับ "เต่าทะเล" นั้นมีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล และเป็นตัวที่ทำให้ระบบนิเวศมีความอุดมสมบูรณ์ เต่าทะเลจึงมีบทบาทสำคัญในการรักษาความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร เช่น - ซากไข่เต่ามีสารอาหารและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อชายหาดและหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล และช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นและพายุ - เต่าทะเลกินแมงกะพรุนและหญ้าทะเลเป็นอาหาร ช่วยควบคุมปริมาณแมงกะพรุนและหญ้าทะเลในธรรมชาติให้เหมาะสม-สมดุล - เต่าทะเลกินฟองน้ำทะเลเป็นอาหาร ถือเป็นการควบคุมปริมาณฟองน้ำ ซึ่งส่งผลดีต่อปะการังและสัตว์ที่อาศัยในแนวปะการัง - เต่าทะเลที่โตเต็มวัยเป็นอาหารของฉลามและวาฬเพชฌฆาต ซึ่งก็มีส่วนสำคัญต่อการอนุรักษ์ฉลามและวาฬเพชฌฆาต - เต่าทะเลตัวใหญ่สามารถเป็นที่พึ่งพาอาศัยให้กับเพรียงทะเล ปลาขนาดเล็ก และยังเป็นที่พักกลางทะเลให้แก่นกทะเล ขณะนี้จำนวน "เต่าทะเล" ลดลงเรื่อย ๆ ทั้งจากการถูกล่า ภาวะโลกร้อน รวมถึงการกินถุงพลาสติก-ขยะ ซึ่งล้วนมีสาเหตุมาจากมนุษย์ หากเราร่วมด้วยช่วยกันจัดการสาเหตุที่ให้เต่าทะเลลดลงดีขึ้นได้ จะทำให้น้องเต่ายังคงอยู่คู่โลกใบนี้ ช่วยรักษาระบบนิเวศให้สมดุลและทำให้ท้องทะเลมีความสมบูรณ์ต่อไป แหล่งอ้างอิง : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, กรมประชาสัมพันธ์ https://www.thaipbs.or.th/now/content/1187
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation
23 พฤษภาคม "วันเต่าโลก" ชวนร่วมตระหนัก อนุรักษ์เต่า ให้พวกเขาคงอยู่สืบไป 23 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น "วันเต่าโลก" หรือ "World Turtle Day" ชวนร่วมตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เต่า ให้พวกเขาคงอยู่สืบไป 23 พฤษภาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น "วันเต่าโลก" (World Turtle Day) ซึ่งจัดตั้งโดยองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล (American Tortoise Rescue) ในสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญและกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์เต่า สัตว์ที่มีปริมาณแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากภัยคุกคามต่างๆ ทั้งจากภัยธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์ ทำความรู้จัก เต่ามีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร อ้างอิงข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก Environman อธิบายเกี่ยวกับประเภทของเต่าไว้ว่า เต่าแบ่งได้ 3 ประเภท อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน ในเบื้องต้นมีดังนี้ - เต่าบก (Tortoise) : ตามชื่อเลย เต่าประเภทนี้ใช้ชีวิตส่วนมากอยู่บนบก มีลักษณะกระดองที่นูนหนา ไว้เพื่อป้องกันตัว บริเวณเท้าจะมีเกล็ดหน้า และเล็บยาวเพื่อขุดดิน พวกเขากินพืชเป็นอาหาร แต่บางสายพันธุ์ก็กินเนื้อหรือแมลงด้วย เต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ากาลาปากอส (Geochelone nigra) ซึ่งอาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในประเทศเอกวาดอร์ - เต่าน้ำจืด หรือเต่าน้ำ (Terrapin) : ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำ ขึ้นมาอาบแดดบ้างบางครั้ง พวกเขามีกระดองค่อนข้างแบนกว่าเต่าบก น้ำหนักเบา เพื่อใช้ในการลอยตัวอยู่ในน้ำนั่นเอง โดยส่วนเท้าจะไม่มีเกล็ด แต่มีผังผืดระหว่างนิ้วเท้า เพื่อใช้ในการว่ายน้ำ มักล่าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ - เต่าทะเล (Turtle) : เป็นเต่าที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ และขึ้นมาบนบกเมื่อวางไข่ มีลักษณะกระดองค่อนข้างแบน และน้ำหนักเบา เท้าทั้ง 4 ข้าง แบนเป็นครีบ เพื่อใช้ในการว่ายน้ำอย่างคล่องแคล่ว พวกเขากินพืชเป็นอาหารหลัก เต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เต่ามะเฟือง ประเทศไทยพบเต่าทะเลอาศัยอยู่กี่ชนิด? เว็บไซต์ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) ระบุไว้ว่า บ้านเรา พบเต่าทะเล 5 ชนิด ได้แก่ - เต่าตนุ : จะงอยปากค่อนข้างทู่ ริมฝีปากบนและล่างมีรอยหยักขนาดเล็ก กระดองสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายริ้วสีจางกระจายจากส่วนกลางเกล็ด - เต่ากระ : จะงอยปากค่อนข้างแหลมงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว เกล็ดบนกระดองมีลวดลายริ้วสวยงาม และลักษณะเกล็ดซ้อนกันอย่างชัดเจน - เต่าหญ้า : จะงอยปากมนกว่าเต่าตนุ กระดองผิวเรียบมีสีเทาอมเขียว ส่วนหัวค่อนข้างโต จัดเป็นเต่าทะเลขนาดเล็ก - เต่าหัวค้อน : รูปร่างคล้ายเต่าหญ้าและเต่าตนุมาก รูปทรงของกระดองหลังจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้าย มีลำคอหน้าและสั้น - เต่ามะเฟือง : กระดองเป็นแผ่นหนังหนาสีดำเรียบ ไม่เป็นเกล็ด มีแต้มสีขาวประๆ ทั่วตัว มีสันนูนตามแนวยาวของกระดองทั้งหมด 7 สัน จัดเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปัญหาที่เต่าทะเลต้องเจอ-ทำประชากรลด เต่าทะเลกับเต่าบก มีอายุขัยไม่เท่ากัน เต่าทะเลจะมีอายุขัยราว 40 ปี ส่วนเต่าบกสามารถมีอายุขัยได้ถึง 300 ปี แถมมีขนาดใหญ่กว่าเต่าทะเลมากนัก อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา เต่าทะเลเหล่านี้จะล้มตายด้วยหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงเข้าไปบุกรุกที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลมากเกินไป ทำให้ถูกใบพัดเรือฟันกระดองจนเต่าเสียชีวิต รวมทั้ง ที่ที่เต่าทะเลใช้สำหรับวางไข่ได้ถูกทำลายและแปรสภาพเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เต่าไม่สามารถที่จะขึ้นวางไข่ได้ตามปกติ หรือหากวางไข่แล้ว โอกาสที่จะรอดชีวิตของบรรดาลูกเต่าก็มีน้อย ปัญหาสำคัญอีกอย่างที่เต่าทะเลต้องเจอ คือ "ขยะ" โดยเฉพาะเศษพลาสติก ซากอวนเก่าๆ ที่กลายเป็นขยะ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลเสียชีวิตในอันดับต้นๆ อีกทั้ง เต่าทะเลกินแมงกะพรุนเป็นอาหาร เมื่อเจอขยะทะเลโดยเฉพาะถุงพลาสติก เต่าจึงมักเข้าใจผิดว่าเป็นแมงกะพรุน จึงกินเข้าไป ปัญหาที่ทำให้ประชากรเต่าลดลง ยังมีอีก เช่น - อัตรารอดของลูกเต่าในธรรมชาติมีน้อยมาก - ติดเครื่องมือประมง - กิจกรรมต่างๆ ในทะเล การอนุรักษ์เต่าทะเลในไทย ประเทศไทยได้มีการรณรงค์ร่วมกันอนุรักษ์เต่าทะเล โดยประกาศให้เป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง มีกฎหมายห้ามล่า ห้ามครอบครอง ห้ามค้า หรือห้ามน้ำเข้า-ส่งออก รวมทั้ง ยังมีนักวิชาการออกมาแนะนำว่า ให้มีการอนุรักษ์ชายหาดไว้บางส่วน เพื่อเก็บเป็นพื้นที่ให้เต่าได้วางไข่ อีกทั้ง ไม่แนะนำให้ทำการประมงที่ทำร้ายเต่า อาทิ การใช้อวนลาก อวนลอย หรือเบ็ดราวที่บริเวณชายฝั่งหน้าแหล่งวางไข่เต่าทะเล เพราะเต่าทะเลเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอด เมื่อติดอวน หรือเบ็ดอยู่ใต้น้ำนานๆ ก็อาจจมน้ำตายได้ รวมถึง สนับสนุนให้เกิดการเพาะพันธุ์ลูกเต่าเพื่อปล่อยสู่ทะเล และสร้างเป็นศูนย์รักษาเต่าทะเลที่บาดเจ็บด้วย ที่ผ่านๆ มา มีการปลูกจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์เต่าจากหน่วยงานภาครัฐและชุมชน ตลอดจนองค์กรอิสระ เพื่อเพิ่มประชากรเต่า เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์เต่า โดยทำได้ทั้ง ช่วยกันเก็บขยะที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์ เช่นเศษแก้ว , ลดการใช้ถุงพลาสติก , ทิ้งขยะพลาสติกให้เป็นที่ ไม่ลงทะเลหรือชายหาด , หมั่นเตือนคนรอบข้างอยู่เสมอว่าให้ตระหนักถึง เรื่องการทิ้งขยะลงในทะเลจะเป็นการไปทำร้ายเต่าทะเลและสัตว์ทะเลอื่นๆ มากขนาดไหน แม้พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นพฤติกรรมเล็กๆ แต่ก็เป็นการช่วยอนุรักษ์ เพื่อให้เต่าอยู่คู่ธรรมชาติสืบไป... ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ Environman ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 1 ( จตุจักร ) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) https://www.nationtv.tv/news/social/378944255
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
เปิด 6 สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "ปะการังฟอกขาว" ไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว เห็นได้จาก 2 - 3 วันที่ผ่านมา เริ่มมีฝนตกลงมาบ้างแล้ว ซึ่งน่าจะพอช่วยทำให้ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวดีขึ้นบ้าง ทั้งนี้ สปริงพาไปดู ปัจจัยสำคัญด้านอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว เพื่อเป็นการสร้างความตระหนัก ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) เดินทางเข้าสู่ปลายเดือนพฤษภาคมกันแล้ว แม้ตอนเที่ยงวันอากาศยังร้อนปรอทแตกอยู่ แต่ยังดีที่พอมีฝนตกลงมาให้ชุ่มฉ่ำบ้าง เย็นฉ่ำกันลงไปถึงใต้น้ำด้วยยิ่งดี เพราะถือว่าน่าห่วงเหลือเกินสำหรับแนวปะการัง หลังที่ผ่านมา อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่งทะลุเกิน 30 องศาติดต่อกันมาหลายวัน จนเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) แถมในปีนี้น้ำทะเลไทยก็ถือว่าเดือดที่สุดในรอบ 40 ปี ก่อนหน้านี้เราอาจเข้าใจกันว่าปะการังฟอกขาวเกิดจากน้ำทะเลอุ่นขึ้นเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งวันนี้สปริงรวบรวมมาให้แล้ว *หมายเหตุ ทะเลเดือดคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้แนวปะการังฟอกขาว เมื่อได้รู้ดังนั้นแล้ว จะเห็นว่ามิเพียงแค่ต้องลด ละ เลิก กิจกรรมทุกอย่างที่ทำให้โลกร้อน แต่ควรหลีกเลี่ยงทุกวิถีทางเพื่อไม่ทำให้น้ำทะเลเกิดขึ้นดัง 6 สถานการณ์ (ทางน้ำ) ที่สปริงลิสต์เอาไว้ด้านล่าง 6 ปัจจัยทางน้ำที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว น้ำร้อน ? อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยปะการังในน่านน้ำไทยดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำทะเลที่อุณหภูมิประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส น้ำจืด ? ความเค็มลดลงเนื่องจากอิทธิพลของน้ำจืด น้ำฝน น้ำแห้ง - ปะการังโผล่พ้นน้ำเมื่อระดับน้ำลดต่ำลง น้ำเสีย ? เช่น น้ำมัน น้ำเสีย ขยะทะเล และสารเคมี เป็นต้น น้ำขุ่น ? ตะกอนจากชายฝั่งหรือเรือวิ่ง น้ำกรด ? การเปลี่ยนแปลงของค่ากรด-ด่าง https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/850491
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
ทำไมมหาสมุทรของโลกกำลังเปลี่ยนสี ? .............. โดย แฟรงกี แอดกินส์ ที่มาของภาพ,ESA ความสมดุลของประชากรแพลงก์ตอนพืชในทะเลกำลังเปลี่ยนไป อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเกิดจากน้ำมือมนุษย์ ยามที่คุณนึกภาพมหาสมุทร คุณอาจจินตนาการถึงน้ำทะเลสีฟ้าครามระยิบระยับ แต่งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ บ่งชี้ว่ามหาสมุทรในโลกของเรานั้นอาจกำลังเปลี่ยนเป็นสีเขียวมากขึ้น และตัวการสำคัญของเรื่องนี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่แหล่งน้ำบางแห่งโดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร กำลังกลายเป็นสีเขียว แต่แหล่งน้ำอื่น ๆ กลับกำลังกลายเป็นสีน้ำเงินมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น แม้ความเปลี่ยนแปลงนี้มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จากการศึกษาผ่านภาพถ่ายทางดาวเทียม ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงบนแผนที่อย่างเห็นได้ชัด "สีไม่ใช่สิ่งที่อธิบายได้ง่าย ๆ ในภาษามนุษย์ หรือคุณมองเห็นมันได้ไม่ดีนัก" บีบี คาเอล นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์มหาสมุทรแห่งชาติในเซาท์แธมป์ตัน สหราชอาณาจักร กล่าว และเสริมว่า สัตว์จำพวกกั้งหรือผีเสื้ออาจมองเห็นสีต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนกว่ามนุษย์ จากรายงานล่าสุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของรัฐในยุโรป ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ เม.ย. 2024 โดยบริการทางสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป ได้เผยให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในมหาสมุทรมากเพียงใด รายงานฉบับนี้พบว่า เม็ดสีสังเคราะห์แสงที่เรียกว่าคลอโรฟิลล์ซึ่งอยู่ภายในแพลงก์ตอนพืช และทำให้พวกมันมีสีเขียวด้วยนั้น มีปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ย 200-500% ในทะเลนอร์เวย์และมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือของสหราชอาณาจักรในช่วงเดือน เม.ย. 2023 ขณะที่มหาสมุทรทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย พบว่า แพลงก์ตอนพืชมีคลอโรฟิลล์ลดลง 60-80% ส่วนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีระดับคลอโรฟิลล์สูงกว่าค่าเฉลี่ย 50-100% ในเดือน มิ.ย. 2023 โดยทั้ง 2 กรณีนำค่าเฉลี่ยที่ได้จากการวัดในช่วงระหว่างปี 1998-2020 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของสีเหล่านี้รุนแรงกว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทุกปี และนี่เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่ามหาสมุทรของเรากำลังร้อนมากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ทางโคเปอร์นิคัสรวบรวมไว้ เผยให้เห็นว่ามหาสมุทรของโลกกำลังประสบกับภาวะโลกร้อนเป็นประวัติการณ์ และเมื่อบีบีซีนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ต่อก็พบว่าอุณหภูมิของมหาสมุทรโลกทำลายสถิติทุกวันในช่วงปีที่ผ่านมา คาเอลเป็นผู้เขียนนำในการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ โดยเขาทำแผนที่ข้อมูลระยะเวลา 2 ทศวรรษโดยใช้ดาวเทียมของนาซา ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์หรือเอ็มไอที (MIT) พวกเขาพบว่า พื้นที่มหาสมุทรกว่าครึ่งโลกหรือประมาณ 56% กำลังเปลี่ยนสี พื้นที่นี้มีขนาดใหญ่กว่าผืนดินทั้งหมดของโลก บทบาทของแพลงก์ตอนพืช แม้นักวิทยาศาสตร์จะไม่แน่ใจเกี่ยวกับสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่พวกเขาเชื่อว่าปริมาณและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชมีส่วนสำคัญ แพลงก์ตอนพืชเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สังเคราะห์แสงได้ และเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของเครือข่ายอาหารทางทะเล ช่วยค้ำจุนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในห่วงโซ่อาหาร ตั้งแค่คริลล์ไปจนถึงวาฬ แพลงก์ตอนพืชประกอบไปด้วยคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นเม็ดสีสีเขียวชนิดเดียวกันกับที่พืชใช้เก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงแดดเมื่อเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสง แพลงก์ตอนพืชยังมีส่วนสำคัญในการถ่ายโอนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศสู่มหาสมุทรด้วย โดยปกติแล้ว สีของมหาสมุทรจะเกิดจากสิ่งที่อยู่ภายในชั้นบนของมัน ในมหาสมุทรแบบเปิดนั้น มันคือระบบนิเวศของแพลงก์ตอนพืช หากน้ำมีสีน้ำเงินเข้ม หมายถึงมีแพลงก์ตอนพืชน้อยกว่า ขณะที่น้ำสีเขียวนั้นส่งสัญญาณว่ามีแพลงก์ตอนพืชมากขึ้น จากการศึกษาความยาวคลื่นของแสงแดดที่สะท้อนจากพื้นผิวมหาสมุทร นักวิทยาศาสตร์สามารถประเมินปริมาณคลอโรฟิลล์ได้ "แพลงก์ตอนพืชที่แตกต่างกันจะมีส่วนผสมของเม็ดสีที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงแตกต่างกัน เม็ดสีเหล่านี้สามารถดูดแสงได้ในความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน" คาเอล กล่าว "แก้วน้ำที่มีสีย้อมอาหารที่ดูเป็นสีแดง เป็นเพราะมันมีบางอย่างในนั้นที่ดูดซับความยาวคลื่นที่ไม่ใช่สีแดง เช่นเดียวกับแพลงก์ตอนพืช เพราะพวกมันเป็นถือว่าเป็นอนุภาคหนึ่งในน้ำ ที่ช่วยกระจายแสงออกไป" เขากล่าวเสริม "โลกเสมือน" โมดิสซึ่งเป็นเครื่องมือบนดาวเทียมอควาของนาซา ได้ทำการวัดความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ 7 ช่วง ซึ่งเป็นสเปกตรัมสีที่สมบูรณ์กว่าการศึกษาก่อนหน้านี้ที่อิงจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ด้วยสิ่งนี้ คาเอลจึงสร้างแบบจำลองได้ "เราจำลองโลกเสมือนจริงที่ซึ่งเราสามารถสร้างประวัติศาสตร์ได้ 2 รูปแบบ คือ กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกรณีที่มีสภาวะดังกล่าว" เขากล่าว "เราสามารถดูได้ว่าโลกเสมือนทั้งสองนั้นแตกต่างกันอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป และสิ่งที่เราเห็นมันก็คล้ายคลึงกับสิ่งที่เราเห็นในมหาสมุทรจริง" เขากล่าวเสริม การทดลองนี้เองที่ค้นพบว่าสีใน 56% ของมหาสมุทรโลกกำลังเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณมหาสมุทรเขตร้อนใกล้กับเส้นศูนย์สูตรได้กลายเป็นสีเขียวอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากคลอโรฟิลล์ที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณของแพลงก์ตอนที่เพิ่มขึ้น "เราเห็นการเปลี่ยนแปลงในแอ่งมหาสมุทรที่สำคัญทั้งหมด มันไม่ได้จำกัดอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิค แอตแลนติค หรือมหาสมุทรอินเดียเท่านั้น มันคือการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก จากที่เราเห็น" คาเอลกล่าว งานศึกษานี้ช่วยยืนยันทฤษฎีของสเตฟานี ดุตคีวิคซ์ นักวิทยาศาสตร์ด้านมหาสมุทรจาก MIT และศูนย์วิทยาศาสตร์การเปลี่ยนแปลงโลก ในปี 2019 ดุตคีวิคซ์ ใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อทำนายการเปลี่ยนแปลงสีของมหาสมุทรในอนาคต อย่างไรก็ตาม มันยากที่จะระบุได้ว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือรูปแบบมหาสมุทรปกติอย่างที่สังเกตได้ในช่วงเอลนีโญและลานีญา "ความแปรปรวนตามธรรมชาตินั้นมีขนาดใหญ่มาก ดังนั้นไม่ว่าสิ่งนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจริง จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะบอก" ดุตคีวิคซ์ บอก การศึกษาของคาเอลซึ่งเพิ่มข้อมูลทางดาวเทียมเข้าไปได้ขยายขอบเขตเหนือจากคลอโรฟิลล์ออกไปอีก เพราะมันดูความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกันทั้งสีแดงและน้ำเงิน เนื่องจากแสงสะท้อนจากอนุภาคและตะกอนต่าง ๆ โดยดุตคีวิคซ์ ผู้ที่ทำงานศึกษาร่วมกับคาเอลด้วย บอกว่า งานศึกษาชิ้นล่าสุดนี้ยืนยันการคาดการณ์ทางสถิติของเธอ "การวัดผ่านดาวเทียมในโลกแห่งความเป็นจริง สอดคล้องกับสิ่งที่เราเห็นในแบบจำลอง" เธอกล่าว "ดังนั้นจากการอนุมาน การเปลี่ยนแปลงที่เราเห็นในโลกแห่งความเป็นจริงจึงมีความเป็นไปได้มากว่ามันเป็นผลอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์" ผลกระทบที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีผลต่อมหาสมุทรนั้นมีแนวโน้มที่รุนแรง นักวิจัยบางคนคาดการณ์ว่าแพลงก์ตอนพืชจะเคลื่อนตัวไปทางตอนเหนือด้วยความเร็วประมาณ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในแต่ละช่วงทศวรรษ เนื่องจากอุณหภูมิของมหาสมุทรที่เริ่มอุ่นขึ้น สิ่งนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการกระจายตัวของแพลงก์ตอนสัตว์ ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่กินแพลงก์ตอนพืชเช่นกัน โดยคาดว่าความอุดมสมบูรณ์ของสายพันธุ์จะลดลงในเขตร้อนและเพิ่มขึ้นอย่างมากในเขตอบอุ่น รวมถึงน่านน้ำในขั้วโลกใต้ ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบทางห่วงโซ่อาหารที่เชื่อมต่อกันรวมถึงปลาที่ต้องพึ่งพาสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ อ่าวสีมรกตและทะเลเปิดโล่งสีน้ำเงินเข้มไม่ได้เปลี่ยนสีภายในข้ามคืน แต่การเปลี่ยนแปลงเผยให้เห็นแนวโน้มที่อาจเพิ่มมากขึ้นได้ หากอุณหภูมิอุ่นมากขึ้น "มันไม่ใช่แค่สีที่เราสนใจจริง ๆ" คาเอล บอก "สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนสีกำลังสะท้อนถึงระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไป" https://www.bbc.com/thai/articles/cprrzplqyp3o
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|