เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,546
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

อนึ่ง เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันนี้ (28 พ.ค. 67) พายุไซโคลน "ริมาล" ปกคลุมบริเวณประเทศบังคลาเทศได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป ส่วนพายุโซนไต้ฝุ่น "เอวิเนียร์" ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 30?31 พ.ค. 67 โดยพายุทั้งสองนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 28 พ.ค. ? 2 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุไซโคลน "ริมาล" ปกคลุมบริเวณตอนใต้ของประเทศบังคลาเทศ คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป ส่วนพายุโซนไต้ฝุ่น "เอวิเนียร์" ด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงวันที่ 27 ? 31 พ.ค. 67 โดยพายุทั้งสองนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 28 พ.ค. ? 2 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,546
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ยูทูบเบอร์ชื่อดัง ขับรถหรูลงหาด พื้นที่ยันหาดในชุมชน ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม แต่คนพื้นที่ไม่ทำ



ดราม่ายูทูบเบอร์ชื่อดัง ขับรถหรูลงหาดทำคอนเทนต์ ติดหล่มจนต้องขอความช่วยเหลือ คนในพื้นที่ยืนยันไม่มีความผิด ที่ผ่านมาเคยมีขับรถแทรกเตอร์ลงไป เวลาจัดงานในชุมชน แต่ปกติคนพื้นที่ไม่มีใครขับลงไป เพราะเป็นหาดโคลน

กลายเป็นกระแสดราม่าถึงความเหมาะสม กรณียูทูบเบอร์ชื่อดัง ขับรถหรู ลงไปบนชายหาดปากน้ำหลังสวน จ.ชุมพร โดยขับลงไปบนหาดได้ประมาณ 100 เมตร จนติดหล่ม สุดท้ายชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ต้องมาช่วยเหลือ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 17.00 น. ซึ่งมีผู้ที่ถ่ายคลิปได้ และเกิดเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมบนโลกโซเชียล

นายสุทธิพร ลิ้มสวัสดิ์ รองนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลปากน้ำหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร ให้ข้อมูลว่า ชายหาดปากน้ำหลังสวน เป็นหาดที่มีโคลน เมื่อนำรถขับลงไปก็จะติดหล่มโคลน โดยหาดดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งยังไม่มีกฎที่เอาผิดกับผู้กระทำได้

แต่อาจเกิดจากคนขับเขาไม่รู้ เพราะไม่ใช่คนในพื้นที เพราะปกติไม่ค่อยมีใครที่จะขับรถยนตร์ลงไปบนหาด เนื่องจากรู้ว่า ตรงนี้เป็นหาดที่มีโคลนอยู่ด้านล่าง โดยข้างบนเป็นทราย ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ ต้องไปช่วยกันลากรถขึ้นมาจากหาด เพื่ออำนวยความสะดวก

ประกอบกับหาดดังกล่าวไม่ได้อยู่ในพื้นที่อุทยานฯ แต่ก็มีทางให้ขับรถลงได้ เพราะปกติริมหาดจะมีการนำรถแทรกเตอร์ลงไปได้ ในกรณีที่มีการจัดกิจกรรมริมหาดกันของชาวบ้าน หรือบางงานก็มีการขับรถโฟร์วีลลงไปเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่จะไม่ขับลงไปในหาดลึกเหมือนกรณีที่เกิดขึ้น

ที่ผ่านมาเคยมีคนนอกพื้นที่ขับลงไปในหาดแล้วติดหล่มเหมือนลักษณะนี้มาแล้ว กรณียูทูบเบอร์ชื่อดัง ยังไม่พบผลกระทบจากกรณีที่เกิดขึ้น เพราะพื้นที่นี้เป็นหาดทรายธรรมดา ไม่มีสัตว์น้ำสำคัญอาศัยอยู่บริเวณริมหาด

ด้านแหล่งข่าวจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลว่า ถ้าหาดอยู่ในเขตอุทยานฯ ก็ยังพอมีช่องทางกฎหมายเอาผิดได้ ถือเป็นการวิ่งรถไปในช่องทางที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้จัดไว้ให้ ฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่อันนี้คงเป็นพื้นที่สาธารณะทั่วไป ยังไม่มีข้อห้ามด้านกฎหมายที่ชัดเจน.


https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2788834

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,546
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ดร.ธรณ์ เผยภาพปะการังเขากวางที่ฟอกขาวจนตายเกือบหมดทะเลเกาะกูด

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล เผยภาพปะการังเขากวางที่ฟอกขาวจนตายเกือบหมด ทะเลเกาะกูด จังหวัด ตราด



วันนี้ (27 พ.ค.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ภาพพบปะการังเขากวางที่บริเวณเกาะกูด จังหวัด ตราด ตายเกือบหมด

โดย ดร.ธรณ์ ระบุข้อความว่า "ปะการังเขากวางแถวเกาะกูดบางแห่งตายเกือบหมด ขณะที่ปะการังกลุ่มอื่นๆ กำลังฟอกขาวหนัก หากเพื่อนธรณ์มองภาพทางอากาศ จะเห็นปื้นสีดำ นั่นคือดงปะการังเขากวางที่ฟอกขาวจนตายแล้ว มีสาหร่ายขึ้นเกาะ

ที่นี่คือเกาะแรด ผมเคยมาสำรวจเมื่อเกือบหนึ่งเดือนก่อน ปะการังเปลี่ยนสี มีฟอกขาวขั้นต้นบ้าง (ภาพในเมนต์) แต่กลับมาครั้งนี้ ปะการังตายเกือบหมด ลองดูภาพล่าง จะเห็นชัดเจนว่าปะการังตายถูกสาหร่ายคลุมเป็นสีคล้ำ เหลือเพียงเล็กน้อยที่ยังฟอกขาวจัด อีกไม่นานคงจากไป

เมื่อลองดูอุณหภูมิน้ำที่เครื่องบันทึกไว้ พบว่าหลังจากสำรวจหนก่อน น้ำร้อนขึ้นจนถึง 33 องศา (ลึก 7 เมตร) จากนั้นไต่อยู่ที่พีค 3 สัปดาห์ เพิ่งลดลงเมื่อฝนเข้าต่อเนื่อง ปะการังที่สีซีด/เริ่มฟอกขาว แช่น้ำร้อนต่ออีก 3 สัปดาห์ พวกเธอทนไม่ได้ คาดว่าพวกเธอคงทยอยตายมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ตั้งแต่ก่อนฝนเข้า เพราะตอนนี้มีสาหร่ายขึ้นแล้ว

ถ้าปะการังตายระดับนี้ ไม่มีโอกาสที่จะฟื้นได้ ทุกอย่างต้องเริ่มกันใหม่หมด ตั้งแต่รอให้ตัวอ่อนปะการังลงเกาะ บางจุดแถวนี้เป็นเขตฟื้นฟูปะการังของกลุ่มอนุรักษ์ในท้องที่ พวกเขาเศร้าเมื่อรู้ว่าปะการังที่เฝ้าดูแลมาหลายต่อหลายปี ตายหมดแล้ว

ที่นี่ยังเป็นจุดดำน้ำตื้นสำคัญของเกาะกูด มีประติมากรรมแบบต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวมาเยือน รายล้อมด้วยดงปะการังเขากวางงดงาม ตอนนี้คงเหลือแต่วัวแต่ช้าง ยืนอ้างว้างท่ามกลางดงปะการังตาย ที่จะย่อยสลายกลายเป็นเศษปะการังในไม่ช้า

ปะการังบริเวณนี้ถือว่าเสียหายมากที่สุดในจุดสำรวจแถบนี้ ขณะที่ปะการังบริเวณอื่นยังแค่ฟอกขาวหนัก มีบ้างที่ตาย แต่ไม่ตายทั้งดงแบบนี้ ปัญหาคืออีก 2-3 สัปดาห์ต่อจากนี้ไป หากทุกอย่างยังเหมือนเดิม น้ำยังร้อน ปะการังรอบๆ หมู่เกาะช้าง หมาก กูด อาจเดินรอยตามปะการังที่เกาะแรด ตอนนี้ลุ้นสุดตัวที่แปลงฟื้นฟูปะการังเกาะผี กลุ่มอนุรักษ์ทำ shading ไว้ให้ น่าจะช่วยได้บ้าง

ขอเพียงเหลือรอดมาหน่อย พวกนั้นจะกลายเป็นพันธุ์ทนน้ำร้อน สามารถนำไปฟื้นฟูต่อในภายหน้า แม้จะช้า แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แต่ถ้าคราวหน้าทะเลเดือดกว่านี้ ก๊าซเรือนกระจกเยอะกว่านี้ พันธุ์ทนร้อนก็อาจทนไม่ไหว ผลกระทบจากโลกร้อนมันสาหัส สถานการณ์แบบนี้กำลังเกิดทั่วอ่าวไทย ยังรวมถึงอันดามันบริเวณใกล้ฝั่ง เรากำลังมาถึงยุคสิ้นสุดทะเลที่เคยมีแนวปะการัง

เรากำลังเข้าสู่ยุคที่รับรู้ว่า ความเจ็บปวดจากผลที่ระบบนิเวศเสื่อมสลาย มันโหดร้ายแค่ไหน ?

การท่องเที่ยว การประมง ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ทุกอย่างอาจสูญสลายในพริบตา เมื่อทะเลเดือดมาเยือนโลกมนุษย์ เอเลี่ยนอาจยังทำลายโลกไม่ได้ขนาดนี้เลยครับ"


https://mgronline.com/onlinesection/.../9670000045460

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,546
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


นักวิชาการชี้ 'โลกร้อน' ปัจจัยเสี่ยงเครื่องบินเจอ 'หลุมอากาศ' มากขึ้น



27 พ.ค. 2567 สำนักข่าว ABC ของออสเตรเลีย รายงานข่าว Climate change is fuelling turbulence on some of our most common flight paths อ้างความเห็นของ ศ.ทอดด์ เลน (Prof.Todd Lane) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ชั้นบรรยากาศ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบิน ต้องเผชิญความเสี่ยงกับการตกหลุมอากาศ (Turbulence) มากขึ้น

ศ.เลน อธิบายการเกิดหลุมอากาศ ว่า หลุมอากาศ หรือสภาวะปั่นป่วนที่เกิดขึ้นกับเครื่องบิน คือการที่ลมในชั้นบรรยากาศเปลี่ยนจากแนวนอนเป็นแนวขึ้นๆ ลงๆ ทำให้เครื่องบินที่บินไปอย่างราบรื่นจะเริ่มเคลื่อนขึ้น-ลงค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากกระแสลมที่พัดขึ้น-ลง สาเหตุหลักของการเกิดหลุมอากาศคือภูเขา พายุ และกระแสน้ำ ซึ่งทำให้งานพยากรณ์และหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นตรงไปตรงมาในบางสถานการณ์ นักบินสามารถวางแผนเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศที่ลอยขึ้นเหนือภูเขาหรือรอบพายุได้มากที่สุด โดยกระแสสมกรด (Jet Stream) คือลมแรงในชั้นบรรยากาศชั้นบนที่เครื่องบินแล่น

"เหนือและใต้กระแสลมกรด มีสิ่งที่เรียกว่าลมเฉือนแรง ดังนั้นลมจึงเปลี่ยนความเร็วตามความสูงค่อนข้างมาก ในบริเวณที่มีแรงเฉือนลมแรงเหล่านั้น คุณอาจเผชิญกับความปั่นป่วนมากมาย ดังนั้นด้านบนและด้านล่างบริเวณกระแสลมกรดเหล่านี้ มีสิ่งที่เรียกว่าหลุมอากาศชัดเจนอยู่ค่อนข้างมาก เนื่องจากไม่มีเมฆเข้ามาเกี่ยวข้อง" ศ.เลน กล่าว

นักวิชาการผู้นี้ กล่าวต่อไปว่า ขณะที่โลกยังคงเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล อุณหภูมิโลกก็เพิ่มสูงขึ้น และหลุมอากาศเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบของลม และผลกระทบอย่างหนึ่งคือกระแสลมกรด โดยกระแสลมกรดในระดับการบินของเครื่องบินคาดว่าจะรุนแรงขึ้น ซึ่งหมายความว่าภูมิภาคเหล่านั้นจะเกิดหลุมอากาศมากขึ้น

ผลการศึกษาในปี 2560 คาดการณ์ว่า หลุมอากาศที่รุนแรงจะกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น 2-3 เท่าในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือภายในปี 2593-2623 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการศึกษาเดียวกันนี้คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 50 สำหรับความปั่นป่วนรุนแรงทั่วออสเตรเลีย โดยธรรมชาติของกระแสลมกรดจะแตกต่างกันเล็กน้อยในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ เนื่องจากตำแหน่งของมวลแผ่นดิน มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากในซีกโลกเหนือ โดยเฉพาะบริเวณอาร์กติก

นอกจากกระแสลมกรดที่รุนแรงมากขึ้นแล้ว ศ.เลน ยังเตือนด้วยว่า สถานการณ์การเกิดพายุก็กำลังเลวร้ายลงเช่นกัน โดยหลุมอากาศส่วนใหญ่ในเขตร้อนมาจากพายุฝนฟ้าคะนอง ด้วยอากาศที่อบอุ่นขึ้น ชั้นบรรยากาศสามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่พายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงที่สุด และรุนแรงมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงมากขึ้น พวกมันก็สามารถก่อให้เกิดความปั่นป่วนที่รุนแรงมากขึ้นได้เช่นกัน

รายงานของสื่อออสเตรเลีย กล่าวต่อไปว่า ที่มหาวิทยาลัยเรดดิง ประเทศอังกฤษ มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ในปี 2566 พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดหลุมอากาศเพิ่มขึ้นในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา โดยพบหลักฐานที่ชัดเจนของการเพิ่มขึ้นอย่างมากรอบๆ ละติจูดกลางที่ระดับความสูงในการลอยตัวของเครื่องบิน โดยทีมวิจัยค้นพบการเพิ่มขึ้นของความปั่นป่วนทางอากาศที่ชัดเจนที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ รวมถึงเส้นทางการบินที่พลุกพล่านที่สุดในโลกด้วย

สำหรับจุดเฉลี่ยใดๆ เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก การวิจัยพบว่า (ความปั่นป่วนทางอากาศที่ชัดเจน) ที่รุนแรงหรือมากกว่านั้นเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยในปี 2563 มีความถี่บ่อยขึ้นถึงร้อยละ 55 เมื่อเทียบกับปี 2522 อย่างไรก็ตาม การวิจัยจะพิจารณาถึงกรณีความปั่นป่วนของอากาศที่ชัดเจนในชั้นบรรยากาศ นั่นไม่ได้หมายความว่าจะมีเครื่องบินเพิ่มขึ้นเท่าเดิมที่ชนกับหลุมอากาศนั้น

ศ.พอล วิลเลียมส์ (Prof.Paul Williams) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ชั้นบรรยากาศ มหาวิทยาลัยเรดดิง กล่าวว่า มีผลการศึกษาที่ติดตามมานานหลายทศวรรษที่แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มหลุมอากาศในอากาศปลอดโปร่ง (Clear-air Turbulence) ในอนาคต และขณะนี้ก็มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการเพิ่มขึ้นได้เริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งตนเรียกร้องให้มีการทำงานเพิ่มเติมเพื่อช่วยคาดการณ์และป้องกันไม่ให้เครื่องบินตกหลุมอากาศเหล่านั้น

"เราควรลงทุนในการปรับปรุงระบบพยากรณ์และตรวจจับหลุมอากาศ เพื่อป้องกันอากาศที่มีความรุนแรงมากขึ้น จากการเปลงเป็นเที่ยวบินที่มีอุปสรรคมากขึ้นในทศวรรษต่อๆ ไป" ศ.วิลเลียมส์ กล่าว


ขอบคุณเรื่องจาก
https://www.abc.net.au/news/2024-05-...ence/103877522



https://www.naewna.com/inter/807047

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,546
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


โลกร้อนทำพิษ แม่น้ำ 'อะแลสกา' เปลี่ยนเป็นสีส้ม มีกรดสูง อันตรายต่อคน - สัตว์
......... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล


KEY POINTS

- ลำธาร และแม่น้ำอย่างน้อย 75 สาย ในอะแลสกากลายเป็นสีส้มสนิม อาจเกิดจากการละลายของชั้นดินเยือกแข็ง ทำให้แร่ธาตุในดิน เช่น สังกะสี ทองแดง แคดเมียม และเหล็ก ละลายออกมา และไหลลงสู่ธารน้ำ

- น้ำที่เปลี่ยนสีมีความเป็นกรดสูงมาก จนบางแห่งมีระดับ pH อยู่ที่ 2.6 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับน้ำมะนาวและน้ำส้ม กระทบอย่างมากต่อแหล่งน้ำดื่ม และการประมงยังชีพในชนบทของอะแลสกา

- ปัจจุบันอะแลสกาได้สูญเสียปลาท้องถิ่น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ปลาดอลลี่ วาร์เดน และปลาสไลมีสกัลปิน ไปอย่างถาวร ขณะที่ปลาแซลมอนชัม และปลาไวต์ฟิช ก็มีความเสี่ยงที่จำนวนประชากรจะลดลงเช่นกัน




อาร์กติกขึ้นชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่ร้อนเร็วที่สุดในโลก ตอนนี้น้ำแข็งในหลายพื้นที่เริ่มละลายอย่างรวดเร็ว และบางจุดเริ่มละลายไปถึงชั้นดินเยือกแข็งคงตัว เมื่อน้ำแข็งหน้าดินละลายออกหมด แร่ธาตุที่อยู่ใต้ดินก็ไหลซึมเข้าสู่เส้นทางน้ำ

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Communications Earth & Environment พบว่าลำธาร และแม่น้ำอย่างน้อย 75 สาย ในอะแลสกากลายเป็นสีส้มสนิม อาจเกิดจากการละลายของชั้นดินเยือกแข็ง ทำให้แร่ธาตุในดินละลายออกมา และไหลลงสู่ธารน้ำ

"นี่เป็นผลกระทบที่คาดไม่ถึงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำบริสุทธิ์ที่สุดในประเทศของเรา" เบรตต์ พูลิน ผู้เขียนการศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส กล่าว

การละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวจะทำให้แร่ธาตุที่อยู่ภายในดิน เช่น สังกะสี ทองแดง แคดเมียม และเหล็ก สัมผัสกับออกซิเจน จนเกิดกระบวนการ ?การผุพัง? (Weathering) และไหลลงสู่แม่น้ำ ส่งผลให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีสนิมที่มองเห็นได้แม้กระทั่งจากภาพถ่ายดาวเทียม

น้ำที่เปลี่ยนสีมีความเป็นกรดสูงมาก จนบางแห่งมีระดับ pH อยู่ที่ 2.6 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับน้ำมะนาว และน้ำส้ม ขณะที่น้ำบริสุทธิ์มีค่า pH 7 โดยทั่วไปแม่น้ำและทะเลสาบมีค่า pH 6.5 ถึง 8 และฝนกรดมีค่า pH 4.2 ถึง 4.4 ดังนั้นการค้นพบนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อแหล่งน้ำดื่ม และการประมงยังชีพในชนบทของอะแลสกา

การศึกษาชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ และความเสี่ยงต่อการประมงในแถบอาร์กติก โดยพูลิน กล่าวว่า ปัญหานี้ค่อยๆ แพร่กระจายจากต้นน้ำสายเล็กๆ ไปสู่แม่น้ำสายใหญ่เมื่อเวลาผ่านไป หากน้ำที่ปนเปื้อนโลหะไปผสมกับแม่น้ำสายอื่น จะทำให้แร่ธาตุต่างๆ สร้างผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำมากยิ่งขึ้น

ปรากฏการณ์แม่น้ำเปลี่ยนสีถูกพบครั้งแรกในปี 2018 เมื่อนักวิจัยสังเกตเห็นแม่น้ำทั่วทั้งเทือกเขาบรูคส์ทางตอนเหนือของอะแลสกา เปลี่ยนสีเป็นสีส้ม ทั้งที่ในปีก่อนหน้ายังมีใสสะอาดราวกับคริสตัสอยู่ ภายในปีเดียวกัน แม่น้ำสาขาของแม่น้ำอาคิลลิก ภายในอุทยานแห่งชาติโกบุก วัลเลย์ ได้สูญเสียปลาท้องถิ่น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ปลาดอลลี่วาร์เดน และปลาสไลมีสกัลปิน ไปอย่างถาวร ขณะที่ปลาแซลมอนชัม และปลาไวต์ฟิชก็มีความเสี่ยงที่จำนวนประชากรจะลดลงเช่นกัน

"ข้อมูลของเราชี้ให้เห็นว่าเมื่อแม่น้ำเปลี่ยนเป็นสีส้ม เราเห็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ และไบโอฟิล์ม กลุ่มของแบคทีเรียที่เกาะอยู่ด้านล่างของลำธาร ซึ่งเป็นฐานของใยอาหาร (food web) ซึ่งทำให้ปลาย้ายที่อยู่อาศัยที่อื่นแทน" พูลินกล่าวถึงปรากฏการณ์สนิม

การเกิดสนิมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นฤดูกาล มักเกิดขึ้นในฤดูร้อนระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เป็นช่วงที่ดินละลายมากที่สุด แต่ด้วยภาวะโลกร้อนทำให้อะแลสกากำลังร้อนขึ้นในอัตรา 2-3 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า แม่น้ำหลายแห่งของอะแลสกามีสีส้มเข้มขึ้นอย่างมากในช่วงฤดูร้อนตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

ทีมนักวิจัยจากกรมอุทยานแห่งชาติ สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส ร่วมกันทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว ถึงผลกระทบระยะยาวของการเปลี่ยนแปลงเคมีของน้ำ จากในชั้นดินเยือกแข็งคงของภูมิภาคอาร์กติก เช่น อะแลสกา แคนาดา รัสเซีย และบางส่วนของสแกนดิเนเวีย

"มันเป็นพื้นที่ ที่ร้อนขึ้นเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ของโลกอย่างน้อย 2-3 เท่า ดังนั้นผลกระทบจากปรากฏการณ์น้ำสีสนิมจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป"
สก็อตต์ โซลคอส นักวิทยาศาสตร์อาร์กติกจากศูนย์วิจัยสภาพภูมิอากาศวูดเวลล์ กล่าว

นอกจากนี้ กลุ่มวิจัยเล่าว่าพวกเขากำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ประสานงานชนเผ่าในอะแลสกา เพื่อให้แน่ใจว่าชุมชนท้องถิ่นได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี เพราะแหล่งน้ำที่เปลี่ยนเป็นสีส้มทั้ง 75 สาย กระจัดกระจายไปทั่วตอนเหนือของอะแลสกา เป็นระยะทางประมาณ 600 ไมล์ แม้สายน้ำเหล่านี้จะอยู่ห่างจากพื้นที่ทำกิจกรรมของมนุษย์ แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นดิน เช่น ถนนหรือเหมืองแร่

นักวิจัยจำเป็นต้องมีการทำงานเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจปัญหานี้ในวงกว้างขึ้น และทำการศึกษาว่าแม่น้ำ และลำธารเหล่านี้สามารถฟื้นตัวจากการปนเปื้อนนี้ได้หรือไม่

ฝ่ายบริหารของรัฐบาลโจ ไบเดน คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ว่ารัฐจะต้องใช้เงินประมาณ 4,800 ล้านดอลลาร์ ในการซ่อมแซม และปรับโครงสร้างพื้นฐานในช่วง 50 ปีข้างหน้า เพื่อต่อสู้กับอุณหภูมิที่สูงขึ้น และความเสียหายจากน้ำท่วม การกัดเซาะ และการละลายของชั้นดินเยือกแข็ง

ตามรายงานหลายหน่วยงานของรัฐบาล อุตสาหกรรมประมงและการท่องเที่ยวของอะแลสกา ที่เป็นแหล่งสร้างงานมากกว่า 90,000 ตำแหน่ง มีมูลค่ากว่า 2,570 ล้านดอลลาร์ กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน โดยคาดว่าปริมาณปลาจะลดลง และการท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวมีแนวโน้มลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ


ที่มา: Business Insider, Newsweek, The Guardian


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1128679

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,546
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


3 แม่วาฬบรูด้าอ่าวไทย อยู่ในเกณฑ์ผอม-พบรอยโรค TSD

ทช.สำรวจวาฬบรูด้าอ่าวไทย ช่วง 14-16 พ.ค.นี้ พบ 13 ตัว ตั้งชื่อไว้ 9 ตัว อีก 4 ตัวไม่ทราบชื่อ ระบุแม่วันสุข แม่สดใส แม่พาฝัน ผอมอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง พบรอยโรค TSD



วันนี้ (27 พ.ค.2567) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยตอนบน เผยผลชันสูตรซากวาฬลอยใกล้จุดท่องเที่ยวสะพานแดง ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จากการตรวจสอบพบว่าเป็นวาฬบรูด้า ไม่ทราบเพศ โตเต็มวัย ความยาว 9.6 เมตร ไม่รวมส่วนหางที่ขาดหายไป น้ำหนัก 8 ตัน

ผลการชันสูตรซาก พบว่าสภาพซากเน่ามาก ส่วนหางหายไป ผิวหนังหลุดลอก กะโหลกกรามล่างและกระดูกซี่โครงโผล่ยื่น ส่วนช่องอกและช่องท้องแตกออก ไม่พบอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ทำให้ไม่ทราบสาเหตุการตายจึงได้เก็บตัวอย่างพันธุกรรม กะโหลก กรามล่าง และกระดูกซี่โครงซี่แรก เพื่อใช้ในการศึกษา

นายเกรียง มหาศิริ สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (สมุทรสาคร) กล่าวว่า เนื่องจากสภาพวาฬค่อนข้างเน่ามาก จึงไม่สามรถระบุเพศ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบอัตลักษณ์ชื่อวาฬบรูด้าที่ทช.เคยสำรวจไว้ แต่อาจจะยากเพราะซากค่อนข้างเสียหาย


พบ 3 แม่วาฬบรูด้าอยู่ในเกณฑ์ผอม-รอยโรคTSD

ขณะที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.) สำรวจสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์บริเวณอ่าวไทยตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และกทม.วันที่ 14-16 พ.ค.พบสัตว์ทะเลหายาก จำนวน 2 ชนิด คือ

วาฬบรูด้า 13 ตัว ระบุชื่อจำนวน 9 ตัว ได้แก่ แม่วันสุขกับลูกตัวใหม่ แม่สดใสกับเจ้าแสนรัก แม่วันดีกับเจ้าวันวาน เจ้าสีสัน เจ้าสาลี่ และแม่พาฟัน และไม่ทราบชื่อ จำนวน 4 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ระยะห่างจากฝั่ง 8-15 กิโลเมตร

ส่วนอีกชนิดคือ โลมาอิรวดี จำนวน 1 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร ระยะห่างจากฝั่ง 8 กิโลเมตรสัตวแพทย์ทำการตรวจสุขภาพวาฬบรูด้าที่สำรวจชพบมีอัตราการหายใจและคุณภาพการหายใจปกติ มีความสมบูรณ์ร่างกาย อยู่ในเกณฑ์พอใช้

"พบแม่วันสุข แม่สดใส และแม่พาฝัน ผอมอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง และพบรอยโรค Tattoo skin disease (TSD) บนผิวหนังวาฬบรูด้าจำนวน 7 ตัว ได้แก่ แม่สดใส เจ้าแสนรัก แม่วันสุข แม่วันดี เจ้าสีสัน และวาฬบรูด้าไม่ทราบชื่อ 2 ตัว และพบรอยถูกพันรัดพาดกลางลำตัวของเจ้าวันวาน"

สำหรับวาฬบรูด้าในไทยซึ่งเป็นสัตว์สงวนชนิดใหม่ในบัญชีพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งกรณีที่พบ Tattoo skin disease (TSD) ลักษณะรอยโรคจะเป็นปื้นสีเทาเข้ม สีดำ หรือสีค่อนข้างเหลือง ไม่มีรูปร่างแน่นอน และนูนเล็กน้อย เกิดสัตว์ที่มีความเครียด ความอ่อนแอ ภาวะภูมิคุ้มกันตก เช่น อดอาหาร การติดเชื้อ และมีพยาธิ


https://www.thaipbs.or.th/news/content/340414

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:31


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger