#11
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation
ปลาตายเกลื่อนในเม็กซิโก เพราะภัยแล้ง อากาศร้อนจัด ปลาหลายพันตัวตายเกลื่อนในทะเลสาบทางภาคเหนือของเม็กซิโก โดยคาดว่าเกิดจากภัยแล้งรุนแรง และสภาพอากาศร้อนจัด ที่อุณหภูมิสูงเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส ซากปลาลอยเป็นแพในบริเวณบัสติลลอส ลากูน ในรัฐชิวาวา ของเม็กซิโก และเจ้าหน้าที่เร่งโรยปูนขาวกลบเพื่อดับกลิ่น เนื่องจากกังวลว่า การเน่าสลายอย่างรวดเร็วของปลาภายใต้แดดจัด อาจล่อแมลงต่าง ๆ และเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ที่จะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าหน้าที่ คาดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลจากภัยแล้งและอากาศร้อนจัด โดยอุณหภูมิสูงเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส และน้ำในลากูนลดต่ำลงอย่างมา ภัยแล้งปกคลุมพื้นที่เกือบ 90% ของทั้งประเทศ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับจากปี 2554 โดยรัฐชิวาวาได้รับผลกระทบหนักที่สุด นอกจากปลาแล้ว ปศุสัตว์ เช่น วัว และลา ก็ล้มตายจำนวนมาก เนื่องจากน้ำในเขื่อนต่ำมาก และเกษตรกรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ อากาศร้อนและภัยแล้งครั้งรุนแรงนี้ทำให้เกษตรกรจำนวนมาก ที่มีอาชีพเกษตรกรรม ต้องอพยพออกจากรัฐชิวาวา https://www.nationtv.tv/foreign/378944733
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#12
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
คุณภาพน้ำชายฝั่งสหราชอาณาจักรแย่ เจอยาเสพติดปนเปื้อนในสัตว์ทะเล SHORT CUT - นักวิทยาศาสตร์สหราชอาณาจักร พบว่า คุณภาพน้ำบริเวณชายฝั่งย่ำแย่ - พบสารเคมีอันตรายระดับสูงปนเปื้อนเพียบ - และยังพบโคเคนอยู่ในสิ่งมีชีวิตตใต้ทะเล อาทิ พบยาอีและยาบ้าในปู หอยนางรม และสาหร่าย เป็นต้น ได้เสพ แม้ไม่ต้องการ! คุณภาพน้ำชายฝั่งสหราชอาณาจักรย่ำแย่หนัก พบสารเคมีอันตรายระดับสูงเพียบ เจอแม้กระทั่งยาเสพติดปนเปื้อนในสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล บรรดานักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพอร์ตส์เม้าธ์ และมหาวิทยาลัยบรูเนล เปิดเผยงานวิจัยที่สร้างความเป็นกังวลเกี่ยวกับสภาพชายฝั่งทะเลทั่วสหราชอาณาจักร หลังพบปัญหามลพิษที่เป็นอันตรายถึงขั้นไม่ควรลงไปว่ายน้ำ และที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้น คือการไปพบยาเสพติด จำพวกโคเคน และยาอี อยู่ในสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลด้วย นักวิจัยเปิดเผยว่า พวกเขาพบโคเคนอยู่ภายในสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล พบยาอีและยาบ้าอยู่ในปู หอยนางรม สาหร่าย และในหนอนที่อาศัยอยู่ในตะกอน โดยงานศึกษาชิ้นนี้ได้รับความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์พลเรือนที่เป็นอาสาสมัคร นักว่ายน้ำ นักเดินเรือ และนักเล่นเซิร์ฟลม ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นกังวลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ และยังเป็นกังวลเนื่องจากในพื้นที่ริมชายฝั่งมีรายงานพบการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นด้วย ผู้ร่วมวิจัยได้เก็บตัวอย่างนับร้อยจากอ่าวชิเชสเตอร์ และอ่าวแลงสโตน ซึ่งพบว่า มีสารเคมีที่เป็นอันตรายอยู่ในระดับสูง ศาสตราจารย์อเล็กซ์ ฟอร์ด นักชีววิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัยพอร์ทส์เม้าธ์เปิดเผยว่า ปัญหามลพิษบางอย่างที่เราเจอมาจากน้ำฝนและการปล่อยน้ำเสีย และในอดีตที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าวเคยถูกใช้เป็นจุดฝังกลบขยะ ซึ่งมันก็ทำให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีที่ทางการสั่งห้ามใช้เมื่อหลายสิบปีก่อน และยังมีปัญหาการปนเปื้อนจากการทำฟาร์มและการทำถนน เมื่อปี 2021 Southern Water ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบการดูแลเรื่องการบำบัดน้ำและน้ำเสียในพื้นที่ดังกล่าว ถูกทางการสั่งปรับเป็นเงินมากถึง 90 ล้านปอนด์ หลังจากยอมรับว่ามีความผิดจริงต่อกรณีปล่อยน้ำเสียผิดกฎหมายจำนวนมหาศาลลงสู่แม่น้ำและชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร นักวิทยาศาสตร์พบว่า ยาเสพติดและยาเข้ามาปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้ เมื่อผ่านร่างกายมนุษย์ แต่ศาสตราจารย์ฟอร์ดเปิดเผยว่า ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายาเสพติดและยาพวกนั้นส่งผลกระทบแบบเต็มรูปแบบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างไร แต่ก็ย้ำว่า มันอาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์น้ำบางชนิดก็เป็นได้ ที่มาข้อมูล : Reuters https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/850819
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#13
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
"ทะเล" ถังขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อในทะเลมีขยะพลาสติกมากกว่าปลา .......... โดย SUTHEEMON KUMKOOM SHORT CUT - ทะเล เป็นถังขยะใบใหญ่ที่สุดในโลกไม่เกินจริง - มนุษย์ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลปีละ 11 ล้านเมตริกตัน - มีขยะล่องลอยไปกับสัตว์น้ำใต้ทะเลราว ๆ 200 ล้านเมตรติกตัน เมื่อในทะเลมีขยะมากกว่าปลาในทะเล จึงทำให้ "ทะเล" กลายเป็นถังขยะที่ใหญ่ที่ในโลก ขยะในทะเลมีมากกว่าร้อยล้านตัน ทำยังไงให้ทะเลที่ขึ้นชื่อว่าเป็นตู้กับข้าวมนุษย์สะอาดขึ้น ถ้าการลอยกระทงคือประเพณีขอขมาแม่คงคา แล้วมีประเพณีไหนอีกบ้างไหม ที่จะขอขมาทะเล เนื่องในวันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันทะเลโลก หรือ วันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) สปริงนิวส์ในคอลัมน์ Keep The World จึงอยากเล่าเรื่องราวตามหัวข้อด้านบนว่า ทำไม "ทะเล" ถึงกลายเป็นถังขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขยะมีหลายประเภท แต่จะขอยกตัวอย่างของขยะสุดฮิตของโลก คือ ขยะพลาสติก ในทุก ๆ 1 นาที ผู้คนทั่วโลกประมาณ 1 ล้านคนกำลังซื้อขวดพลาสติก ในขณะที่ถุงพลาสติกมากกว่า 5 แสนล้านถุงก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายทุกปี และประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ในปัจจุบัน มนุษย์ผลิตขยะพลาสติกประมาณ 400 ล้านตันทุก ๆ ปี และปลายทางของมันมีอยู่ไม่กี่ที่ คือ 1. การรีไซเคิลที่มีขยะพลาสติกน้อยมาก ๆ ที่ไปถึง 2. หลุมฝังกลบขยะ ซึ่งเป็นปลายทางหลักของขยะทุกประเภท เราต้องรอให้มันย่อยสลายไปเอง 3. และที่แห่งสุดท้ายคือ สิ่งแวดล้อม ป่า แม่น้ำ มหาสมุทร ฯลฯ พลาสติกอยู่ทุกที่บนโลก และถ้าหากเรายังใช้พลาสติกเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ โดยที่ยังไม่มีการจัดการที่เป็นระบบมากพอ ขยะพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในปี 2060 ขยะพลาสติกในมหาสมุทร สำหรับคุณผู้ยืนอยู่บนโลกใบเดียวกัน ในมหาสมุทรของเรา เราทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลปีละ 11 ล้านเมตริกตันเป็นอย่างต่ำ เท่านั้นไม่พอ ตอนนี้มีขยะทะเลราว ๆ 200 ล้านเมตริกตัน ล่องลอยปะปนไปกับสัตว์น้ำใต้ทะเล จน UN (United Nations) กล่าวว่า ตอนนี้ในทะเลของเรามีขยะมากกว่าปลาแล้ว นอกจากนี้ การคำนวนจาก United Nations Foundation ยังเผยว่า หากเรานำขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั้งหมด ยัดใส่ตู้คอนเทนเนอร์ เราจะได้ทั้งหมด 5 ล้านตู้ หรือเอามาคลี่เราก็จะได้ขยะพลาสติกเป็นทางยาวราว ๆ 30,000 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถนิยามได้ว่า มหาสมุทรเป็นถังขยะใบใหญ่ที่สุดในโลกก็คงไม่แปลกนัก นอกจากมหาสมุทรจะมีพื้นที่มากกว่าแผ่นดินบนดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยังมีปริมาณขยะไม่น้อยไปกว่าขยะบนบกด้วย ผลกระทบขยะพลาสติกต่อมหาสมุทร ขยะพลาสติก เป็นสิ่งแปลกปลอมในระบบนิเวศ และบ่อยมากที่สัตว์สัตว์ทะเลจะเผลอกินเข้าไป เพราะคิดว่าเป็นอาหาร และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุการตายของสัตว์ทะเลที่น่าเศร้ามาก ๆ หรือขยะจำพวกอวนที่ลอยไปติดปะการัง นี่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้บ้านของสัตว์น้ำเสียหาย ส่งผลต่อประชากรสัตว์น้ำ และอย่างที่ทราบกันดี พลาสติกเป็นขยะที่ใช้เวลาย่อยสลายนานมาก หากเราไม่นำไปรีไซเคิลหรือแปรรูป เรารอให้พลาสติกย่อยสลายตัวเอง เมื่อพลาสติกอยู่ไปนาน ๆ จะเริ่มเปราะ และแตกเป็นชิ้นพลาสติกขนาดเล็กออกมาก หรือที่เราคุ้นกัน นั่นก็คือ ไมโครพลาสติก นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเผยว่า ไมโครพลาสติกอยู่รอบตัวมนุษย์แล้ว ไม่ว่าจะในอากาศ น้ำดื่ม อาหาร หรือแม้กระทั่งในร่างกายของเรา นี่คือผลตอบรับที่เราได้จากการใช้พลาสติกขอเราเอง งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียร่วมกับ WWF ได้เผยว่า มนุษย์บริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายประมาณ 5 กรัมต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็นปริมาณพลาสติกกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 21 กรัมต่อเดือน หรือ 250 กรัมต่อปี แม้ตอนนี้ ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนยืนยันได้อย่างมั่นใจว่า ไมโครพลาสติกจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ได้เพียงใด แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการย้ำเตือนถึงภัยที่เรามองไม่เห็น และไม่ควรประมาทต่อความเสี่ยงสุขภาพระยะยาวในอนาคต ดังนั้น การลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันและใช้งานอย่างคุ้มค่า นี่คือทางออกที่ยังพอทำได้ในตอนนี้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ยังไม่ได้นับรวมขยะประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่มหาสมุทรต้องเผชิญ เมื่อทะเลคือตู้กับข้าว คุณอยากให้ตู้กับข้าวของเราสกปรกและไร้อาหารหรือ สิ่งที่เราสามารถช่วยได้ในเรื่องนี้คือลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด ปฏิเสธพลาสติกให้บ่อย ทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกวิธี ลดการหลุดออกนอกเส้นทางของขยะ แค่นี้เราก็ช่วยได้เยอะมากแล้ว คุณล่ะ อยากเห็นมหาสมุทรของเราเป็นแบบไหน? ที่มาข้อมูล : Ocean Hub United Nations Foundation UN Environment Programme https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/850841
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#14
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ทะเลไทยเดือดสุดรอบ40ปี! เร่งดึงคนรุ่นใหม่รักษาทะเลไทย ก่อนจะสายเกินแก้ SHORT CUT - ปัญหาโลกร้อน โลกรวน ในไทย ปัจจุบันได้ลุกลามทำให้ทะเลเดือด ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย - วันทะเลโลกในปี 2567 ทั่วโลกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมในการดูแลรักษาทะเลและมหาสมุทรอย่างพร้อมเพรียง - ทช. ได้จัดกิจกรรมวันทะเลโลก อีก 10 แห่ง ตามสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วิกฤตมหาสมุทรไทยตอนนี้ คือ ทะเลไทยเดือดสุดรอบ40ปี! พัชรวาท? เร่งแผนงงานหยุดทะเลเดือด! ?พัชรวาท? ปลุกกระแส แก้วิกฤตมหาสมุทร ในวันทะเลโลก ผนึกพลังคนรุ่นใหม่ร่วมกันรักษาทะเลไทย ปัญหาโลกร้อน โลกรวน ในไทย ปัจจุบันได้ลุกลามทำให้ทะเลเดือด ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ทำให้สัตว์ทะเลได้รับผลกระทบ ทำให้กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารพอสมควร จึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ล่าสุด วันนี้ 8 มิถุนายน 2567 วันทะเลโลก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เดินทางมาเป็นประธานเปิดกิจกรรมวันทะเลโลก ประจำปี พ.ศ. 2567 ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด ?Awaken New Depths? หรือ "ปลุกกระแส แก้วิกฤตมหาสมุทร" เพื่อเป็นการสร้างจิตสานึกให้ประชาชนชาวไทยทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของท้องทะเล ซึ่งในปีนี้ กรม ทช.ได้จัดกิจกรรมวันทะเลโลกขึ้น ณ Sea Life Bangkok ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โดยมี ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะผู้บริหารระดับสูง ผู้นำองค์กร ผู้แทนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องชุมชนชายฝั่ง อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เข้าร่วมด้วย โดย พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า วันทะเลโลกในปี 2567 ทั่วโลกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมในการดูแลรักษาทะเลและมหาสมุทรอย่างพร้อมเพรียง เพื่อกระตุ้นเตือนและให้ตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลต่อทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ที่ผ่านมาในฐานะผู้นำองค์กรได้กำกับดูแลภารกิจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและป่าชายเลน อย่างใกล้ชิด พร้อมผลักดันมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รวมถึงปกป้องทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยยึดหลักการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่าย และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับพี่น้องประชาชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการคุ้มครอง ดูแลรักษา และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้คงความสมบูรณ์ และยั่งยืน "วันนี้อยากขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เป็นพลังสำคัญของประเทศ ให้นำเอาวันทะเลโลกเป็นจุดเริ่มต้นอีกวันหนึ่งที่จะร่วมกันอนุรักษ์และดูแลท้องทะเลไทย พร้อมปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไปได้รู้จักคุณค่าและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ก็จะทำให้ทะเลของบ้านเรามีความสวยงามและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีตลอดไป" พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าว ด้าน ดร.ปิ่นสักก์ กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ทะเลทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตหนักที่สุด เนื่องจากสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำในทะเลและมหาสมุทรสูงขึ้นอย่างผิดปกติในรอบ 40 ปี หรือที่เรียกว่าทะเลเดือด ซึ่งกำลังส่งผลกระทบกับสรรพสิ่งในทะเล และจะกระทบต่อมนุษยชาติในปัจจุบันและอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาวะทะเลเดือดนี้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อทรัพยากรปะการังและแหล่งหญ้าทะเลทั่วโลก ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดในทะเลและเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ โดยที่ผ่านมากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล นำเอาประชาชนทั่วประเทศเข้ามามีบทบาทในการปกป้อง คุ้มครอง ดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย ในปัจจุบันกรมฯมีสมาชิกเครือข่ายชุมชนชายฝั่งกว่า 710 ชุมชน อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล 47,860 คน นับเป็นกำลังสำคัญต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเล เพื่อร่วมกันสอดส่องดูแลระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้มีความสมบูรณ์ยั่งยืนสืบไป นอกจากนี้ ทช. ยังได้จัดกิจกรรมวันทะเลโลก อีก 10 แห่ง ตามสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประชาชนสามารถร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเก็บขยะชายหาด รณรงค์ชายหาดปลอดพลาสติก การรณรงค์อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ชมนิทรรศการวันทะเลโลก เป็นต้น เพื่อกระตุ้นเตือนความสำคัญของท้องทะเล ที่ต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/850842
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|