#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 - 17 มิ.ย. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันออก โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อ่าวไทยและทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 21 มิ.ย. 67 ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยและทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 16 - 21 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในภาคเหนือและภาคตะวันออก รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
นทท.เซ็ง! สิงคโปร์ ปิดหาดบนเกาะเซนโตซา เหตุน้ำมันรั่วลามเปื้อนหาด เร่งทำความสะอาด เอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า สิงคโปร์ได้ทำการปิดหาดหลายแห่งบนเกาะเซนโตซา สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศลงในวันเสาร์ (15 มิ.ย.) หลังจากเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลมาจากท่าเรือปาซีร์ปันจัง ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง ทำให้ทางการต้องปิดหาดเพื่อเร่งขจัดคราบน้ำมันที่กระจายเปรอะเปื้อนชายหาด สำนักงานทางทะเลและการท่าเรือ (MPA) ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า คราบน้ำมันที่แพร่กระจายเกลื่อนเป็นผลมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อเย็นวันศุกร์ (14 มิ.ย.) ระหว่างเรือขุดลองติดธงเนเธอร์แลนด์กับเรือขนน้ำมันติดธงสิงคโปร์ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม ขณะที่บนเว็บไซต์ของเกาะเซนโตซาได้ขึ้นข้อความแจ้งเตือนว่า ขณะนี้มีการปิดแนวชายหาดยอดนิยม 3 แห่งบนเกาะเพื่อทำความสะอาด เนื่องจากมีการรั่วไหลของน้ำมันลงในทะเล โดยภาพที่ปรากฏบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเผยให้เห็นชัดถึงคราบน้ำมันดำเปรอะเปื้อนชายหาด เกาะเซนโตนา เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว โดยนอกจากจะมีชายหาดแล้วยังเป็นที่ตั้งของกาสิโน สวนสนุกยูนิเวอร์แซลสตูดิโอ และบ้านพักหรูริมหาดของกลุ่มคนรวยและชาวต่างชาติ https://www.matichon.co.th/foreign/news_4629402
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
เกิดอะไรขึ้น คราบน้ำมันมาจากไหน เต็มทะเลพัทยา ชาวเน็ตสงสัย-โยงเรือน้ำมันหายมั้ย? เกิดอะไรขึ้น คราบน้ำมันมาจากไหน เต็มทะเลพัทยา ชาวเน็ตสงสัย-โยงเรือน้ำมันหายมั้ย? พบบริเวณหน้าอ่าวพัทยา บริเวณแหลมบาลีฮาย เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์แชร์คลิปของเรือที่วิ่งอยู่ในทะเลบริเวณอ่าวพัทยา จ.ชลบุรี โดยผู้ถ่ายคลิปได้ถ่ายภาพ พบคราบน้ำมันจำนวนมากลอยปะปนกับน้ำทะเล พร้อมกับพูดว่า "คราบน้ำมันเต็มทะเล น่าจะเกี่ยวกับเรือน้ำมันที่หายไปหรือเปล่า คราบน้ำมันเต็มทะเลสีทองไปหมดเลย" ผู้สื่อข่าวจึงลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณชายฝั่งที่ติดอ่าวพัทยา โดยถ่ายภาพมุมสูงพบมีสิ่งปนเปื้อน คล้ายคราบน้ำมันปะปนในน้ำทะเลจำนวนมาก บริเวณหน้าอ่าวพัทยา บริเวณแหลมบาลีฮาย โดยมีท่าเรือกันคลื่น กันคราบน้ำมันเข้าเมืองพัทยาไว้ นอกจากนั้นบริเวณชายหาดตรงแหลมบาลีฮาย พบสิ่งปนเปื้อนคล้ายคราบน้ำมันปะปนและมีกลิ่นน้ำมันจางๆ ชาวบ้านจึงฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบ เกรงจะส่งผลกระทบกับทรัพยากรทางทะเล และการท่องเที่ยวของเมืองพัทยา https://www.khaosod.co.th/breaking-n...ws_10000003543
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'ภาวะโลกร้อน' กระทบ 'พยากรณ์อากาศ' ทำนายได้ยากกว่าเดิม แม่นยำน้อยลง ............ โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล เปิดโมเดล "พยากรณ์อากาศ" ของสหรัฐ ในการรับมือ "ภาวะโลกร้อน" ทำให้พยากรณ์อากาศได้ยากขึ้น แม่นยำน้อยลง แถมทำให้คนไม่เชื่อมั่น "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ทำให้สภาพอากาศทั่วโลกไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น รุนแรงมากกว่าเดิม ทั้งคลื่นความร้อนที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากในหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงพายุฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมสร้างความเสียหายแก่แอฟริกา ขณะที่สหรัฐต้องเตรียมรับมือกับพายุเฮอร์ริเคนในปีนี้ที่รุนแรงและมีจำนวนมากกว่าเดิม เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนจำเป็นต้องพึ่งพาการ "พยากรณ์อากาศ" ในการวางแผนใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น แต่ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลับทำให้พยากรณ์อากาศได้ยากขึ้นและแม่นยำน้อยลง เคน เกรแฮม ผู้อำนวยการกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติสหรัฐกล่าวว่า ตามปรกติแล้ว นักพยากรณ์อากาศอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบสภาพอากาศในอดีต เพื่อให้ทราบว่าอากาศในสภาวะปรกติ จะมีลักษณะอย่างไรในแต่ละสถานที่ และใช้คาดการณ์สภาพอากาศในอนาคต แต่ในตอนนี้อนาคตที่คุ้นเคยไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีถึง 7 ปีที่มีพายุเฮอร์ริเคนเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกมากกว่าปรกติ ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลแคริบเบียนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับการเกิด "น้ำท่วม" ซึ่งเป็นผลพวงมาจากฝนตกหนักมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันชั้นบรรยากาศของโลกอุ่นขึ้นและมีความชื้นมากขึ้น ปี 1985 สหรัฐเกิดน้ำท่วมฉับพลันประมาณ 30 ครั้งต่อเดือน แต่ในปี 2020 เกิดเพิ่มขึ้นเป็น 82 ครั้ง และคาดว่าในปี 2023 จะมีเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันเพิ่มขึ้นเป็น 90 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากปี 1985 ถึง 3 เท่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มความถี่ในการเกิดและความรุนแรงของภัยพิบัติ ทำให้พยากรณ์อากาศได้ยากกว่าเดิม" เกรแฮมกล่าว อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีการพยากรณ์อากาศดีขึ้นมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งช่วยให้สามารถเตือนภัยพิบัติได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและทันต่อการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยมากยิ่งขึ้น บิล บันติง รองผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์พายุในเมืองนอร์แมน รัฐโอคลาโฮมา กล่าวว่า ปัจจุบัน "เรดาร์ดอปเปลอร์" ดาวเทียมสำหรับพยากรณ์อากาศจะอัปเดตทุก ๆ 30-60 วินาที และมีแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักพยากรณ์มองเห็นอนาคตได้แม่นยำกว่าเดิม ทำให้การคาดการณ์แม่นยำยิ่งขึ้น แม้ว่าสภาวะต่าง ๆ มีความไม่แน่นอนมากขึ้นก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม การปกป้องผู้คนจากสภาพอากาศที่รุนแรงให้ได้ผลมากที่สุด จำเป็นต้องมีการพยากรณ์อากาศเฉพาะเจาะจงในแต่ละท้องถิ่น บันติงกล่าว "ตลอดการทำงานของผม เราไม่ได้เพียงแต่ออกคำเตือนเฉพาะระดับประเทศ ภูมิภาค หรือในเมืองใหญ่เท่านั้น แต่เราต้องต้องจงมากขึ้นทั้งในขอบเขตด้านพื้นที่และเวลา" บันติงกล่าว บันติงยกตัวอย่างการพยากรณ์พายุทอร์นาโด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้เกิดพายุบ่อยครั้งขึ้น แต่ในปัจจุบันสหรัฐก็สามารถเตือนผู้คนในพื้นที่ได้เร็วมากขึ้น ตั้งแต่พายุเริ่มก่อตัว และระบุพื้นที่ที่จะเกิดพายุได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถรักษาชีวิตและทรัพย์สินประชาชนได้มากขึ้น ด้วยความไว้ใจที่มีต่อการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาสหรัฐ ปัจจุบันมีผู้คนมาอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อพายุทอร์นาโดเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โดยในตอนนี้มีสำนักตรวจอากาศกระจายอยู่ทั่วประเทศมากกว่า 100 แห่ง "สภาพอากาศสุดขั้ว" และความรุนแรงของภัยพิบัติที่เพิ่มมากขึ้น กรมอุตุนิยมวิทยาจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้สำหรับสื่อสารกับสาธารณะ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติได้ปรับปรุงแผนที่และกราฟิกอื่น ๆ ที่เตือนผู้คนถึงอันตรายจากพายุเฮอร์ริเคนมาโดยตลอด ทั้งเพิ่มคำเตือนคลื่นพายุใหม่ คำศัพท์ใหม่ในการบรรยายพายุที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น และจะทวีความรุนแรงก่อนจะขึ้นฝั่ง อีกทั้งยังจะมีแผนที่พยากรณ์เส้นทางพายุเฮอร์ริเคนแบบใหม่ โดนยจะเปิดตัวในปลายฤดูร้อนนี้ ซึ่งจะรวมคำเตือนเกี่ยวกับน้ำท่วม และอันตรายอื่น ๆ เมื่อปี 2560 กรมอุตุนิยมวิทยาต้องเพิ่มสีใหม่ลงในแผนที่ปริมาณน้ำฝน เนื่องจากพายุเฮอร์ริเคนฮาร์วีย์ ทำให้เกิดฝนตกหนักมาก จนมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อนในเท็กซัส เช่นเดียวกับในหน้าร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ในปีนี้กรมอุตุฯตัดสินใจเพิ่มรหัสสีใหม่เพื่อเตือนผู้คนเกี่ยวกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดได้ดียิ่งขึ้น เกรแฮมกล่าวว่า จำเป็นต้องให้สาธารณชนได้รับรู้ว่าในตอนนี้สภาพอากาศกำลังเปลี่ยนแปลง ซึ่งจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือสำหรับภาพอากาศที่อาจไม่เคยเจอมาก่อน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดภัยพิบัติและสภาพอากาศสุดขั้วในแต่ละปีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และการประกาศเตือนก็มีบ่อยขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งหลายครั้งก็มีที่คลาดเคลื่อนไปบ้าง จนทำให้หลายคนเริ่มมีความรู้สึกเปลี่ยนไปกับข่าวพยากรณ์อากาศ โดยเกรแฮมอาการเหล่านี้ว่า "อาการเหนื่อยล้าจากการได้รับการเตือนมากเกินไป" (warning fatigue) ซึ่งจะทำให้ผู้คนหมดความรู้สึก ส่งผลให้ไม่ได้รับหรือเพิกเฉยต่อการแจ้งเตือน หรือการตอบสนองล่าช้า ดังนั้นกรมอุตุนิยมวิทยาจึงเลือกส่งคำเตือนเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดจากน้ำท่วม พายุเฮอร์ริเคน คลื่นความร้อน หรือเหตุการณ์สภาพอากาศที่เป็นอันตรายอื่น ๆ เท่านั้น ไม่ได้ส่งให้คนทั้งประเทศ? เพื่อให้พวกเขาสามารถกำหนดเป้าหมายคำเตือนไปยังกลุ่มที่แคบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะเดียวกัน อย่าทำให้ประชาชนเกิดความชะล่าใจ เกรแฮมกล่าวว่า "หากคุณได้รับคำเตือนพายุทอร์นาโด ที่ห่างออกไป 20 ไมล์ คุณอาจจะคิดว่าไม่เป็นไรหรอก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ตกอยู่ในความเสี่ยง หรือพายุทอร์นาโดลูกต่อไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อคุณ" เขาเน้นย้ำ ที่มา: NPR https://www.bangkokbiznews.com/environment/1131459
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
ปรากฏการณ์ "ลานิญ่า" มาแทนเอลนิโญ่ ต้องตั้งรับอากาศผันแปรอย่างไร คนไทยจำนวนมากคุ้นเคยกับคำว่าเอลนิโญ่และลานิญ่า แต่หลายคนยังไม่แน่ใจนักว่าแท้ที่จริงแล้วสองคำนี้มีที่มาที่ไปและหมายความถึงอะไร และผลกระทบจากปรากฏการณ์ทั้งสองที่จะเกิดกับประเทศไทยและการดำรงชีวิตว่ามีอะไรบ้าง "ดร.จีรนุช ศักดิ์คำดวง" ผู้เชี่ยวชาญสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI จึงได้เรียบเรียงข้อมูลพร้อมอธิบายความหมายของ 2 คำนี้ให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย พร้อมชี้แนะการเตรียมพร้อมและตั้งรับ ดังนี้ "เอลนิโญ่" เป็นภาษาสเปน หมายถึง เด็กชาย โดยชาวประมงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ได้เริ่มใช้คำนี้มาหลายร้อยปี เพื่อเรียกปรากฏการณ์ที่น้ำทะเลอุ่นขึ้นผิดปรกติในช่วงก่อนเทศกาลคริสมาสต์ และทำให้จับปลาได้น้อยลง "ลานิญ่า" เป็นภาษาสเปน หมายถึง เด็กผู้หญิง โดยเป็นปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกับเอลนิโญ่ โดยลานิญ่าคือปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็นลงอย่างเป็นวงกว้าง "ดร.จีรนุช" กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ส่งผลให้ทั่วโลกเผชิญกับความแห้งแล้ง ปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ และอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ในทางกลับกันปรากฏการณ์ลานิญ่าที่กำลังจะเข้ามาแทนจะทำให้มีฝนตกมากกว่าปกติ และอากาศจะหนาวเย็นกว่าปกติ ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ลานิญ่าเกิดขึ้นได้ทุก 2-3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9-12 เดือน แต่บางรอบอาจปรากฏอยู่นานถึง 2 ปี หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาในหลายประเทศคาดการณ์ว่าผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานิญ่าจะเริ่มเห็นได้ชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า สำหรับประเทศไทยนั้นปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่มากขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนของปีหน้าเป็นระยะที่ลานิญ่ามีผลกระทบต่อปริมาณและความชุกของฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และทุกภาคของประเทศจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติในทุกฤดู ซึ่งหากปรากฏการณ์ลานิญ่าที่จะเกิดขึ้นมีกำลังปานกลางถึงรุนแรง จะส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้นและเผชิญกับอุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น เทคโนโลยีในปัจจุบันที่สามารถพยากรณ์สภาพอากาศได้แม่นยำและทันต่อเหตุการณ์ช่วยให้ประชาชนทั่วไปและผู้มีหน้าที่ในการวางแผนและกำหนดนโยบายสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับกับผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานิญ่าได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเมือง ชนบท ภาคเกษตรกรรม หรือการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติที่จะเกิดจากปริมาณน้ำฝน เช่น น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก หรือดินโคลนถล่ม "ดร.จีรนุช" เผยด้วยว่า การเตรียมพร้อมในส่วนของเมืองสามารถเน้นไปที่การเตรียมตัวรับมือกับปริมาณน้ำฝนที่จะเพิ่มมากขึ้น ปรับปรุงและขุดลอกระบบระบายน้ำและคูคลอง เพราะการจัดหาพื้นที่ลุ่มรับน้ำในเขตเมืองอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะเดียวกันพายุฝนที่บางครั้งมาพร้อมกับลมกรรโชกแรงอาจทำความเสียหายต่อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ไม่แข็งแรง ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องเร่งกวดขันเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ลานิญ่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชนบทและพื้นที่เกษตรกรรมเป็นวงกว้าง เกษตรกรอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนชนิดของพืชที่ปลูกเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นและอุณหภูมิที่จะลดต่ำลงในช่วงของปรากฏการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่านอกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและภาคการผลิตของประเทศแล้ว ปรากฏการณ์เอลนิโญ่และลานิญ่าก็เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้วและความแปรปรวนของสภาพอากาศ การเตรียมพร้อมรับมือที่ดีคือการทำความเข้าใจ สร้างความรู้แก่สังคมในวงกว้างไม่ตื่นตระหนกและหาแนวทางปรับตัวที่เหมาะสมภายใต้สภาพแวดล้อมของตน https://www.prachachat.net/sd-plus/s...y/news-1586823
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|