เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,562
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 18 - 19 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 23 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 21 ? 23 มิ.ย. 67 จะมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 20 - 23 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,562
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


"ทุ่งหญ้าเขาใหญ่ฟีเวอร์" คนแห่เที่ยวแน่นจนเกิดดราม่า นักท่องเที่ยวไร้สำนึกลงไปเดินฉ่ำใน "โป่งสัตว์"


ดราม่า นักท่องเที่ยวเที่ยวทุ่งหญ้า แต่ลงไปเดินใน ?โป่งสัตว์? ทั้งที่มีป้ายห้าม (ภาพ : เพจ ผ้าขาวม้าติ่งป่า)

ปรากฏการณ์ "ทุ่งหญ้าฟีเวอร์" ทำเขาใหญ่แทบแตก หลังนักท่องเที่ยวแห่เช็กอินแน่น ขณะที่นักท่องเที่ยวไร้สำนึกจำนวนหนึ่งไม่สนกฎระเบียบ ลงไปเดินใน "โป่งสัตว์" ทั้งที่มีป้ายห้าม จนเกิดเป็นดราม่าให้คอมเม้นต์กันสนั่นบนโลกโซเชียล

ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในช่วงต้นฤดูฝนของบ้านเรา สำหรับวิวทิวทัศน์ของ "ทุ่งหญ้าเขาใหญ่" หรือ "ทุ่งหญ้าคาที่เขาใหญ่" ซึ่งหลังสายฝนโปรยสายท้องทุ่งหญ้ากว้างใหญ่หลาย ๆ จุดในพื้นที่ "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" จะเติบโตเขียวขจี ก่อนจะออกดอกสีขาวโพลน ยามต้องสายลมจะโบกพลิ้วไสวดูโรแมนติก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปถ่ายรูปจุดเช็กอินกันเป็นจำนวนมาก

"หญ้าคา" (Imperata cylindrica Beauv.) แม้จะเป็นพืชต่างถิ่นรุกราน (invasive alien species) เป็นวัชพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ดูไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในสายตาของใครหลาย ๆ คน แต่สำหรับทุ่งหญ้าคาเขาใหญ่ที่วันนี้นอกจากจะกลายเป็นจุดเช็กอินยอดฮิตแล้ว ในบริเวณทุ่งหญ้าคายังเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์กีบและสัตว์กินพืช ไม่ว่าจะเป็น ช้าง กระทิง เก้ง กวาง เนื่องจากอุดมไปด้วยธาตุอาหาร

ดังนั้นเราจึงเห็นภาพสัตว์ต่าง ๆ ลงไปหากินในทุ่งหญ้าคากันจนชินตา รวมถึงมีโป่งสัตว์อยู่ในพื้นที่ทุ่งหญ้าคาบนเขาใหญ่ด้วย

สำหรับจุดชมวิวของทุ่งหญ้าที่เขาใหญ่หลัก ๆ นั้นก็นำโดย "ทุ่งหญ้าที่หนองผักชี" หรือ "หอส่องสัตว์หนองผักชี" ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีวิวทิวทัศน์งดงาม และมีหลากหลายจุดสวย ๆ ให้เลือกถ่ายรูปกันตามใจชอบ นอกจากนี้ก็ยังมีจุดเช็กอินวิวทุ่งหญ้าบริเวณ "โป่งชมรมเพื่อน" เป็นอีกหนึ่งจุดที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเช่นกัน

ในช่วงต้นฤดูฝนของปีนี้ (2567) จุดชมวิวทุ่งหญ้าที่เขาใหญ่ได้เกิดเป็นกระแสไวรัลที่มาแรงสุด ๆ บนโลกโซเชียล ทำให้ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีคนเดินทางไปถ่ายรูปทุ่งดอกหญ้ากันอย่างเนืองแน่น จนดูคล้ายกับมาตลาดนัดหรือเทศกาลที่เขาใหญ่

อย่างไรก็ดี งานนี้มีนักท่องเที่ยวไร้จิตสำนึกที่ไม่เคารพกฎระเบียบจำนวนหนึ่งที่มาเที่ยวทุ่งหญ้าคา แล้วสร้าง "ชื่อเสีย" ให้เป็นที่โจษจัน ด้วยการลงไปเดินเล่นในพื้นที่ "โป่งสัตว์" ทั้ง ๆ ที่มีป้ายห้ามเดินลงโป่ง ทำให้เกิดดราม่าบนโลกโซเชียล มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นตำหนิพฤติกรรมไร้สำนึกดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะใน เพจ เขาใหญ่ เที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ Khaoyai National Park ที่มีชาวเน็ตคอมเม้นต์กันสนั่น

ขณะที่ก่อนหน้านี้เพจ "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ - Khao Yai National Park" ก็ได้เคยโพสต์ข้อความและภาพกราฟฟิก (เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 67) ให้ข้อมูลถึงอันตรายหากนักท่องเที่ยวเดินลงไปในโป่งหรือทุ่งหญ้า ว่า

สวยแค่ไหน ก็แอบแฝงมาด้วยความอันตราย...

????โป่ง เป็นแหล่งชุกชุมของสัตว์ป่า เพราะมีสัตว์หลายชนิดที่จะมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่แห่งนี้ หากมีมนุษย์เข้าไปรบกวนบริเวณดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุการกระจายเชื้อโรคจากสัตว์ป่าสู่คนหรือจากคนสู่สัตว์

????นอกจากโป่งยังมีอีกหนึ่งจุดที่เป็นอันตรายไม่น้อย คือบริเวณทุ่งหญ้าที่แฝงไปด้วยสัตว์ป่าและแมลงที่มีพิษ อาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่เดินเข้าไปเช่นกัน

????ด้วยความห่วงใย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จึงขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเที่ยวบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไม่ควรเดินออกนอกเส้นทางที่กำหนดก่อนได้รับอนุญาต เพราะอาจเกิดอันตรายทั้งคนและสัตว์ป่าได้


https://mgronline.com/travel/detail/9670000051872

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,562
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


เที่ยวสตูลชมความงาม'ปูก้ามดาบหยกฟ้า ค่างแว่นถิ่นใต้ ปลาตีนยักษ์สายพันธุ์กระจัง'



วันนี้...พาไปชมบรรยากาศการท่องเที่ยวอยู่ใกล้ตัวเมืองสตูล ที่ป่าในเมืองสตูล ตั้งอยู่ในพื้นที่ความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ในพื้นที่ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยพื้นที่นี่มีจุดการเดินชมเส้นทางธรรมชาติของป่าโกงกางที่มีสะพานปูยาวเข้าไปในป่าโกงกางที่มีความยาวประมาณ 1,400 เมตร

ที่นี่ได้มีนายอาคม เจ๊ะบ่าว และนายมูฮัมหมัด ซิฟิบิลโอ พนักงานพิทักษ์ป่าศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 ได้พาไปชมปูก้ามดาบหลากหลายสีจำนวนมากที่ขึ้นมาเดินเล่นบนบนโคลนตามป่าโกงกาง มีสีสันสวยงามและสิ่งหนึ่งที่สะดุดตามากที่สุด นั้นคือ ปูก้ามดาบหยกฟ้า เป็นปูก้ามดาบที่หาดูได้ยากมาก จะพบได้เยอะที่จังหวัดสตูล และยังพบปลาตีนยักษ์ มีตัวขนาดใหญ่ประมาณ 2 ขีด สายพันธุ์ ปลาตีนกระจัง ที่คุ้นชินกับนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้ที่นี่ยังพบมีค่างแว่นถิ่นใต้ ขณะนี้ในพื้นที่มีเพียง 40 กว่าตัวเท่านั้น และสิ่งที่สำคัญค่างแว่นถิ่นใต้ ที่นี่มีความสนิทกับเจ้าหน้าที่ และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม สามารถยืนมือให้จับได้ เป็นความพิเศษและจุดเด่นที่แห่งนี้ ยิ่งวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก หากเป็นวันธรรมดา ก็เปิดให้เที่วชมค้างแว่นถิ่นใต้ ก็จะลงมาเล่นกับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

นายมูฮัมหมัด ซิฟิบิลโอ พนักงานพิทักษ์ป่าศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 กล่าวว่า ปูหยกฟ้า เป็นปูก้ามดาบที่ทั้งตัวเป็นสีฟ้า แวววาวสวยงาม ตัวเล็ก ต้องสังเกตให้ดี จะออกมาเดินอวดโฉมให้นักท่องเที่ยวได้ชม และที่นี่ยังมีปูหลากหลายสีสัน ไฮไลน์คือ ค่างแว่นถิ่นใต้ ค่างที่สนิทกับคน ใครไปมามาชม มาจับมือได้


https://www.naewna.com/likesara/810950

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,562
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


สถานการณ์เต่าทะเลไทย 67 "เต่าตนุ-กระ แนวโน้มดี สวนทิศเต่าหญ้า-มะเฟือง"


(ภาพ : ทช.)

"เต่าตนุ?เต่ากระ วางไข่เพิ่มขึ้น ? เต่าหญ้า วางไข่ลดลง ? เต่ามะเฟือง ลดต่อเนื่องเหลือไม่ถึง 10 กำลังติดแทกศึกษาหามาตรการอนุรักษ์-เต่าหัวค้อนยังคงไม่พบขึ้นวางไข่" กรมทะเลเผย แนวโน้มสถานการณ์ 5 เต่าทะเลไทย วาระ "วันเต่าทะเลโลก" (World Sea Turtle Day) 16 มิ.ย. 2567

"ขยะ?เศษอวน?ภัยธรรมชาติ" ยังคงเป็น 3 ปัจจัยคุกคามสำคัญ ? กระทรวงทรัพยากรฯ เล็งใช้เทคโนโลยีช่วยแก้วิกฤต "ใกล้สูญพันธุ์"


สถานการณ์?แนวโน้ม 67

"จากการติดตามและเก็บข้อมูลการวางไข่ของเต่าทะเลไทยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561?2566 พบว่าการวางไข่ของเต่าตนุ และเต่ากระมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนเต่าหญ้ามีแนวโน้มลดลงพบการวางไข่น้อยมาก ซึ่งหากพบการวางไข่จะมีเพียง 1?2 รังต่อปี ส่วนเต่ามะเฟืองถึงจะมีแนวโน้มการวางไข่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บางปีก็จะไม่พบการวางไข่ เนื่องจากแม่เต่ามะเฟืองจะกลับมาวางไข่อีกครั้งหลังจากวางไข่ไปแล้วในช่วง 3?5 ปี

ทั้งนี้พื้นที่การวางไข่ของเต่าตนุและเต่ากระ พบวางไข่ทั้งบนชายหาดของแผ่นดินใหญ่และชายหาดของเกาะ ต่างๆ ทั้งทางฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ส่วนพื้นที่การวางไข่ของเต่ามะเฟืองและเต่าหญ้าจะพบวางไข่ เฉพาะชายหาดบนแผ่นดินใหญ่ทางฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น

ณ ขณะนี้ นานาประเทศได้ให้ความสําคัญกับเต่ามะเฟือง เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล จึงมี แหล่งอาศัยในพื้นที่ทางทะเลระหว่างประเทศ จัดเป็นทรัพยากรร่วมของภูมิภาคและระดับโลก จํานวนประชากรพ่อแม่พันธุ์เต่ามะเฟืองที่มาผสมพันธุ์และวางไข่ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือเพียงปีละไม่ถึง 10 ตัว" ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) หรือกรมทะเล เปิดเผยสถานการณ์เต่าทะเลล่าสุด


ติดแท็ก 11 เต่ามะเฟือง หามาตรการอนุรักษ์

"กรมฯ ได้จับมือองค์กรอัพเวลล์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากแคลิฟอร์เนีย เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทางของเต่ามะเฟือง โดยได้ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณระบุตําแหน่งผ่านดาวเทียมขนาดเล็กบนหลังเต่ามะเฟืองจากการอนุบาลที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต จำนวน 11 ตัว

ผลจากการติดตามสัญญาณผ่านดาวเทียมแสดงถึงเส้นทางการเดินทางและพฤติกรรมการดำน้ำ โดยพบว่า เต่าบางตัวอยู่ใกล้จุดปล่อย ขณะที่บางตัวเดินทางไปทางตะวันตกสู่หมู่เกาะอันดามัน และดูเหมือนจะวนเวียนอยู่ในวงแหวนมหาสมุทร และอีกตัวหนึ่งเดินทางไปทางใต้สู่เกาะสุมาตรา ข้อมูลที่ได้ทำให้เข้าใจในเส้นทางการเดินทางของเต่ามะเฟืองหลังจากปล่อยจากบ่ออนุบาล ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนมาตรการในการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองต่อไป" อธิบดีกรมทะเล กล่าว


"ขยะ?เศษอวน?ภัยธรรมชาติ" 3 ปัจจัยคุกคามสำคัญ?เล็งใช้เทคโนโลยีช่วยแก้

"เต่าทะเลคือหนึ่งในประชากรที่มีแนวโน้มจะถูกคุกคามเพิ่มมากขึ้นโดยปัญหาหลักเกิดจากขยะและเศษพลาสติกที่หลุดลอยอยู่ในท้องทะเลทำให้สัตว์ทะเลอาจกินเข้าไปจนถึงแก่ชีวิตอีกทั้งเกิดจากเครื่องมือการทำประมงและจากภัยธรรมชาติ

ได้สั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและปลอดภัยในการสำรวจ พร้อมให้ผสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อเร่งศึกษาการวิจัยเรื่องเต่าทะเลในประเทศฯ โดยเฉพาะเต่ามะเฟืองที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากโลก" พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าว


"ใกล้สูญพันธุ์" แนวโน้มภาพใหญ่ในไทย

"เต่าทะเล" เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่เคยมีหลักฐานพบว่าอาศัยอยู่ทั่วไปในสมัย 130 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นยังมีหลักฐานว่าเคยพบซากโบราณ (fossil) ก่อนหน้านั้นไม่น้อยกว่า 200 ล้านปี ทั่วโลกพบเต่า 7 ชนิด แพร่กระจายอยู่เฉพาะในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น คือ เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) เต่าตนุ (Chelonia mydas) เต่าหลังแบน (Natator depressus) เต่ากระ (Eretmochelys imbricata) เต่าหัวฆ้อน (Caretta caretta) เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าหญ้าแคมป์ (Lepidochelys kempi)

เต่าทะเลทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลกระทบโดยตรงจากมนุษย์ ในอดีตเต่าทะเลจำนวนมากต้องถูกล่าเพื่อนำเนื้อและไขมันมาบริโภค กระดองและซากเต่าทะเล ถูกนำมาแปรรูปเป็นเครื่องประดับตกแต่ง ไข่เต่าทะเลเกือบทั้งหมดถูกนำมาบริโภค ทำให้เต่าทะเลที่จะเจริญเติบโตไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ลดลงอย่างรวดเร็ว กิจกรรมของมนุษย์บริเวณทะเลและชายฝั่ง ทำให้แหล่งวางไข่ แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งหากินของเต่าทะเลมีจำนวนลดลง

ในประเทศไทยพบเต่าทะเลเพียง 5 ชนิด คือ เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า และเต่าหัวค้อน โดยเต่าหัวค้อนไม่เคยพบขึ้นวางไข่ในประเทศไทยเลยตลอดระยะ 20 ปี ที่ผ่านมาเพียงแต่มีรายงานพบหากินอยู่ในน่านน้ำไทยเท่านั้น

ปัจจุบัน "เต่ามะเฟือง" ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าสงวน ส่วนเต่าทะเลอีก 4 ชนิด อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

สภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงส่งผลให้ประชากรเต่าทะเลมีความอ่อนแอลง ในประเทศไทยสถิติการวางไข่ของเต่าทะเลลดลงมากกว่า 5 เท่า จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าเต่าทะเลในประเทศไทยจะได้รับความคุ้มครองก็ตามแต่สถิติการลดลงก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง


ปัจจุบันเต่าทะเลลดลงจนมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า สาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลลดลงมีสาเหตุสำคัญ ดังนี้

1.อัตราการรอดของลูกเต่าทะเลเองในธรรมชาติต่ำมาก และใช้ระยะเวลานานนับ 10 กว่าปีที่จะถึงวัยเจริญพันธุN


2.การลักลอบเก็บไข่เต่าทะเล เนื่องจากค่านิยมในการบริโภคไข่เต่าทะเลของนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณความต้องการไข่เต่าทะเลสูง ราคาไข่เต่าทะเลจึงสูง การลักลอบเก็บไข่เต่าเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายจึงยังเป็นปัญหาใหญ่


3.การติดเครื่องมือประมงทั้งที่ไม่เจตนาและโดยตั้งใจ เช่นทำการประมงอวนลาก อวนลอย และเบ็ดราว บริเวณชายฝั่งหน้าแหล่งวางไข่เต่าทะเล หรือ แหล่งหาอาหารของเต่าทะเล โดยเฉพาะในช่วงฤดูการวางไข่เต่าทะเล ซึ่งเครื่องมือทำการประมงเหล่านี้ เป็นตัวการโดยตรง ที่ทำลายพันธุ์เต่าทะเลทั้งที่เจตนาและไม่ได้เจตนา

ซึ่งเต่าทะเลเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอดเมื่อติดอวน หรือ เบ็ดอยู่ใต้น้ำนานๆ ก็จะจมน้ำตายได้ นอกจากนั้นชาวประมงบางกลุ่มทำการดักจับเต่าทะเลโดยเจตนา เพื่อนำเนื้อไปบริโภคหรือฆ่าเพื่อเอาไข่ในท้อง


4. การบุกรุกทำลายแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของเต่าทะเล โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจึงมีการบุกรุกสร้างที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพความเหมาะสมของแหล่งวางไข่เต่าทะเลเสียไป ปัจจุบันแหล่งที่เหมาะสมสำหรับวางไข่เต่าทะเลเหลือน้อยมาก


ข้อมูลการวางไข่ของเต่าทะเลในปี 2565 (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2565) พบการวางไข่ของเต่าทะเล 604 รัง ประกอบด้วยเต่าตนุ 348 รัง และเต่ากระ 256 รังไม่พบการวางไข่ของเต่าหญ้าและเต่ามะเฟือง

แหล่งวางไข่หลักของเต่าทะเลทางฝั่งอ่าวไทยพบที่เกาะครามจังหวัดชลบุรีและเกาะกระนครศรีธรรมราชส่วนฝั่งทะเลอันดามันพบที่หมู่เกาะสิมิลันพังงา

เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการวางไข่ของเต่าทะเลในอดีตจากข้อมูลการวางไข่ย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2560 พบการวางไข่ของเต่าทะเล จำนวน 373 รัง (เต่าตนุ 296 รัง เต่ากระ 73 รัง เต่าหญ้า 2 รัง เต่ามะเฟือง 2 รัง) ปี 2561 พบการวางไข่ของเต่าทะเลจำนวน 413 รัง (เต่าตนุ 246 รัง เต่ากระ 167 รัง ไม่พบการวางไข่ของเต่าหญ้าและเต่ามะเฟือง) ปี 2562 พบการวางไข่ของเต่าทะเลจำนวน 434 รัง (เต่าตนุ 226 รัง เต่ากระ 203 รัง เต่าหญ้า 2 รัง เต่ามะเฟือง 3 รัง) ปี 2563 พบการวางไข่ของเต่าทะเล 491 รัง (เต่าตนุ 240 รัง เต่ากระ 234 รัง เต่าหญ้า 1 รัง เต่ามะเฟือง 16 รัง) ปี 2564 พบการวางไข่ของเต่าทะเล 502 รัง (เต่าตนุ 199 รัง เต่ากระ 283 รัง เต่าหญ้า 2 รัง เต่ามะเฟือง 18 รัง)

จากข้อมูลข้างต้นพบว่าพื้นที่การวางไข่ของเต่าตนุและเต่ากระพบวางไข่ทั้งบนชายหาดของแผ่นดินใหญ่และชายหาดของเกาะต่างๆทั้งทางฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

แนวโน้มของจำนวนครั้งของการวางไข่ของเต่ากระมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนเต่าตนุมีแนวโน้มลดลง สำหรับพื้นที่การวางไข่ของเต่ามะเฟืองและเต่าหญ้าจะพบวางไข่เฉพาะชายหาดบนแผ่นดินใหญ่ทางฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น โดยเต่าหญ้าพบการวางไข่น้อยมาก ซึ่งหากพบการวางไข่จะมีเพียง 1 ? 2 รังต่อปี และมีแนวโน้มการวางไข่ที่ลดลง ในขณะที่เต่ามะเฟืองแม้มีแนวโน้มการวางไข่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2563 ? 2564 แต่ในปี 2565 ไม่พบการวางไข่ของเต่ามะเฟือง อาจเนื่องจากแม่เต่ามะเฟืองจะกลับมาวางไข่อีกครั้งในช่วง 3 ? 5 ปี (Shanker et al., 2003)" กรมทะเลระบุใน "ระบบฐานข้อมูลทัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง" อ้างอิงผลสำรวจปี 2565 (ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2567)


https://greennews.agency/?p=38130

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,562
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ผลิตน้ำในทะเลทราย นวัตกรรมสู้ภัยแล้งที่กำลังคุกคามทั่วโลก


SHORT CUT

- น้ำในทะเลทราย หาได้ยากเย็นแสนเข็ญ แต่โลกเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อนวัตกรรมสามารถผลิตน้ำไว้ใช้กลางทะเลทรายได้

- การผลิตน้ำใช้ในทะเลทรายใช้วิธีดึงอากาศมาทำเป็นน้ำ ช่วยเยียวยาความแห้งแล้ง

- นวัตกรรมยังช่วยแปรสภาพน้ำเค็มในทะเลทรายให้กลายเป็นน้ำจืด ที่เหมาะกับการปลูกพืช




ภัยแล้งคุกคามหลายพื้นที่ทั่วโลก บางประเทศแห้งแล้งถึงขนาดที่ประชากรอดอยากเพราะขาดน้ำ แต่นวัตกรรมสามารถเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ โลกเราสามารถผลิตน้ำใช้ในทะเลทรายได้แล้ว และ สามารถเปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วย

เนื่องในโอกาสวันที่ 17 มิถุนายนของทุกปี ตรงกับวันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก Springnews ได้รวบรวมนวัตกรรมที่น่าสนใจเพื่อการ ?ผลิต? น้ำเอาไว้ใช้กลางทะเลทราย สถานที่ที่ร้อน แล้ง และไร้ฝน ที่มีตั้งแต่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาช่วย ไปจนถึงการดึงอากาศมาทำเป็นน้ำ


สูบน้ำจากใต้ดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ท่ามกลางทะเลทรายที่มีแสงแดดเจิดจ้าตลอดเวลาอยู่แล้ว บางประเทศก็นิยมใช้ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อปั๊มน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกด้วย ซึ่งนอกจากมันจะช่วยตัดลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าแล้ว มันยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย


เปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำปลูกพืช

ในทะเลทรายของหลายประเทศจะมีจุดที่พบทะเลสาบในโอเอซิส แต่มันเป็นน้ำเค็ม ไม่ใช่น้ำจืด นอกจากนี้ในบางฤดูกาลก็จะมีเวิ้งน้ำเจิ่งนองในบางแห่ง ซึ่งก็เป็นน้ำเค็มเช่นกัน แต่นวัตกรรมยุคใหม่ก็สามารถเปลี่ยนน้ำเค็มเหล่านั้นให้กลายเป็นน้ำจืดได้ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตอาหาร โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้แค่น้ำเค็มและพระอาทิตย์

ส่วนใหญ่แล้วจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์สร้างไฟฟ้าเพื่อเดินเครื่องแปรเปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำจืด และนำน้ำเหล่านั้นไปรดต้นไม้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนิยมปลูกพืชพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศ


เครื่องผลิตน้ำจากอากาศ

สำหรับเครื่องผลิตน้ำจากอากาศ เป็นนวัตกรรมตัวใหม่ที่ตอนนี้มีหลายหน่วยงาน หลายบริษัทพัฒนากัน โดยใช้หลักการคือการดึงความชื้นจากในอากาศมาผลิตเป็นน้ำ อย่างผลงานของวิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ที่ผลิตวัสดุที่ใช้ในการดูดซับความชื้นจากอากาศ โดยวัสดุที่ว่านี้ทำมาจากไฮโดรเจล ซึ่งตามปกติแล้วถูกใช้ในผ้าอ้อมสำเร็จรูป ผู้พัฒนาได้ปรับปรุงการดูดซับโดยผสมไฮโดรเจลเข้ากับลิเทียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นเกลือประเภทที่สามารถดูดความชื้นได้ดีเยี่ยม

เมื่อวัสดุดูดซับความชื้นพองตัว มันก็จะสามารถดึงไอระเหยจากอากาศและกักเก็บความชุ่มชื้นเอาไว้ จากนั้นก็จะทำน้ำให้ร้อนและควบแน่น แล้วก็จะได้น้ำบริสุทธิ์ออกมา ด้วยความที่เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้สามารถใช้ได้แม้ความชื้นต่ำเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงเหมาะกับการนำไปใช้กลางทะเลทราย

ส่วนบริษัทของไทยเองตอนนี้ก็มีบริษัท การันตี เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด ที่พัฒนาเครื่องผลิตน้ำจากอากาศ โดยหลักการคือการ นำพัดลมเป่าอากาศเข้าไปใช้ เพื่อดึงน้ำที่อยู่ภายในอากาศให้เข้าไปเก็บในแทงค์เก็บน้ำ โดยจะมีฟิลเตอร์ป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองปนกับน้ำ ซึ่งเป็นการป้องกันขั้นแรกเริ่ม หลังจากนั้นก็จะทำการบำบัดน้ำด้วย การกรองน้ำทั้งหมด 5 ชั้น ตามหลักมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แก่ คาร์บอนฟิลเตอร์, เซรามิกฟิลเตอร์, UV และ REVERSE OSMOSIS (OR) เพื่อทำให้ได้น้ำสะอาดพร้อมดื่ม


ปัญหาโลกร้อนกำลังทำให้พื้นที่แห้งแล้งและเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้น

เคยมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change ชี้ว่า พื้นที่กว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของโลกเราจะกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้ง และกลายเป็นทะเลทรายภายในปี 2050 หากว่าเราไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ในการประชุมปารีส คือการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

ขณะที่ระหว่างปี 2015-2019 มีรายงานว่า โลกของเราได้สูญเสียพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สามารถเพาะปลูกทำการเกษตรต่างๆได้ถึงปีละอย่างน้อย 625 ล้านไร่ เป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า การทำการเกษตร รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วย


ที่มา :
https://www.nature.com/articles/d41586-023-03621-2

https://www.newsweek.com/earth-deser...warming-768545

https://www.fao.org/support-to-inves.../en/c/1040460/

https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1033492

https://www.weforum.org/agenda/2023/...er-harvesting/



https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/851004
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:54


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger