เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,562
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 18 - 19 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 24 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 21 ? 24 มิ.ย. 67 จะมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 20 - 24 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,562
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


เขตอันตราย! เตือนระวัง ทะเลกลืนกินหาดทรายนาจอมเทียน ยุบหาย 400 เมตร

ชายหาดนาจอมเทียนได้รับผลกระทบจากคลื่นลมมรสุม และน้ำทะเลหนุนสูง ดูดกลืนทรายกลับลงไปในทะเล และกัดเซาะทำให้พื้นที่ชายหาดได้รับความเสียหายระยะทางยาว 400 เมตร เจ้าหน้าที่ติดป้ายเตือนพื้นที่อันตราย



เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่ไปสำรวจบริเวณชายหาดนาจอมเทียน ม.1 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ภายหลังได้รับผลกระทบจากคลื่นลมมรสุม และน้ำทะเลหนุนสูง ดูดกลืนทรายกลับลงไปในทะเล และกัดเซาะ ทำให้พื้นที่ชายหาดได้รับความเสียหายหนัก

ชายหาดนาจอมเทียน เดิมเป็นลักษณะหาดทรายขาว มีหน้ากว้างชายหาด จากขอบถนนยื่นลงไปในทะเล 50 เมตร ด้านติดทะเลลักษณะเป็นที่ราบสโลพ หลังได้รับผลกระทบทำให้เป็นลักษณะสูงชัน บางจุดความสูงเกือบ 2 เมตร ไล่ระดับลงมาสูงชันไม่เท่ากัน ตั้งแต่ช่วงหน้าร้านอาหารลุงไสวไปจนถึงร้านอาหารปูเป็น ระยะทางราว 400 เมตร จากระยะทาง 1,000 เมตร ซึ่งอาจส่งผลเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงน้ำขึ้น และในยามค่ำคืนที่มีแสงสว่างน้อย

ล่าสุด น.ส.ระพีพรรณ รัตนเหลี่ยม นายกเทศมนตรีตำบลนาจอมเทียน ได้นำป้ายมาติดประกาศเตือนเป็นพื้นที่อันตรายให้นักท่องเที่ยวโปรดใช้ความระมัดระวัง ส่วนการดำเนินการแก้ไขในขณะนี้หน่วยงานเจ้าท่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว อยู่ในระหว่างการหาข้อสรุป เพื่อดำเนินการแก้ไขในโอกาสต่อไป


https://www.dailynews.co.th/news/3549849/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า สัปดาห์ที่แล้ว
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,562
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ผลศึกษาพบหิมะบนหิมาลัยลดลงต่อเนื่อง หวั่นกระทบความมั่นคงทางน้ำ


เครดิตภาพ : AFP.

ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาภูเขาแบบบูรณาการ (ไอซีไอเอ็มโอดี) รายงานว่า จำนวนของหิมะสะสมที่น้อยลงบนเทือกเขาหิมาลัย อาจกระทบต่อภัยความมั่นคงทางน้ำของประชาชนที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำ ที่มีน้ำแข็งจากหิมาลัยเป็นแหล่งต้นน้ำที่สายหลัก

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ว่า นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ประชากรหลายล้านคนที่ต้องอาศัยน้ำ ซึ่งละลายมาจากหิมะบนเทือกเขาหิมาลัย จะเผชิญกับความเสี่ยงที่ ?ร้ายแรงมาก? จากการขาดแคลนน้ำในปีนี้ เนื่องจากหิมะตกน้อยที่สุดครั้งหนึ่ง

ธารน้ำแข็งที่ละลายเป็น 1 ใน 4 ของแหล่งน้ำทั้งหมดในลุ่มแม่น้ำหลัก 12 แห่ง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัย "นี่เป็นการแจ้งเตือนแก่นักวิจัย, ผู้กำหนดนโยบาย และชุมชนปลายน้ำ" นายเชอร์ มูฮัมหมัด จากศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาภูเขาแบบบูรณาการ กล่าว "จำนวนหิมะสะสมที่ลดลงและระดับของหิมะที่ผันผวน ส่งผลต่อความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะปีนี้" เนื่องจากหิมะและน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัย เป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับผู้คนประมาณ 240 ล้านคนในพื้นที่ และอีกประมาณ 1,650 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับแม่น้ำ ที่ไหลผ่านจากหุบเขาลงสู่เบื้องล่าง

แม้ระดับหิมะจะผันผวนในแต่ละปี แต่นักวิทยาศาสตร์มองว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน และรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และการคงอยู่ของหิมะบนพื้นต่ำกว่าปกติร้อยละ 18.5 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 ในรอบ 22 ปีที่ผ่านมา เป็นรองเพียงสถิติปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 19

นอกจากเนปาล องค์กรไอซีไอเอ็มโอดียังร่วมมือกับรัฐบาลประเทศอื่น ๆ อาทิ อัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, จีน, อินเดีย, เมียนมา และปากีสถาน ล้วนเตือนว่า การสังเกตการณ์และคาดการณ์ มีข้อบ่งชี้ถึง ?การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านเวลาและความเข้มข้นของกระแสน้ำ? โดยมีหิมะเป็นส่วนสำคัญในการรับรองว่ามีน้ำเพียงพอตามฤดูกาลหรือไม่

มากไปกว่านั้น มีการเตือนว่า สถานการณ์ปีนี้มีความเลวร้ายมากที่สุดครั้งหนึ่ง รวมไปถึงในประเทศสมาชิก ซึ่งไอซีไอเอ็มโอดีได้ทำการสำรวจ อาทิ ลุ่มแม่น้ำคงคาในอินเดีย มีหิมะสะสมต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 17, ลุ่มแม่น้ำเฮลมันด์ในอัฟกานิสถาน ที่ร้อยละ 32 และลุ่มแม่น้ำสินธุร้อยละ 23

ขณะที่ลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งสิ้นสุดในบังกลาเทศ มีหิมะต่ำกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัดถึงร้อยละ 15 นางมิเรียม แจ็กสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำแข็งบนโลก หรือหิมะภาค เรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศ "ใช้มาตรการเชิงรุก" เพื่อแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้น


https://www.dailynews.co.th/news/3548996/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:53


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger