เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 21-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 21 ? 26 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับจะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 21 - 26 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดจากฝั่ง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 21-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ลุยหนัก! จนท.เปิดปฏิบัติการรื้อถอนโพงพางกลางอ่าวปากพนัง

นครศรีธรรมราช ? ศรชล.ภาค 2 นครศรีธรรมราช ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดปฏิบัติการรื้อถอนโพงพางเครื่องมือประมงผิดกฎหมายกลางอ่าวปากพนัง ประมงพื้นบ้านจี้เร่งดำเนินการเหตุทำลายทรัพยากรรุนแรงส่งผลต่อผู้ใช้เครื่องมือปกติ



วันนี้ (20 มิ.ย.) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเล อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช กองตรวจการประมง กรมประมง และ ศรชล.ภาค 2 นครศรีธรรมราช สนธิกำลังเจ้าหน้าที่นับ 10 นาย พร้อมด้วยเรือตรวจการณ์ ได้เปิดปฏิบัติการรื้อถอนเครื่องมือประมงผิดกฎหมายกลุ่มโพงพาง ซึ่งมีผู้ทำประมงได้ลักลอบเข้ามาปักทำประมงในหลายจุดอีกครั้ง หลังจากการปฏิบัติการครั้งใหญ่เมื่อปี 2558

แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีความพยายามลักลอบปักแนวโพงพางใหม่ และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เจ้าหน้าที่ได้กระจายกำลังออกไปทำการประจำจุดก่อนที่เข้ารื้อถอนแนวโพงพาง พบว่ามีกลุ่มเรือหางยาวเฝ้าสังเกตการณ์การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในระยะไกล แต่ไม่ได้มีการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำลายแนว ตรวจยึดไม้ติ้วถ่างถุงอวน ทำให้ไม่สามารถนำกลับไปใช้การได้อีก

นายพงษ์ศักดิ์ นิธิกรกุล หัวหน้ากลุ่มควบคุมการทำประมง กองตรวจการประมง กรมประมง เปิดเผยว่า มีความจำเป็นในการต้องเร่งลดเครื่องมือผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโพงพางในอ่าวปากพนังต้องเร่งรื้อถอนต่อไป หลังจากปี 2558 มีการลักลอบเข้ามาอีกต่อเนื่อง การบังคับใช้กฎหมายจึงมีความจำเป็นไม่ให้เครื่องมือเช่นนี้เกิดขึ้นขยายตัวมากขึ้น อยากร้องขอให้ใช้เครื่องมือที่ถูกกฎหมายเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร

ขณะที่ชาวประมงอวนลอยที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ระบุว่า การทำประมงผิดกฎหมายในอ่าวทั้งลอบพับ เครื่องมือคราดหอยเถื่อน โพงพาง เครื่องมือพวกนี้ทำให้สัตว์น้ำทุกชนิดเข้าไปทั้งหมดส่งผลกระทบแม้แต่เครื่องมือของชาวประมงอวนลอยขาดเสียหาย ไม่มีใครรับผิดชอบ อยากให้เจ้าหน้าที่เร่งรื้อให้หมด

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การเร่งกวาดล้างเครื่องมือผิดกฎหมายจะส่งผลกระทบให้นายทุนที่อยู่เบื้องหลังที่ไม่ออกทุนให้กลุ่มชาวประมง ทำให้มีแนวโน้มของการใช้เครื่องมือถูกกฎหมายมากขึ้น สำหรับพื้นที่อ่าวปากพนังถือเป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์น้ำวัยอ่อน สัตว์น้ำเศรษฐกิจของอ่าวไทย เช่น หอยแครง ซึ่งได้ชื่อว่ามีคุณภาพดีที่สุดในอ่าวไทย ปลาเศรษฐกิจชนิดต่างๆ เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย ปลาทู ปลากระบอก เนื่องจากเป็นพื้นที่มีความสมบูรณ์จาการถ่ายเทสารอาหารจากเทือกเขาหลวงสู่ลุ่มน้ำปากพนัง ก่อนไหลสู่ปากอ่าวที่ปลายแหลมตะลุมพุก หรืออีกชื่อที่ถูกขนานนามคือ "มดลูกแห่งอ่าวไทย"


https://mgronline.com/south/detail/9670000052900

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 21-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีนแถลงพบวัตถุโบราณกว่า 1,000 ชิ้น ในซากเรือโบราณ 2 ลำ



สํานักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ (NCHA) แถลงความคืบหน้าโครงการสำรวจซากเรือใต้น้ำ ในเมืองฉงไห่ มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน ระบุว่า เดือน ต.ค.2022 นักโบราณคดีจีนพบซากเรือโบราณ 2 ลํา ที่ระดับความลึกประมาณ 1,500 เมตร บริเวณทะเลจีนใต้ อันเป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลในอดีต โดยขุดพบวัตถุโบราณ 928 ชิ้น มีทั้งเครื่องปั้นดินเผา เครื่องลายคราม และไม้

ตั้งแต่เดือน พ.ค.ถึงต้นเดือน มิ.ย.2024 ศูนย์วิจัยโบราณคดีแห่งชาติ สํานักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ สถาบันวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมใต้ทะเล (CAS) และพิพิธภัณฑ์จีน ร่วมกันตรวจสอบซากเรือโบราณ 2 ลํา

โดยซากเรือโบราณหมายเลข 1 พบวัตถุโบราณกว่า 100,000 ชิ้น ในสมัยของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อ แห่งราชวงศ์ หมิง (1506-1521) ส่วนซากเรือโบราณหมายเลข 2 พบท่อนไม้จำนวนมาก ในสมัยจักรพรรดิหงจื้อ แห่งราชวงศ์หมิง (1488-1505)

Song Jianzhong นักวิจัยจากศูนย์วิจัยโบราณคดีแห่งชาติ สํานักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ ระบุว่า จากการสำรวจซากเรือโบราณยังค้นพบเครื่องหมายรัชสมัยบนชามโบราณในปีปิ่งหยิน ซึ่งตรงกับปีแรกของการครองราชย์ของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อ นับเป็นการยืนยันว่า ซากเรือโบราณหมายเลข 1 เป็นเรือในสมัยจักรพรรดิเจิ้งเต๋อ ซึ่งช่วยต่อยอดองค์ความรู้การศึกษาแหล่งโบราณคดีใต้น้ำที่สำคัญของจีน

ที่มา : China Media Group


https://mgronline.com/china/detail/9670000052284

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 21-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


สุดปลื้ม! 'เต่าแม่เพรียง'ขึ้นวางไข่ 139 ฟองต่อเนื่องรังที่ 3 บนเกาะทะลุ



วันที่ 20 มิ.ย.67 นายสมเจตน์ จันทนา ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (สบอ.3) สาขาเพชรบุรี ได้รับแจ้งจาก นายเอกฤทธิ์ ดวงมาลา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) จ.ประจวบฯ ว่าหลังจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม เดินลาดตระเวนการขึ้นวางไข่ของเต่ากระบนพื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ และการเฝ้าติดตามการฟักไข่ของเต่ากระอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.67 เวลา 19.48 น.พบเเม่เต่ากระ ชื่อ "แม่เพรียง" หมายเลขไมโครชิพ 933.076400505267 ขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวในหุบของเกาะทะลุ จำนวน 1 รัง เป็นรังที่ 3 ของปี 2567 พิกัด 47 P 0560230E 1223853N อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม

จากการตรวจสอบ พบแม่เต่ากระมีขนาดลำตัวกระดองกว้าง 77 เซนติเมตร ยาว 89 เซนติเมตร ขนาดของหลุมกว้าง 29 เซนติเมตร ลึก 44 เซนติเมตร จุดวางไข่ห่างจากน้ำทะเล 14 เมตร รอยพายมีความกว้าง 74 เซนติเมตร และพบไข่ทั้งหมด จำนวน 139 ฟอง ต่อมาเจ้าหน้าที่จึงทำการเคลื่อนย้ายรังไปยังบ่ออนุบาลของมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยามเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางธรรมชาติ เนื่องจากหลุมไข่เต่าตั้งอยู่บริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึง โดยมีมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยามเป็นผู้ดูแล และให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับ "เต่ากระ" ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eretmochelys imbricata (Linnaeus,1766) เป็นสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ สถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญาไซเตส (CITES) ด้วย


https://www.naewna.com/likesara/811635

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 21-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


Blue Carbon ตัวช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนทางทะเล ความหวังสุดท้ายสู้โลกเดือด!




ว่ากันว่า "บลูคาร์บอน" (Blue Carbon) คือความหวังสุดท้ายของมนุษยชาติ ในการต่อสู้กับวิกฤตโลกเดือด ด้วยการช่วยดูดซับ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนได้ในอากาศเอาไว้ สปริงชวนเปิดมุมมองผ่าน 2 ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยบูรพา

กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะในระดับชีวิตประจำวัน หรือการปล่อยมลพิษจากระบบอุตสาหกรรม ล้วนก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สภาพอากาศโลกแปรปรวน

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้คือหนึ่งในวิธีที่หลายประเทศทั่วโลกทำอย่างจริงจัง ด้วยเห็นว่าสามารถดูดซับ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนในอากาศได้

แต่ปล่อยให้ต้นไม้บนบกทำหน้าที่อยู่ฝ่ายเดียวคงไม่ทันการ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงชี้ให้เห็นว่า ระบบนิเวศทางทะเลก็สามารถทำหน้าที่นั้นได้เช่นเดียวกัน และอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าเสียด้วย

ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเรื่อง "Blue Carbon" ระบบนิเวศทางทะเล ตัวช่วยดูดซับ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนในอากาศจึงเป็นเรื่องที่เหล่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ รวมถึงองค์กรต่าง ๆ กำลังให้ความสำคัญ แต่คำถามคือเรารู้จักคาร์บอนสีน้ำเงินกันมากน้อยแค่ไหน?

"ผมเชื่อว่าปีหน้าอุณหภูมิน้ำก็คงไม่ดีไปกว่านี้ อาจจะเท่าเดิม หรือเพิ่มสูงขึ้น ถ้ามันยังเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วเราไม่หาทางป้องกัน หรือไม่มีนโยบายต่าง ๆ มาบริหารจัดการ มันก็เหมือนกับเราปล่อยให้ทรัพยากรทางทะเลเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ" ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง ผอ. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าว

คำกล่าวข้างต้นคือเสียงเพรียกเตือนจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศทางทะเล ได้แก่ ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง ผอ. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ทีมข่าวสปริงนิวส์มีโอกาสได้ฟังเสวนาถึงบทบาทของ ?Blue Carbon? ในประเทศไทย

ในงานเสวนาครั้งนี้ ยังได้ ดร. สราวุธ ศิริวงศ์ คณบดีเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี มาร่วมพูดคุยถึงเรื่องปะการังไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในบลูคาร์บอน


ทำความรู้จัก "Blue Carbon" ระบบนิเวศทางทะเล ตัวช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอน

เราอาจเคยได้ยินการดักจับคาร์บอนของต้นไม้ สิ่งนั้นเรียกว่า "กรีนคาร์บอน" แต่ในบริบทระบบนิเวศทางทะเลจะถูกเรียกขานว่า "บลูคาร์บอน" คอนเซปต์ก็คือการที่ป่าชายเลน ปะการัง หรือแหล่งหญ้าทะเลช่วยดูดซับ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนในอากาศเอาไว้ เพื่อมิให้ไปแปรสภาพเป็นก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นต้นเหตุของปรากฏการณ์ภาวะโลกเดือด

"Blue Carbon คือแนวทางที่สามารถลดปัญหาโลกเดือดได้ เพราะว่าตอนนี้ถ้าเราไม่มีแหล่งป่าชายเลน ไม่มีแหล่งหญ้าทะเล หรือแม้กระทั่งสาหร่ายในปะการัง ซึ่งเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน อันนี้เป็นปัญหาแน่" ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง กล่าว

"ภาพรวมที่ต้องเตรียมพร้อมไว้ มีอยู่ 2 ส่วน เรื่องแรกคือไปดูว่าภาวะโลกเดือดส่งผลเสียต่อทรัพยากรอะไรบ้าง เรื่องที่สองคือเราจะทำยังไงให้ป่าชายเลน หญ้าทะเล หรือแนวปะการังฟื้นตัว และอยู่อย่างยั่งยืนได้ ทำยังไงให้มีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด"

บทความนี้สปริงนิวส์จะพาไปเจาะลึกว่าทำไม "ป่าชายเลน แหล่งหญ้าทะเล และปะการัง" หรือบลูคาร์บอน ทำไมถึงสำคัญต่อหนทางการมุ่งสู่ Net Zero ของไทย มีความท้าทายอย่างไร และการฟื้นฟูอนุรักษ์สามารถทำได้ด้วยวิธีไหนบ้าง


ป่าชายเลน ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

ข้อมูลจากกรมทรัพยากรและทะเลชายฝั่ง ระบุว่าบริเวณภาคตะวันออกของไทยมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์อยู่หลายแห่ง อาทิ ระยอง จันทบุรี ตราด แต่ในปี 2552 มีการแผ้วถางป่าชายเลนแล้วเปลี่ยนไปทำอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้ง

หลังจากนั้น จึงมีความพยายามฟื้นฟูป่าชายเลน กระทั่งในปี 2563 บริเวณภาคตะวันออกของไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นราว 2 ? 3 แสนไร่


3 เรื่องสำคัญ ฟื้นฟูป่าชายเลน

ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง เปิดเผยว่า หากเราจะทำการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน มี 3 แนวทางที่ต้องยึดไว้ให้มั่น

- เรื่องแรกคือ "พื้นที่นั้นต้องเหมาะสมสำหรับการปลูกป่าชายเลน"

- เรื่องที่สองคือ "อนุรักษ์ป่าชายเลนที่มีอยู่แล้ว และฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรม" และ

- เรื่องสุดท้ายคือ "การบริหารจัดการพื้นที่ป่าในชุมชน"

หากปฏิบัติตาม 3 แนวทางข้างต้น เราจะได้ป่าชายเลยที่มีประสิทธิภาพ ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในที่สุดป่าชายเลยก็จะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน แต่นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น

ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง กล่าวว่า "แม้ป่าชายเลนอาจได้รับผลกระทบไม่เยอะมาก แต่จริง ๆ แล้ว ปริมาณตัวอ่อนของสัตว์ในแหล่งน้ำธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง ชาวประมงจับปลาตามแนวป่าชายเลนลดน้อยตามไปด้วย"


ปะการังไทย: แหล่งดูดซับคาร์บอนชั้นเลิศ แต่อาจไม่รอดเพราะโลกร้อน

เมื่อเอ่ยถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเชื่อว่า ?ปะการัง? น่าจะกินพื้นที่บนหน้าสื่อมากที่สุด เพราะในปี 2567 โลกประกาศร่วมกันว่าขณะนี้เรากำลังเผชิญกับวิกฤตปะการังฟอกขาว ครั้งที่ 4

ไทยไม่ยอมตกเทรนด์ ในปีนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยน้ำทะเลไทยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2 องศา ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งนิยามว่าปะการังฟอกขาวของปีนี้รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 และ 2559

ดร. สราวุธ ศิริวงศ์ คณบดีเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี อธิบายว่า ในปะการังจะมีสาหร่ายอาศัยอยู่ พวกมันทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง แถมยังช่วยดูดซับ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนในอากาศเอาไว้

"33% ของแนวปะการังในประเทศไทยฟอกขาว แต่ว่าตอนนี้อุณหภูมิน้ำลดลงแล้ว เนื่องจากมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน อากาศดีขึ้น อุณหภูมิน้ำกลับสู่ภาวะปกติ ดังนั้น พื้นที่ปะการังฟอกขาวที่ไม่หนักมากกำลังฟื้นตัว จากสีขาวค่อย ๆ กลายเป็นสีซีด แล้วกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อน อย่างเช่น ที่พัทยา เกาะสีชัง ที่เริ่มฟื้นแล้ว"


เราจะช่วยปะการังฟอกขาวได้อย่างไร?

ดร. สราวุธ ศิริวงศ์ เผยว่าในระดับปัจเจกเราต้อง "ลด ละ เลิก" กล่าวคืออย่าไปรบกวน อย่าไปเที่ยว อย่าปล่อยน้ำเสียลงทะเล แล้วปล่อยให้ปะการังฟื้นตัวเองในธรรมชาติคือวิธีที่ดีที่สุด

แต่ยังไงน้ำทะเลก็ยังจะร้อนอยู่ และปีหน้าก็คาดว่าจะร้อนกว่านี้ แล้วเราจะฉกฉวยประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขนี้ได้อย่างไร ดร. สราวุธ ศิริวงศ์ ชวนตั้งข้อสังเกตว่าช่วงที่เกิดปะการังฟอกขาวมีสายพันธุ์ใดบ้างที่ไม่ฟอก สายพันธุ์ใดบ้างที่ฟอกขาวไปแล้ว แต่ฟื้นฟูกลับมาได้

"เป็นไปได้ไหมว่าปะการังเหล่านี้มันคือความหวัง เป็นไปได้ไหมถ้าเราขยายพันธุ์ปะการังกลุ่มนี้ กลุ่มที่มีความพิเศษ แล้วให้มันเป็นสารตั้งต้น เป็นต้นพันธุ์แห่งอนาคต"


หญ้าทะเล: บทบาทที่มากกว่าแค่อาหารพะยูน

ข้อมูลจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature - IUCN) ระบุว่าแหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่สามารถช่วยดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนได้มากกว่าป่าบนบกราว 7-10 เท่า

สำหรับสถานการณ์หญ้าทะเลของภาคตะวันออก ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ หาดเจ้าหลาวเคยมีหญ้าทะเลอยู่เยอะ แต่ล่าสุดพบว่าหญ้าทะเลส่วนใหญ่เริ่มมีใบเหลือง และเสียหาย ดังนั้น สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลจึงคิดว่าเราควรมีพันธุ์หญ้าทะเลเก็บเอาไว้ในโรงเพาะ


โรงเพาะปะการัง หญ้าทะเล และสัตว์ทะเลสวยงาม แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา

เมื่อจบพาร์ทการพูดคุย อาจารย์ทั้ง 2 ท่านได้เชิญชวนเข้าทีมข่าวสปริงเข้าไปดูเพาะพันธุ์สัตว์ทะเลสวยงาม หญ้าทะเล และปะการังน้ำตื้นหลากหลายชนิด ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่มาพร้อมกับคอนเซปต์ "Eco Friendly ? Zero Waste"

โรงเพาะแห่งนี้มีปะการังอยู่ราว 40 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นปะการังน้ำตื้น และมีบางส่วนที่ถูกตัดแต่งเพื่อนำไปผสมพันธุ์ ดร. บัลลังก์ อธิบายถึงจุดประสงค์ของโรงเพาะแห่งนี้ว่า "โรงเพาะฟักแห่งนี้เก็บปะการังเอาไว้หลายพันธุ์ หากในอนาคตปะการังฟอกขาวหนักหน่วงในระดับน่าเป็นห่วง เราก็สามารถนำปะการังเหล่านี้ไปฟื้นฟูในแหล่งต่าง ๆ ได้"

อีกหนึ่งกิมมิคที่น่าสนใจคือโรงเพาะแห่งนี้ใช้ระบบน้ำหมุนเวียนทั้งหมด เพาะเพาะเลี้ยงปะการัง และสัตว์ทะเลสวยงาม เช่น ปลาการ์ตูน ซึ่ง ดร. บัลลังก์ บอกว่าใช้สาหร่ายเข้ามาช่วยบำบัดน้ำ ประโยชน์ที่ได้มาเพิ่มก็คือมันสามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนได้

ไฮไลท์สุดท้ายของโรงเพาะแห่งนี้คือ "ป่าชายเลน" ความพิเศษคือทางมหาวิทยาลัยบูรพาได้นำป่าชายเลนขนาดย่อมมาปลูกไว้ที่โรงเพาะแห่งนี้เป็นระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว ตอกย้ำว่าระบบน้ำหมุนเวียนก็สามารถหล่อเลี้ยงป่าชายเลนให้ตั้งตระหง่านได้เช่นกัน


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/851081

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:35


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger