เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 30-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. ? 2 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 3 ? 5 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 30-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


กรมอุตุฯ เตือนเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาลากยาวถึงต้นปี 68


เครดิตภาพ https://www.bssnews.net/news/

กรมอุตุฯ เตือนปรากฏการณ์เอนโซ น้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรเย็นลง คาดเตรียมเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญา ซึ่งอาจลากยาวจนถึงต้นปี 68

ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเรื่อง การติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศ ประเทศไทย ในเดือน ก.ค.-ก.ย. 2567 โดยระบุว่า ปรากฏการณ์ El Nino Southern Oscillation (ENSO) ขณะนี้ปรากฎการณ์เอนโซอยู่ในสภาวะปกติแล้ว (Nino 3.4= 0.3) จากแบบจำลองการพยากรณ์ ENSO ของศูนย์ต่างๆ ทั่วโลก การพยากรณ์ความน่าจะเป็นของสถานการณ์ ENSO และการพยากรณ์อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรในเดือนที่ผ่านมาเย็นลงเกือบทั่วทั้งบริเวณ


เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาที่อาจลากยาวถึงต้นปี 68

ประกอบกับเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและแบบจำลองเชิงพลวัตแล้วคาดว่า ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติมีความน่าจะเป็นร้อยละ 65 ที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือน ก.ค. ถึง ก.ย. 2567 และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงม.ค. ถึงมี.ค. 2568

ขณะที่ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) หรือดัชนีวัดค่าความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเล อันเนื่องมาจากการอุ่นขึ้นหรือเย็นตัวอย่างผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนใต้ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียบริเวณเขตศูนย์สูตร (EAST) กับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียเขตศูนย์สูตร (WEST) มีแนวโน้มที่จะมีสถานะปกติ จะไม่ส่งผลต่อปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยในช่วงดังกล่าว

ขณะเดียวกันปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เกิดควบคู่กันระหว่างการไหลเวียนของบรรยากาศกับการยกตัวขนาดใหญ่ของอากาศในเขตร้อน พบว่าในช่วงปลายเดือน มิ.ย.ปรากฏการณ์ MJO จะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกจากบริเวณมหาสมุทรอินเดียไปยังบริเวณ Maritime Continent แล้วมีกำลังแรงขึ้นในช่วงต้นเดือน ก.ค. ซึ่งคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ MJO ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติตั้งแต่ปลายเดือนมิ.ย.ต่อเนื่องไปจนถึงต้นเดือน ก.ค. หลังจากนั้นยังคงต้องเฝ้าติดตามปรากฏการณ์ MJO อย่างใกล้ชิดต่อไป


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9670000055453

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 30-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'โลกร้อน' ทำ 'น้ำแข็งขั้วโลก' ละลายเร็วกว่าเดิม 'ระดับน้ำทะเล' พุ่งสูง
.......... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล


KEY POINTS

- น้ำทะเลอุ่นแทรกซึมอยู่ระหว่างแผ่นน้ำแข็งชายฝั่งและพื้นดินอยู่ ซึ่งน้ำอุ่นละลายช่องน้ำแข็ง ยิ่งทำให้น้ำไหลเข้าไปในน้ำแข็งได้มากขึ้น และเมื่อน้ำแข็งละลายสู่มหาสมุทร ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

- "การรุกล้ำของน้ำทะเล" ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในแบบจำลองระดับน้ำทะเลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็น ?จุดพลิกผัน? ช่วยอธิบายว่าทำไมแผ่นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์จึงหดตัวเร็วกว่าที่คาดไว้

- น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตกจะยังคงละลายตลอดทั้งศตวรรษนี้ ต่อให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงจนเหลือศูนย์ก็ตาม และการละลายนี้จะส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อระดับน้ำทะเล




"ภาวะโลกร้อน" ทำให้ "น้ำแข็งขั้วโลก" ละลายอย่างรวดเร็วขึ้นไปทุกขณะ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ?ระดับน้ำทะเล? ที่พุ่งสูงขึ้น และดูเหมือนว่าการประเมินการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจะต่ำความเป็นจริงอยู่เรื่อยมา ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบปัจจัยใหม่ที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว และระดับน้ำทะเลพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

จากการศึกษาใหม่จากคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร หรือ BAS ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Geoscience พบว่า มีน้ำทะเลอุ่นแทรกซึมอยู่ระหว่างแผ่นน้ำแข็งชายฝั่งและพื้นดินอยู่ ซึ่งน้ำอุ่นละลายช่องน้ำแข็ง ยิ่งทำให้น้ำไหลเข้าไปในน้ำแข็งได้มากขึ้น และเมื่อน้ำแข็งละลายสู่มหาสมุทร ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ "เขตกราวดิง" (grounding zones) เป็นบริเวณที่น้ำแข็งจากพื้นดินมาบรรจบกับทะเล เมื่อเวลาผ่านไป น้ำแข็งบนบกจะเคลื่อนตัวลงสู่มหาสมุทรโดยรอบและละลายในที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ชายฝั่งแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

นักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลอง เพื่อหาว่าน้ำทะเลสามารถซึมระหว่างพื้นดินกับแผ่นน้ำแข็งได้อย่างไร ส่งผลต่อการละลายน้ำแข็งเฉพาะจุดและเร่งให้ละลายเร็วขึ้นอย่างไร ซึ่งพบว่ากระบวนการนี้เกิดขึ้นจาก น้ำทะเลอุ่นเข้ามาละลายน้ำแข็งบริเวณกราวดิงจนเป็นโพรงใหญ่ และทำให้น้ำอุ่นไหลเข้ามาในแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งจะเร่งให้น้ำแข็งละลายมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น

ดังนั้นหากน้ำทะเลมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นแม้เพียงนิดเดียวก็จะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออัตราการละลายของน้ำแข็ง ซึ่งจะเปลี่ยนจากระยะทางไม่กี่เมตรให้กลายเป็นหลาย 10 กิโลเมตร ได้ในระยะเวลาไม่นาน

อย่างไรก็ตาม "การรุกล้ำของน้ำทะเล" ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในแบบจำลองระดับน้ำทะเลของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็น "จุดพลิกผัน" ช่วยอธิบายว่าทำไมแผ่นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์จึงหดตัวเร็วกว่าที่คาดไว้

"แบบจำลองที่ใช้กันอยู่อาจไม่ได้รวมการรุกล้ำของน้ำทะเลเข้าไปด้วย การศึกษาของเราเป็นจุดพลิกผันใหม่ที่ทำให้เรารู้ว่าเหตุใดแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาถึงได้ละลายเร็ว หมายความว่าการประเมินระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมีนัยยะสำคัญ" ดร.อเล็กซานเดอร์ แบรดลีย์ จาก BAS ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยกล่าว

ดร.แบรดลีย์กล่าวเพิ่มเติมว่า แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องได้รับการอัปเดต เพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคตได้ดีขึ้น และเตรียมพร้อมมือกับสถานการณ์ได้ทัน

ทั้งนี้ การศึกษาระบุว่าเราจะยังไม่รู้สึกถึงผลกระทบดังกล่าวในทันที แต่ระดับน้ำทะเลจะค่อย ๆ สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอีกหลายร้อยปี ซึ่งคุกคามชุมชนชายฝั่งทั่วโลก อีกทั้งการศึกษาไม่ได้ระบุว่าจุดพลิกผันจะมาถึงเมื่อไหร่ และไม่ได้ระบุว่าการรุกล้ำของน้ำทะเลจะทำให้ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นเท่าใด แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ในแต่ละปีแอนตาร์กติกาจะสูญเสียน้ำแข็งปีละ 150,000 ล้านเมตริกตัน และหากน้ำแข็งทั้งหมดละลายจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 58 เมตร

ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรุกล้ำของน้ำทะเลอาจทำให้อัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานที่พบในปัจจุบันว่า น้ำทะเลเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้น้ำแข็งละลายในปัจจุบัน เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ ข้อมูลจากดาวเทียมที่แสดงให้เห็นว่าแผ่นน้ำแข็งในเขตกราวดิงมีความสูงลดลง

นักวิทยาศาสตร์เตือนมาโดยตลอดว่า วิกฤติสภาพภูมิอากาศกำลังผลักให้โลกไปสู่จุด "หายนะ" หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการพังทลายของแผ่นน้ำแข็งของเกาะกรีนแลนด์ และการพังทลายของกระแสน้ำสำคัญในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งจะส่งผลกระทบความมั่นคงทางอาหารของผู้คนหลายพันล้านคน เนื่องจากปริมาณน้ำฝนลดน้อยลง

การวิจัยในปี 2023 พบว่า น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตกจะยังคงละลายตลอดทั้งศตวรรษนี้ ต่อให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงจนเหลือศูนย์ก็ตาม และการละลายนี้จะส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อระดับน้ำทะเล

สอดคล้องกับงานวิจัยนี้ พบว่าแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกบางแผ่นมีความเสี่ยงต่อการรุกล้ำของน้ำทะเลมากกว่าแผ่นอื่น ๆ โดยเฉพาะ "ธารน้ำแข็งเกาะไพน์" ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นธารน้ำแข็งที่ทำให้ระดับน้ำทะเลในทวีปแอนตาร์กติกาเพิ่มขึ้นมากที่สุด มีความเสี่ยงสูงเพราะในตอนนี้ฐานของธารน้ำแข็งมีลักษณะลาดชัด ทำให้น้ำทะเลทะลักเข้าไปได้ง่าย เช่นเดียวกับแผ่นน้ำแข็งลาร์เซน ก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นเดียวกัน

การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลถือเป็นผลกระทบระยะยาวที่อันตรายที่สุดจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้ในอีกไม่กี่ศตวรรษข้างหน้า แผนที่โลกอาจไม่เหมือนเดิม เพราะน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกจมหายไป ไม่ว่าจะเป็นมหานครนิวยอร์ก หรือแม้กระทั่งเซี่ยงไฮ้ และจะทำให้ผู้คนหลายพันล้านคนไม่มีที่อยู่อาศัย

ที่มา: CNA, CNN, Phys, The Guardian


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1133226

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:14


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger