#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. ? 2 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 3 ? 5 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
กรมอุตุฯ เตือนเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาลากยาวถึงต้นปี 68 เครดิตภาพ https://www.bssnews.net/news/ กรมอุตุฯ เตือนปรากฏการณ์เอนโซ น้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรเย็นลง คาดเตรียมเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญา ซึ่งอาจลากยาวจนถึงต้นปี 68 ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเรื่อง การติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศ ประเทศไทย ในเดือน ก.ค.-ก.ย. 2567 โดยระบุว่า ปรากฏการณ์ El Nino Southern Oscillation (ENSO) ขณะนี้ปรากฎการณ์เอนโซอยู่ในสภาวะปกติแล้ว (Nino 3.4= 0.3) จากแบบจำลองการพยากรณ์ ENSO ของศูนย์ต่างๆ ทั่วโลก การพยากรณ์ความน่าจะเป็นของสถานการณ์ ENSO และการพยากรณ์อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรในเดือนที่ผ่านมาเย็นลงเกือบทั่วทั้งบริเวณ เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาที่อาจลากยาวถึงต้นปี 68 ประกอบกับเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและแบบจำลองเชิงพลวัตแล้วคาดว่า ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติมีความน่าจะเป็นร้อยละ 65 ที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือน ก.ค. ถึง ก.ย. 2567 และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงม.ค. ถึงมี.ค. 2568 ขณะที่ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) หรือดัชนีวัดค่าความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเล อันเนื่องมาจากการอุ่นขึ้นหรือเย็นตัวอย่างผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนใต้ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียบริเวณเขตศูนย์สูตร (EAST) กับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียเขตศูนย์สูตร (WEST) มีแนวโน้มที่จะมีสถานะปกติ จะไม่ส่งผลต่อปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยในช่วงดังกล่าว ขณะเดียวกันปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เกิดควบคู่กันระหว่างการไหลเวียนของบรรยากาศกับการยกตัวขนาดใหญ่ของอากาศในเขตร้อน พบว่าในช่วงปลายเดือน มิ.ย.ปรากฏการณ์ MJO จะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกจากบริเวณมหาสมุทรอินเดียไปยังบริเวณ Maritime Continent แล้วมีกำลังแรงขึ้นในช่วงต้นเดือน ก.ค. ซึ่งคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ MJO ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติตั้งแต่ปลายเดือนมิ.ย.ต่อเนื่องไปจนถึงต้นเดือน ก.ค. หลังจากนั้นยังคงต้องเฝ้าติดตามปรากฏการณ์ MJO อย่างใกล้ชิดต่อไป https://mgronline.com/greeninnovatio.../9670000055453
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'โลกร้อน' ทำ 'น้ำแข็งขั้วโลก' ละลายเร็วกว่าเดิม 'ระดับน้ำทะเล' พุ่งสูง .......... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล KEY POINTS - น้ำทะเลอุ่นแทรกซึมอยู่ระหว่างแผ่นน้ำแข็งชายฝั่งและพื้นดินอยู่ ซึ่งน้ำอุ่นละลายช่องน้ำแข็ง ยิ่งทำให้น้ำไหลเข้าไปในน้ำแข็งได้มากขึ้น และเมื่อน้ำแข็งละลายสู่มหาสมุทร ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น - "การรุกล้ำของน้ำทะเล" ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในแบบจำลองระดับน้ำทะเลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็น ?จุดพลิกผัน? ช่วยอธิบายว่าทำไมแผ่นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์จึงหดตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ - น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตกจะยังคงละลายตลอดทั้งศตวรรษนี้ ต่อให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงจนเหลือศูนย์ก็ตาม และการละลายนี้จะส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อระดับน้ำทะเล "ภาวะโลกร้อน" ทำให้ "น้ำแข็งขั้วโลก" ละลายอย่างรวดเร็วขึ้นไปทุกขณะ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ?ระดับน้ำทะเล? ที่พุ่งสูงขึ้น และดูเหมือนว่าการประเมินการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจะต่ำความเป็นจริงอยู่เรื่อยมา ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบปัจจัยใหม่ที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว และระดับน้ำทะเลพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย จากการศึกษาใหม่จากคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร หรือ BAS ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Geoscience พบว่า มีน้ำทะเลอุ่นแทรกซึมอยู่ระหว่างแผ่นน้ำแข็งชายฝั่งและพื้นดินอยู่ ซึ่งน้ำอุ่นละลายช่องน้ำแข็ง ยิ่งทำให้น้ำไหลเข้าไปในน้ำแข็งได้มากขึ้น และเมื่อน้ำแข็งละลายสู่มหาสมุทร ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ "เขตกราวดิง" (grounding zones) เป็นบริเวณที่น้ำแข็งจากพื้นดินมาบรรจบกับทะเล เมื่อเวลาผ่านไป น้ำแข็งบนบกจะเคลื่อนตัวลงสู่มหาสมุทรโดยรอบและละลายในที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ชายฝั่งแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลอง เพื่อหาว่าน้ำทะเลสามารถซึมระหว่างพื้นดินกับแผ่นน้ำแข็งได้อย่างไร ส่งผลต่อการละลายน้ำแข็งเฉพาะจุดและเร่งให้ละลายเร็วขึ้นอย่างไร ซึ่งพบว่ากระบวนการนี้เกิดขึ้นจาก น้ำทะเลอุ่นเข้ามาละลายน้ำแข็งบริเวณกราวดิงจนเป็นโพรงใหญ่ และทำให้น้ำอุ่นไหลเข้ามาในแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งจะเร่งให้น้ำแข็งละลายมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นหากน้ำทะเลมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นแม้เพียงนิดเดียวก็จะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออัตราการละลายของน้ำแข็ง ซึ่งจะเปลี่ยนจากระยะทางไม่กี่เมตรให้กลายเป็นหลาย 10 กิโลเมตร ได้ในระยะเวลาไม่นาน อย่างไรก็ตาม "การรุกล้ำของน้ำทะเล" ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในแบบจำลองระดับน้ำทะเลของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็น "จุดพลิกผัน" ช่วยอธิบายว่าทำไมแผ่นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์จึงหดตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ "แบบจำลองที่ใช้กันอยู่อาจไม่ได้รวมการรุกล้ำของน้ำทะเลเข้าไปด้วย การศึกษาของเราเป็นจุดพลิกผันใหม่ที่ทำให้เรารู้ว่าเหตุใดแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาถึงได้ละลายเร็ว หมายความว่าการประเมินระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมีนัยยะสำคัญ" ดร.อเล็กซานเดอร์ แบรดลีย์ จาก BAS ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยกล่าว ดร.แบรดลีย์กล่าวเพิ่มเติมว่า แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องได้รับการอัปเดต เพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคตได้ดีขึ้น และเตรียมพร้อมมือกับสถานการณ์ได้ทัน ทั้งนี้ การศึกษาระบุว่าเราจะยังไม่รู้สึกถึงผลกระทบดังกล่าวในทันที แต่ระดับน้ำทะเลจะค่อย ๆ สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอีกหลายร้อยปี ซึ่งคุกคามชุมชนชายฝั่งทั่วโลก อีกทั้งการศึกษาไม่ได้ระบุว่าจุดพลิกผันจะมาถึงเมื่อไหร่ และไม่ได้ระบุว่าการรุกล้ำของน้ำทะเลจะทำให้ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นเท่าใด แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ในแต่ละปีแอนตาร์กติกาจะสูญเสียน้ำแข็งปีละ 150,000 ล้านเมตริกตัน และหากน้ำแข็งทั้งหมดละลายจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 58 เมตร ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรุกล้ำของน้ำทะเลอาจทำให้อัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานที่พบในปัจจุบันว่า น้ำทะเลเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้น้ำแข็งละลายในปัจจุบัน เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ ข้อมูลจากดาวเทียมที่แสดงให้เห็นว่าแผ่นน้ำแข็งในเขตกราวดิงมีความสูงลดลง นักวิทยาศาสตร์เตือนมาโดยตลอดว่า วิกฤติสภาพภูมิอากาศกำลังผลักให้โลกไปสู่จุด "หายนะ" หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการพังทลายของแผ่นน้ำแข็งของเกาะกรีนแลนด์ และการพังทลายของกระแสน้ำสำคัญในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งจะส่งผลกระทบความมั่นคงทางอาหารของผู้คนหลายพันล้านคน เนื่องจากปริมาณน้ำฝนลดน้อยลง การวิจัยในปี 2023 พบว่า น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตกจะยังคงละลายตลอดทั้งศตวรรษนี้ ต่อให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงจนเหลือศูนย์ก็ตาม และการละลายนี้จะส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อระดับน้ำทะเล สอดคล้องกับงานวิจัยนี้ พบว่าแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกบางแผ่นมีความเสี่ยงต่อการรุกล้ำของน้ำทะเลมากกว่าแผ่นอื่น ๆ โดยเฉพาะ "ธารน้ำแข็งเกาะไพน์" ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นธารน้ำแข็งที่ทำให้ระดับน้ำทะเลในทวีปแอนตาร์กติกาเพิ่มขึ้นมากที่สุด มีความเสี่ยงสูงเพราะในตอนนี้ฐานของธารน้ำแข็งมีลักษณะลาดชัด ทำให้น้ำทะเลทะลักเข้าไปได้ง่าย เช่นเดียวกับแผ่นน้ำแข็งลาร์เซน ก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลถือเป็นผลกระทบระยะยาวที่อันตรายที่สุดจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้ในอีกไม่กี่ศตวรรษข้างหน้า แผนที่โลกอาจไม่เหมือนเดิม เพราะน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกจมหายไป ไม่ว่าจะเป็นมหานครนิวยอร์ก หรือแม้กระทั่งเซี่ยงไฮ้ และจะทำให้ผู้คนหลายพันล้านคนไม่มีที่อยู่อาศัย ที่มา: CNA, CNN, Phys, The Guardian https://www.bangkokbiznews.com/environment/1133226
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|