เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 06-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 6 - 7 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 8 ? 11 ก.ค. 67 ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 10 ? 11 ก.ค. 67 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.ค. 67 ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 11 ก.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 6 ? 7 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 06-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ


ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก. ฟื้นฟูสัตว์น้ำ ย้ำไม่กระทบชายฝั่ง-ประมงเรือเล็ก

นายกสมาคมประมงจังหวัดชลบุรี แจงปิดอ่าวไทยรูปตัว ก. พื้นที่อ่าวไทยและฝั่งตะวันตกบางส่วน ฟื้นฟูสัตว์น้ำ-เพิ่มจำนวนปลาทู ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.-15 ส.ค. 67 ย้ำไม่กระทบประมงชายฝั่งและประมงเรือเล็กแน่นอน



วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นายสถิตชาติ ทิมกระจ่าง นายกสมาคมประมงจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า จากที่กรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยรูปตัว ก. ประจำปี 2567

จำนวน 2 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน-15 สิงหาคม 2567 ในที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอน ในฝั่งตะวันตกบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2567 ในที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน ด้านเหนือบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี

เพื่อปกป้องและรักษาสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน โดยเฉพาะปลาทู ซึ่งแต่ละปีที่มีมาตรการดังกล่าว ทำให้มีจำนวนปลาทูเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะสามารถเติบโต และแพร่พันธุ์ได้ครบวงรอบชีวิต ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบกับอาชีพประมงชายฝั่งและประมงเรือเล็ก อย่างแน่นอน

เพราะในพื้นที่ที่ปิดห้ามทำประมงนั้น จะห้ามเฉพาะเรือที่มีขนาดมากกว่า 20 ตันกลอส ส่วนเรือประมงขนาดที่ไม่ถึงยังสามารถทำการประมงได้ตามปกติ ซึ่งจะมีการกำหนดชนิดของเครื่องมือจับปลาไว้อยู่แล้ว โดยในส่วนของเรือประมงที่มีขนาดเกิน 20 ตันกลอส

ถ้าฝ่าฝืนเข้าไปทำประมงในพื้นที่ปิดต้องระวางโทษ ปรับ 5,000-30,000,000 บาท ปรับจำนวน 5 เท่า ของและมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากกระทำประมง


https://www.prachachat.net/local-economy/news-1600417

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 06-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


ต้องรู้ก่อนทัวร์ "ซีวอล์กเกอร์" กิจกรรมดำน้ำนอกการควบคุม



กรณี 2 นักท่องเที่ยวชาวอินเดียวูบหมดสติ หลังสวม "ซีวอล์กเกอร์" ท่องโลกใต้น้ำเกาะสาก จ.ชลบุรี ยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ตำรวจและหน่วยงานท่องเที่ยวเร่งตรวจสาเหตุ พบเรือพาเที่ยวมีใบอนุญาต แต่ 6 แรงงานกัมพูชาเข้าเมืองผิดกฎหมาย

ซีวอล์กเกอร์ (Sea Walker) เป็นการท่องเที่ยวใต้ท้องทะเลรูปแบบหนึ่ง โดยจะนำอุปกรณ์หัวครอบที่มีลักษณะใส มาให้นักท่องเที่ยวสวมระหว่างที่ลงไปใต้ท้องทะเล พร้อมมีระบบหายใจใต้น้ำที่มีสายออกซิเจน ต่อมาจากบนเรือ โดยจะอยู่ความลึกระดับ 7?10 เมตร การใช้บริการจะใช้เวลา 15-20 นาทีต่อรอบราคา 800-900 บาท

โดยเจ้าหน้าที่จะประคองให้นักท่องเที่ยวลงสู่พื้นทะเลก่อน หลังจากนั้นจะปล่อยให้นักท่องเที่ยวได้ชมฝูงปลา และความงดงาม โดยที่ยังคงหายใจได้ตามปกติ ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก ในไทยพบมากในพื้นที่พัทยา จ.ชลบุรี มีผู้ประกอบการ 17 ราย


ต้องรู้ก่อนดำดิ่งใต้ทะเล "ซีวอล์กเกอร์"

นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผอ.ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า กิจกรรมซีวอล์กเกอร์ ในพื้นที่พัทยามีหลายหน่วยงานดูแล ในส่วนของ ทช.ดูแลเฉพาะทรัพยากรทางทะเลและปะการัง เช่นการเหยียบย่่ำปะการัง และการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ประกอบกิจกรรม 19 พื้นที่ของเกาะสาก เกาะล้าน โดยจะแบ่งให้เข้าท่องเที่ยวใน 2 ฤดูกาลสลับกัน

ในส่วนกรมเจ้าท่า จะดูแลการท่องเที่ยวทางเรือ มาตรฐานเรือ ขณะที่กรมการท่องเที่ยวจะดูแลเรื่องความปลอดภัย แต่ทั้ง 3 ส่วนจะอยู่ภายใต้ประกาศของ
เมืองพัทยา

วุฒิพงษ์ บอกว่า สำหรับซีวอล์กเกอร์ เดิมเคยให้ไปดูแนวปะการัง แต่เกิดปัญหานักท่องเที่ยวเหยียบย่ำ จึงปรับรูปแบบใหม่ให้ใช้จะเป็นพื้นที่ทะเลโล่ง ๆ มีการปูพื้นและกั้นราวรั้วไม่ให้ออกนอกแนวเขตจุดไม่เกิน 30X30 ตร.ม.แต่ไม่ได้ปรับสภาพใต้ท้องทะเล ส่วนใหญ่กำหนดความลึก 5-7 เมตรและนักท่องเที่ยวที่ลงไปจะอยู่ได้ 10 นาที

"ซีวอล์กเกอร์ เป็นอาชีพใหม่ที่กฎหมายการท่องเที่ยวยังไม่ครอบคลุม เพราะกิจกรรมดำน้ำมี 3 รูปแบบคือ ดำน้ำตื้น ดำน้ำลึกแบบ Scuba และการดำน้ำลึกแบบ Snuba ส่วนซีวอล์กเกอร์ยังไม่มีคำอนุญาต แต่ไม่ได้หมายความว่าห้าม"

ขณะที่การดูแลเชิงพื้นที่ไม่ให้กระทบกับทรัพยากรทางทะเล ทางทช.เคยมีการจัดทำร่างประกาศกำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประกอบ
กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำแบบเดินใต้ทะเล (Sea Walker) ไว้แล้ว

เมื่อถามมีความเสี่ยงจากข้อบกพร่องของตัวอุปกรณ์ หรือคนควบคุมมากแค่ไหน วุฒิพงษ์ บอกว่า จากที่เคยทดลองท่องเที่ยวรูปแบบซีวอล์กเกอร์มาแล้ว ระบบหัวสวมมีน้ำหนักประมาณ 10 กก.เพื่อกดไม่ให้หัวลอย แต่เมื่ออยู่ในน้ำจะไม่หนัก

ส่วนด้านหลังจะมีหัวจุกที่เครื่องปั้มอากาศด้านบนเรือที่ต่อสายจากเรือ เมื่อนักท่องเที่ยวลงไปใต้ทะเลแล้ว จะสวมหัว เพื่อดันอากาศเข้าไปที่ตัวซีวอล์กเกอร์ และคนที่ดำน้ำจะมีอากาศทำให้ลอยตัวในน้ำได้ ส่วนอากาศที่เข้ามาในหัว มีปัญหาหรือไม่นั้น เท่าที่เคยมีประสบการณ์พบว่าบนเรือจะมีเครื่องอัดปั้มอากาศสำหรับดำน้ำอัดเก็บในถัง เมื่อความดันได้จะส่งต่อลงไปที่หัวสวม

"ผมมองว่ากีฬาทางน้ำทุกชนิดมีอันตรายทั้งหมด ถ้ามีความประมาท และไม่ทำตามคำแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่จะบรีฟข้อมูล ข้อควรระวัง อีกทั้งนักท่องเที่ยวอาจจะไม่ประเมินสุขภาพของตัวเอง เช่น นอนดึก ดื่ม หรือมีโรคประจำตัว"

ทั้งนี้แม้จะยังไม่มีการกำหนดออกมาเป็นระเบียบ เหมือนกรณีการดำน้ำลึกที่ต้องมีใบรับรองอายุเป็นลำดับขั้น เช่น Junior Open Water มีข้อจำกัด นักดำน้ำอายุ 10-11 ปี ต้องดำน้ำกับ PADI Professional พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ผ่านการรับรองเป็นนักดำน้ำมาแล้ว และการดำน้ำต้องไม่เกิน 12 เมตร/40 ฟุต เพื่อความปลอดภัย นักดำน้ำอายุ 12-14 ปี ต้องดำน้ำกับผู้ใหญ่ ที่ผ่านการรับรองเป็นนักดำน้ำมาแล้ว และดำน้ำได้ไม่เกิน 18 เมตร 60 ฟุต ซึ่งในมุมของตัวเองก็ยังมองว่ายังเด็ก และนักดำน้ำเองก็เสียชีวิตได้เช่นกัน

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2560 เคยเกิดกรณีนักท่องเที่ยวชาวจีน อายุ 52 ปี สำลักน้ำเสียชีวิต หลังจากการเล่นกิจกรรมทางน้ำประเภทซีวอล์กเกอร์ ที่บริเวณหาดหัวโขด เกาะล้าน-เมืองพัทยา มาแล้ว โดยบริษัทประกันได้จ่ายเงินสินไหมทดแทนให้กับทายาทจำนวน 1.2 ล้านบาท


https://www.thaipbs.or.th/news/content/341694

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 06-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ฟิลิปปินส์ ออกแคมเปญรักษ์โลก "เก็บขยะบนชายหาดมาแลกข้าว"


SHORT CUT

- เมืองมาบินีในฟิลิปปินส์จัดแคมเปญแลกขยะพลาสติกกับข้าว เพื่อกระตุ้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาขยะในชายหาดที่เพิ่มขึ้นทุกปี

- ตั้งแต่เริ่มโครงการในตุลาคม 2022 สามารถเก็บขยะได้กว่า 4,300 กิโลกรัม แลกเป็นข้าว 2,600 กิโลกรัม

- ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุด คิดเป็น 36% ของขยะพลาสติกในทะเลทั่วโลก




อาสาสมัครในเมืองมาบินี ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆในประเทศฟิลิปปินส์ มาพร้อมกับไอเดียใหม่ๆเพื่อพยายามกระตุ้นให้ประชาชนท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม จึงออกแคมเปญเก็บขยะพลาสติก "แลกข้าว" ขึ้นมา

จิอูลิโอ เอ็นดายา และอาสาสมัครคนอื่นๆ ริเริ่มโครงการดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนในเมืองมาบินี ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆใกล้กับกรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ไปช่วยกันเก็บขยะจากชายหาด แลกกับข้าวหนึ่งกิโลกรัม โดยโครงการดังกล่าวได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาคของบริษัทเล็กๆและเอกชน ซึ่งส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์ทะเล

เมืองมาบินีเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำยอดนิยมแห่งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่ในแนวของ Coral Triangle หรือสามเหลี่ยมปะการัง ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ความหลากหลายทางทะเล กินพื้นที่ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิกินี หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์-เลสเต แต่ชายหาดเมืองมาบินีกลับมีปริมาณขยะที่คลื่นทะเลซัดกลับเข้ามามากขึ้นทุกๆปี

เอ็นดายาเปิดเผยว่า เขาพบเห็นเต่าทะเลติดอยู่ในตาข่าย หรือพลาสติกประเภทอื่น และเมื่อเร็วๆนี้ ยังไปพบไมโครพลาสติกในปลาที่เรารับประทานมากขึ้น ซึ่งมันก็ส่งผลร้ายต่อมนุษย์อีกทอดหนึ่ง

"นับตั้งแต่โครงการนี้เริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมปี 2022 ขยะมากกว่า 4,300 กิโลกรัมถูกเก็บรวบรวม และนำมาแลกเปลี่ยนเป็นข้าว 2,600 กิโลกรัม"

นี่ยังเป็นโครงการที่ช่วยเหลือชาวบ้านได้เป็นอย่างดี เจเน็ธ อาเซเวโด ซึ่งร่วมเก็บขยะชายหาดมาแลกข้าว บอกว่า ทุกวันนี้เธอประหยัดเงินซื้อข้าวได้มากเพราะโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ รายงานของโครงการ Our World in Data ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อเดือนเมษายนปี 2022 เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้ก่อมลพิษของโลก เพราะมีการทิ้งขยะพลาสติกจำนวนมากลงสู่ทะเล โดยคิดเป็น 36 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกที่ทิ้งลงสู่ทะเลทั่วโลก


ที่มา : Reuters


https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/851312
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:08


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger