#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคะตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 14 ? 19 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางซึ่งมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง และจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 15 ? 17 ก.ค. 67 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 14 ? 19 ก.ค. 67 ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ฉบับที่ 4 (129/2567) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 14?18 กรกฎาคม 2567) ในช่วงวันที่ 14?18 ก.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 14 กรกฎาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ในช่วงวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหารยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ในช่วงวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. 67
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
พบ 6 โลมาหลังโหนก ว่ายน้ำโชว์ตัว ใกล้เกาะวัวตาหลับ อช. หมู่เกาะอ่างทอง ตื่นตา! พบ 6 โลมาหลังโหนก โชว์ตัวว่ายน้ำหาอาหาร ใกล้เกาะวัวตาหลับ อช. หมู่เกาะอ่างทอง ย้ำความสมบูรณ์ทะเลอ่าวไทย ภาพ : ศูนย์ปฏิบัติการทางทะเลที่5นครศรีธรรมราช 11 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา นายชัยณรงค์ เรืองทอง หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 5 จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตามที่เจ้าหน้าที่ฯ ได้ออกสำรวจ ติดตามและประเมินสถานภาพโลมาและสัตว์ทะเลหายาก ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองและพื้นที่เชื่อมโยง โดยทำการสำรวจทางเรือด้วยวิธี line intersect ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร ระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา จากการสำรวจพบโลมา 1 ชนิด คือ โลมาหลังโหนก (Sousa chinensis) จำนวน 6 ตัว เป็นคู่แม่-ลูก 1 คู่ ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ บริเวณเกาะวัวตาหลับด้านทิศใต้ และ บริเวณอ่าวท้องโหนด โดยโลมาที่พบ ว่ายน้ำโผล่ขึ้นมาหายใจปกติ มีพฤติกรรมที่กำลังดูแลลูก และมีพฤติกรรมหาอาหาร ไม่มีร่องรอยบาดแผลจากเครื่องมือประมง เจ้าหน้าที่ จึงได้เฝ้าสังเกตการณ์เป็นระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งโลมาได้ว่ายน้ำห่างออกไป ซึ่งการพบเห็น?โลมาสีชมพู ?ยังบ่งบอก?ถึงความอุดมสมบูรณ์?ของท้องทะเล?ไทย ทั้งนี้ ปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลจุดที่สำรวจพบโลมา เบื้องต้นตรวจวัดมีค่าความลึกน้ำอยู่ในช่วง 4 - 7 เมตร อุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วง 32 องศาเซลเซียล ความเค็มอยู่ในช่วง 33 ppt ความโปร่งใสน้ำทะเล 1.5 ? 2.5 เมตร และระยะห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 0.26 ? 36.74 กิโลเมตร โดยทางศูนย์ฯ ได้มีการเก็บรวบรวมภาพถ่ายของโลมาไว้เพื่อวิเคราะห์ Photo ID ต่อไป สำหรับโลมาหลังโหนก หรือ?อีกชื่อเรียกว่า โลมาขาวเทา/โลมาเผือก หรือโลมาสีชมพู เป็นโลมาชนิดหนึ่งในวงศ์โลมามหาสมุทร ซึ่ง?สีชมพูของโลมานั้นมาจากเมื่อโลมามีอายุมากจะมีสีสว่างขึ้นจนถึงเป็นสีชมพู สีชมพูนี้ไม่ได้มาจากเซลล์?เม็ดสี แต่มาจากสีของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป โลมาจัดอยู่ในสถานะอนุรักษ์ ประเภทมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ (NT) จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 https://www.komchadluek.net/kom-life...owledge/579485
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
นักวิจัยจีนค้นพบ 'หมึกแวมไพร์' สายพันธุ์ใหม่ ที่ค้นพบบนโลก SHORT CUT - วารสารซูโลจิคัล ซิสเทมาติกส์ (Zoological Systematics) เผยว่า นักวิทยาศาตร์จีนสามารถระบุสายพันธุ์ใหม่ของหมึกแวมไพร์ (Vampire squid) - ทั้งนี้ หมึกดังกล่าวเป็นหมึกแวมไพร์สายพันธุ์ที่สองเท่านั้นที่มีการค้นพบในโลก - ลักษณะทางสัณฐานวิทยามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในรูปร่างของหาง ปากล่าง ตำแหน่งของอวัยวะสร้างแสงเรือง วารสารซูโลจิคัล ซิสเทมาติกส์ (Zoological Systematics) เผยว่า นักวิทยาศาตร์จีนสามารถระบุสายพันธุ์ใหม่ของหมึกแวมไพร์ (Vampire squid) ซึ่งเป็นหมึกแวมไพร์สายพันธุ์ที่สองเท่านั้นที่มีการค้นพบในโลก สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า นักวิจัยจากสถาบันสมุทรศาสตร์ทะเลจีนใต้ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) เก็บตัวอย่างที่คล้ายกับหมึกแวมไพร์สายพันธุ์อินเฟอร์นาลิส (V. infernalis) ในเดือนกันยายน 2016 ที่ระดับความลึกระหว่าง 800-1,000 เมตรในทะเลจีนใต้ โดยทีมนักวิจัย ได้ทำการวิเคราะห์สัณฐานวิทยา และวิวัฒนาการระหว่างตัวอย่างที่เก็บได้กับ หมึกแวมไพร์ โดยผลการศึกษาบ่งชี้ว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในรูปร่างของหาง ปากล่าง ตำแหน่งของอวัยวะสร้างแสงเรือง ซึ่งการวิเคราะห์เชิงวิวัฒนาการของลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน COI ในไมโทคอนเดรีย และลำดับดีเอ็นเอไรโบโซมซับยูนิต (subunit ribosomal DNA) ขนาดใหญ่ในนิวเคลียส เผยว่าตัวอย่างดังกล่าวแตกต่างจากหมึกแวมไพร์สายพันธุ์ที่ค้นพบก่อนหน้าอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ชิวต้าจวิ้น ผู้เขียนหลักของการศึกษานี้ เปิดเผยว่าคาร์ล ชุน นักชีววิทยาทางทะเลชาวเยอรมันเคยอธิบายเกี่ยวกับหมึกแวมไพร์เป็นครั้งแรกในปี 1903 โดยหมึกแวมไพร์ทั่วไปจะอาศัยอยู่ในระยะ 600-900 เมตรในมหาสมุทรแปซิฟิก อินเดีย และแอตแลนติกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ซึ่งมีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำ อย่างไรก็ตาม หมึกแวมไพร์สายพันธุ์ใหม่ นี้ได้รับการตั้งชื่อว่าหมึกแวมไพร์สายพันธุ์ ซูโดอินเฟอนาลิส ชิว หลิว&หวง (Vampyroteuthis pseudoinfernalis Qiu, Liu & Huang, sp. nov.) https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/851489
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|