เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 20-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,846
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุดีเปรสชันปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง อยู่ห่างประมาณ 680 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไหหลำ มีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางเกาะไหหลำและประเทศจีนตอนใต้ โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 20 ? 21 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 22 ? 25 ก.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศลาวและประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21 ? 25 ก.ค. 67 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนไปทางด้านตะวันออกของประเทศจีนในช่วงวันที่ 24 ? 25 ก.ค. 67 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 20 ? 23 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันในช่วงวันที่ 20 ? 25 ก.ค. 67 ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


******************************************************************************************************



พยากรณ์อากาศวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 20 - 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ในช่วงวันที่ 20 ? 21 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในวันที่ 22 ก.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศลาวและประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 20-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,846
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


วิกฤติสภาพภูมิอากาศ-น้ำแข็งละลาย ทำโลกหมุนช้าลง แต่ละวันยาวนานขึ้น
........โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล


KEY POINTS

- น้ำที่ละลายจากน้ำแข็งขั้วโลกจะไหลไปยังเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะเปลี่ยนรูปร่างของโลกไปจากเดิม บริเวณขั้วโลกจะแบนลง ขณะที่ตรงกลางจะนูนมากขึ้น ทำให้โลกหมุนได้ช้าลง

- ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์คำนวณการเพิ่มขึ้นของความยาววันเป็น 1.33 มิลลิวินาทีต่อศตวรรษ ซึ่งสูงกว่าครั้งใด ๆ ในศตวรรษที่ 20 อย่างมีนัยสำคัญ

- วิกฤติสภาพภูมิอากาศทำให้โลกเปลี่ยนไปภายในเวลาเพียง 100 หรือ 200 ปีเท่านั้น ในขณะที่กระบวนการตามธรรมชาติต้องใช้เวลาหลายพันล้านปี




"วิกฤติสภาพภูมิอากาศ" กำลังทำให้ความยาวของแต่ละวันนานขึ้น งานวิจัยชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ไม่กี่ร้อยปี ได้ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปหลายล้านปีตามธรรมชาติ

ตามการศึกษาที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐ พบว่า น้ำแข็งขั้วโลกละลายจากภาวะโลกร้อนกำลังเปลี่ยนความเร็วการหมุนของโลก และเพิ่มความยาวในแต่ละวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายในศตวรรษนี้ หากมนุษย์ยังคงปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" ในอัตราเท่าเดิม

แม้ความเร็วในการหมุนของโลกจะทำให้ในแต่ละวันโลกมีเวลาเพิ่มขึ้นเพียงแค่ระดับ "มิลลิวินาที" แต่ก็สามารถสร้างผลกระทบสำคัญต่อระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ และระบบ GPS นับเป็นอีกผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลกด้วยน้ำมือของมนุษย์

"นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นมีความรุนแรงมากเพียงใด" สุเรนทรา อธิการี นักธรณีฟิสิกส์จากห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น ผู้เขียนรายงานกล่าว

จำนวนชั่วโมง นาที และวินาทีที่เกิดขึ้นในแต่ละวันบนโลกถูกกำหนดโดยความเร็วของการหมุนของโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลจากการแกนโลก ผลกระทบจากการละลายของธารน้ำแข็งขนาดใหญ่หลังยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายที่ยังคงส่งผลมาถึงปัจจุบัน รวมถึงการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ ดวงจันทร์ยังทำให้ในแต่ละวันยาวขึ้นมานับพันปี อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย โดยในทุก 100 ปี โลกของเราจะมีเวลาเพิ่มขึ้นราว 2-3 มิลลิวินาที

"เนื่องจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนของเรา ทำให้โลกเปลี่ยนไปภายในเวลาเพียง 100 หรือ 200 ปีเท่านั้น ในขณะที่กระบวนการตามธรรมชาติต้องใช้เวลาหลายพันล้านปี และนั่นก็น่าทึ่งมาก"

ในอดีต นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อเวลา "ไม่ได้รุนแรงมากนัก" และเข้าใจว่าการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเป็นตัวการที่ทำให้เวลานานขึ้น แต่งานวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่าภาวะโลกร้อนมีอิทธิพลต่อเวลามากกว่าที่เข้าใจ

เบเนดิกต์ โซจา ผู้เขียนการศึกษาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภูมิสารสนเทศอวกาศ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซูริค ในสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวกับ CNN ว่า "หากมนุษย์ยังไม่หยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เวลาเปลี่ยนไป"

ในขณะที่มนุษย์ทำให้โลกร้อนขึ้น ธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งกำลังละลายเร็วขึ้น และน้ำที่ละลายนั้นก็ไหลจากขั้วโลกไปยังเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะเปลี่ยนรูปร่างของโลกไปจากเดิม บริเวณขั้วโลกจะแบนลง ขณะที่ตรงกลางจะนูนมากขึ้น ทำให้โลกหมุนได้ช้าลง

กระบวนการนี้มักถูกเปรียบเทียบกับเวลาที่นักสเกตลีลาทำท่าหมุนแขนโดยยกแขนไว้เหนือศีรษะ แล้วตอนที่เขากำลังวาดแขนลงไปที่ไหล่ ความเร็วในการหมุนตัวของพวกเขาจะลดลง

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติศึกษาช่วงเวลา 200 ปีระหว่างปี 1900-2100 โดยใช้ข้อมูลเชิงสังเกตและแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ เพื่อทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อความยาววันในอดีตอย่างไร และเพื่อคาดการณ์บทบาทของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในอนาคต พวกเขาพบว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความยาวของวันเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ความยาวของวันแตกต่างกันระหว่าง 0.3-1 มิลลิวินาทีในศตวรรษที่ 20 แต่ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์คำนวณการเพิ่มขึ้นของความยาววันเป็น 1.33 มิลลิวินาทีต่อศตวรรษ ซึ่งสูงกว่าครั้งใด ๆ ในศตวรรษที่ 20 อย่างมีนัยสำคัญ

รายงานระบุว่า หากโลกไม่สามารถควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ มหาสมุทรจะร้อนขึ้น และเร่งการละลายของน้ำแข็งในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาให้เร็วขึ้นตามไปด้วย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ความยาวของวันเพิ่มขึ้น 2.62 มิลลิวินาทีภายในสิ้นศตวรรษนี้ ซึ่งจะแซงหน้าผลกระทบที่เกิดจากดวงจันทร์

"ในอีกเกือบ 200 ปีข้างหน้า เราจะเปลี่ยนแปลงระบบภูมิอากาศของโลกไปจากเดิมมากจน ส่งผลกระทบต่อการหมุนของโลก" อธิการีกล่าว

การบอกเวลาที่แม่นยำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับระบบ GPS ที่อยู่ในสมาร์ทโฟนของทุกคน เช่นเดียวกับระบบการสื่อสารและระบบนำทางอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ใช้เวลาอะตอมที่มีความแม่นยำสูง โดยพิจารณาจากความถี่ของอะตอมบางตัว

ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 โลกเริ่มใช้เวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) เพื่อกำหนดโซนเวลา UTC อาศัยนาฬิกาอะตอม แต่ยังคงก้าวตามการหมุนของโลก นั่นหมายความว่าในบางจุดจะต้องเพิ่มหรือลบ "วินาทีอธิกสุรทิน" เพื่อให้สอดคล้องกับการหมุนของโลก

โซจากล่าวว่า "ศูนย์ข้อมูลทั้งหมดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และธุรกรรมทางการเงิน ล้วนขึ้นอยู่กับความแตกต่างของเวลาแค่เสี้ยวนาทีนี้ เรายังต้องใช้เวลาที่แม่นยำในการรนำทาง โดยเฉพาะดาวเทียมและยานอวกาศ"

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีการศึกษาของดันแคน แอกนิว ศาสตราจารย์ด้านธรณีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก พบว่า "น้ำแข็งขั้วโลกละลาย" ทำให้การหมุนของโลกเปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลต่อ "เวลา" ลดลงไป โดยในการศึกษาของแอกนิวให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของ "แกนโลก" มากกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ตามแอกนิกกล่าวว่า การศึกษาใหม่นี้ยังคงสอดคล้องกับงานวิจัยของเขา และยังช่วยขยายผลไปสู่อนาคตได้ไกลยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นพิจารณาสถานการณ์สภาพภูมิอากาศมากกว่าหนึ่งสถานการณ์

ที่มา: CNN, Newsweek, The Guardian


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1136493

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 20-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,846
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ถอดบทเรียนต่างชาติจัดการเอเลียนสปีชีส์ บาฮามาสใช้หุ่นยนต์จับปลาสิงโต


SHORT CUT

- ปลาสิงโต นับเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ที่กำลังสร้างปัญหาต่อระบบนิเวศในหลายประเทศ บริเวณแคริบเบียน, ชายฝั่งฟลอริดา, หมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงประเทศบาฮามาส

- บาฮามาสต้องออกมาตรการจัดการปลาสิงโตอย่างจริงจัง เช่น ส่งเสริมให้มีการจับและจำหน่ายเพื่อบริโภค สั่งห้ามการเลี้ยง และจำกัดการเคลื่อนย้ายปลาที่ยังมีชีวิต

- หนึ่งในวิธีที่น่าทึ่ง คือการพัฒนาหุ่นยนต์ดำน้ำลึก ที่สามารถไล่ล่า, วางยาสลบ และจับปลาสิงโตด้วยการดูดเข้าไปเก็บไว้ในท่อแก้วอย่างมีประสิทธิภาพ




ผลกระทบจากการเข้ามาของ เอเลียนสปีชีส์ หรือสัตว์ต่างถิ่น คือปัญหาที่หลายประเทศต้องเร่งแก้ไข หนึ่งในนั้นคือประเทศบาฮามาสที่เผชิญการรุกรานจากปลาสิงโตมานานหลายปี จนต้องใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

เอเลียนสปีชีส์ คือชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่นั้นๆ แต่เมื่อมันเข้ามา ก็อาจจะมีทั้งส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์ท้องถิ่นหรือไม่ก็ได้ แต่บางสายพันธุ์ที่ส่งผลกระทบต่อนิเวศน์ท้องถิ่น จำเป็นต้องได้รับการจัดการที่ดี วันนี้เราถอดบทเรียนวิธีการจัดการปลาสิงโตของประเทศบาฮามาส ซึ่งมีการจัดตั้งแผนกำจัดปลาสิงโตอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่อนุญาตให้จับปลาสิงโตได้ พยายามส่งเสริมให้ประชาชนนำมันมาบริโภค ไปจนถึงการใช้หุ่นยนต์มาช่วยจับปลาสิงโต

ปลาสิงโตเป็นปลาสวยงามที่เต็มไปด้วยพิษร้าย มีถิ่นกำเนิดในอินโด-แปซิฟิก แต่มันกลายเป็นสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในฝั่งทะเลด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะชนิดปลาสิงโตปีกจุด (P. volitans) บริเวณแคริบเบียน, ชายฝั่งฟลอริดา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงตอนเหนือของบราซิล ปลาสิงโตสามารถที่จะขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ โดยวางไข่ในป่าชายเลน ปลาหนึ่งตัวภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที สามารถกินลูกปลาหรือปลาขนาดเล็กไปได้ถึง 20 กว่าตัวเลยทีเดียว คิดเป็นร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัว กระเพาะอาหารของปลาสิงโตสามารถขยายออกได้ถึง 30 เท่าของขนาดกระเพาะปกติ นอกจากนี้แล้วปลาสิงโตยังเป็นปลาที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง ปลาสิงโตตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึงปีละ 2 ล้านฟอง

การแพร่ระบาดของปลาสิงโตที่มหาสมุทรแอตแลนติกพบมีปลาสิงโตแทบทุกพื้นที่ จนบาฮามาสต้องประกาศจัดการอย่างจริงจังเพื่อควบคุมปริมาณในแนวปะการัง โดยเมื่อปี 2009 กรมทรัพยากรทางทะเล ร่วมมือกับวิทยาลัยทางทะเลบาฮามาสและสถาบันการศึกษาสิ่งแวดล้อม จัดตั้งแผนรับมือปลาสิงโตแห่งชาติระยะยาวขึ้นมา

ในแผนดังกล่าวอนุญาตให้มีการกำจัดปลาสิงโตได้ โดยเริ่มตั้งแต่อนุญาตให้ใช้ฉมวกจับปลาสิงโตได้ภายในรัศมีที่กำหนด ส่งเสริมให้มีการจับและจำหน่ายปลาสิงโตเพื่อการบริโภค สั่งแบนปลาสิงโตไม่ให้เป็นปลาเลี้ยงในตู้ปลา และจำกัดการครอบครองและเคลื่อนย้ายปลาสิงโตที่มีชีวิตอยู่

ความน่าสนใจอีกหนึ่งอย่างคืออการใช้โรบอท หรือหุ่นยนต์ช่วยจับปลาสิงโต โดยการจัดตั้งศูนย์บริการหุ่นยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ RSE ขึ้นมา ก่อตั้งโดยโคลิน แองเจิล ซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัท iRobot ทาง RSE ได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถดำน้ำได้ขึ้นมา มันมีความสามารถในการไล่ล่า ทำให้สลบและจับปลาสิงโตได้ ภายในท้องทะเลที่มีความลึกถึง 120 เมตร และลงน้ำไปครั้งหนึ่งหุ่นยนต์ตัวนี้จะสามารถจับปลาสิงโตได้นานถึง 1 ชั่วโมง

RSE ได้พัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายหลักคือ เพื่อให้สามารถจับปลาสิงโตได้ดียิ่งขึ้น เมื่อมันเจอปลาสิงโตว่ายน้ำมาใกล้ๆ มันก็จะทำให้ปลาสลบ ก่อนจะมีตัวดูดที่ดูดปลาเหล่านั้นเข้าไปในหุ่นยนต์

ที่มา CARIBBEANINV


https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/851608

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:34


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger