เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 22-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน "พระพิรุณ" ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และเกาะไหหลำ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุโซนร้อน "พระพิรุณ" ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และเกาะไหหลำ ประเทศจีน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 22?23 ก.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 22 ? 27 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 22 ? 23 ก.ค. 67 ส่วนพายุโซนร้อนแคมีบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนไปทางด้านตะวันออกของประเทศจีนในช่วงวันที่ 24 ? 26 ก.ค. 67 โดยพายุทั้งสองไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 21 ? 22 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ ?พระพิรุณ? ฉบับที่ 5 (145/2567)


เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน "พระพิรุณ" บริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 19.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.7 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 22?23 ก.ค. 67 พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 22-07-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ทำไมถึงเรียก "เอเลี่ยนสปีชีส์" ผู้สร้างผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ



การพบปลาหมอคางดำที่ถูกจัดเป็น "เอเลี่ยนสปีชีส์ " เพิ่มจำนวนมากขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้มีความกังวลว่าปลาชนิดจะสร้างความเสียหายให้กับระบบในอนาคต แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ได้มีการพบเพียงแค่ปลาหมอคางดำ ยังมีการพบเอเลี่ยนสปีชีส์ชนิดอื่นๆ ก่อนหน้านี้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ผักตบชวา ดอกบัวตอง นกพิราบ อิกัวน่าเขียว ปลาซักเกอร์ และทำไมสัตวืและพืชเหล่านี้ ทั้งๆ ที่มีหน้าตาคล้ายกับสัตว์และพืชที่มีในประเทศไทย แต่ทำไมถึงได้ถูกจัดเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เพราะเหตุใด

เอเลียนสปีชีส์ (Alien Species) เป็นคำเรียกของสิ่งมีชีวิตที่เป็น "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" (introduced species) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ถูกนำเข้ามาจากถิ่นอื่น และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจสามารถดำรงชีวิตอยู่และสืบพันธุ์ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัจจัยแวดล้อมและการปรับตัวของชนิดพันธุ์นั้นๆ


ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเหล่านี้ สามารถแบ่งได้ตามบทบาทที่มีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมออกได้เป็น 2 ประเภท

1. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ประเภทที่ไม่รุกราน

สำหรับกลุ่มนี้เป็นพันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือระบบนิเวศโดยตรง หรือชัดเจนนัก เพราะใช้ชีวิตแบบไม่แข่งขันหรือขัดต่อการดำรงชีพของสัตว์ชนิดอื่นหรือสมดุลของระบบนิเวศ มักเป็นชนิดพันธุ์ที่พบน้อยหรือไม่แพร่พันธุ์ในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสภาพของนิเวศที่เปลี่ยนไปอาจมีผลให้ชนิดพันธ์ดังกล่าวเจริญแทนที่ และขัดขวางการฟื้นตัวของสมดุลนิเวศ

2. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ประเภทที่รุกราน

เป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้เร็วและมีความสามารถในการปรับตัวแข่งขันแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองได้ดี มีการเบียดเบียนชนิดพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิม คือการกินชนิดพันธุ์ที่มีอยู่ดั้งเดิม แย่งอาหาร แย่งชิงพื้นที่สืบพันธุ์ ข่มเหงพันธุกรรมที่มีความใกล้เคียงผสมพันธุ์ออกมากระทั่งลูกที่เกิดมีโอกาสรอดต่ำและเป็นหมันในรุ่นถัดไป ส่งผลทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมเดิมเสื่อมลง หรือบางกรณีเป็นพาหะนำโรคหรือปรสิตเข้าสู่พื้นที่โดยที่ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นอาจไม่สามารถต้านทานได้ หรือการรบกวนสภาพนิเวศ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสมดุลนิเวศวิทยาเดิม ตัวอย่างในประเทศไทย เช่น ปลาซัคเกอร์ หอยเชอรี่ ปลาดุกแอฟริกา กุ้งเครย์ฟิช ผักตบชวา

แต่การระบุว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานหรือไม่นั้น จำเป็นต้องมีการสำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งบางระบบนิเวศและพื้นที่ที่ต่างกัน ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเหล่านี้ สามารถสร้างปัญหาให้กับระบบนิเวศได้ในวงกว้างซึ่งถ้าหากไม่ได้รับแก้ไขที่ถูกวิธี และอาจถึงขั้นส่งผลกระทบแบบที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังต่อไปนี้

1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนเอเลี่ยนสปีชีส์ทำให้สัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นสูญพันธุ์ เพราะถูกแย่งอาหาร บ้างถูกแย่งที่อยู่อาศัยหรือกลายเป็นอาหารของพวกเอเลี่ยนสปีชีส์เสียเอง

2. การรุกรานของเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่เพียงแต่สร้างปัญหาหรือเป็นภัยแค่สัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น แต่ยังส่งผลกระทบถึงมนุษย์ในการดำรงชีวิตอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ชาวประมง หรือเกษตรกร จนนำไปสู่ความสูญเสียผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในที่สุด

3. เป็นพาหะและตัวนำเชื้อโรคมามาแพร่กระจายจนทำให้เกิดโรคร้ายใหม่ๆต่อสัตว์ในท้องถิ่น ถ้าหากไม่ได้รับการควบคุมหรือป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากพอ อาจส่งผลเสียในระยะยาวและกลายเป็นโรคที่อันตรายจนทำให้เสียชีวิต

4. เกิดความเสียหายด้านพันธุกรรม นอกจากเอเลี่ยนสปีชีส์จะเข้ามาแย่งอาหารแย่งที่อยู่ พวกมันบางสายพันธุ์อาจเข้ามาสมพันธุ์กับสัตว์ในท้องถิ่น จนทำให้ลูกที่เกิดมาเป็นลูกผสมบางตัวก็อาจจะไม่รอดหรือเป็นหมัน ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง


ต้นเหตุการณ์เข้ามาของสัตว์เหล่านี้ล้วนมีต้นตอจากมนุษย์ โดยแบ่งได้ 2 วิธี

1.นำเข้าโดยตั้งใจเป็นการปล่อยเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ โดยตรง เช่น การเลี้ยงเพื่อความสวยงาม การเลี้ยงเพื่อการค้า และมีการนำไปปล่อยทิ้งเนื่องจากความเบื่อที่จะเลี้ยง หรือขาดทุนในการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า

2.การปล่อยโดยความตั้งใจ คือเพื่อการเพิ่มผลผลิตแหล่งน้ำในธรรมชาติและแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้น การปล่อยสัตว์เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปัญหาระบบนิเวศ เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ท้องถิ่นชนิดอื่นมีจำนวนลดลงถึงขั้นสูญหาย เนื่องจากการถูกคุกคามจากสัตว์ต่างถิ่น


ข้อมูล ? รูปอ้างอิง
- สํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- onep.go.th



https://mgronline.com/science/detail/9670000061872

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:21


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger