เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 07-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 6 ? 7 และ 10 ? 12 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 ? 9 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงฟ้าคะนองบางแห่ง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 6 - 7 และ 10 ? 12 ส.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 07-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


พบซากฟอสซิลทากมีหนาม บรรพบุรุษของหอย



หอยเป็นสัตว์ที่มีหลากหลายรูปแบบ เช่น หอยทาก หอยกาบ และเซฟาโลพอด คือสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในจำพวกหอยที่มีวิวัฒนาการสูง เช่น ปลาหมึก หมึกยักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งหมดนี้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงยุคแคมเบรียน เอ็กโพลชัน (Cambrian explosion) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 530 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่สัตว์กลุ่มหลักทั้งหมดมีการกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ ฟอสซิลเพียงไม่กี่ชิ้นจึงถูกทิ้งไว้เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของวิวัฒนาการของหอยในยุคแรก

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษ เผยการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลที่เรียกว่า Shishania aculeata ซึ่งลักษณะภายนอกแลคล้ายถุงพลาสติกเปื่อยๆ ทว่าฟอสซิลนี้เผยให้เห็นว่าหอยในยุคแรกเป็นทากตัวแบนไม่มีเปลือก มีแต่เกราะหนามป้องกัน พวกมันมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 500 ล้านปีก่อน ทีมวิจัยเชื่อว่า Shishania aculeata เป็นช่วงเริ่มต้นของวิวัฒนาการของหอย หรือเรียกง่ายๆว่ามันเป็นบรรพบุรุษของหอยทั่วโลกนั่นเอง

ซากฟอสซิล Shishania aculeata ได้รับ การอนุรักษ์ไว้อย่างดีจากมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงยุคธรณีวิทยาเมื่อประมาณ 514 ล้านปีก่อน ตัวอย่างทั้งหมดมีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตรและปกคลุมด้วยกรวยแหลมเล็กๆ ฟอสซิลบางส่วนมีการคว่ำหัวลง แสดงให้เห็นว่าส่วนล่างของสัตว์นั้นเปลือยเปล่า มีเท้า ที่มีกล้ามเนื้อเหมือนทาก และคลานไปตามพื้นทะเล.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2805686

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 07-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เตรียมท่วม ฝนตกกระหน่ำ 2 เดือน "ลานีญา" ถล่มทั่วไทย "กทม." สุดเสี่ยง



เตรียมรับมือฝนกระหน่ำ "ลานีญา" ถล่มทั่วไทย หนักสุดกลางเดือน ส.ค.?ก.ย. โดยมีปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน 12% ขณะที่ "กรุงเทพฯ" เสี่ยงเจอฝนตกหนักเฉพาะบางพื้นที่ติดต่อกัน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน หากไม่มีการจัดการน้ำในระดับพื้นที่ให้เหมาะสม

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานแผนงานการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ฝนปีนี้มากกว่าปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ลานีญา ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่เดือน ส.ค.?ก.ย. ปี 67 ทำให้มีปริมาณฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ย โดยพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณฝนมากกว่าปกติ อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง อีสานตอนบน

จากการประมาณการ คาดว่า ตั้งแต่กลางเดือน ก.ย. ไปถึงปลายเดือน มีแนวโน้มฝนเพิ่มสูง ซึ่งประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ "ลานีญา" ระดับอ่อน กลาง และสูง ทำให้มีปริมาณฝนสะสมสูงถึง 2,500?2,700 ลบ.ม. ช่วงปลายเดือน ก.ย.นี้ ดังนั้นต้องมีการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้เหมาะสม

"ฝนปีนี้ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ในเดือนเดียวกัน มีปริมาณเพิ่มขึ้น 5?10 เปอร์เซ็นต์ ด้วยปริมาณฝนที่ตกมาก จะทำให้หลังจากมีฝนตกหนักในช่วงกลางเดือน ก.ย. และจากนั้นอีก 2 อาทิตย์ น้ำฝนที่ตกสะสมจะไหลลงมาสู่แม่น้ำ และไหลบ่ามาสู่พื้นที่ตอนล่าง โดยเฉพาะน้ำเหนือ ที่ต้องเฝ้าระวัง"

พื้นที่น่าห่วงและเสี่ยงน้ำท่วม เนื่องจากมีปริมาณฝนตกมากกว่าพื้นที่อื่นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ เช่น กรุงเทพฯ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคเหนือตอนบน อีสานตอนบน

ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนตอนนี้ ช่วงต้นเดือน ส.ค. 67 มีอยู่ประมาณ 30?40 เปอร์เซ็นต์ แต่ในช่วงกลางเดือน ก.ย. คาดว่าจะมีน้ำในเขื่อนทั่วประเทศประมาณ 80?90 เปอร์เซ็นต์


ฝนตกปี 67 เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากตกหนักบางแห่ง

"รศ.ดร.สุจริต" มองว่า ปริมาณฝนปีนี้ จะมีลักษณะการท่วมอีกแบบคือ ฝนจะตกหนักเฉพาะบางพื้นที่ติดต่อกัน ทำให้น้ำท่วมเป็นบางจุด ซึ่งมีลักษณะ เช่น ฝนตกหนัก 2?3 วัน แล้วก็หยุด ซึ่งเห็นได้ชัดจากกรณีน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนรอบ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก โดยฝนที่ตกไม่ได้ไปตกในเขื่อน แต่ไปตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย เมื่อสะสมหนักๆ น้ำก็ไหลบ่าเข้ามาในชุมชน

น่าสนใจว่าการที่ฝนตกในลักษณะเฉพาะพื้นที่เป็นเวลานาน อย่างพื้นที่ในเมืองเสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ปีนี้เสี่ยงจะเกิดน้ำท่วม หากไม่มีการจัดการน้ำในระดับพื้นที่ให้เหมาะสม

"ลักษณะของฝนที่ตกหนักเฉพาะพื้นที่ เกิดจากกลุ่มเมฆฝนที่เคลื่อนตัวเข้ามาในพื้นที่ร้อนจัด ทำให้เกิดภาวะอากาศยกตัว และทำให้เกิดฝนตกหนัก ซึ่งมักเกิดในพื้นที่เขตเมืองมากกว่าพื้นที่ชนบท"

สำหรับประชาชน ควรฟังข่าวและการเตือนภัยในพื้นที่ท้องถิ่น ตอนนี้มีการพัฒนาระบบเตือนภัยทำให้สามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้า 2?3 วัน เพราะปีนี้ปริมาณฝนที่มากจะทำให้เกิดน้ำท่วมจากปริมาณฝนที่ตกมา ทั้งแบบที่ไหลลงมาจากทางเหนือ และฝนที่ตกหนักเฉพาะพื้นที่.


https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2805982

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 07-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


"พัชรวาท" ชู เครือข่าย ทสม. เป็น "หัวใจสำคัญ" ดูแลธรรมชาติ

"พัชรวาท" มอบนโยบายเครือข่าย ทสม. ชูเป็น "หัวใจสำคัญ" ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สู่การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หนุนพัฒนาบทบาท เพิ่มศักยภาพรองรับโลกร้อน



วันที่ 5 สิงหาคม 2567 พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) โดยมีประธานและผู้แทนเครือข่าย ทสม. ระดับจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด ประธานและผู้แทนเครือข่าย ทสม. กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการและผู้แทนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เข้าร่วมรับนนโยบาย ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และผ่านระบบออนไลน์ รวมกว่า 1,000 คน

พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กล่าวว่า ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่ง "อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม." เป็นอาสาสมัครภาคประชาชนที่มีจิตอาสา เสียสละและมุ่งมั่นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ นับเป็นกำลังสำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการลดและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

ดังนั้น เพื่อให้พี่น้อง ทสม. สามารถดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน จึงต้องมีแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่าย ทสม. ดังนี้

1. สนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาบทบาทเครือข่าย ทสม. ให้เป็นกลไกความร่วมมือขับเคลื่อนแนวทางไปสู่การปฏิบัติจริงในการสร้างการรับรู้และแก้ไขปัญหาโลกร้อนแต่ละพื้นที่

2. พัฒนาศักยภาพ ส่งเสริมองค์ความรู้ของ ทสม. และเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3. สนับสนุนเครื่องมือให้มีแผนยุทธศาสตร์เครือข่าย ทสม. เป็นเข็มทิศในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ

พล.ต.อ.พัชรวาท ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ทสม. ทุกคน คือ "หัวใจ" ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นพลังสำคัญในดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยส่งต่อความยั่งยืนไปสู่ลูกหลานในอนาคตต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ทสม. มีจำนวน 289,199 คน ทั่วประเทศ เป็นเสมือน "โซ่ข้อกลาง" เชื่อมประสานการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน ให้มีความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของฐานทรัพยากรต่าง ๆ ในพื้นที่ ตลอดจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีวิถีชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการประชุมฯ วันนี้ นอกจากจะรับมอบนโยบายฯ จากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเตรียมความพร้อมจัดทำแผนยุทธศาสตร์เครือข่าย ทสม. เชิงพื้นที่ 6 กลุ่มจังหวัด

อีกทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวทางการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อเสริมพลังขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมาย Net Zero ต่อไป


https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/851939

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 07-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


สามีภรรยา แชร์รูปถ่าย 15 ปีก่อน vs ตอนนี้ ตะลึง! ธารน้ำแข็งละลายเกือบหมดแล้ว


SHORT CUT

- สามี-ภรรยา แชร์ภาพถ่าย "15 ปีก่อน vs ตอนนี้" ทั้งคู่ดูมีอายุขึ้นไปตามกาลเวลา แต่ที่น่าเป็นห่วงคือธารน้ำแข็งที่ละลายหายใกล้หมดแล้ว

- "รูปถ่าย 2 รูปนี้ ห่างกัน 15 ปี พูดจริงนะ มันทำให้ฉันเสียน้ำตา" ดันแคน กล่าวผ่าน X

- ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สวิตเซอร์แลนด์สูญเสียปริมาณน้ำแข็งไป 1 ใน 3 และธารน้ำแข็งหายไปราว 10% หากนับเฉพาะช่วงสองปีหลังสุด




สามี-ภรรยา แชร์ภาพถ่าย "15 ปีก่อน vs ตอนนี้" รักของเรายังไม่เปลี่ยนแปลง แต่ธารน้ำแข็งนี่สิเปลี่ยนไป เป็นเพราะอะไรกันนะ...?

15 ปีผ่านไป ธารน้ำแข็งในสวิตเซอร์แลนด์ละลายแทบไม่เหลือ

ถือเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ เมื่อดันแคน พอร์เตอร์ ได้โพสต์ภาพ Before ? After ที่เจ้าตัวถ่ายคู่กับภรรยาโดยมีฉากหลังเป็น "ธารน้ำแข็งโรน" ในสวิตเซอร์แลนด์ โดยทั้ง 2 ภาพมีระยะเวลาห่างกันถึง 15 ปี

ภาพขวาถูกถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2009 ในอีก 15 ปีต่อมา ดันแคนและภรรยากลับไปถ่ายรูปที่จุดเดิม เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2024 จับภาพผิดกันหน่อย มีอะไรบ้างที่เปลี่ยนไป...?

ดันแคน และเฮเลน (ภรรยา) ดูแก่ขึ้น? ก็ถูก แต่นั่นคือธรรมชาติที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือธารน้ำแข็งของเทือกเขาแอลป์ที่อยู่เบื้องหลังสามีภรรยาคู่นี้ต่างหาก

ระยะเวลาเพียง 15 ปี จากธารน้ำแข็งขาวโพลน เมื่อถูกภาวะโลกร้อนเล่นงาน กลับกลายเป็นภูเขาหัวโล้น มีปริมาณน้ำแข็งเพียงน้อยนิด "รูปถ่าย 2 รูปนี้ ห่างกัน 15 ปี พูดจริงนะ มันทำให้ฉันเสียน้ำตา" ดันแคน กล่าวผ่าน X

หรือในไม่ช้านี้ "สวิตเซอร์แลนด์" ในฐานะประเทศที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดในโลก อาจกลายเป็นเรื่องราวในอดีต เพราะเมื่อเปิดสถิติดูแล้วพบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สวิตเซอร์แลนด์สูญเสียปริมาณน้ำแข็งไป 1 ใน 3 และธารน้ำแข็งหายไปราว 10% หากนับเฉพาะช่วงสองปีหลังสุด

ที่มา: The Guardian


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/851954

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 07-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


ภูเขาน้ำแข็งใหญ่สุดของโลกติดกลางน้ำวน หมุนคว้างไร้ทางออกใกล้แอนตาร์กติกา
............. โดย โจนาธาน เอมอส และ เออร์แวน รีวอลต์


ภูเขาน้ำแข็งยักษ์ A23a มีส่วนยอดรูปทรงคล้ายโต๊ะที่แบนราบและยาวจรดขอบฟ้าที่มาของภาพ,Derren Fox/BAS

เกิดปรากฏการณ์บางอย่างที่สุดแสนจะเหลือเชื่อขึ้นกับ A23a ภูเขาน้ำแข็งยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากตอนนี้มันยังคงหมุนคว้างอยู่กับที่ในมหาสมุทรใต้ ตรงบริเวณใกล้ชายฝั่งตอนเหนือของทวีปแอนตาร์กติกามาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว โดยไม่ยอมล่องลอยไปตามกระแสน้ำที่ทรงพลังที่สุดของโลกเหมือนกับภูเขาน้ำแข็งทั่วไป

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าภูเขาน้ำแข็งยักษ์ A23a ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่ามหานครลอนดอนและเขตปริมณฑลรวมกันกว่า 2 เท่า ติดอยู่ในวังน้ำวนซึ่งด้านล่างเป็นกระแสน้ำรูปแท่งทรงกระบอกที่หมุนปั่นอย่างรุนแรง ซึ่งนักสมุทรศาสตร์เรียกกระแสน้ำที่ไหลในลักษณะนี้ว่า "แท่งเสาเทย์เลอร์" (Taylor column) ทั้งคาดการณ์ว่าภูเขาน้ำแข็งยักษ์ที่ติดอยู่ในนั้น อาจจะต้องหมุนคว้างอยู่ในตำแหน่งเดิมไปอีกนานหลายปี

ศาสตราจารย์มาร์ก แบรนดอน จากมหาวิทยาลัย Open University ของสหราชอาณาจักร บอกกับบีบีซีว่า "ตามปกติแล้วเรามักมองว่า ภูเขาน้ำแข็งคือสิ่งที่คงอยู่เพียงชั่วคราวโดยไม่ยั่งยืนถาวร เพราะมันจะแตกตัวออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วละลายหายไปในที่สุด แต่ดูเหมือนว่าภูเขาน้ำแข็งยักษ์ลูกนี้จะไม่เป็นเช่นนั้นง่าย ๆ อันที่จริงแล้ว A23a คือภูเขาน้ำแข็งที่ไม่ยอมตาย"

ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ติดตามบันทึกความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของ A23a โดยละเอียด เริ่มจากตอนที่มันแตกออกเป็นอิสระจากแผ่นน้ำแข็งของชายฝั่งแอนตาร์กติกในปี 1986 ก่อนจะเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือ แต่ทว่าไม่นานหลังจากนั้น A23a กลับติดอยู่กับพื้นโคลนเลนของก้นทะเลเวดเดล (Weddell Sea) เป็นเวลานานกว่า 3 ทศวรรษ จนแทบจะเรียกได้ว่ากลายเป็น ?เกาะน้ำแข็ง? ซึ่งตั้งอยู่กับที่อย่างถาวรเหมือนเกาะทั่วไปเลยทีเดียว

ต่อมาในปี 2020 ภูเขาน้ำแข็งยักษ์นี้สามารถลอยตัวขึ้นได้อีกครั้ง และเริ่มล่องไปตามกระแสน้ำอย่างช้า ๆ ในตอนแรก ก่อนจะเร่งความเร็วขึ้นโดยมุ่งไปทางทิศเหนือ สู่น่านน้ำที่มีสภาพอากาศและอุณหภูมิของน้ำทะเลอบอุ่นกว่าเดิม

เมื่อช่วงต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา A23a ได้เคลื่อนเข้าไปในกระแสน้ำวนขั้วโลกแอนตาร์กติก (ACC) ซึ่งเป็นกระแสน้ำทรงพลังที่เคลื่อนย้ายมวลน้ำทะเลปริมาณมหาศาล คิดเป็นหลายร้อยเท่าของมวลน้ำจากแม่น้ำทุกสายบนโลกรวมกัน

กระแสน้ำ ACC ได้เพิ่มแรงขับเคลื่อนให้กับภูเขาน้ำแข็งยักษ์ที่หนักเกือบ 1 ล้านล้านตัน จนดูเหมือนว่ามันกำลังจะแล่นฉิวเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ และใกล้จะเผชิญชะตากรรมเดียวกับภูเขาน้ำแข็งอื่น ๆ ที่ต้องละลายหมดไปในที่สุด

แต่ใครจะคาดคิดว่า A23a กลับต้องมาติดแหง็กอยู่กลางมหาสมุทรอีกครั้ง หลังพบเข้ากับกระแสน้ำวนบริเวณทิศเหนือของหมู่เกาะออร์กนีย์ใต้ (South Orkney Islands) วังน้ำวนที่ทรงพลังดังกล่าวทำให้มันหมุนเคว้งอยู่กับที่ โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกาไปวันละ 15 องศา ในพิกัดตำแหน่งเดิม และตราบใดที่ยังติดอยู่ในกระแสน้ำวนที่เย็นยะเยือกนี้ ภูเขาน้ำแข็งยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกก็จะไม่ละลายหายไปง่าย ๆ

แต่อย่างน้อย A23a ก็ไม่ได้ติดแน่นอยู่กับพื้นก้นสมุทรอีกแล้ว เพราะขณะนี้มันลอยอยู่เหนือกระแสน้ำที่หมุนวนเป็นทรงกระบอกลำยาวหลายพันเมตร ซึ่งกระแสน้ำแบบนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1920 โดยเซอร์จอฟฟรีย์ อินแกรม เทย์เลอร์ (G.I.Taylor) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกสาขาวิชาพลศาสตร์ของไหล (fluid dynamics) เขายังเคยเข้าร่วมในโครงการแมนฮัตตัน เพื่อช่วยสร้างแบบจำลองของความเสถียรในการทดสอบระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลก

เซอร์เทย์เลอร์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อกระแสน้ำเจอเข้ากับสิ่งกีดขวางที่พื้นทะเลในบางสถานการณ์ อาจเกิดการแยกไหลเป็นสองสายจนสามารถสร้างวังน้ำวนที่เหมือนแท่งเสาลำยาว ซึ่งทอดตัวจากผิวน้ำไปจรดก้นมหาสมุทรได้ โดยในกรณีของ A23a นั้น วังน้ำวนที่กักขังมันเอาไว้เกิดจากมูนดินกว้าง 100 กิโลเมตร ชื่อว่า Pirie Bank ที่ขณะนี้กลายเป็นส่วนฐานของมวลน้ำทรงกระบอกที่หมุนปั่นอย่างบ้าคลั่ง

ศาสตราจารย์ไมก์ เมเรดิธ จากองค์กรสำรวจแอนตาร์กติกแห่งอังกฤษ (BAS) แสดงความเห็นว่า "มหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าอัศจรรย์ใจมากมาย และพลวัตของวังน้ำวนนี้คือสิ่งอัศจรรย์ระดับย่อม ๆ ซึ่งถือว่าน่ารักจุ๋มจิ๋มที่สุดเท่าที่คุณเคยเห็นมา"

"ปรากฏการณ์แท่งเสาเทย์เลอร์นั้นเกิดขึ้นในอากาศได้ด้วย โดยจะสังเกตเห็นได้จากการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆเหนือภูเขา มันอาจมีขนาดเล็กเพียงไม่กี่เซนติเมตรในแทงก์น้ำของห้องปฏิบัติการ หรืออาจมีขนาดใหญ่ยักษ์จนดักจับภูเขาน้ำแข็งเอาไว้ได้เหมือนในกรณีนี้" ศ. เมเรดิธกล่าว

แม้จะไม่มีใครทราบว่า A23a จะยังคงติดอยู่ในวังน้ำวนแห่งนี้ไปอีกนานแค่ไหน แต่ศ. เมเรดิธบอกว่า เขาเคยนำทุ่นลอยน้ำสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ใส่เข้าไปในแท่งเสาเทย์เลอร์บริเวณทางตะวันออกของมูนดิน Pirie Bank เมื่อ 4 ปีก่อน แต่มันก็ยังคงลอยวนอยู่ตรงจุดเดิมมาจนถึงทุกวันนี้

กรณีของ A23a จัดว่าเป็นตัวอย่างที่ดี ในการชี้ให้เราเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาสภาพภูมิประเทศที่พื้นก้นสมุทร เนื่องจากภูเขา หุบเหว และบริเวณลาดชันต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำ สามารถจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อทิศทางการไหลและการรวมตัวของกระแสน้ำ รวมทั้งการกระจายสารอาหารที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางชีวภาพในมหาสมุทร

นอกจากอิทธิพลที่มีต่อระบบนิเวศในมหาสมุทรแล้ว กระแสน้ำทะเลยังส่งผลต่อระบบภูมิอากาศโลก เนื่องจากการไหลเวียนของมันช่วยกระจายพลังงานความร้อนไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ตามที่ควรจะเป็น

การที่เราสามารถให้คำอธิบายต่อพฤติกรรมแปลกประหลาดของ A23a ได้ในครั้งนี้ เป็นเพราะเคยมีการสำรวจพื้นก้นสมุทรบริเวณตอนเหนือของหมู่เกาะออร์กนีย์ใต้มาแล้วเป็นอย่างดี แต่กับน่านน้ำในส่วนอื่น ๆ ของโลกนั้น เคยมีการสำรวจทำแผนที่ด้วยอุปกรณ์อันเหมาะสมและเทคโนโลยีล้ำสมัย เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด


https://www.bbc.com/thai/articles/credd2dqe94o

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:21


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger