เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 10-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมฝ่ายตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมามีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 9 ? 10 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทยตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีแนวพัดสอบของลมฝ่ายตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่ จ.ระนองขึ้นมามีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จ.พังงาลงไป และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ในช่วงวันที่ 11 ? 15 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ประกอบกับมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 11 ? 15 ส.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 10-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ช่วย "พะยูน" กินหญ้าเพลินจนเกยตื้นที่บ้านแหลมล้าน โชคดีชาวบ้านมาช่วยส่งกลับทะเล

ชาวเกาะยาวใหญ่เห็นสัตว์ทะเลตัวใหญ่ดิ้นอยู่ไกลๆ เดินไปดูจึงพบว่าเป็น "พะยูน" ตัวใหญ่ คาดกินหญ้าทะเลเพลินจนเกยตื้นที่ บ้านแหลมล้าน จ.พังงา ส่งกลับสู่ท้องทะเลได้สำเร็จ



วันที่ 9 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายวิชัย มิ่งพิจารย์ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลพรุใน อ.เกาะยาว จ.พังงา ว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ขณะที่ช่วงน้ำทะเลลดลงนั้น ที่บริเวณชายทะเลบ้านแหลมล้าน ม.5 ต.พรุใน อ.เกาะยาว จ.พังงา ชาวบ้านได้พบเห็นสัตว์ทะเลตัวใหญ่ดิ้นอยู่ไกลๆ จึงรีบเข้าไปดูใกล้ๆ ก็พบว่าเป็น "พะยูน" ตัวใหญ่ติดอยู่ กำลังดิ้นรนหาทางกลับสู่ท้องทะเลแบบไม่รู้ทิศทาง และกลิ้งขึ้นมาบนชายฝั่งเรื่อยๆ

ตนจึงเรียกชาวบ้านอีก 4-5 คน มารีบกันทำการช่วยเหลือ เพราะเกรงว่าหากน้ำทะเลลดลงมากกว่าเดิมจะทำให้พะยูนตายได้ จึงได้ใช้วิธีต่างๆ ทั้งใช้เชือกล่ามตัว ช่วยกันดึง ช่วยกันผลัก และกลิ้งตัวพะยูนไปเรื่อยๆ เกือบครึ่งชั่วโมงก็ประสบความสำเร็จ สามารถส่งพะยูนลงสู่น้ำลึกกลับท้องทะเลได้

ซึ่งได้สร้างความปีติยินดีให้กับชาวบ้านทุกคนที่มาช่วยเหลือกัน เพราะพะยูนนั้นเป็นสัตว์ทะเลหายาก และเป็นพะยูนตัวแรกที่มาเกยตื้นที่บ้านแหลมล้าน สาเหตุนั้นน่าจะเป็นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเล ทำให้พะยูนกินหญ้าทะเลจนเพลิน เมื่อน้ำลดลงเลยหลงทิศและเกยตื้นบนหาด กลับสู่ท้องทะเลไม่ได้ โชคดีที่ชาวบ้านได้เห็นและให้การช่วยเหลือไว้ได้.


https://www.thairath.co.th/news/local/2806815

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 10-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ญี่ปุ่นเตือนเฝ้าระวัง "อภิมหาแผ่นดินไหว"



รัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเฝ้าระวัง "แผ่นดินไหวใหญ่แนวร่องลึกนันไก" หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 นอกชายฝั่งจังหวัดมิยาซากิ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น เมื่อบ่ายวานนี้ (8 ส.ค.)

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นรายงานว่า เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่มิยาซากิมีขนาด M 7.1 ถือเป็นเป็นแผ่นดินไหวใหญ่ในรอบ 40 ปี และยังเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่แนวร่องลึกนันไก ซี่งทำให้เพิ่มความเป็นไปได้สูงกว่าปกติที่จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ตามมาในพื้นที่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบทั้งประเทศญี่ปุ่น

นี่เป็นครั้งแรกที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาได้ตรวจสอบพบความสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นกับแนวร่องลึกนันไก และได้ออกคำแนะนำให้เฝ้าระวัง (ระดับสีเหลือง) โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด M8-M9 ในช่วงเวลา 1 อาทิตย์หลังจากนี้ ในพื้นที่ 29 จังหวัด 707 เมือง

"แผ่นดินไหวใหญ่แนวร่องลึกนันไก" ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวางว่าจะเป็น "อภิมหาแผ่นดินไหว" ที่จะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากในพื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น มีเมืองใหญ่อย่างกรุงโตเกียว โยโกฮามา โอซากา นาโงยะ และโกเบ เป็นต้น

นายกฯ คิชิดะ ฟูมืโอะ ได้เตรียมจัดตั้งคณะเพื่อเตรียมการกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่นันไก โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่นระบุว่า ยังไม่มีข้อมูลชี้ชัดว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ตามมา แต่มีโอกาสเกิดสูงกว่าปกติ เนื่องจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้สัมพันธ์กับแนวร่องลึกนันไก โดยมักจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ตามมาในช่วงสัปดาห์แรก และมักจะเกิดกับพื้นที่ 50 กม. จากจุดศูนย์กลางที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งแรก

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาขอให้ประชาชนใช้มาตรการป้องกันภัยพิบัติตามข้อมูลที่ได้รับจากรัฐบาลและทางการท้องถิ่น โดยพื้นที่ริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกให้เตรียมพร้อมอพยพประชาชนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลภายในหนึ่งสัปดาห์ เสริมความแข็งแรงของอาคารบ้านเรือน ให้ประชาชนตรวจสอบสถานที่และเส้นทางหลบภัยในกรณี เตรียมน้ำดื่ม อาหารแห้ง แบตเตอรี่ไว้ให้เพียงพอ รวมทั้งเตรียมวิธีการติดต่อสมาชิกในครอบครัวไว้ด้วย

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นกำลังจะเข้าสู่เทศกาลวันหยุดฤดูร้อน หรือโอบ้ง ในช่วงวันที่ 13-16 สิงหาคม ซึ่งชาวญี่ปุ่นจำนวนมากจะเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยว โดยทางการญี่ปุ่นระบุว่าสามารถเดินทางได้ตามปกติ แต่ให้เพิ่มความระมัดระวัง และเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสที่จะเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น


https://mgronline.com/japan/detail/9...73076?tbref=hp

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 10-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


ทะเลเดือดที่สุดในรอบ 400 ปี โลกร้อนคุกคาม 'ปะการัง' อาจสูญพันธุ์เร็วๆ นี้
........... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล


KEY POINTS

- นับตั้งแต่ทศวรรษ 1900 เป็นต้นมา อุณหภูมิในทิวทัศน์รอบ ๆ เกรตแบร์ริเออร์รีฟเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปี 2024 ปีที่ร้อนที่สุดในรอบอย่างน้อย 407 ปี

- ตอนนี้มีความร้อนเกิดขึ้นอยู่บนผิวน้ำทะเลรอบ ๆ แนวปะการัง เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์ "ปะการังฟอกขาว" (Coral Bleaching) เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และปะการังส่วนใหญ่กำลังตกอยู่ในอันตราย

- สำหรับปะการังแล้ว อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ก็เพียงพอที่จะทำลายแนวปะการังได้ถึง 99%




ปัจจุบันอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทร "ร้อนที่สุด" ในรอบ 400 ปี นักวิทยาศาสตร์เตือน "เกรตแบร์ริเออร์รีฟ" (Great Barrier Reef) แนวปะการังและระบบนิเวศที่มีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเผชิญกับภัยคุกคาม และอาจจะล่มสลายในอีกไม่นาน หาก "ภาวะโลกร้อน" ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature พบว่า ในปีนี้อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลโดยรอบแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ที่มีความยาว 2,400 ตารางกิโลเมตร ในออสเตรเลีย พุ่งแตะระดับที่ร้อนที่สุดในรอบกว่า 400 ปี

"แนวปะการังกำลังตกอยู่ในอันตราย และหากเรายังไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราอาจจะได้เห็นการล่มสลายของเกรตแบร์ริเออร์รีฟ หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของโลก" เบนจามิน เฮนลีย์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ผู้เขียนรายงานวิจัยกล่าว

เฮนรีย์กล่าวต่ออีกว่า "โลกกำลังสูญเสียสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโลกไป ยากที่เชื่อว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเรา" นายเฮนลีย์ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นและเพื่อนกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยวูลลองกองกล่าว

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1900 เป็นต้นมา อุณหภูมิในทิวทัศน์รอบ ๆ เกรตแบร์ริเออร์รีฟเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ซึ่งทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตราย ตั้งแต่ช่วงปี 1960-2024 ผู้เขียนการศึกษาวิจัยสังเกตเห็นอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ร้อนขึ้นทุกปี โดยร้อนขึ้นเฉลี่ยที่ 0.12 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ

การศึกษาระบุว่า มีความร้อนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอยู่บนผิวน้ำทะเลรอบ ๆ แนวปะการัง เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์ ?ปะการังฟอกขาว? (Coral Bleaching) เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และปะการังส่วนใหญ่กำลังตกอยู่ในอันตราย

ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา เกรตแบร์ริเออร์รีฟเผชิญกับการฟอกขาวครั้งใหญ่ในฤดูร้อนมาแล้ว 5 ครั้ง เมื่ออุณหภูมิสูงมากขึ้น เนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดหรือจางลงกว่าปรกติ เนื่องจากสูญเสีย ?ซูแซนเทลลี? สาหร่ายสังเคราะห์แสงที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง

เฮเลน แมคเกรเกอร์ ผู้เขียนร่วมกล่าวว่า เธอกังวลอย่างยิ่ง เกี่ยวกับแนวปะการัง โดยอธิบายว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ?ปะการังเหล่านี้มีอายุ 400 ปี และในตอนนี้พวกมันกำลังเผชิญกับอุณหภูมิที่อบอุ่นที่สุด? เธอบอกกับสำนักข่าวเอเอฟพี

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเกรตแบร์ริเออร์รีฟกำลังถูกผลักเข้าใกล้จุดเปลี่ยนซึ่งไม่อาจฟื้นตัวได้ และจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

เพื่อวิเคราะห์บันทึกอุณหภูมิในอดีต กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการใช้ข้อมูลจากเรือและดาวเทียม รวมถึงเจาะเข้าไปในปะการังในการวิเคราะห์ตัวอย่าง เป็นวิธีที่คล้ายกับการนับวงแหวนต้นไม้ เพื่อวัดอุณหภูมิมหาสมุทรในฤดูร้อน โดยสามารถนับย้อนหลังไปถึงปี 1618 ซึ่งพบว่า ปี 2024 ปีที่ร้อนที่สุดในรอบอย่างน้อย 407 ปี และร้อนกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนปี 1900 ถึง 1.73 องศาเซลเซียส

โลกมีแนวโน้มว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาภายในสิ้นศตวรรษนี้ โดยปัจจุบันอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ติดต่อกันมาเกิน 12 เดือนแล้ว และยังร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย

หน่วยงานบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ของสหรัฐ ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้พื้นผิวมหาสมุทรอุ่นขึ้น และในตอนนี้มีปะการังอย่างน้อยใน 54 ประเทศและดินแดนประสบปัญหาปะการังฟอกขาวจำนวนมาก นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2023 เป็นต้นมา

ตามข้อตกลงปารีส โลกกำลังพยายามป้องกันไม่ให้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส หรือสูงสุดได้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส แต่สำหรับปะการังแล้ว อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ก็เพียงพอที่จะทำลายแนวปะการังได้ถึง 99%

แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เป็นที่อยู่ของชีวิตธรรมชาติที่หลากหลาย โดยมีปะการัง 600 ชนิด และปลา 1,625 สายพันธุ์ ทำหน้าที่ช่วยปกป้องแนวชายฝั่งจากการกัดเซาะ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของออสเตรเลีย สร้างรายได้ให้แก่ออสเตรเลียประมาณปีละ 4,200 ล้านดอลลาร์ในแต่ละปี

สหประชาชาติได้แนะนำให้เพิ่มแนวปะการังเข้าไปในรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่มีความเสี่ยง แต่ออสเตรเลียปฏิเสธ เนื่องจากกังวลว่าอาจสร้างความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยวของแนวปะการังได้

ที่มา: Aljazeera, Independent, Reuters, The Guardian


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1139507

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 10-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


Warning! ชายหาดทั่วโลกกำลังหายไปในไม่ช้า หาก Climate Change ยังไม่ทุเลาลง



ขณะนี้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อชายหาดทั่วโลก สปริงนิวส์พาไปดู 4 กรณีศึกษา จาก 4 ประเทศทั่วโลก

ชายหาดกลายเป็นพื้นที่ที่เปราะบาง เพราะปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เกิดพายุบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้น และยังทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง พื้นที่ชายหาดของแต่ละประเทศทั่วโลกจึงประสบปัญหาคล้ายๆกันคือถูกกัดเซาะจนหายไปเรื่อย ๆ


ไทย

ประเทศไทยของเราก็เช่นกัน อย่างเช่นเมื่อเดือนก่อนหน้านี้ บริเวณหาดจอมเทียน พัทยา ก็ประสบปัญหาคลื่นลมแรง จนทำให้เกิดการกัดเซาะชายหาดเป็นแนวยาวถึง 1,000 เมตร

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ชายหาดพัทยา แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย ก็ประสบปัญหาการถูกกัดเซาะของชายหาดอย่างร้ายแรง โดยปัจจุบัน ชายหาดมีความกว้างเหลือเพียงประมาณ 3 เมตรเท่านั้น

ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลไทยก็พยายามเร่งแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ทั้งสร้างแนวกั้นคลื่น ซึ่งตรงนี้ก็ยังเป็นปัญหาถกเถียงอยู่บ่อยครั้งว่ามันสามารถปกป้องชายหาดได้จริงหรือไม่ หรือมันเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำลายระบบนิเวศน์ชายหาด


สก๊อตแลนด์

ชายหาดมอนท์โรสในสก๊อตแลนด์กำลังถูกกัดเซาะหายไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ สิ่งที่ตามมาคือ ทำให้เมืองดังกล่าวเกิดความเสี่ยงที่จะมีน้ำท่วมเพิ่มขึ้น

โดยรายงานของ The Dynamic Coast ตั้งแต่เมื่อปี 2021 เคยคาดการณ์ว่า ชายหาดมอนท์โรสจะหายไปปีละเฉลี่ย 3 เมตร หรือหายไป 120 เมตรภายในอีก 40 ปีข้างหน้า

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าวเริ่มรู้สึกไม่สบายใจทุกทีที่เริ่มเข้าสู่ฤดูพายุ อย่างเมื่อปีที่แล้ว พายุก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชายหาดหายไปถึง 7 เมตรภายในหนึ่งปี

EnviroCentre ยังพบด้วยว่า การดำเนินงานเพื่อรับมือกับปัญหาชายหาดหายไปกินเม็ดเงินมหาศาลถึงราว 2 ล้านปอนด์ และตอนนี้ สภาท้องถิ่นที่รับผิดชอบดูแลก็เป็นหนี้แล้ว 50ล้านปอนด์


สหรัฐฯ

โดยทั่วไปแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ทางชายฝั่งด้านตะวันออกและชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ ล้วนได้รับผลกระทบจากปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ โดยผลการศึกษาเมื่อปี 2023 ชี้ว่า ภูมิภาคดังกล่าวมีปัญหาชายหาดหายไปอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2010

ซึ่งปัญหาระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นสาเหตุหลักๆในสหรัฐฯ และนำมาสู่ปัญหาพื้นที่ชายฝั่งถูกน้ำท่วม

นอกจากปัญหาเรื่องระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว อีกหนึ่งปัญหาคือ ชายหาดมักหายไปเพราะพายุเข้าพัดถล่ม ซึ่งพายุที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้น ก็มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหรือโลกร้อนเช่นกัน

ข้อมูลจากรัฐบาลสหรัฐฯชี้ว่า ปัญหาชายหาดที่หายไปสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งราว 500 ล้านสหรัฐฯทุกปี และคาดการณ์ว่า ภายในสิ้นศตวรรษนี้ บ้านเรือนราว 1,400 หลังจะได้รับความเสียหายจากปัญหาชายหาดถูกกัดเซาะ


ออสเตรเลีย
ชุมชนชายหาดหลายแห่งทั่วประเทศออสเตรเลีย กำลังประสบปัญหาถูกกัดเซาะ เช่นที่ชายหาดเมืองแวมบีรัล รัฐนิวเซาท์เวลส์ โดยบรรดาบ้านที่อยู่ริมชายหาดต้องรับมือกับปัญหานี้มา หลังเจอพายุร้ายแรงเมื่อปี 2020 และนับตั้งแต่นั้น พวกเขาก็เจอพายุบ่อยขึ้น ระดับน้ำทะเลก็เพิ่มขึ้น

อันเนื่องมาจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และนับจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีข้อตกลงใดๆที่จะหาวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากกว่านี้ แต่ก็มีวิธีหนึ่งคือการถมทรายลงไป อย่างไรก็ตาม มีข้อถกเถียงถึงความคงทนถาวรและค่าใช้จ่ายของมันที่แพงเหลือเกิน

ปัจจุบัน ชายหาดชื่อดังหลายแห่งของออสเตรเลียประสบปัญหานี้ เช่น หาดนูซา ซึ่งถูกกัดเซาะชายหาดเพราะเจอปรากฏการณ์ลานีญาต่อเนื่องหลายปี ดร.จาเวียร์ ลีออน แห่งมหาวิทยาลัย University of the Sunshine Coast เฝ้าติดต่อชายหาดดังกล่าว และคาดการณ์ว่า ตลอดสามปีที่ผ่านมา แนวชายฝั่งหายไปราว 20 เมตร ส่วนพื้นทรายหายไปราว 7-10 เมตร

ตามปกติแล้วจะมีเต่าขึ้นมาวางไข่ที่ชายหาดดังกล่าวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม แต่ปรากฏว่าปีนี้ไม่พบเลย โดยดร.จาเวียร์คาดเดาว่า สาเหตุเพราะชายหาดที่หายไป ทำให้ไม่มีที่ให้เต่ามาวางไข่

ทั้งนี้ นักวิจัยพบว่า ระหว่างปี 1984-2022 ชายหาดราว 48 เปอร์เซ็นต์ในออสเตรเลียประสบปัญหาถูกกัดเซาะระหว่างปีที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา และพบว่าพื้นที่ที่รุนแรงคือทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ

ที่มา: The Guardian, Axios, Scientific American


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/851996

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:37


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger