#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "อ็อมปึล" ปกคลุมทิศใต้ของประเทศญี่ปุ่น ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 14 ? 19 ส.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ในช่วงวันที่ 15 ? 19 ส.ค. 67 จะมีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมามีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อน "อ็อมปึล" (AMPIL) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงและพายุไต้ฝุ่นในระยะต่อไป คาดว่าจะเคลื่อนผ่านด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 16 ? 17 ส.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 14 ? 19 ส.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
เรือประมงอับปาง 8 ลูกเรือลอยคอกลางทะเล โชคดีได้รับความช่วยเหลือปลอดภัย 12 ส.ค.2567 - ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 เปิดเผยว่า ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดภูเก็ต (ศคท.จว.ภก) ได้รับแจ้งจากศูนย์ Pipo ภูเก็ต เวลา 07.03น.ว่า ศูนย์ Pipo ระนอง รายงานเหตุการณ์ เรือ ทวีลาภ 7 เรือประมงอวนลากแผ่นตะเเฆ่ เป็นเรือพื้นที่ระนอง เกิดเหตุเรือจมที่บริเวณ 9 ไมล์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ สะพานสารสิน (8?.496'N 98?9.729'E) มีลูกเรือทั้งหมด 8 คน เป็นคนไทย 2 คน คนพม่า 6 คน ยังไม่ทราบว่าได้รับความช่วยเหลือแล้วหรือไม่เนื่องจากขณะที่แจ้งเหตุไปยัง Pipo ระนอง นั้น เรือยังไม่จมและยังติดต่อไต๋เรือได้ แต่ขณะนี้ไม่สามารถติดต่อคนบนเรือได้ แล้ว จึงขอให้ ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดภูเก็ต (ศคท.จว. ภูเก็ต) เข้าตรวจสอบและให้การช่วยเหลือ จากนั้น ศคท.จว.ภูเก็ต แจ้งไปยังเรือที่ทำการประมงในพื้นที่ใกล้เคียง ช่วยระดมกันค้นหา จนกระทั่งเวลา 08.00 น. เรือบวรชน 2 ได้พบและช่วยเหลือลูกเหลือไว้จำนวน 5 คน และเรือทรัพย์จันทรา 19 ได้พบและช่วยเหลือลูกเรือได้จำนวน 3 คน ประกอบด้วยไต๋เรือ ช่างเครื่อง และลูกเรือ 1 คน แต่เนื่องจากเรือทั้งสองยังคงทำการประมงต่อไป ยังไม่ครบกำหนดแจ้งเข้า จึงร้องขอให้เรือที่จะเข้าฝั่งมารับลูกเรือทั้ง 8 คน ต่อมา เวลาประมาณ 13:00 น. เรือลิ้มเดือนอุดมชัย 13 ได้เข้าไปรับลูกเรือทั้ง 8 คน และจะพาลูกเรือทั้ง 8 คนเดินทางเข้าฝั่งโดยจะนำเรือเข้าเทียบที่แพปลาแสนดี ทับละมุ อ.ท้ายเหมือง จว.พังงา โดยเรือลิ้มเดือนอุดมชัย 13 แจ้งเข้าคืนนี้เวลา 19:00 น. จากการสอบถามผู้ควบคุมเรือ ทราบว่า เมื่อคืนที่เกิดเหตุสภาพคลื่นลมเเรง ตามตำบลที่แจ้ง ทำให้น้ำเข้าท้ายเรือ อย่างรวดเร็ว ไม่สามารถดูดน้ำออกจากตัวเรือได้ทันจนทำให้เรือเกิดอัปปางในที่สุด https://www.thaipost.net/district-news/636482/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ยัน "เรือขนกากฝุ่นพิษ" 100 ตู้จากแอลเบเนียไม่เข้าไทย การท่าเรือ ยืนยันเรือสัญชาติแอลเบเนีย 2 ลำขน "กากฝุ่นพิษ" 100 ตู้ไม่เข้าไทยแล้ว หลังมีข่าวจะเข้าจอดท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี คมนาคม ชี้ไม่มีเอกสารเข้าไทย และไทยไม่รับกากของเสีย กรณีมีกระแสข่าวว่าจะมีเรือขนกากสารพิษ 2 ลำบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์กว่า 100 ตู้ ต้นทางจากประเทศแอลเบเนีย มุ่งหน้าปลายทางเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังประเทศไทย วันนี้ (13 ส.ค.2567) นางมนพร เจริญศรี รมช.กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการประสานงานกับนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลังที่ดูแลกรมศุลกากร และปัจจุบันหน่วยงานศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ติดตามเรือตามข่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เบื้องต้น ผอ.ศูนย์ความปลอดภัยจราจรทางน้ำท่าเรือแหลมฉบังประสานตัวแทนเรือแจ้งว่า เรือลำดังกล่าวยังไม่ได้เข้าไทย เบื้องต้นได้รับรายงานว่า เรือลำดังกล่าวคือ 1.เรือ MAERSK CANDOR (IMO 9924223) ไม่สามารถติดตามเรือจากระบบ SEAVISION จึงได้ตรวจสอบจาก MARINETRAFFIC พบว่าสัญญาณล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ส.ค.นี้ เมื่อเวลา 08.00 น.ตามเวลาประเทศไทย อยู่ห่างจากชายฝั่งประเทศเเอฟริกาใต้ มหา สมุทรอินเดีย จะถึงประเทศ SINGAPORE ประมาณวันที่ 24 ส.ค.นี้ เวลา 09.00 น. 2. MAERSK CAMPTON (IMO 9924211) จากระบบ SEAVISION และ MARINETRAFFIC พบว่าสัญญาณล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ส.ค.นี้ เมื่อเวลา 10.20 น.ตามเวลาประเทศไทย ปลายทางสิงคโปร์ คาดว่าจะวันที่ 15 ส.ค.นี้ มีรายงานว่าเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 2 ลำของบริษัท Maersk ตั้งอยู่ในเดนมาร์ก กำลังเดินทางจากแอลเบเนียมายังไทย มีสินค้ารวมอยู่ด้วย ได้แก่ ตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 100 ตู้ที่บรรทุกฝุ่นจากเตาเผาเหล็กที่เก็บมาจากตัวกรองควบคุมมลพิษ เรือบรรทุกกากฝุ่นพิษไม่เข้าไทย นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผอ.ท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสว่า ขณะนี้มีการรายงานข้อมูล ซึ่งเป็นการรายงานข่าวจากต่างประเทศ ก็เหมือนกับว่าเป็นการสัญญาณว่าจะมีเรือขนสินค้า 2 ลำประมาณ 100 ตู้ ส่วนใหญ่ก็จะบรรทุกฝุ่น ซึ่งยืนยันว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประสานความร่วมมือกันและมีการติดตามใกล้ชิด ทั้งศรชล. และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ติดตามข่าวอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้น ได้รับรายงานว่า ศูนย์ความปลอดภัยจราจรทางน้ำแหลมฉบังได้ประสานงานกับตัวแทนเรือ แจ้งว่าจะไม่ได้เข้าประเทศไทย เรือลำดังกล่าวตอนนี้ยังอยู่ที่ทางฝั่งของแอฟริกาใต้ กว่าจะมาถึงไทยคาดว่าใช้เวลาอีกประมาณ 2 สัปดาห์ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีเอกสาร และการประสานงานว่าจะเข้าประเทศไทย รวมถึงยังไม่มีการแจ้งว่าจุดหมายปลายทางจะอยู่ที่ใด "ตามปกติแล้วเรือทุกลำที่จะเข้าประเทศไทย หากเป็นเรือบรรทุกกากสารพิษ จะต้องมีใบขออนุญาตและจะต้องดูว่ามีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด พร้อมยืนยันว่า จะไม่มีการรับของเสียเข้าประเทศไทย" https://www.thaipbs.or.th/news/content/343042
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
แม่น้ำที่อุ่นขึ้นกำลังจะทำให้อลาสกาสูญเสีย "ปลาแซลมอน" SHORT CUT - แซลมอนเป็นปลาที่ความรู้สึกไว เมื่อน้ำอุ่นขึ้นทำให้มันเครียดจากความร้อนและกำลังจะตาย - แซลมอลบางส่วนที่อพยพไปหาแหล่งน้ำแห่งใหม่ที่เย็นกว่า แต่มีความเสี่ยงที่จะถูกนักล่ากิน - การลดลงของแซลมอน กำลังจะทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองขาดแคลนอาหารเช่นกัน แม่น้ำที่อุ่นขึ้นและการทำประมงที่มากเกินไป กำลังจะทำให้ชาวอลาสก้าพื้นเมืองเผชิญกับการขาดแคลนปลาแซลมอน เมื่อพวกมันอาจต้องเสี่ยงอพยพ หรือดิ้นรนเอาชีวิตรอดในแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรม ปลาแซลมอนจากอลาสกาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก กำลังเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคลื่นความร้อนในมหาสมุทร ทำให้อุณหภูมิในแม่น้ำของอลาสก้าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลาแซลมอนแปซิฟิกถึง 5 สายพันธุ์กำลังเพิ่มสูงขึ้น ฝูงปลาแซลมอนบางส่วนถูกบังคับให้อพยพไปหาแหล่งน้ำที่อุณหภูมิเย็นกว่า และบางส่วนต้องดิ้นรนอยู่ที่เดิมท่ามกลางความเสี่ยงที่จะไม่รอดชีวิตและไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชนเผ่าพื้นเมืองที่มีมานานนับพันปี แม้ว่าปลาแซลมอนแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะและวงจรชีวิตที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่พวกมันทั้งหมดเกิดในน้ำจืดและใช้เวลาอยู่ที่นั่น ก่อนที่จะมุ่งหน้าไปที่มหาสมุทรเพื่อหาทรัพยากรที่ดีกว่าสำหรับการและเติบโต เมื่อเข้าสู่ช่วงขยายพันธุ์ก็จะกลับมาวางไข่บริเวณน้ำจืดที่เดิมอีกครั้ง ปีเตอร์ เวสต์ลีย์ รองศาสตราจารย์ด้านการประมงจากมหาวิทยาลัยอลาสกาแฟร์แบงค์ (Alaska Fairbanks) กล่าวว่า แม่น้ำแต่ละสายมีปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ ไปจนถึงขนาดของหินและซอกหิน ปลาแซลมอนที่เกิดที่นั่นและรอดมาได้จึงต้องกลับมาขยายพันธุ์ที่เดิม เพราะมีลักษณะที่คุ้นชิน ทำให้พวกมันดำรงชีวิตได้ดีและมีโอกาสรอด แต่แซลมอนเป็นปลาที่ความรู้สึกไวต่ออุณหภูมิ เมื่อน้ำอุ่นขึ้นทำให้ปลาแซลมอนต้องดิ้นรนกับความเครียดจากความร้อนและกำลังจะตาย นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีแซลมอลบางส่วนที่อพยพไปหาแหล่งน้ำแห่งใหม่ที่เย็นกว่า โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำอาร์กติกที่พบปลาแซลมอนไปวางไข่มากขึ้น แต่การอพยพย้ายถิ่นมีค่าใช้จ่ายสูง มีความเสี่ยงที่จะถูกนักล่ากิน ทั้งยังสูญเสียพลังงานจากการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกลจนอาจตายจากความเหนื่อยล้า ดังนั้น ไม่ว่าจะอพยพหรือทนอยู่ที่เดิม ก็ล้วนส่งผลให้แซลมอนมีจำนวนประชากรลดลงในเวลาอันรวดเร็ว หนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากการลดลงของปลาแซลมอนมากที่สุดคือบริเวณริมแม่น้ำยูคอน ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ใหญ่ที่สุดของอลาสกา มีต้นกำเนิดจากภูเขาชายฝั่งของแคนาดา และไหลเป็นระยะทาง 3,184 กม. และมีการประมงเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุกคามจำนวนประชากรของแซลมอน ขณะที่ชนเผ่าพื้นเมืองในบริเวณนั้นก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง พวกเขามองแซลมอนในฐานะเพื่อนบ้าน เป็นทั้งบรรพบุรุษและลูกหลานที่เติบโตมาพร้อมกัน พวกเขาเคยกินแซลมอนเป็นอาหารด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ แต่ปัจจุบันเมื่อเกิดการขาดแคลนแซลมอน นั่นเท่ากับการขาดแคลนอาหารของพวกเขาด้วย ผู้นำชนเผ่าอลาสกาจึงรวมตัวกันเพื่อประณามเรือลากอวนอุตสาหกรรม ซึ่งโยนอวนขนาดใหญ่ลงทะเล ดักจับปลาแซลมอนขณะที่พวกมันยังอยู่ในมหาสมุทร ขัดขวางการอพยพกลับไปยังแม่น้ำบ้านเกิดอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากภัยคุกคามจากเรือลากอวนแล้ว ปลาแซลมอนธรรมชาติยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเพื่อแย่งชิงอาหารในมหาสมุทร เนื่องจากมีปลาแซลมอนในโรงเพาะฟักจำนวนมากที่เพาะเลี้ยงโดยชาวประมงซึ่งจะมีการปล่อยลูกปลาแซลมอน ประมาณ 900 ล้านตัว ในทุก ๆ ปี อย่างไรก็ตาม ชาวพื้นเมืองยังเชื่อว่าประชากรปลาแซลมอนธรรมชาติยังสามารถฟื้นตัวได้อีกครั้ง แต่พวกเขาจำเป็นต้องปกป้องแหล่งน้ำที่อยู่อาศัยทุกที่ที่เป็นไปได้ เพื่อให้ปลาแซลมอนมีบ้านให้กลับมา และสามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ ที่มา: BBC https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/852059
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
"นักฆ่าเงียบ" อากาศร้อนที่คร่าชีวิตชาวยุโรปแล้ว 50,000 รายในปีเดียว SHORT CUT - อากาศร้อนที่เกิดจากมลพิษคาร์บอน คร่าชีวิตผู้คนในยุโรปไปเกือบ 50,000 รายเมื่อปีที่แล้ว - ความพยายามของผู้คนในการปรับตัวกับความร้อนช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้ แต่ก็ยังเป็นอัตราการเสียชีวิตที่มากเกินไป - แพทย์แนะนำให้ทุกคนดูแลตัวเองเบื้องต้น หลีกเลี่ยงการเผชิญความร้อน อากาศร้อนในยุโรปได้ถูกแพทย์นิยามให้เป็น "นักฆ่าเงียบ" หลังมีคนต้องเสียชีวิตเกือบ 50,000 ราย ในปี 2566 ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตที่ร้ายแรงเกินกว่าที่มีการคาดการณ์ นักวิจัยพบว่า อากาศร้อนอบอ้าวที่เกิดจากมลพิษคาร์บอน ได้คร่าชีวิตผู้คนในยุโรปไปเกือบ 50,000 รายเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ทวีปยุโรปกำลังร้อนขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าทวีปอื่นของโลกถึงสองเท่า ทำให้เกิดไฟป่าลุกลามในป่านอกกรุงเอเธนส์ของกรีซ ฝรั่งเศสต้องออกคำเตือนถึงอากาศที่ร้อนมากเกินไปสำหรับการออกกลางแจ้ง และสหราชอาณาจักรก็ต้องรับมือกับวันที่ร้อนที่สุดของปี ผลการวิจัยยังพบว่า ความพยายามในการปรับตัวทางสังคมเพื่อรับมือกับคลื่นความร้อนนั้นเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ เพราะหากผู้คนไม่ปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ตัวเลขการเสียชีวิตดังกล่าวอาจเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อยอีก 80% อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้เสียชีวิตก็ยังนับว่าสูงจนเกินไป โดยอัตราการเสียชีวิตสูงสุดอยู่ที่กรีซ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 393 ราย ต่อประชากร 1 ล้านคน ตามมาด้วยอิตาลีที่ 209 รายต่อ 1 ล้านคน และสเปน 175 รายต่อ 1 ล้านคน ดร.ซานติ ดี. ปิเอโตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่มหาวิทยาลัยปาเวีย กล่าวว่า ตอนนี้ทีมแพทย์ต้องรักษาผู้ป่วยจำนวนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่เมื่อต้นเดือนมกราคม พร้อมย้ำว่า ปัญหาความร้อนจะต้องได้รับการแก้ไขในทุกระดับ ส่วนผู้คนก็สามารถใช้มาตรการง่ายๆเพื่อปกป้องตนเองและคนที่พวกเขารักได้ เช่น การหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน หาที่ร่มเมื่ออยู่ข้างนอก และดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีภาวะขาดน้ำ เพราะพวกเขาไม่รู้ถึงความกระหาย จึงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ที่มา: The Guardian https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/852076
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|