เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 16-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น ?อ็อมปึล? มีศูนย์กลางบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 16 ? 17 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "อ็อมปึล" (AMPIL) บริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น คาดว่าจะเคลื่อนผ่านด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 16 ? 17 ส.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 16-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


'ดร.ธรณ์' เปิดข้อมูล 'สี่เทพโลมา' ที่จะสู้ 'ปลาหมอคางดำ' หากลงมาสู่ทะเล


ภาพจากเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat

14 ส.ค.2567- ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีปลาหมอคางดำลงทะเล ก็มี 4 เทพจัดการ ว่า


สี่เทพโลมาสู้ปลาหมอกลายเป็นข่าวเยอะเลย จึงอยากเล่าเรื่องเพิ่มเติมให้เพื่อนธรณ์ฟัง
ผมนำข้อมูลมาจากฐานข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ที่มีการสำรวจติดตามประชากรโลมาอย่างต่อเนื่องเกิน 20 ปี
โลมาทั้งสี่คือพวกที่อยู่ริมฝั่ง ไม่นับโลมาที่หากินไกลออกไปอีกนับ 10 ชนิด
เริ่มจากเรามีโลมาชายฝั่งเยอะไหม ?
คำตอบคือ 4 ชนิดรวมกัน 2,926 ตัว (พ.ศ.2566)
เฮ้ย ! เยอะนะนั่น นับไหวเหรอ
ตัวเลขได้จากการคำนวณโดยผู้เชี่ยวชาญของกรมทะเล โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจแบบต่างๆ ทั้งเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ โดรนปีกนิ่ง โดรนทั่วไป และการสำรวจทางเรือ
เป็นตัวเลขแบบเป็นทางการที่รายงานต่อนานาประเทศ เนื่องจากการอนุรักษ์โลมาเป็นกรณีระดับโลก (MMPA)
โลมาที่มีมากสุดคือ อิรวดี 1,030 ตัว
เพื่อนธรณ์อย่าสับสนกับโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา แม้จะชนิดเดียวกัน แต่พวกนั้นเป็นโลมาน้ำจืด เหลืออยู่น้อยนิด แต่ในทะเลชายฝั่งยังมีอีกเยอะ
รองลงมาคือโลมาหัวบาตรหลังเรียบ มีอยู่ 887 ตัว
โลมาหลังโหนก (สีชมพู) มีอยู่ 529 ตัว
ผมนำภาพมาให้ดูด้วย จะได้เห็นกันชัดๆ ว่าโลมาชนิดนี้อยู่ติดฝั่งมาก ผมเคยเจอโลมาเข้ามาไล่กินปลากระบอกถึงหาด
สุดท้ายคือโลมาปากขวด มีอยู่ 480 ตัว
เมื่อเทียบกับอดีต โลมา 3 ชนิด (อิรวดี หัวบาตรหลังเรียบ ปากขวด) มีจำนวนเพิ่มขึ้นบ้าง (ดูจากค่าเฉลี่ยทุก 3 ปี)
มีเพียงโลมาหลังโหนกที่จำนวนค่อนข้างใกล้เคียงเดิม ไม่เพิ่มไม่ลด
จะว่าไป โลมากลุ่มชายฝั่งอยู่กับคนไทยมานาน หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงฉับพลัน พวกเธอยังปรับตัวได้
ต่างจากโลมาในทะเลสาบสงขลาที่พื้นที่จำกัด ไม่เชื่อมต่อบริเวณอื่น เหลืออยู่น้อยมาก อนาคตจึงริบหรี่
ยังต่างจากพะยูนที่ระบบนิเวศหญ้าทะเลเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทำให้เกิดปัญหา
ผมนำแผนที่ของกรมทะเลมาให้ดู เป็นบริเวณที่พบโลมาชุกชุม แต่ไม่ได้หมายความว่าที่อื่นไม่มี
จะเห็นว่าบางพื้นที่ทับซ้อนกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่เริ่มลงทะเล
บางพื้นที่ยังเป็นชายฝั่งที่อาจมีการแพร่ระบาดในอนาคต
ถึงตอนนี้ คงยังบอกไม่ได้ว่า โลมาจะกินปลาหมอคางดำหรือไม่ ?
แต่ถ้าคิดถึงผู้ล่าขนาดใหญ่ในบริเวณนี้ โลมาก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น
โลมายังอยู่บนสุดของพีระมิดอาหาร เป็นผู้ดูแลปกป้องระบบนิเวศชายฝั่ง
ระบบนิเวศที่แข็งแรงคือเกราะป้องกันสัตว์น้ำต่างถิ่นดีสุดๆ
เราจึงต้องช่วยกันปกป้องโลมา ดูแลขยะทะเล ช่วยกันทำประมงแบบน่ารัก ช่วยพวกเธอหากเกยตื้น แจ้งข่าวบอกต่อหากเจอโลมาเกยตื้นหรือบาดเจ็บ
ช่วยกันรักษาเหล่าโลมา สัตว์เทพที่ดูแลรักษาระบบนิเวศชายฝั่งบ้านเรา
นั่นคืออีกหนึ่งหนทางที่เราทำได้ครับ


https://www.thaipost.net/environment-news/637338/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 16-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


อัพเดทอาการ 'ลูกพะยูน' พลัดหลงแม่อาการดีขึ้น ร่าเริงจำลองตัวแม่ให้อุ่นใจ



ลูกพะยูนพลัดหลงแม่ที่อยู่ในโรงพยาบาลสัตว์น้ำ ราชมงคลตรัง อาการดีขึ้นตามลำดับ ทีมสัตวแพทย์โล่งอก ลูกพะยูนร่าเริง กินได้ นอนหลับ จึงเพิ่มระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นเป็น 1 เมตร พร้อมเบาะนอน จำลองลักษณะตัวแม่ให้ลูกพะยูนอบอุ่นใจ

วันนี้ 15 ส.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมสัตวแพทย์ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง จ.ตรัง ร่วมกับทีมสัตวแพทย์จากศูนย์วิจัยฯ จาก จ.ภูเก็ตและชุมพร และผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาพะยูนในต่างประเทศ เร่งระดมการรักษาภาวะขาดน้ำอย่างหนักในลูกพะยูน เพศผู้อายุประมาณ 2-4 เดือน ซึ่งคาดว่าน่าจะพลัดหลงกับแม่บริเวณเกาะปอดะ จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ฯได้นำมาอนุบาลเพื่อฟื้นฟูร่างกายและสภาพจิตใจ ภายในโรงพยาบาลสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรังตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2567

พบว่าลูกพะยูนตัวนี้มีอาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถกินสารน้ำได้ นอนหลับ ร่าเริง ชีพจรเต้นปกติและว่ายน้ำได้เร็วขึ้น หางไม่ลอยพ้นน้ำ เนื่องจากแก๊สในกระเพาะอาหารลดลงมาก ทีมสัตวแพทย์จึงเพิ่มระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นจาก 60 เซนติเมตรเป็น 1 เมตร พร้อมนำเบาะยางสีเทาดำเพื่อจำลองให้เหมือนกับแม่พะยูน สร้างความอุ่นใจให้กับลูกพะยูนที่คาดว่ากำลังจะโหยหาแม่

หากลูกพะยูนแข็งแรงขึ้น ทีมสัตวแพทย์ก็จะมีการป้อนนมสลับกับเกลือแร่ต่างๆ ซึ่งยังต้องคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากพะยูนยังเล็กมากและยังไม่หย่านม ยังกินหญ้าทะเลไม่เป็น โดยในวันที่ 17 สิงหาคมนี้มีกำหนดการของ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเดินทางมาเยี่ยมชมลูกพะยูนและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ เนื่องในกิจกรรมสัปดาห์พะยูนแห่งชาติประจำปี 2567


https://www.naewna.com/likesara/822775

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 16-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation


"น้องสิงหา" เต่ากระติดเศษอวนเกยตื้น หวิดกลับดาวเต่า ถูกปล่อยคืนสู่ท้องทะเลแล้ว



ได้กลับบ้านแล้ว! "น้องสิงหา" เต่ากระติดเศษอวนเกยตื้น หวิดดับ จนท.ช่วยเหลือนำส่งศูนย์วิจัยฯ ดูแลจนแข็งแรงดี ก่อนปล่อยคืนสู่ท้องทะเลที่หาดท้ายเหมือง หวังเมื่อน้องโตเต็มวัย จะกลายเป็นแม่เต่ากลับมาวางไข่ต่อไป

15 สิงหาคม 2567 ที่ชายหาดท้ายเหมือง บริเวณด้านหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา นายปรารพแปลงงาน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง พร้อมด้วย นส.ประไพ พุกงาม สถิติจังหวัดพังงา นำเจ้าหน้าที่อุทยานฯและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติร่วมกันปล่อยเต่ากระ เพศเมีย อายุประมาณ 4-5 ปี ซึ่งถูกเศษอวนพันรอบตัวลอยมาเกยตื้นจนเกือบตายที่หาดท้ายเหมือง ทางเจ้าหน้าที่ได้ช่วยเหลือนำส่งไปอนุบาลต่อที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา ซึ่งล่าสุดพบว่าเต่ามีความแข็งแรง พร้อมที่ปล่อยกลับลงสู่ทะเลแล้ว และได้ตั้งชื่อว่า "น้องสิงหา" เป็นที่ระลึกว่าน้องได้เป็นอิสระในเดือนสิงหาคม

นายปรารพ กล่าวว่า เต่ากระตัวนี้ เมื่อเดือนมิถุนายน มีชาวบ้านพบว่าติดเศษซากอวนลอยมาเกยตื้นที่ชายหาดปาง ในเขตอุทยานฯ เจ้าหน้าที่จึงเข้าทำการช่วยเหลือ ซึ่งพบว่าเมื่อตัดอวนออกจากตัวเต่าหมด เต่าอ่อนแรงในสภาพที่ยกหัวไม่ขึ้น ทุกคนก็กลัวว่ามันจะไม่รอด จึงได้ส่งไปอนุบาลต่อที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา ซึ่งเจ้าหน้าที่ศูนย์ได้ดูแลอย่างดี จนฟื้นตัวและแข็งแรง จึงได้ถือโอกาสในเดือนสิงหาคมที่เพิ่งผ่านวันแม่แห่งชาติมา ปล่อยให้น้องเต่าได้กลับบ้านสู่ธรรมชาติ เมื่อเขาโตเต็มวัย ก็หวังว่าจะกลายเป็นแม่เต่ากลับมาวางไข่ที่หาดท้ายเหมืองอีกครั้งต่อไป

"เต่ากระ" (Hawksbill turtle) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535 เต่ากระจะมีจะงอยปากค่อนข้างแหลมงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว เกล็ดบนส่วนหัว ตอนหน้า มี 2 คู่ มีเกล็ดกลางหลัง จำนวน 5 เกล็ด เกล็ดหลังแถวข้างคู่แรกสุดไม่ติดกับเกล็ดขอบคอ มีจำนวน 4 คู่

มีลักษณะเด่นชัดคือ เกล็ดบนกระดองมีลวดลายริ้วใสสวยงาม และลักษณะเกล็ดซ้อนกันเห็นได้ชัดเจน แต่เมื่อโตเต็มวัยลักษณะการซ้อนกันของเกล็ดสังเกตได้ยากกว่าวัยอ่อน ลูกเต่ากระแรกเกิดไปจนถึงเต่ากระวัยรุ่นมีสันแหลมตามความยาวกระดอง 3 แถว มีเล็บที่ขาหน้าและหลังข้างละ 2 อันและค่อยๆ หายไปเมื่อโตขึ้น โตเต็มที่ยาว 95 ซม. หนัก 60 กก. มีแหล่งอาศัยและแหล่งวางไข่ในเขตร้อน บริเวณน้ำตื้นที่เป็นแนวปะการัง แนวหญ้าทะเลและแนวสาหร่าย ประเทศไทยพบเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน


https://www.nationtv.tv/news/region/378947178

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 16-08-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ถอดบทเรียน 3 ประเทศเอเชีย เตรียมการรับมือภัยพิบัติอย่างจริงจัง


SHORT CUT

- ญี่ปุ่น เคยประสบแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ พวกเขาสร้างอาคารบ้านเรือนให้มั่นคงกว่าเดิม มีระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวที่ทันสมัยที่สุดในโลก

- อินโดนีเซีย เผชิญภัยคุกคามจากธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง เมืองหลวงกำลังค่อยๆจมลงทะเล ต้องเร่งลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

- ฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติมากที่สุดในโลก ทุ่มเงินทุนกว่า 800 ล้านดอลลาร์เพื่อตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินโดยเฉพาะ




ภัยพิบัติสามารถเกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ และนั่นหมายถึงความสูญเสียที่คุกคามชีวิตคนจำนวนมาก การเตรียมรับมือภัยพิบัติจึงเป็นเรื่องจำเป็นของทุกประเทศ และนี่คือ 3 ประเทศในเอเชียที่มีการเตรียมความพร้อมอย่างเข้มงวดที่สุด

ไม่มีใครอยากเผชิญกับเหตุภัยพิบัติ เพราะนั่นหมายถึงโศกนาฏกรรมที่สามารถทำลายที่อยู่อาศัย อาคารบ้านเรือน และคุกคามชีวิตของผู้คนจำนวนมาก แต่กลับมีน้อยคนที่จะเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตจริงเมื่อไหร่ก็ได้ และอาจมีไม่กี่ประเทศที่เตรียมมาตรการสำหรับรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบอย่างจริงจัง

ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คือสามประเทศในเอเชียที่มักจะเผชิญกับความเสี่ยงต่อภัยพิบัติอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นพายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว หรือน้ำท่วม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลของพวกเขาจะต้องเตรียมพร้อมรับมือสำหรับเหตุฉุกเฉินใดๆ ก็ตามที่อาจเกิดขึ้น และนี่คือสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากการเผชิญภัยพิบัติครั้งแล้วครั้งเล่า


ญี่ปุ่น

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2466 ที่ราบคันโตของญี่ปุ่นประสบแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาก วัดความรุนแรงได้ระดับ 7.9 ส่งผลอาคารและบ้านเรือนในหลายเมืองเหลือแต่ซากปรักหักพัง ซ้ำเติมด้วยพายุไต้ฝุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน จนเกิดแนวคิดเรื่องการย้ายเมืองหลวงขึ้นมา

แต่สุดท้าย ญี่ปุ่นตัดสินใจล้มเลิกความคิดที่จะย้ายเมืองหลวง แล้วสร้างมันขึ้นมาใหม่ให้มั่นคงกว่าเดิม อาคารไม้และอิฐถูกแทนที่ด้วยคอนกรีตและเหล็ก ตามด้วยการสร้างถนนมอเตอร์เวย์ ระบบรถไฟใต้ดิน และสนามบิน โดยไม่หวั่นว่าจะเกิดภัยพิบัติอีกครั้ง

ญี่ปุ่นตั้งอยู่ใกล้กับลุ่มน้ำแปซิฟิก จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้ง่ายกว่าประเทศส่วนใหญ่ แต่นั่นยิ่งผลักดันให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ พวกเขาตั้งให้วันที่ 1 กันยายนซึ่งตรงกับวันแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ให้เป็นวันป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ ทั้งภาครัฐ-เอกชนและโรงเรียนหลายแห่ง จะจัดให้มีการฝึกซ้อมอพยพ ซึ่งแม้แต่นายกรัฐมนตรีก็ต้องเข้าร่วมการซ้อมด้วย

ญี่ปุ่นยังมีระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าที่ทันสมัยที่สุดในโลก รวมถึงระบบเตือนภัยสึนามิซึ่งประกอบด้วยเซ็นเซอร์ 300 ตัว และเซ็นเซอร์ทางน้ำ 80 ตัว ที่จะคอยตรวจจับการสั่นไหวของแผ่นดิน มีสถานพักพิงที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและสึนามิจำนวนหลายร้อยแห่งตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออก สร้างประตูระบายน้ำและกำแพงป้องกันสึนามิในหลายเมือง ทั้งยังมีการปรับปรุงและอัปเกรดความปลอดภัยและแนวปฏิบัติด้านอาคารอย่างต่อเนื่อง


อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เผชิญภัยคุกคามจากธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจได้ถึงสามเปอร์เซ็นต์ของ GDP สึนามิ น้ำท่วม และภัยแล้ง ที่กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ไปจนถึงดินถล่มและภูเขาไฟระเบิด ขณะที่ประชากรของประเทศเกือบ 25 ล้านคน ยังต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง

กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ยังประสบปัญหาการค่อยๆจมลงทะเลที่ 3.5 เซนติเมตรต่อปี โดยที่เมืองนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณร้อยละ 40 ทำให้เสี่ยงต่อน้ำท่วมได้ง่าย และอาจกลายเป็นเมืองที่จมอยู่ใต้น้ำในอนาคต

เพื่อรับมือเหตุฉุกเฉินเหล่านั้น อินโดนีเซียมีการวางโครงสร้างและกระบวนการต่างๆ มากมาย เช่น จัดตั้งสำนักงานจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้นโดยให้กระจายอยู่ในจังหวัดและอำเภอต่างๆ ทั่วประเทศ ในฐานะหน่วยงานจัดการภัยพิบัติในพื้นที่

อินโดนีเซียยังได้รับงบประมาณสำหรับความช่วยเหลือ มูลค่ากว่า 550 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากญี่ปุ่น โดยรัฐบาลได้นำไปจัดสรรลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ระหว่างปี 2549-2553 รวมถึงนโยบายต่างๆ ที่เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับภัยคุกคามอย่างจริงจัง


ฟิลิปปินส์

เมื่อประเทศประกอบด้วยเกาะมากกว่า 7,000 เกาะและแนวชายฝั่งยาว 36,000 กิโลเมตร ฟิลิปปินส์จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุดในโลก 74% ของประชากรมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะกรุงมะนิลาซึ่งถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง ทั้งพายุไต้ฝุ่น น้ำท่วม และดินถล่ม

ในช่วงปี พ.ศ.2526-2555 มีผู้เสียชีวิตจากพายุ 24,281 ราย และมีประชาชนอีกเกือบ 100 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าว สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ารวมกว่า 5.9 พันล้านดอลลาร์

เพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติต่างๆ ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเงินสนับสนุนการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติจำนวน 834 ล้านดอลลาร์จากประชาคมระหว่างประเทศ แน่นอนว่าส่วนใหญ่มาจากญี่ปุ่น โดยคาดว่าเงินทุนมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์จะนำไปใช้ในการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ผ่านกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับอาคารและการจัดการการใช้ที่ดินแล้ว เพียงแค่ยังไม่ได้มีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด ยังมีอีกหลายสิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ อย่างไรก็ตามสิ่งต่างๆ กำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องอย่างแน่นอน

ที่มา: skysaver


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/852137

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:48


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger