เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,868
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 19 ? 24 ส.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนภาคเหนือ และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ

ในขณะที่ในช่วงวันที่ 20 - 22 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,868
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เอลนีโญ สู่ ลานีญา ฝนถล่ม-อากาศสุดขั้ว ยากป้องกันน้ำท่วม



ภาคเหนือ-อีสาน จ่อเจอฝนถล่มถึงสิ้นเดือน ส่วนชาวกรุงเทพฯ โดนคิวถัดไปในเดือนกันยายน-ตุลาคม กูรูด้านจัดการน้ำชี้ การเปลี่ยนผ่าน เอลนีโญ สู่ลานีญา ภายใน 1 ปี ถือว่าผิดปกติ ต้องเฝ้าระวังพายุ เพราะมีโอกาสมาถึงไทย...

เมื่อต้นปี 2567 นี้ เราเจอสภาพอากาศที่ร้อนจัด ร้อนมาก ร้อนสุด ๆ แต่พอมาถึงช่วงฤดูฝน ที่เคยคาดการณ์ว่า ปีนี้จะเจอฝนแล้งจาก "เอลนีโญ" และอาจจะลากยาว ปรากฏว่า เรากลับมาเจอ "ลานีญา" อีกครั้ง กลายเป็นว่า ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมนี้ ลากยาวถึงตุลาคม เรามีโอกาสเจอพายุ และพายุก็อาจจะมาถึงประเทศไทย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ "เรา" ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการ ทีม กรุ๊ป และผู้เชี่ยวชาญในการจัดการน้ำ มาบอกเล่าและเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวรับมือ

นายชวลิต กล่าวว่า ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม เป็นต้นไป จะเกิดฝนตกหนักและต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน อย่างไรก็ตาม ปี 2567 นี้ ถือว่ามีปรากฏการณ์ที่ผิดปกติ คือ ก่อนหน้านี้เราเจอกับสภาวะเอลนีโญ ฝนแล้ง น้ำแล้ง แต่ภายในปีเดียว ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ลานีญา ซึ่งเรื่องนี้ ปกติแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกินเวลา 7 ปี หรือ 5 ปี แต่ครั้งนี้ คือ เปลี่ยนในปีเดียว แต่เท่าที่ดูข้อมูล พบว่า ภาวะลานีญา ที่เราจะเจอนั้น อยู่ในสภาพ -1 ซึ่งถือว่ายังไม่แรงมากนัก แต่ก็ต้องเฝ้าระวังพายุ เพราะมีโอกาสมาถึงไทย จากภาวะลานีญา

"ต้องยอมรับว่า สาเหตุที่เกิดเรื่องนี้ มาจากภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวน ซึ่งสภาพอากาศแบบนี้ มันทำให้เกิดฝนตกหนัก ในสภาพแบบสุดขั้ว ก็คือ จะตกในบริเวณใดบริเวณหนึ่งอย่างหนัก เช่น อ.กะทู้ ที่ภูเก็ต ฝนตก 354 มิลลิเมตร ในจุดเดียว ขณะที่ อ.ถลาง ซึ่งอยู่ติดกัน ก็เจอฝนตกมาก ปริมาณฝนถึง 250 มิลลิเมตร ก็ถือว่ามาก แต่ต่างกันถึง 100 มิลลิเมตร นี่คือผลพวงที่เกิดขึ้น"

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ แม้เราจะพยากรณ์ได้ว่า มีโอกาสฝนตกกี่เปอร์เซ็นต์ แต่เรายากจะรู้ได้เลยว่าจะมีฝนปริมาณมากตกที่จุดใด เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เราต้องเร่งศึกษาหาความรู้...


https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2808667

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,868
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


แตกตื่น! ปลาทะเลลึกลางบอกเหตุดินไหวใหญ่โผล่นอกฝั่งสหรัฐฯ 100 กว่าปีเพิ่งถูกพบเห็น 20 ครั้ง



ปลาทะเลลึกที่แทบไม่มีใครเคยพบเห็น ลักษณะคล้ายกับงูใหญ่ ถูกพบลอยตายบนพื้นผิวทะเล นอกชายฝั่งเมืองแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย และถูกนำขึ้นฝั่งเพื่อทำการศึกษา ทั้งนี้ตามข้อมูลเชื่อว่าตลอดกว่า 100 ปีที่ผ่านมา เพิ่งเป็นครั้งที่ 20 เท่านั้น ที่มีคนพบเห็นมันลอยน้ำตายในแคลิฟอร์เนีย

ปลาออร์ฟิช หรือที่คนไทยเรียกว่า "ปลาพญานาค" ความยาว 12 ฟุต (3.6 เมตร) ถูกพบเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว โดยกลุ่มนักดำน้ำน้ำตื้นและนักล่องเรือคายัค ในแถบชายหาดลา จอลลา โคฟ ทางเหนือของแซนดีเอโก จากคำแถลงของสถาบันสมุทรศาสตร์สคริปป์ส

ตามข้อมูลของ เบน ฟราเบิล ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการประมง พบว่าหนนี้เป็นเพียงแค่ครั้งที่ 20 เท่านั้น ที่มีคนพบเห็นซากปลาออร์ฟิช ลอยเกยตื้นในแคลิฟอร์เนีย นับตั้งแต่ปี 1901 เป็นต้นมา

ถ้อยแถลงของสถาบันสมุทรศาสตร์สคริปป์ส เน้นว่าปลาออร์ฟิช มีชื่อเสียงเป็นตำนานในด้านการพยากรณ์เตือนภัยหายนะทางธรรมชาติหรือแผ่นดินไหว แม้ไม่มีข้อพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างมันกับหายนะทางธรรมชาติก็ตาม

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา ชี้แม้เจอปลาออร์ฟิช ไม่มีข้อมูลยืนยันบอกเหตุแผ่นดินไหว แต่ในทางวิทยาศาสตร์ชี้ ปลาที่อาศัยก้นทะเลลึก จะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสั่นสะเทือนใต้น้ำ

ปลาออร์ฟิช สามารถโตได้สูงสุด มีความยาวมากกว่า 6 เมตร และปกติใช้ชีวิตอยู่ในส่วนลึกของมหาสมุทรเที่เรียกว่า เขตทะเลเปิดระดับกลาง (mesopelagic zone) บริเวณที่แสงส่องลงไปไม่ถึง

กลุ่มนักดำน้ำพากันนำปลาออร์ฟิชตัวดังกล่าว ขึ้นฝั่งโดยใช้แพดเดิ้ลบอร์ด จากนั้นเคลื่อนย้ายมันไปยังท้ายรถกระบะ ทั้งนี้บรรดานักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิทยาศาสตร์การประมงเซาต์เวสต์ขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) และสถาบันสมุทรศาสตร์สคริปป์ส ได้ทำการชันสูตรซากของมันในวันศุกร์ (16 ส.ค) เพื่อสรุปถึงสาเหตุการตายของมัน

(ที่มา : เอพี)


https://mgronline.com/around/detail/...75848?tbref=hp

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,868
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


นักท่องเที่ยวเปรียบเทียบรูปถ่ายธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ ที่ละลายจนเกือบหมดในระยะเวลา 15 ปี หลังกลับไปเยือนอีกครั้ง



กลายเป็นภาพตอกย้ำข้อมูลข้อมูลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ Science (5 January 2023) ที่ได้เผยว่า ธารน้ำแข็งครึ่งหนึ่งบนโลกของเราอาจละลายหายไปหมดภายในปี 2100 ซึ่งก็อาจเป็นไปตามข้อมูลวิจัยจริงๆ เมื่อ นักท่องเที่ยวรายหนึ่งได้โพสต์รูปภาพที่ถ่ายคู่กับภรรยาของตัวเองในโซเชียล โดยในรูปมีฉากหลังเป็นธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการเปรียบเทียบให้เห็นถึงการหายไปของน้ำแข็งที่น่าตกใจในระยะเวลาเพียงแค่ 15 ปี

Duncan Porter นักพัฒนาซอฟต์แวร์จากเมืองบริสตอลได้โพสต์รูปภาพที่ถ่ายคู่กับภรรยา Helen Porter ในจุดเดียวกันที่ธารน้ำแข็งโรนที่ตั้งอยู่เทือกเขาแอลป์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงเวลา เดือนสิงหาคม 2009 และ สิงหาคม 2024 ใซึ่งมีระยะเวลาห่างกัน 15 ปี โดยเป็น 2 รูปภาพ แสดงให้เห็นธารน้ำแข็งที่ละลายอย่างรวดเร็วจากภาวะโลกร้อน

Duncan เผยว่า ในจุดเดียวกันนี้ ธารน้ำแข็งในเดือนสิงหาคม 2009 ยังคงมีหิมะปกคลุมอยู่มากและยังสวยงาม แต่เมื่อกลับมาอีกครั้งหลังผ่านไป 15 ปี ในเดือนสิงหาคม 2024 น้ำแข็งสีขาวที่ปกคลุมพื้นหลังหดตัวจนเผยให้เห็นหินสีเทา สระน้ำเล็กๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ด้านล่าง ซึ่งมองไม่เห็นในสระเดิม ได้กลายมาเป็นทะเลสาบสีเขียวขนาดใหญ่แทน

และยังเขียนแคปชั่นสั้นๆ ใน X ว่า "จะไม่โกหกนะ ภาพนี้ทำให้ผมอยากร้องไห้" ซึ่งหลังจากที่เค้าโพสต์ไปก็มีคนแชร์จนกลายเป็นไวรัลที่ทำให้หลายคนกังวลเรื่องภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน

การละลายที่รวดเร็วภายในระยะเวลา 15 ปี จากการเปรียบเทียบจากภาพของ Duncan สามารถเชื่อมโยงกับสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป มลพิษคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการทําลายธรรมชาติกำลังทำให้สภาพอากาศโลกร้อนขึ้น ตอนนี้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้น 1.3 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับสมัยก่อนยุคอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศในยุโรปต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น จนขึ้นชื่อว่าเป็นทวีปที่ร้อนเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึงสองเท่า

ตามสถิติอย่างเป็นทางการ สวิตเซอร์แลนด์สูญเสียธารน้ำแข็งไปแล้ว 1 ใน 3 ตั้งแต่ปี 2000 และอีก 10% หายไปในช่วงสองปีที่ผ่านมา

หลักฐานการละลายอย่างรวดเร็วงของธารน้ำแข็ง จากรูปภาพนี้ ได้ตอกย้ำงานวิจัยล่าสุดชี้ว่าธารน้ำแข็งครึ่งหนึ่งบนโลกของเราอาจละลายหายไปหมดภายในปี 2100 หรืออีกเพียงไม่ถึง 80 ปีข้างหน้า แม้ว่าโลกจะสามารถควบคุมไม่ให้อุณหภูมิสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จากช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ตามที่ให้คำมั่นไว้ในความตกลงปารีสก็ตาม ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่น่าตกใจว่าภาวะโลกรวนมีผลกระทบหนักหนากว่าที่มนุษย์เคยคาดการณ์ไว้ โดยรายงานระบุว่า ธารน้ำแข็งอย่างน้อย 1 ใน 4 ของระดับปัจจุบัน จะละลายหายไปภายในอีก 30 ปีข้างหน้า

ข้อมูล ? รูปอ้างอิง
- theguardian.co
- somethingswiss.com



https://mgronline.com/science/detail/9670000075647

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,868
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


ระทึก! รัสเซีย เกิดแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 7.0?



วันที่ 18 สิงหาคม ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 7.0 บริเวณทางทิศตะวันออกของเมือง Petropavlovsk-Kamchatsky ประเทศรัสเซีย

เมื่อเวลา 02.10 น. วันที่ 18 สิงหาคม (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 7.0 ที่ระดับความลึก 29.0 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมือง Petropavlovsk-Kamchatsky ประเทศรัสเซีย ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 102 กิโลเมตร ละติจูด 52.924 องศาเหนือ ลองติจูด 52.924 องศาตะวันออก และได้เกิดแผ่นดินไหวตาม (aftershock) ขนาด 4.3 ? 5.1 จำนวน 4 ครั้ง

สาเหตุเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก มุดตัวใต้แผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ ทั้งนี้ในบริเวณดังกล่าวมีอัตราการเคลื่อนตัวอยู่ที่ 83 มิลลิเมตรต่อปี

ผลกระทบแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวสามารถรับรู้ได้เป็นวงกว้าง ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชน และข้าวของพังเสียหายบางส่วน รวมทั้งทำให้ภูเขาไฟ Shiveluch เกิดการปะทุผ่นเถ้าภูเขาไฟสูงถึง 8,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เถ้าภูเขาไฟได้พัดปกคลุ่มเป็นระยะ 492 กม.

ไปทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขาไฟ สถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียได้ให้รหัสการบินเป็นสีแดงการปะทุของภูเขาไฟอาจเป็นอันตรายต่อเที่ยวบินในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย


https://www.matichon.co.th/foreign/news_4742028

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,868
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


สุดฮือฮา "วาฬบรูด้า" โผล่ทะเลบางแสน คาดเข้ามาหาอาหาร นักท่องเที่ยวลุ้นรอเจอ



สุดฮือฮา หนุ่มกำลังพายซัพบอร์ด จังหวะดี เจอ "วาฬบรูด้า" โชว์ตัว โผล่ทะเลบางแสน คาดเข้ามาหาอาหาร ด้านนักท่องเที่ยวลุ้นรอเจอ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 กลายเป็นโพสต์ไวรัลไปทั่วโลกโซเชียล เมื่อเพจเฟซบุ๊ก ชอบจัง บางแสนออกมาแชร์ภาพ "วาฬบรูด้า" โผล่ทะเลบางแสน

โดยทางเพจระบุข้อความว่า "ปลาวาฬมาเยือนบางแสน เพื่อนของแอดพายซัพบอร์ดเล่นช่วงเย็น วันที่ 17 สิงหาคม 2567 แล้วเจอวาฬมากินฝูงปลา พบมีมากกว่า 1 ตัว จึงถามทางแอดมินที่เป็นนักวิชาการ เขาบอกว่า ปลาวาฬ หรือ วาฬ มักจะมาเยือนบางแสนทุกปี ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นวาฬบรูด้า ที่เข้ามาหาอาหาร โดยเวลาว่ายต้อนฝูงปลาแล้วมุดน้ำฮุบปลา ปลาจะกระเด้งขึ้นผิวน้ำ สังเกตจะมีนกมาแจมขอปลาด้วย"

"ทั้งนี้ ในฤดูฝนจะมีคลื่นลม และแพขยะทะเลที่ทยอยพัดเข้าฝั่ง ก็มีความกังวลเรื่องการกินอาหารของวาฬ กลัวว่าอาจได้กินขยะเข้าไป ขอบคุณภาพจากพี่ตุ่นครับ"

พร้อมแนบคลิปจาก TikTok : @shopjungbangsaen เป็นนาทีที่หนุ่มรายหนึ่งกำลังพายซัพบอร์ด แล้วจังหวะดี เจอ "วาฬบรูด้า" โผล่โชว์ตัวกลางทะเลบางแสน


ความคิดเห็นส่วนหนึ่งจากโลกโซเชียล :

สภาพแวดล้อมดี ระบบนิเวศสมบูรณ์จ้า

- ทะเลตรงนัั้นน่าจะลึกมาก ๆ

- น่าเป็นห่วงเรื่องขยะฝั่งบ้านเรามันเยอะ และกลัวจะว่ายเข้าไปเขตเเหลมฉบังโดยเรือสินค้าขนาดใหญ่

- ขอให้?ครอบครัว?น้องปลอดภัย?ไม่กินขยะเข้าไปน้า

- ชื่นใจ ที่ทะเลบ้านเราอุดมสมบูรณ์ เพราะวาฬคือสัญลักษณ์ที่ดี

- กลัวจะรับประทานขยะเข้าไป ท้องเสียแน่นอน บางช่วงขยะมาเกยหาดเยอะมาก

ภาพประกอบ ชอบจัง บางแสน
ที่มา : ชอบจัง บางแสน



https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9367843

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,868
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


ยิ้มรับ'วันพะยูนแห่งชาติ' หลัง'พะยูนไทย-หญ้าทะเล'สมบูรณ์ขึ้น



เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเนื่องในวันสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ ประจำปี 2567 ว่า ทุกวันที่ 17 สิงหาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็นวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ และเป็นการระลึกถึงการจากไปครบรอบ 5 ปี ของลูกพะยูนน้อยมาเรียมและยามีล รวมถึงสร้างความตระหนักในการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลและแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนให้สมบูรณ์ โดยวันนี้ตนได้มอบหมายให้ นายโกเมนทร์ ทีฆธนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อเป็นประธานเปิดงานสัปดาห์วันพะยูนแห่งชาติ ประจำปี 2567 พร้อมร่วมพูดคุยและรับฟังปัญหาจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ สำหรับ "พะยูน" ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันดูแลอย่างจริงจัง

ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ทำงานเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูเพิ่มจำนวนพะยูนในท้องทะเลไทยมาโดยตลอด ซึ่งภายหลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง ตนพร้อมคณะได้มีโอกาสลงพื้นที่มายังบ้านเกาะมุกด์ จังหวัดตรัง เพื่อติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม พร้อมรับฟังปัญหาของชาวบ้าน และมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดตั้งวอร์รูมแก้ไขปัญหาพะยูน 11 จุดเสี่ยง ในพื้นที่ 3 จังหวัดทะเลอันดามัน พร้อมนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการสำรวจประชากรพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก

จากการรายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าปัจจุบันพะยูนมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 273 ตัว เป็น 280 ตัว ซึ่งการเพิ่มขึ้นของพะยูนนับเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง และได้มีการสานต่อแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติระยะที่ 2 ด้วยการเพิ่มโครงการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล อีกทั้งใช้กลไกคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผน การติดตามสถานภาพเฝ้าระวัง ศึกษาพฤติกรรมและถิ่นอาศัยของสัตว์ทะเลหายากอีกด้วย ทั้งนี้ การอนุรักษ์พะยูนนั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึง คือ การสร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของพะยูนรวมไปถึงระบบนิเวศหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแนวทางที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ โดยเริ่มต้นจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างรักและหวงแหนในทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่างมาก

สุดท้ายนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้พะยูนสูญพันธุ์จากท้องทะเลไทย จึงขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการนำเที่ยว ประชาชน และนักท่องเที่ยวให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในการช่วยกันอนุรักษ์พะยูน รวมถึงประมงชายฝั่งให้งดเดินเรือในแหล่งหญ้าทะเล และหากจำเป็นต้องเดินเรือผ่านแนวเขตหญ้าทะเล และพื้นที่เสี่ยงในการอพยพเคลื่อนย้ายพะยูน ให้ใช้ความเร็วตามที่กำหนด เพื่อความสมบูรณ์ของพะยูนในท้องทะเลไทย และส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนชายฝั่งควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ โดยกระทรวง ทส.จะร่วมมือกับทุกฝ่ายดูแลรักษาพะยูนให้คงอยู่คู่กับท้องทะเลไทยสืบไป

ด้าน ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีปัจจัยที่เป็นภัยคุกคามและส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลหายากหลายประการ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติหรือกิจกรรมของมนุษย์ ปัญหาทั้งหมดจำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไข ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูให้กลับคืนมา เช่นเดียวกันกับเรื่องราวของพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญเป็นบ้านของสัตว์ทะเลน้อยใหญ่และประชาชนในพื้นที่ หากย้อนกลับไปในช่วงเดือนเมษายนปี 2562 ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับลูกพะยูนน้อยที่ชื่อว่า มาเรียม ได้พัดหลงจากฝูง และได้รับการดูแลเป็นเวลากว่าสามเดือน โดยเจ้าหน้าที่กรม ทช. กรมอุทยานฯ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมถึงจากหลายหน่วยงานทั่วประเทศ แต่ไม่นานมาเรียมก็ตายในวันที่ 17 สิงหาคม 2562 และต่อมาเดือนกรกฎาคมในปีเดียวกัน ได้พบยามีล พะยูนน้อยอีกหนึ่งตัวก็ตายลงเช่นกัน

โดยพะยูนน้อยทั้งสองตายจากสาเหตุการพลัดพรากจากพ่อแม่และมีอาการเจ็บป่วย เนื่องจากมีขยะอยู่ในร่างกาย จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้พะยูนน้อยทั้งสองตัวกลายเป็นขวัญใจของคนไทย ทุกคนต่างตระหนักและหันมาใส่ใจให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พะยูนมากยิ่งขึ้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562

ได้กำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ที่ผ่านมา กรม ทช.ได้ใช้มาตรการคุ้มครองพื้นที่ทางทะเลเพื่อการอนุรักษ์พะยูนตรัง พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานในพื้นที่ประชาสัมพันธ์ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลระดับชุมชน เสริมสร้างรูปแบบวิถีชุมชนแบบผสมผสานการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลให้แก่ประมงชายฝั่งและการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งการสำรวจจำนวนประชากรพะยูนที่แน่นอน เพื่อนำมาคำนวณพื้นที่อาศัยที่เหมาะสม และจัดทำเขตอนุรักษ์พะยูนต่อไป และล่าสุดในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรม ทช.ได้พบพะยูนน้อยเกยตื้นมีชีวิต บริเวณเกาะปอดะ ต.อ่าวนาง จ.กระบี่ จึงได้ส่งตัวมารักษาและอนุบาลที่สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง โดยมีทีมสัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครให้การดูแลรักษาพะยูนน้อยอย่างใกล้ชิด คอยป้อนนม สารฟื้นฟูและบำรุงร่างกาย รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เป็นประจำทุกวัน

วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติในปีนี้ กรม ทช.ได้จับมือกับจังหวัดตรัง ร่วมด้วยหน่วยงานพันธมิตร จัดกิจกรรมขึ้นภายใต้ชื่อ ?สัปดาห์พะยูนแห่งชาติประจำปี 2567 Thailand Dugong & Seagrass Week 2024? และกิจกรรมท่องเที่ยวอาสาทำความสะอาดแหล่งพะยูนและแนวปะการัง โดยตนได้มอบหมายให้นายชิดชนก สุขมงคล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นผู้แทนในการกำกับดูแลการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ร่วมด้วยนายกุศล โชติรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิโชค จันทร์ย่อง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง คุณปวิตา โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ ปุ้มปุ้ย ตลอดจนคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ทส. และทช. รวมถึงผู้แทนจากจังหวัดตรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง มูลนิธิอันดามัน บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ ปุ้มปุ้ย และบริษัท เลตรัง ไดฟ์วิ่ง จำกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง อ.สิเกา จ.ตรัง

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2567 โดยภายในงานได้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับพะยูน การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับพะยูน และหญ้าทะเล จากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลหายาก และสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน การนำเสนอผลงานประดิษฐ์ผลงานจากวัสดุเหลือใช้ การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ "การอนุรักษ์พะยูน" การสาธิตการบินสำรวจสัตว์ทะเลหายากด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) กิจกรรมในรูปแบบ "Green Event" คือ ลดขยะ งดโฟม และลดบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้งจำพวกพลาสติกให้ได้มากที่สุด เพื่อสอดรับกับนโยบาย ตรังยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรม Active Learning Event ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิทรรศการกับผู้เข้าชม ให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการจัดนิทรรศการให้ความรู้และแรงบัลดาลใจเรื่องหญ้าทะเลและพะยูนในด้านต่างๆ นิทรรศการที่รวมภาพถ่ายที่รวมความสวยงามของพะยูน ระบบนิเวศหญ้าทะเลและประโยชน์ของหญ้าทะเลต่อสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และกับมนุษย์จากทั่วโลก กิจกรรม Work shop และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย


https://www.naewna.com/local/823293

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,868
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ประเทศไหนบ้าง ต้องย้ายเมืองหลวง - ด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม หนีภัยพิบัติ

มาลองสำรวจโลกของเรา ในช่วง 70 ปีหลังมานี้ ตั้งแต่ยุค 1950s ถึงยุค 2020s มีประเทศไหนบ้างที่ต้องย้ายเมืองหลวง หลังจากที่อินโดนีเซีย เป็นประเทศล่าสุดที่มีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นนี้



วันที่ 17 สิงหาคม 2024 ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้จัดงานฉลองวันประกาศเอกราชครบ 79 ปี ขึ้นที่ นูซันตารา เมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศ แม้ว่าเมืองจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม นี่ถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของภาพการเมืองการปกครอง ของโลกยุคหลัง ซึ่งมีหลายๆประเทศเลือกที่จะย้ายเมืองหลวง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย จาก จาการ์ตา ไปยังเมือง นูซันตารา นั้น ก็มีหลายๆเหตุผลประกอบ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ เรื่องของสภาพแวดล้อม และหลีกหนีจากปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เพราะ เมือง "นูซันตารา" มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เหมาะสมตามข้อพิจารณาการเลือกเมืองหลวงของรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยตั้งอยู่ห่างจากแนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก ซึ่งปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด

และ "นูซันตารา" ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 200 - 4,095 เมตร ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคตจากสภาวะโลกร้อน นั่นเอง

ในเวลาเดียวกันนั้น , อินโดนีเซีย มีความพยายาม ผลักดันให้เมืองนูซันตารา เป็นเมืองอัจฉริยะที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมทางด้านสุขภาพ สาธารณสุข และเทคโนโลยี ของภูมิภาค เป็นเมืองที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นสถานที่ ที่คนจากที่ต่าง ๆ ใกล้ชิดกัน


เบลีซ ประเทศที่เคยย้ายเมืองหลวงเพราะภัยพิบัติ

สำหรับ อินโดนีเซีย ไม่ใช่ประเทศเดียว ที่ต้องย้ายเมืองหลวง เพราะเหตุผลทางสิ่งแวดล้อม และเรื่องประเด็นการหนีภัยพิบัติมาประกอบ , เพราะ ประเทศ เบลีซ ประเทศเล็กๆ ในอเมริกากลาง ก็เคยต้องย้ายเมืองหลวง ด้วยเหตุผลทางธรรมชาติ เพราะเมื่อปี 1961 เฮอริเคนแฮตตี้ ได้พัดถล่ม เมือง เบลีซ ซิตี้ (Belize City) เมืองหลวงเดิมของประเทศ จนสร้างความเสียหายอย่างหนัก จนสุดท้ายแล้ว ประเทศนี้จึงต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมือง เบลโมแพน Belmopan แทนในปี 1970 ซึ่งเมืองแห่งนี้ จะอยู่เข้ามาในพื้นที่ทวีปมากกว่าเมืองหลวงเดิม ที่เป็นเมืองติดชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก


1960 บราซิล - บราซิลก็เคยทำการย้ายเมืองหลวงจากกรุง ริโอ เดอ จาเนโร มายังกรุงบราซิเลียเมื่อปี 1960 เพราะพุ่งชนปัญหาเรื่องความหนาแน่นของคน อีกทั้งทำเลที่ตั้งของรีโอเดจาเนโรอยู่ห่างจากพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของประเทศมากพอสมควร จึงต้องโยกย้าย


1967 ปากีสถาน - ประเทศในเอเชียใต้แห่งนี้ เลือกย้ายจากการาจีไปอยู่ที่ อิสลามาบัด ส่วนหนึ่งของการย้ายเมืองหลวงเป็นเพราะความขัดแย้งข้อพิพาทแคว้นจัมมูและแคชเมียร์ และในช่วงเวลาหนึ่ง เมืองราวัลปินดี ที่อยู่ทางตอนเหนือของปากีสถานก็เคยเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วย


1983 ไอวอรี่โคสต์ หรือ โกตดิวัวร์ - ได้ย้ายจากเมืองหลวง จากกรุง อาบีจาน เมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ไปยังกรุงยามูซูโกร ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเฟลิกซ์ อูฟูต์-โออิกนี่ อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ


1991 ไนจีเรีย - ประเทศที่อยู่ทางแอฟริกาตะวันตก ได้ย้ายเมืองหลวง จากกรุง ลากอส ไปยังกรุง อาบูจา ด้วยเหตุผลเดียวกับอินโดนีเซีย นั่นคือความแออัดของจำนวนประชากร


1996 แทนซาเนีย - ประเทศที่อยู่ในแอฟริกาตะวันออก มีชายฝั่งติดมหาสมุทรอินเดีย เลือกย้ายเมืองหลวงด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและสังคม โดยย้ายจากดาร์ เอส ซาลาม ไปยังเมือง โดโดมา


1997 คาซัคสถาน - คาซัคสถาน ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่แยกออกมาจาก สหภาพโซเวียต ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเปลี่ยนเมืองหลวง โดยพวกเขา ย้ายเมืองหลวงจากกรุง อัลมาตี มายังกรุงอัสตานาเมื่อปี 1997 และกรุงอัสตานา เพิ่งจะมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น นูร์ซุลตาน ในปี 2019 นี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ นูร์ซุลตาน นาซาร์บาเยฟ ประธานาธิบดีคนแรกของคาซัคสถาน ที่ปกครองประเทศมานานเกือบ 30 ปี


2005 เมียนมา - ในช่วง 10 ปีหลังมานี้ มีประเทศที่ย้ายเมืองหลวงที่ถูกจับจ้องและเป็นสปอร์ตไลท์ของการเมืองโลก นั่นคือ การย้ายเมืองหลวงของประเทศเมียนมา โดยย้ายจากย่างกุ้งไปยังกรุง เนปิดอว์ ส่วนสาเหตุในการย้ายเมืองหลวงไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มีหนึ่งในเหตุผลที่เชื่อว่าเป็นไปเพื่อที่จะมีอำนาจควบคุมกลุ่มชาติพันธุ์น้อยใหญ่ภายในประเทศ


2024 อินโดนีเซีย - สำหรับ อินโดนีเซีย เป็นประเทศล่าสุดของโลก ที่จะย้ายเมืองหลวง โดยอินโดนีเซียจัดงานฉลองวันชาติ หรือ วันครบรอบการประกาศอิสรภาพปีที่ 79 เป็นครั้งแรกที่เมืองนูซันตารา ในวันที่ 17 สิงหาคม 2024 โดยนูซันตาราซึ่งจะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศแม้ว่าตอนนี้เมืองยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและประสบปัญหาความล่าช้าก็ตาม

ส่วนประเทศไทย เราก็เคยมีแนวคิดย้ายเมืองหลวงตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปยังเพชรบูรณ์ ต่อมามีการเสนอให้ย้ายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหากรุงเทพฯ และปริมณฑลที่อาจประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวร

ที่มา : telegraph jagranjosh bbc


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/852172

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:18


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger