เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > Main Category > ห้องรับแขก

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 11-11-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default งานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย “ยิปซีทะเล : วิถีคนกล้าอันดามัน”


โครงการ .......... งานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย “ยิปซีทะเล : วิถีคนกล้าอันดามัน”


ผู้ดำเนินโครงการ ..... มูลนิธิเพื่อนชนเผ่า โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และองค์การ ยูเนสโก ร่วมกับ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park

สถานที่จัดงาน ..... ลานสานฝัน อุทยานการเรียนรู้ TK park ชั้น 8 Dazzle Zone และ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ระยะเวลาของโครงการ

งานเสวนา
วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2552 (ระหว่างเวลา 11.00 – 16.00 น.)

งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมยิปซีทะเล
วันอาทิตย์ ที่ 20 ธันวาคม 2552 (ระหว่างเวลา 11.00 – 16.00 น.)

งานแสดงนิทรรศการภาพถ่าย ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม - 27 ธันวาคม 2552


ข้อมูลพื้นฐานและความเป็นมาของโครงการ

คนไทยส่วนหนึ่งไม่เคยทราบว่ามีกลุ่มคนที่เรียกกันว่า “ชาวเล” ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิต ภาษา วัฒนธรรมที่ผูกพันกับทะเลมานับร้อยปี จนได้รับการขนานนามจากชาวต่างชาติว่า “ยิปซีทะเล” ชาวเลมีชื่อเฉพาะที่เรียกกลุ่มของตนเอง คือ “มอแกน” (ชาวเลที่เกาะเหลา เกาะช้าง และเกาะพยามในจังหวัดระนอง หมู่เกาะสุรินทร์ ในจังหวัดพังงา และหมู่บ้านราไวย์ในจังหวัดภูเก็ต มีประชากรกว่า 800 คน) “มอแกลน” (ชาวเลที่เกาะพระทอง และหมู่บ้านชายฝั่งทะเลกว่าสิบหมู่บ้านในจังหวัดพังงา และภูเก็ต มีประชากรกว่า 3,000 คน) “อูรักลาโว้ย” (ชาวเลที่อาศัยอยู่บนเกาะต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล มีประชากรกว่า 5,000 คน) ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาพี่น้องชาวเลต้องประสบปัญหาไม่ต่างกันกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบอีกหลายกลุ่ม คือการขาดความมั่นคงในที่อยู่อาศัย การขาดความมั่นใจและภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม การขาดการสืบทอดความรู้พื้นบ้าน การถูกกีดกันออกจากสิทธิในการใช้และเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ และการถูกดูแคลนจากบุคคลที่ไม่เข้าใจในวิถีวัฒนธรรมแบบ “ชาวเล” ฯลฯ

เหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้สร้างความเสียหายต่อ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และยังส่งผลกระทบต่อชุมชนชาวเลพื้นเมืองทั้งกลุ่มมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและหน่วยงานภาครัฐได้รายงานในทำนองเดียวกันว่า ที่อยู่อาศัยของชาวเลพื้นเมืองในหลายชุมชนได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิอย่างรุนแรง เรือประมงพื้นบ้านเสียหาย ในบางพื้นที่หมู่บ้านทั้งหมู่บ้านได้หายไปกับคลื่นยักษ์ และเนื่องจากชาวเลเดิมมีวิถีชีวิตกึ่งเร่ร่อน มีภาษาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีบางกลุ่มที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ชาวเลจึงไม่ได้มีส่วนร่วมกับองค์กรท้องถิ่นในการวางแผนการจัดการหรือการพัฒนาเท่าที่ควร

นอกจากนี้พื้นที่แถบชายฝั่งทะเลหลายแห่งที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเลได้ถูกแปรไปเป็นพื้นที่เพื่อธุรกิจท่องเที่ยว บางส่วนได้กลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติ ข้อบังคับบางประการของพื้นที่อนุรักษ์จำกัดการทำมาหากินของพี่น้องชาวเลอย่างมาก การเกิดคลื่นสึนามิทำให้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ชัดเจนยิ่งขึ้นและยังแสดงให้เห็นว่าชุมชนชาวเลซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองกำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายในเรื่องความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรและการเข้าไปส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรเพื่อฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยและชุมชนหลังสึนามิ

ทั้งหลายเหล่านี้จึงมีความจำเป็นสำคัญที่สาธารณชนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน สื่อมวลชน รวมถึงบริษัทธุรกิจเอกชน ที่จะรับรู้เรื่องคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยไม่แบ่งแยกเพศ สีผิว ภาษาและวัฒนธรรม และร่วมกันเร่งดำเนินการผลักดันเชิงนโยบายควบคู่กับปฏิบัติการเพื่อเยียวยาปัญหาของพี่น้องชาวเลในพื้นที่ คณะผู้จัดเห็นว่างานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย “ยิปซีทะเล : วิถีคนกล้าอันดามัน” นี้จะเป็นวิถีทางสำคัญในการช่วยสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมอันหลากหลายของสังคมไทย เป็นการกระตุ้นเตือนและสร้างความตระหนักคิดแก่เพื่อนในสังคม ให้แบ่งปันความห่วงใยต่อเพื่อนร่วมแผ่นดินด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง อันจะนำมาซึ่งการอยู่ในสังคมแห่งความสงบสุข มีสันติภาพอย่างยั่งยืนต่อไป


วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมอันหลากหลายของสังคมไทย ผ่านงานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย “ยิปซีทะเล : วิถีคนกล้าอันดามัน”
2. เพื่อจัดแสดงและเผยแพร่เอกสาร สิ่งพิมพ์ วีดีทัศน์ของโครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และมูลนิธิเพื่อนชนเผ่ารวมทั้งองค์กรเครือข่ายภาควิชาการและภาคประชาสังคมให้เป็นที่รับรู้ในสังคมอย่างกว้างขวางมากขึ้น
3. เพื่อกระตุ้นเตือนและสร้างความตระหนักคิดแก่สังคม ในการมีส่วนร่วมแบ่งปันความห่วงใยต่อเพื่อนร่วมแผ่นดินผ่านกิจกรรมสะท้อนศิลปวัฒนธรรมมอแกน
4. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาสังคมในการทำงานเพื่อช่วยเหลือพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้าไม่ถึงโอกาสทางสังคมให้มีพื้นที่และตัวตนอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์


รูปแบบกิจกรรม

1. กิจกรรมเสวนา ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2552 เวลา 11.00-16.00 น. ณ ลานสานฝัน อุทยานการเรียนรู้ TKpark
คณะผู้จัดงานได้เรียนเชิญและได้รับการตอบรับเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากท่านวิทยากรผู้ร่วมเสวนาที่มีชื่อเสียง โดยจะร่วมเสวนาในเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นคุณค่าทางวัฒนธรรมมอแกน หัวข้อ “ยิปซีทะเล : วิถีคนกล้าอันดามัน”
วิทยากรโดย
- ผู้แทนชาวมอแกน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา
- ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานมูลนิธิเพื่อนชนเผ่า/ประธานกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ
- Dr. Jacques Ivanoff ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกลุ่มมอแกน จากหน่วยงานวิจัย IRASEC
- Dr. Derek James Elias ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและวัฒนธรรม องค์การ UNESCO
- คุณสราวุฒิ มาตรทอง ดาราศิลปิน ผู้ทำงานเพื่อสังคมและสนใจติดตามช่วยเหลือพี่น้องมอแกน

ดำเนินรายการโดย ดร.นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. กิจกรรมนิทรรศการภาพถ่าย “ยิปซีทะเล : วิถีคนกล้าอันดามัน”
เป็นงานแสดงนิทรรศการภาพถ่าย จำนวน 30 ภาพ โดยขอพระราชทานภาพถ่ายชาวเล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จำนวน 1 ภาพ และภาพถ่ายจากช่างภาพชื่อดังทั้งในและต่างประเทศ พร้อมด้วยภาพถ่ายจากนักวิจัยและเครือข่ายองค์กรที่ทำงานกับพี่น้องมอแกน ได้แก่ Cat Vinton Mr.Lunar วิจิตต์ แซ่เฮ้ง วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง จิตติมา ผลเสวก สนิทสุดา เอกชัย กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์ อภิลักษณ์ พวงแก้ว Dr. Jacques Ivanoff นพ.มารุต เหล็กเพชร วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา วิโชติ ไกรเทพ และพลาเดช ณ ป้อมเพชร เป็นต้น ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวสภาพวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของ พี่น้องชาวเลมอแกนจากอดีตสู่ปัจจุบัน

3. งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมยิปซีทะเล วันเสาร์ที่ 19 และวันอาทิตย์ ที่ 20 ธันวาคม 2552 เวลา 11.00 – 16.00 น. ณ ลานสานฝัน อุทยานการเรียนรู้ TK park โดยมีกิจกรรมสะท้อนความรู้ความเข้าใจและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อเป็นการแบ่งปันความห่วงใยต่อเพื่อนร่วมแผ่นดินได้แก่ การแสดงศิลปะการร้องรำเพลงของน้องๆ มอแกน จากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา กิจกรรม “มาทำความรู้จักชาวเลในเมืองไทยกันเถอะ” ซึ่งเป็นนิทรรศการให้ความรู้เรื่องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพี่น้องชาวเลในประเทศไทย กิจกรรมสาธิตการสานเสื่อ กระปุก กิจกรรมประดิษฐ์เรือมอแกนจำลอง กิจกรรมสานกำไลจากใบเตยหนามลวดลายลิ่นทะเล ซึ่งมีน้องๆ มอแกนเป็นผู้สอน และกิจกรรมวาดภาพเล่าเรื่อง “บ้านฉัน บ้านเธอ” ระหว่างเยาวชนมอแกนและเด็กๆในเมือง กิจกรรมเขียนส่งกำลังใจถึงน้องๆ มอแกนผ่านโปสการ์ด นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมพื้นบ้าน ของที่ระลึกและงานฝีมือของน้องๆ ชาวเลมาจำหน่ายภายในงานด้วย

และในวันที่ 20 ธันวาคม 2552 ยังมีกิจกรรมพิเศษให้เด็กในเมืองได้ ชมวีดิทัศน์พาโนราม่า สเปเชียล : Sea Series : ทะเลสีคราม ตอน ชีวิตที่แปรเปลี่ยน (มอแกน) และวีดิทัศน์ วิถีวัฒนธรรมมอแกน :ยิปซีทะเลกลุ่มสุดท้าย โดยภายหลังการชมวีดิทัศน์ ได้จัดกิจกรรมพูดคุยกับ ตัวแทนชาวมอแกน เกาะสุรินทร์ ดร.นฤมล อรุโณทัย นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในวิถีวัฒนธรรมชาวเลมอแกน มาเป็นเวลากว่า 15 ปี จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณยูกิ ซูซูกิ นักศึกษาปริญญาเอกชาวญี่ปุ่น ผู้ศึกษาวิถีชีวิตชาวมอแกน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ดำเนินรายการโดย คุณพลาเดช ณ ป้อมเพชร นักมานุษยวิทยาผู้ศึกษาวิถีวัฒนธรรมชาวมอแกน ของมูลนิธิเพื่อนชนเผ่า


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีโอกาสเรียนรู้ เข้าใจวิถีชีวิตวัฒนธรรมมอแกน เกิดความตระหนักคิดและเข้าใจสถานการณ์ของชาวมอแกน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการแบ่งปันความห่วงใยต่อเพื่อนร่วมแผ่นดินได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายภาคประชาสังคมในการทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความภาคภูมิใจทางวัฒนธรรมแก่พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล-มอแกน
3. จุดประกายและพัฒนาเครือข่ายที่ร่วมกันทำงานด้านสถานการณ์ของพี่น้องชาวเลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะจากเครือข่ายภาคธุรกิจเพื่อสังคม ในรูปแบบการทำกิจกรรมกับชุมชนมอแกนและให้ทุนสนับสนุนโครงการต่างๆ รวมถึงเครือข่ายภาคสื่อมวลชนที่สนใจในการติดตามสะท้อนความจริงของพี่น้องมอแกนอย่างต่อเนื่อง


การประชาสัมพันธ์
คณะผู้จัดงานและเครือข่ายได้วางแผนในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ดังนี้
1. ส่ง Calendar News ล่วงหน้าก่อนงานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย ประมาณ 1 เดือน
2. ส่งจดหมายเชิญทั้งทางไปรษณีย์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้า ก่อนงานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย ประมาณ 1- 2 สัปดาห์ ไปยังสื่อมวลชนและเครือข่ายผู้สนใจทั่วไป
3. ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์หลักของโครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ เว็บไซต์ขององค์การยูเนสโก และเครือข่ายสื่อมวลชน
4. จัดสายเดินทางพบสื่อมวลชน (Media Visit) โดยนำรถตู้พาตัวแทนเด็กๆ จากหมู่บ้านมอแกน เกาะสุรินทร์ ตระเวนพบรายการโทรทัศน์และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ก่อนวันงาน 1-2 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้สัมภาษณ์เด็กๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ก่อนงานกิจกรรม (Pre-PR)
5. จัดทำแฟ้มสื่อมวลชน (Press Kit) และเอกสารประกอบการเสวนาเพื่อแจกผู้เข้าร่วม โดยรวมรวมข้อมูลต่างๆ ของกิจกรรมเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้มีองค์ประกอบที่พร้อม ทั้งในส่วนขององค์กรผู้ดำเนินโครงการที่เป็นที่รู้จักและยอมรับ ผู้ร่วมเสวนาที่มีชื่อเสียง มีประเด็นของกิจกรรมในงานที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ที่สะท้อนความหลากหลายในสังคม และมีจุดมุ่งหมายของกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมอันหลากหลายของสังคมไทยโดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมของพี่น้องชาวเล ผ่านการเสวนา การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเด็กมอแกนและเด็กๆ ในเมือง และที่สำคัญคือนิทรรศการภาพถ่าย “ยิปซีทะเล : วิถีคนกล้าอันดามัน”

รูป
 
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 11-11-2009
ดอกปีบ's Avatar
ดอกปีบ ดอกปีบ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ข้อความ: 703
Default

มีเวลาต้องหาโอกาสแวะไปฟัง น่าสนใจทีเดียว ..
ขอบคุณครับพี่สายน้ำ
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow

You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 24-11-2009
ม้าน้ำ ม้าน้ำ is offline
Junior Member
 
วันที่สมัคร: Oct 2009
ข้อความ: 21
Default

งานนี้ต้องเข้ากรุงเพื่อไปชมให้ได้ซะแล้ว เพราะกำลังเพลิดเพลินกับชีวิตหลังเลนส์ซะเหลือเกินอยากเห็นมุมมองที่แตกต่างกันไปหลายๆด้าน...ขอบคุณค๊าบ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 24-11-2009
chickykai chickykai is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: จุดเล็กๆในเมืองหลวงของไทย แต่ระเห็จไปทำงานไกลบ้านเล็กน้อย
ข้อความ: 424
Default

คงได้แวะไปชมแน่นอน TK park ที่ประจำ

ชอบนามสกุลของชาวมอแกนมากเลยค่ะ เท่ดี กล้าทะเล หาญทะเล
ได้ความหมายตามวิถีชีวิตเค้าจริงๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:34


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger